อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยเขียนถึง ทัศนะของการชำระพงศาวดารที่ชำระในสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะเรื่องราวของราชวงศ์พลูหลวง อยู่ในหนังสือ ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ในพระราชพงศาวดารอยุธยา  มีอยู่ตอนหนึ่งเขียนถึงว่า

“ในส่วนตัวกำเนิดของราชวงศ์พลูหลวงนั้น พระราชพงศาวดารซึ่งชำระครั้งธนบุรี-รัตนโกสินทร์ใช้ประโยชน์จากความคลุมเครือในเรื่องนี้ แต่งเติมให้มีกำเนิดมาจากสามัญชนธรรมดาที่ไม่สังกัดกับชนชั้นปกครองเอาเลย

เมื่อพระเพทราชาขึ้นครองราชสมบัติ พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมและฉบับพนรัตน์กล่าวว่า พระญาติจากเมืองสุพรรณบุรีได้มาเยี่ยมถึงในพระราชวังที่่อยุธยา

ทำไมต้องชำระเรื่องราวในต้นกำเนิดราชวงศ์พลูหลวงแบบนี้? มีข้อมูลนำเสนอในรายการนี้ครับ

ทัวร์ ออกพระเพทราชา “ฮีโร่” แห่งกรุงศรีฯ จ.สุพรรณบุรี-พระนครศรีอยุธยา
วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2561
วิทยากร : รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี
ราคา 2,700 บาท
.
สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี
Inbox : Facebook Matichon Academy
Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105
line : @matichonacademy

กระทรวงพาณิชย์ ดึงออเจ้าการะเกด-พี่หมื่นฯ “โป๊ป-เบลล่า” บุพเพสันนิวาส ร่วมโปรโมตกิจกรรม “บุฟเฟ่ต์ทุเรียน” หวังกระตุ้นให้เกิดการบริโภคทุเรียน รองรับผลผลิตที่จะออก คาดจะมีผลผลิตออกมาไม่ต่ำกว่า 7.65 แสนตัน

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะจัด กิจกรรม บุฟเฟ่ต์ทุเรียน ซึ่งจะเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ ซึ่งเป็นที่เดียวกับที่เคยจัดเมื่อปีที่แล้ว แต่ปีนี้กระทรวงพาณิชย์มีความตั้งใจจะเชิญนายธนวรรธ์ วรรธนะภูติ หรือโป๊ป และ น.ส.ราณี แคมเปน หรือเบลล่า ดารานักแสดงชื่อดังจากละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” มาร่วมโปรโมตการจัดงานดังกล่าวด้วย

ทั้งนี้ กิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นหนึ่งโครงการที่ต้องการส่งเสริมการตลาดทุเรียน และกระตุ้นให้มีการบริโภคทุเรียนเพิ่มขึ้น และเป็นการรองรับผลผลิตทุเรียนที่กำลังจะออกสู่ตลาดปีนี้ประมาณ 7.65 แสนตัน อีกทั้งกระทรวงฯ ยังมีแผนที่จะจัดกิจกรรมในรูปแบบดังกล่าว “บุฟเฟ่ต์ทุเรียน” ในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ด้วย เพื่อเป็นการโปรโมตและกระตุ้นการบริโภคทุเรียน เช่น ที่เชียงใหม่ ภูเก็ต จันทบุรี ชลบุรี เป็นต้น

“ได้ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อทางผู้จัดการของดาราทั้ง 2 คนไปแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีคิวว่างหรือเปล่า แต่ก็อยากให้มา เพื่อให้มาช่วยกันโปรโมตการบริโภคทุเรียนในปีนี้ โดยภายในงานจะมีการจัดบุฟเฟ่ต์ทุเรียน เพื่อให้คนที่ชื่นชอบทุเรียนได้มาทานทุเรียนแบบไม่อั้น และต้องการให้เป็นกิจกรรมที่คนไทยและต่างชาติรู้จัก หากต้องการกินทุเรียน ก็ต้องมางานนี้ โดยเป้าหมายอยากจะจัดให้ต่อเนื่องทุกปี”

 

 

ถึงแม้ละครบุพเพสันนิวาสจะลาจอไปแล้ว แต่เรื่องราวประวัติศาสตร์ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหลายเรื่องยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจและชวนหาคำตอบ

โดยเฉพาะบางคำถามของแม่การะเกด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ทูตฝรั่งเศสไม่หมอบกราบถวายสาส์น หรือเรื่อง พระนารายณ์ตอบเรื่องเข้ารีต และ ลูกพระนารายณ์จริงๆแล้วมีกี่คน? มาฟังคำตอบจาก รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี ก่อนไป ทัวร์ย้อนเวลาพา “ออเจ้า” ไปเฝ้า “ขุนหลวงนารายณ์” เมืองละโว้ (ลพบุรี) กับ มติชนอคาเดมี 28-29 เม.ย.นี้

เวียร์ หรือ เฮีย นาทีนี้ เบลล่า ต้องเคลียร์

โพสต์โดย เดี่ยว เมื่อ วันอังคารที่ 17 เมษายน 2018

แม้ละครดัง “บุพเพสันนิวาส” จะลาจอด้วยความประทับใจของแฟนๆ พร้อมกระแส “ออเจ้าฟีเวอร์” กันทั่วบ้านทั่วเมือง นอกจากความโรแมนติกของพระนางที่ออกมาล้นจอ ละครยังปลุกกระแสอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้ตื่นตัวอย่างมาก

ล่าสุด เจ้าพ่อเดี่ยวไมโครโฟนของเมืองไทย “โน้ส อุดม” เคลื่อนไหวผ่านแฟนเพจ เดี่ยว ที่มีการอัพเดทข้อมูลบอกใบ้ว่า เดี่ยวครั้งที่ 12 กำลังจะมาเร็วๆ นี้ พร้อมปล่อยคลิปที่ไปลองเวทีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในพาร์ทที่พูดถึงกระแสละครดัง บุพเพสันนิวาส ว่าเจ้าตัวก็เป็นแฟนตัวยงเหมือนกัน

ม้ว่าละครบุพเพสันนิวาสจะลาโรงจบไปแล้ว แต่เรื่องราวของประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังคงเป็นที่สนอกสนใจของผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องราวอันเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ไม่มีการบันทึกใดๆ ไว้ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ชาติไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา จะมีก็แต่จากปากคำการบอกเล่า หรือบันทึกส่วนตัวของผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องกระหายใคร่รู้กันมาก อย่างเช่นเรื่องของ “เจ้าพระยาวิชเยนทร์” หรือ “คอนสแตนติน ฟอลคอน”

เรื่องราวของท่านผู้นี้ “สุกิจ นิมมานเหมินท์” อดีตรองนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ.2512 ราชบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ เคยเขียนหนังสือกล่าวถึงเจ้าพระยาวิชเยนทร์ไว้อย่างน่าสนใจ และเป็นความรู้ใหม่ให้คนอ่านได้ใคร่ครวญตามอย่างที่ท่านว่า ซึ่งเป็นดังนี้…

พระยาวิชเยนทร์หรือวิไชเยนทร์นั้น ตามเอกสารหนังสือที่พอจะพบถ่ายภาพมาได้ ก็ว่าเป็นเจ้าพระยาเสนาบดีของไทยคนแรกที่เป็นคนต่างด้าว เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร รับราชการสนองพระเดชพระคุณในกรมท่า จนได้เลื่อนยศฐาบรรดาศักดิ์ขึ้นเรื่อยๆ โดยเหตุที่ท่านผู้นี้มีชื่อเดิมเป็นภาษากรีกว่า “เยระกี” (Yeraki) บ้าง Hierachy บ้าง แล้วแต่จะสะกดกัน

เมื่อมาสมัครงานเป็นลูกเรืออังกฤษ ก็แปลชื่อสกุลของตน จากคำว่า “เยระกี” ซึ่งแปลว่า “เหยี่ยว” ไปเป็น “Falcon” อ่านว่า “ฟอลคอน” แปลว่า “เหยี่ยว” เหมือนกัน ต่อมาภายหลังเมื่อรู้กันว่ากำพืดเดิมของท่านผู้นี้เป็นกรีก ก็มีผู้เชี่ยวชาญทางภาษาเกิดแก้ตัวสะกดใช้ตัว Ph แทน F ก็เลยแปลงนาม Falcon มาเป็น Phaulkon ซึ่งเมื่อเขียนควบกับนามตัวเข้าไปก็เป็น “คอนสะแตนติน ฟอละคอน” หรือ “Constantine Phaulkon”

แต่ในเอกสารฝรั่งเศสยังใช้แต่บุรุษสรรพนามของท่าน ว่า Monsieur Constance หรือแค่ M.Constance เท่านั้น มีผู้รู้บางท่าน โดยเฉพาะ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยออกความเห็นว่า ตราประจำตระกูลของเจ้าพระยาวิชเยนทร์เป็นรูปเหยี่ยว ดังที่ปรากฏใช้ประทับเอกสารของท่านผู้นั้น ที่ใช้ติดต่อกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝรั่งเศสครั้งนั้น ถ้าดูเผินๆ แล้วจะเห็นได้ว่าช่างคล้ายกับตรา นกวายุภักษ์ ซึ่งเป็นตราประจำกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ หรือกระทรวงการคลังปัจจุบันนี้เอามากๆ

ภาพตราประจำตระกูลจากในละคร
ตราประจำกระทรวงการคลัง

เจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้นี้ นับว่าเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในราชสำนักสยาม หนำซ้ำยังได้ดำรงตำแหน่งสำคัญเป็นถึงสมุหนายก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้อย่างนี้มาก่อน

สวนดุสิตโพลเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ติดตามชมละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” พบประชาชน 48.50% ชอบละครบุพเพสันนิวาส ให้ข้อคิด – สืบสานวัฒนธรรม แนะหน่วยงานต่างๆส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีไทย

วันนี้ (15 เม.ย. 61) “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ติดตามชมละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” เพื่อสะท้อนความคิดเห็นที่ได้รับ จำนวนทั้งสิ้น 1,272 คน ระหว่างวันที่ 10 – 14 เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่าร้อยละ 48.50 เป็นละครที่ดี สนุกสนาน ให้ทั้งข้อคิดและความบันเทิง,ร้อยละ 44.86 ทำให้รู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วัฒนธรรมอันดีงาม โดยประชาชนชอบมากที่สุดคือ ร้อยละ 47.32 พระเอก นางเอก ตัวละครทุกตัว,ร้อยละ 42.35 บทประพันธ์และบทโทรทัศน์ดี เล่าเรื่องสนุก เดินเรื่องได้ดี,ร้อยละ 26.26 การแต่งกาย เสื้อผ้า คำพูด คำศัพท์โบราณ ขณะที่สิ่งที่ไม่ชอบคือร้อยละ 37.13 กระแสโจมตี ดราม่าต่างๆร้อยละ 23.25 การจ้องจับผิดละคร และร้อยละ 21.56 การนำตัวละครไปแอบอ้างใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด อย่างไรก็ตาม ประชาชนมองว่า ละคร “บุพเพสันนิวาส” ทำให้สังคม ประเทศชาติได้รับประโยชน์ เรื่องการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามให้คนรู้จักมากขึ้นถึงร้อยละ 39.75,เรื่องกระตุ้นการท่องเที่ยว มีการตามรอยสถานที่ในละครร้อยละ 22.15 และร้อยละ 17.60 กระตุ้นเศรษฐกิจ เกิดการหมุนเวียนรายได้,

ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 30.77 อยากให้หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องสานต่อ ส่งเสริมสนับสนุนวัฒนธรรมประเพณีไทย,ร้อยละ 28.85 อยากให้รัฐบาลทำนุบำรุงดูแลโบราณสถานให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้,และร้อยละ 22.44 อยากให้รณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยแต่งกายชุดไทยมากขึ้น

อเกาะกระแสละครฮิตอีกสักหน่อย เกี่ยวกับอักษรไทย ตามอย่างในละคร บุพเพสันนิวาส ที่กล่าวถึงออกญาโหราธิบดี ผู้ประพันธ์หรือแต่งหนังสือ “จินดามณี” แบบเรียนในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ จนกระทั่งกลายมาเป็นต้นเค้าของตำราเรียนภาษาไทยที่ใช้ในยุคปัจจุบัน

เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์นิตยา กาญจนะวรรณ ผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย เขียนไว้ในนิตยสาร “มติชนสุดสัปดาห์” ตอนหนึ่ง ว่า ตำราภาษาไทยนับแต่จินดามณี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมา เมื่อกล่าวถึงอักษรไทย ก ถึง ฮ ก็เรียกแต่ ก ข ค ง โดยไม่มีชื่อกำกับว่า ก ไก่ ข ไข่ ดังในปัจจุบัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) ตัว ก ข ค ง ฯลฯ จึงเริ่มมีชื่อกำกับอยู่ 36 ตัว (จากจำนวน 44 ตัว) แต่ก็เป็นไปเพื่อการเล่นหวยเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อการศึกษา

ในครั้งนั้น ฌ ได้ชื่อว่า “ฌ ฮวยกัง” หรือ “ฌ ฮวยกัว”

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จึงได้คิดคำกำกับพยัญชนะเฉพาะ ที่มีเสียงพ้องกัน 26 ตัวขึ้น ในครั้งนั้น ฌ ได้ชื่อว่า “ฌ ฌาน” ต่อมาใน พ.ศ.2442 หนังสือแบบเรียนเร็ว ฉบับที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งที่ 10 ก ถึง ฮ จึงเริ่มมีชื่อกำกับครบทั้ง 44 ตัวเป็นครั้งแรก รวมทั้งมีภาพประกอบด้วย แบบเรียนเร็วนี้เป็นพระนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ในครั้งนั้น ฌ ได้ชื่อว่า “ฌ เฌอ” จากนั้นตำราเรียนในยุคหลังๆ ก็ล้วนแต่มีชื่อกำกับให้ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก ทั้งสิ้น

เล่มที่สำคัญ มีดังนี้

“ดรุณศึกษา” ของ ฟ.ฮีแลร์ เริ่มใช้ในโรงเรียนอัสสัมชัญ และเริ่มพิมพ์เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2453 ต้นรัชกาลที่ 6 ในครั้งนั้น ฌ ก็ยังคงเป็น “ฌ เฌอ”

“มูลบทบรรพกิจ” ฉบับโรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ หรือโรงพิมพ์วัดเกาะ พ.ศ. 2458 และ 2463 มีคำเรียก ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก แถมมาให้ด้วย ในครั้งนั้น ฌ ได้ชื่อ “ฌ ฤๅษีเข้าฌาน”

ส่วนฉบับของโรงพิมพ์ห้างสมุด พ.ศ.2465 ฌ กลายเป็น “ฌ อุปัชฌาย์” และฉบับของโรงพิมพ์พานิชศุภผล ซึ่งพิมพ์ในปีเดียวกัน เรียก ฌ ว่า “ฌ คิชฌะ” (แร้ง)

ต่อจากนั้นมีการแต่ง ก ไก่ คำกลอน เพื่อให้จดจำง่ายยิ่งขึ้น ที่เก่าแก่ที่สุดคือคำกลอนของ ย้วน ทันนิเทศ ซึ่งอยู่ในหนังสือแบบเรียนไว พ.ศ. 2473 ซึ่งเขียนว่า “ฌ เฌอ ริมทาง” แต่ พ.ต.อ.(พิเศษ) ฉลาด พิศาลสงคราม จำข้อความได้เป็นว่า “ฌ กะเฌอ ริมทาง” ต่อมา พยงค์ มุกดา ได้นำคำกลอนนี้มาแต่งเป็นเพลง และได้ใช้ถ้อยคำ “ฌ กะเฌอ ริมทาง”

อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้แต่งคำกลอนนี้ขึ้นมาใหม่อีก ที่มีชื่อเสียงมากและได้เข้ามาแทนที่คำกลอนของย้วน ทันนิเทศ ก็คือคำกลอนที่ปรากฏใน แบบเรียน ก ไก่ ชั้นเตรียมของบริษัทประชาช่าง พิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งใช้ว่า “ฌ กะเฌอ คู่กัน” หนังสือ ก ไก่ ภาพเรียนเขียนอ่าน ของบริษัทประชาช่าง ฉบับราว พ.ศ.2500 ใช้ว่า “ฌ กะเฌอ ริมทาง” หนังสือแบบเรียน ก ไก่ อนุบาล ของบริษัทประชาช่าง พ.ศ. 2533 ใช้ว่า “ฌ เฌอ คู่กัน”

ในปี พ.ศ.2535 มนตรี ศรีบุษรา ได้เสนอว่า “เฌอ” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ไม้” ถ้าจะให้มีความหมายว่า “ต้นไม้” ต้องมีคำว่า “เดิม” อยู่ข้างหน้าด้วย เป็น “เดิมเฌอ” ฉะนั้น ฌ ควรจะเป็น “ฌ เดิมเฌอ”

จะเห็นได้ว่า ฌ มีชื่อเรียกมาอย่างมากมาย คือตั้งแต่ ฌ ฮวยกัง (ฮวยกัว) มาจนถึง ฌ เฌอ ในปัจจุบัน ชื่อที่เรียกต่างกันไปนั้น บางครั้งผู้คิดก็ให้เหตุผลไว้ บางครั้งก็มิได้ให้ เช่น พระยาศรีสุนทรโวหาร ไม่อยากให้เอาชื่อหวยมาเป็นชื่อตัวอักษร ส่วนที่มีพยางค์ “กะ” หรือ “กระ” มานำอยู่ข้างหน้านั้น สามารถใช้เรื่องเสียงมาอธิบายได้ว่า เพื่อให้ออกเสียงได้ถนัดกว่าที่จะพูดแยกกันเป็นคำๆ

หลัง “รอมแพง” ผู้เขียน “บุพเพสันนิวาส” นวนิยายที่กลายมาเป็นละครสุดโด่งดัง สร้างกระแสออเจ้าไปทั่วบ้านทั่วเมือง คอนเฟิร์มแล้วว่าจะแต่งนิยายบุพเพสันนิวาส ภาค 2 ที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “พรหมลิขิต” ออกมาให้แฟนๆ ได้อ่านกัน ทำเอาหลายคนลุ้นไปพร้อมๆ กันว่า ภาคต่อจากนี้ เรื่องราวจะออกมาเป็นอย่างไร

ล่าสุด “มติชน อคาเดมี” สัมภาษณ์ รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี นักวิชาการประวัติศาสตร์ ถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่อาจเกี่ยวข้องกับภาคต่อของนิยายดังกล่าว โดย รศ.ดร.ปรีดี กล่าวว่า ภาคต่อของนิยายเรื่องนี้คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับลูก 4 คนของขุนศรีวิสารวาจาและแม่หญิงการะเกด และลูกสาว 2 คนของขุนเรืองอภัยภักดีและแม่หญิงจันทร์วาด

“หากพูดถึงเรื่องของประวัติศาสตร์แล้ว เรื่องราวในนิยายจะตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งจะอยู่ในยุคของพระเพทราชาและพระเจ้าเสือนิดหน่อย แต่จะหนักไปที่ยุคของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระมาก เพราะเป็นยุคที่ลูกๆ ของตัวเอกในบุพเพสันนิวาสโตพอดี ซึ่งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญในยุคนี้มีหลายเรื่อง ได้แก่ เหตุการณ์ชีวิตของทองกีร์มา, เรื่องของพระอุบาลี ที่มีการส่งสมณทูตไปลังกา”

นอกจากนี้ ยังน่าจะมีสถานที่สำคัญ เช่น คลองโคกขาม ซึ่งเป็นคลองที่ขุดเสร็จในยุคของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เป็นต้น ส่วนในแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เรื่องราวค่อนข้างเงียบ แต่ก็มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจคือเรื่องเจ้าฟ้ากุ้ง

ขณะเดียวกันประวัติศาสตร์อยุธยาตอนปลายจะเป็นเรื่องปัญหาการเมืองภายใน ไม่ใช่เรื่องการติดต่อกับต่างประเทศแบบในยุคสมเด็จพระนารายณ์ด้วย

ฟังแค่นี้ก็น่าสนใจแล้ว คงต้องรอลุ้นว่า “รอมแพง” จะเขียนเรื่องราวออกมาเป็นอย่างไร ส่วนใครที่สนใจประวัติศาสตร์ในยุคนี้ “มติชน อคาเดมี” อาจจัดทริปไปย้อนอดีตกับเรื่องราวในยุคปลายของกรุงศรีอยุธยา รอติดตามข่าวสารกันได้!

“ความสนุกของประวัติศาสตร์อยุธยาอยู่ที่ว่า ข้อมูลแต่ละข้อมูลเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เมื่อเราหาหลักฐานหรืออะไรต่างๆ ที่มาเจอใหม่ แต่ว่าเราต้องใจกว้าง เพราะว่าถ้าเรียนประวัติศาสตร์แล้วทำใจแคบ แปลว่าเรายึดสิ่งนั้นเป็นสรณะไปแล้ว ถ้าอย่างนั้นประวัติศาสตร์จะหยุดนิ่งแล้วก็ตาย” รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี
.
รวมบรรยากาศความประทับใจทัวร์ ดูละครบุพเพสันนิวาส ดูประวัติศาสตร์อยุธยา รอบแรก เมื่อวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา ที่นอกจากจะสนุก ยังเต็มอิ่มไปด้วยสาระความรู้ของประวัติศาสตร์อยุธยาที่ชวนค้นหาได้อย่างไม่รู้จบ…

สนใจทัวร์ประวัติศาสตร์กับมติชนอคาเดมี ติดตามได้ที่เพจ Matichon Academy และ เพจ ทัวร์มติชนอคาเดมี เราจะอัพเดทโปรแกรมทัวร์ล่าสุดและข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมที่น่าสนใจ

รับจัดทัวร์แบบ PrivateTour และ VIPTour ในเส้นทางศิลปวัฒนธรรม และเส้นทางทัวร์สายเกษตร

สนใจติดต่อ
0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097
หรือ line @m.academy

หลังจากกระแสละครบุพเพสันนิวาสทำให้คนไทยทั่วทั้งประเทศมีความตื่นตัว สำนึกความเป็นไทย ติดใจการแต่งกายแบบย้อนยุค การแต่งกายของตัวละคร สร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยหันมานิยมการแต่งกายชุดไทย กระทั่งกระทรวงวัฒนธรรมมีนโยบายให้ข้าราชการแต่งกายชุดไทยทุกวันศุกร์ สัปดาห์ละ 1 วัน ทำให้ชุดไทย มีไม่พอกับความต้องการของผู้บริโภค ล่าสุดพบว่า เสื้อผ้าชุดไทยเริ่มขาดตลาด ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าชุดไทยต่างได้รับอานิสงส์ มีลูกค้าสั่งตัดเพิ่มขึ้น กระทั่งตัดไม่ทัน ในขณะที่ใกล้วันสงกรานต์ ออเดอร์ตัดชุดไทยยิ่งเพิ่มทวีคูณ ร้านตัดเสื้อชุดไทยต่างรับทรัพย์อื้อตามๆ กัน

เมื่อวันที่ 9 เมษายน น.ส.กาญจนา หรืออุ๋ม จันทร์สง อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 117 หมู่ 14 บ้านหนองผูกเต่า ต.บ้านแก้ง อ.เมือง จ.สระแก้ว หนึ่งในช่างตัดเย็บเสื้อผ้าชุดไทย เปิดเผยว่า เรียนจบปริญญาตรี ด้านคหกรรมศาสตร์ แต่ชอบการตัดเย็บมากกว่าการทำอาหาร จึงได้ฝึกการตัดเย็บและเรียนเพิ่มเติมด้านการตัดเย็บจากช่างผู้ชำนาญการ และชื่นชอบการแต่งกายชุดไทยมาตั้งแต่เด็ก เมื่อมีบุตร 2 คน ก็ได้ตัดชุดไทยให้ลูกใส่เป็นประจำ

“ก่อนหน้านี้ได้ทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้เงินเดือนหลายหมื่นบาท แต่ก็ไม่พอใช้ เนื่องจากสิ้นเดือนต้องกลับบ้านที่ จ.สระแก้ว เพื่อดูแลลูก 2 คน ที่ฝากให้แม่เลี้ยง การอยู่ห่างจากครอบครัว ถึงแม้จะได้เงินมาก แต่ก็รู้สึกขาดความอบอุ่นจากครอบครัว เมื่อปี 2558 จึงได้ลาออกจากงานประจำ กลับมาทำงานที่บ้านเกิด ทำสวนทำไร่ สืบทอดอาชีพของพ่อแม่ แต่สิ่งที่ชอบคือการเย็บผ้าเสื้อผ้า เมื่อกลับมาอยู่บ้าน จึงได้ยึดอาชีพตัดเย็บเป็นอาชีพหลัก แต่ก็ทำได้ไม่เต็มที่เนื่องจากขาดเงินลงทุน จึงทำได้ในจำนวนจำกัด แต่ละวันจะตัดเสื้อผ้าที่เป็นชุดไทย จำนวน 10 ตัว จากนั้นจะมีแม่ค้ามารับไปขาย โดยขายส่งในราคาตัวละ 100-180 บาท แต่เมื่อมีกระแสละครบุพเพสันนิวาสเข้ามา ทำให้มีลูกค้าเข้ามาสั่งจำนวนมาก มีทั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่ สำนักงาน สมาชิก อบต. ได้นำผ้ามาให้ตัดจำนวนมาก และขณะนี้ใกล้กับวันสงกรานต์แล้ว ก็ยิ่งมีหน่วยงานต่างๆ มาสั่งตัดเพิ่มขึ้นอีก ทำให้ระยะนี้มีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 1,000-1,800 บาท หักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือวันละ 500-800 บาทเศษ” น.ส.กาญจนา กล่าว

 

ที่มา มติชนออนไลน์