กิมจิ เป็นของกินตามประเพณีในอาหารเกาหลี ประกอบด้วย ผัก เช่น ผักกาดขาวและหัวไชเท้า ที่หมักดองด้วยเกลือและเครื่องปรุงอื่นๆ เช่น ผงพริกที่เรียกว่าโกชูการู ต้นหอม กระเทียม ขิง และอาหารทะเลหมักเค็มที่เรียกช็อตกัล มักรับประทานเป็นเครื่องเคียงแทบทุกมื้อ และมักใช้เป็นส่วนผสมในอาหารประเภทต้มและตุ๋น

กิมจินั้นมีหลายร้อยรูปแบบ ซึ่งทำด้วยผักที่ต่างกันออกไป ตามประเพณีแล้ว กิมจิมักเก็บไว้ในโอ่งดินขนาดใหญ่ที่เรียกว่า องกี แล้วฝังไว้ใต้ดินเพื่อไม่ให้แข็งตัวในช่วงฤดูหนาว และเพื่อรักษาอุณหภูมิไม่ให้เน่าเปื่อยเร็วไปในช่วงฤดูร้อน โอ่งดังกล่าวบางทีก็เก็บไว้นอกบ้านตรงชานที่ทำขึ้นพิเศษ เรียกว่า ชังดกแด ส่วนในยุคปัจจุบัน หันไปใช้ตู้แช่กิมจิกันมากขึ้น

ประโยชน์ของกิมจิ

สารอาหารที่ถูกอัดแน่นในผักที่นำมาทำกิมจิ ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 6 แร่ธาตุ และกรดอะมิโนมากกว่า 34 ชนิด ซึ่งสารอาหารเหล่านั้นอาจมีปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับกระบวนการทำเครื่องปรุงของแต่ละสูตร แต่โดยรวมแล้ว การรับประทานกิมจิในปริมาณที่เหมาะสมอาจเข้ามาช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ ดังนี้

1. ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี

ด้วยโพรไบโอติก (Probiotics) ในกิมจิ และแบคทีเรียชนิดดีอย่างแลคโตบาซิลลัส อาจเข้าไปมีส่วนช่วยสร้างให้ระบบย่อยอาหารมีการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งยังอาจป้องกันโรคท้องร่วง ท้องผูก และปรับปรุงสุขภาพในช่องทางเดินอาหารให้มีความสมดุลยิ่งขึ้น

2. สุขภาพหัวใจแข็งแรงขึ้น

จากการศึกษาผู้เข้าร่วมทดสอบจำนวน 100 คน ที่รับประทานกิมจิ 15-210 กรัมต่อวัน ผลสรุปออกมาว่าระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ที่เชื่อมโยงกับการก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคหัวใจนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด

3. เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

การรับประทานผักที่ผ่านการหมักดอง ทำให้เกิดการก่อตัวของแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียในเชิงบวกที่ดีต่อสุขภาพ จากการศึกษากับหนูทดลองที่ได้รับการฉีดแลคโตบาซิลลัสชนิด Plantarum ที่ถูกค้นพบในกิมจิจำนวนมาก พบว่าระดับของ Tumor necrosis factor (TNF)-alpha ที่สร้างความอักเสบของภายในร่างกายลดลง จึงทำให้ไม่เข้าไปขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการทำงานเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ

4. ปรับปรุงระบบความจำ

ในการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองกับหนูทดลอง โดยให้หนูบริโภคผัก หรือวัตถุดิบที่นำมาทำกิมจิ พบว่าอาจทำให้ระบบความจำและทักษะที่ดีขึ้น จึงทำให้นักวิจัยได้ดำเนินการพัฒนา และวิเคราะห์ไปถึงการนำมารักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ในอนาคต

5. บรรเทาอาการอักเสบ

จากการตรวจสอบสารอาหารในกิมจิ นักวิจัยได้พบสารประกอบชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า HDMPPA ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในเรื่องของการต้านการอักเสบ และบำรุงหลอดเลือดให้มีการไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น ถึงอย่างไร ยังคงต้องมีการวิเคราะห์ ศึกษาเพิ่มเติมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารประกอบนี้อย่างละเอียดอีกครั้ง

6. ลดน้ำหนัก

การรับประทานผักหรืออาหารหมักดอง มักทำให้ร่างกายได้รับแคลอรี่ในปริมาณที่น้อย จึงอาจทำให้น้ำหนักลดลงได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานกิมจิควรรับประทานคู่กับเมนูอื่นๆ ที่มีสารอาหารอย่างครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เพื่อเป็นการเพิ่มพลังงานในร่างกายในแต่ละวัน และควรออกกำลังกายอย่างเป็นประจำต่อเนื่อง โดยสามารถเข้ารับคำปรึกษาจากนักโภชนาการ หรือเทรนเนอร์ควบคู่กันไปด้วย

ผลข้างเคียงของกิมจิต่อสุขภาพ

แม้ว่าการรับประทานกิมจิอาจจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในขณะเดียวกันอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน เนื่องจากอาหารหมักดอง มักประกอบไปด้วยเกลือ หรือโซเดียมอยู่จำนวนมาก ทำให้ผู้ที่รับประทานเกินกว่าปริมาณ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน อาจได้รับความเสี่ยงที่จะทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้แปรปรวน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากต้องการจะรับประทานกิมจิอย่างปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแบบสดๆ และหันมารับประทานควบคู่กับข้าวสวยร้อนๆ หรือนำมาปรุงในเมนูอื่นๆ ทดแทน

นอกจากนั้นแล้ว สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจ ควรขอรับคำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการรับประทาน และท้ายนี้ต้องขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Hello คุณหมอด้วยนะคะ

จีน - เกาหลีใต้ ใครเป็นเจ้าของกิมจิ? กำลังเป็นที่ถกเถียงกันเป็นวงกว้างทั้งในประเทศจีนและเกาหลีใต้ เพื่อแย่งชิงทางวัฒนธรรมถึงการเป็นเจ้าของ "กิมจิ"

เรื่องเริ่มต้นมาจากผักดองแบบดั้งเดิมของจีนที่ชื่อว่า “เพ่าช่าย” (Pao Cai) เป็นเมนูจากมณฑลเสฉวน โดยเมื่อไม่นานมานี้เมนูดังกล่าวเพิ่งได้รับการรับรองมาตรฐานสากลหรือ ISO (International Organization for Standardisation) และได้มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ โกลบอล ไทม์ ของจีนว่า “จีนเป็นผู้นำอุตสาหกรรมกิมจิในมาตรฐานสากล”

ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวเน็ตเกาหลีจึงออกมาเรียกร้องทวงคืนศักดิ์ศรีกิมจิขอคืนให้ชาวเกาหลีใต้ ซึ่งพวกเขารู้สึกโกรธแค้นและยังบอกอีกว่า การที่จะให้กิมจิเป็นเรื่องของนานาชาตินั้นเป็นเรื่องที่ตลกมาก และชาวเกาหลีใต้ยังกังวลอีกว่าสักวันหนึ่งจีนจะไม่เพียงขโมยแค่กิมจิ แต่คงจะพยายามขโมยวัฒนธรรมไปด้วย เช่น ชุดฮันบก

ในขณะที่ฝั่งจีนก็ได้มีอ้างว่า “กิมจิ” เป็นของตนเช่นเดียวกัน โดยนายเหมิง ชาวกรุงปักกิ่ง บอกว่า “ทุกคนมีวิถีชีวิตต่างกัน คุณมีในแบบคุณ ผมมีในแบบผม แล้วทำไมเราพัฒนาไปด้วยกันไม่ได้เหรอ เราไม่ได้เหยียดคุณ และเราก็ขาย สนับสนุนกิมจิด้วย แต่คุณมากดทับเรา มันไม่ยุติธรรม” รวมไปถึงชาวเน็ตบางส่วนยังบอกอีกว่า “แม้กระทั่งการออกเสียงว่ากิมจิ ยังมาจากจีนเลย มีคำเรียกอื่นอีกเหรอ”

อย่างไรก็ตามเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกาหลีใต้เองก็ยังนำเข้ากิมจิที่ผลิตในจีน เนื่องจากความต้องการที่สูงมากของผู้บริโภค ในทางกลับกันเกาหลีแทบไม่เคยส่งออกกิมจิไปที่จีนเลยเนื่องจากจีนมีกฎหมายควบคุมอาหารดองที่เข้มงวด

แต่นี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการถกเถียงกันเรื่อง “กิมจิ” เพราะเมื่อปี 2544 เกาหลีใต้ก็เคยถกเถียงกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับวิธีการทำกิมจิมาแล้วเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามองค์การยูเนสโกได้ออกมารับรองแล้วว่า “กิมจัง” หรือ กระบวนการทำกิมจินั้นเป็นมรดกที่จับต้องไม่ได้

ที่มา nextshark.com

ส่วนผสม

หัวผักกาดขาว2หัว
พริกเกาหลี50กรัม
พริกชี้ฟ้าปั่น70กรัม
กุ้งเคย (กุ้งตัวเล็กๆ แช่น้ำเกลือ)50กรัม
กุ้งสดปั่น60กรัม
หัวไชเท้าหั่นเส้นยาว250กรัม
ต้นหอมหั่นยาว80กรัม
น้ำตาล30กรัม
หัวหอมปั่น50กรัม
กระเทียมปั่น70กรัม
แป้งข้าวเหนียวผสมน้ำผสมน้ำต้ม110กรัม
ขิงปั่น10กรัม
แอปเปิ้ลปั่น70กรัม
น้ำปลาเกาหลี50กรัม
เกลือ70กรัม

วิธีแช่ผัก

  1. ทำความสะอาดผักกาดขาว เอาใบข้างที่ไม่สวยออก แล้วหั่นผักกาดขาวออกเป็น 2 ส่วน 
  2. ผสมน้ำเกลือสำหรับแช่ผักกาดขาว เพิ่มรสเค็มตามความชอบ
  3. นำเกลือมาใส่ทุกชั้นใบของผักกาดขาวให้ทั่วถึง เสร็จแล้วนำผักกาดขาวทั้งหมดลงไปแช่น้ำเกลือที่ผสมเอาไว้ โดยทิ้งไว้ 5 ชั่วโมง
  4. หลังจากครบ 5 ชั่วโมงแล้ว บีบน้ำเกลือออกผักกาดขาวจนสะเด็ดน้ำ เอาใส่ตระแกรงพักไว้

วิธีหมักกิมจิ

  1. นำหัวไช้เท้าที่หั่นเส้นไว้แล้วลงผสมกับพริกชี้ฟ้าปั่น และแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำต้ม คลุกเคล้าให้เข้ากัน 
  2. ใส่พริกเกาหลี กระเทียมปั่น หัวหอมใหญ่ปั่น แอปเปิ้ลปั่น ขิงปั่น กุ้งเคยปั่น และกุ้งสดปั่น ผสมให้เข้ากัน
  3. หลังจากส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา เกลือ ตามด้วยต้นหอม ผสมให้เข้ากันดีและชิมรสได้ตามชอบ
  4. นำผักกาดขาวที่พักไว้มาหมักกับกิมจิ อย่าลืมคลุกเคล้ากิมจิลงไปตามใบของผักกาดขาวทีละชั้นจนทั่ว โดยไล่จากใบข้างล่างขึ้นไปข้างบน เสร็จแล้วม้วนจัดให้เข้ารูป
  5. นำใส่กล่องหมักแล้วนำแช่ตู้เย็น ถ้าชอบเปรี้ยวให้หมักนานขึ้น

ที่มา : บล็อกเล่าเก้าสิบ

กิมจิ (Kimchi) ถือได้ว่าเป็นเครื่องเคียง หรือผักดองสไตล์เกาหลียอดนิยม ที่มักนำมารับประทานคู่กับเนื้อย่าง หรืออาจนำมาถูกปรุงในเมนูต่างๆ เช่น ข้าวผัดกิมจิ ซุปกิมจิ เป็นต้น ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ทำมาจากผักต่างๆ แน่นอนว่าสิ่งที่ถูกทำมาจากผักนั้นล้วนให้ประโยชน์แก่ร่างกายของเราหลากหลายประการ

ประโยชน์ของการรับประทาน “กิมจิ” มีอะไรบ้าง

สารอาหารที่ถูกอัดแน่นในผักที่นำมาทำกิมจิ ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 6 แร่ธาตุ และกรดอะมิโนมากกว่า 34 ชนิด ซึ่งสารอาหารเหล่านั้น อาจมีปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีกระบวนการทำ เครื่องปรุง ของแต่ละสูตร แต่โดยรวมแล้ว การรับประทานกิมจิในปริมาณที่เหมาะสมอาจเข้ามาช่วยปรับปรุงสุขภาพของเราให้ดีขึ้นได้ ดังนี้

เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

การรับประทานผักที่ผ่านการหมักดอง ทำให้เกิดการก่อตัวของ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียในเชิงบวกที่ดีต่อสุขภาพ จากการศึกษากับหนูทดลองที่ได้รับการฉีดแลคโตบาซิลลัสชนิด Plantarum ที่ถูกค้นพบในกิมจิจำนวนมาก พบว่าระดับของ Tumor necrosis factor (TNF)-alpha ที่สร้างความอักเสบของภายในร่างกายลดลง จึงทำให้ไม่เข้าไปขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการทำงานเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ

สุขภาพหัวใจแข็งแรงขึ้น

จากการศึกษาผู้เข้าร่วมทดสอบจำนวน 100 คน ที่รับประทานกิมจิเข้าไป 15-210 กรัมต่อวัน ผลสรุปออกมาว่าระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ที่เชื่อมโยงกับการก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคหัวใจนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี

ด้วยโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ในกิมจิ และแบคทีเรียชนิดดีอย่างแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) สามารถเข้าไปมีส่วนช่วยสร้างให้ระบบย่อยอาหารมีการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งยังอาจปกป้องคุณจากโรคท้องร่วง ท้องผูก และปรับปรุงสุขภาพในช่องทางเดินอาหารของคุณให้มีความสมดุลยิ่งขึ้น

บรรเทาอาการอักเสบ

จากการตรวจสอบสารอาหารในกิมจิ นักวิจัยได้พบสารประกอบชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า HDMPPA ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในเรื่องของการต้านการอักเสบ และบำรุงหลอดเลือดให้มีการไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น ถึงอย่างไรยังคงต้องมีการวิเคราะห์ ศึกษาเพิ่มเติมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารประกอบนี้อย่างละเอียดอีกครั้ง แต่นอกจากสาร HDMPPA ในกิมจิยังมีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ที่กล่าวมาข้างต้นอาจสามารถเข้าไปต่อต้านอาการอักเสบที่จะเกิดขึ้นแก่อวัยวะ หรือการทำงานของระบบภายในของเราได้เช่นเดียวกัน

ลดน้ำหนัก

การรับประทานผัก หรืออาหารหมักดอง มักมีตัวเลขของแคลอรี่ที่ต่ำมาก จึงอาจทำให้ผู้ที่รับประทานเข้าไปรู้สึกราวกับว่าน้ำหนักตัวนั้นลดลง แต่ยังไงก็ตามการรับประทานกิมจิควรทานคู่กับเมนูอื่น ๆ ที่มีสารอาหารเพียงพออย่างครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เพื่อเป็นการเพิ่มพลังงานในร่างกายของเราในแต่ละวัน และควรออกกำลังกายอย่างเป็นประจำต่อเนื่อง โดยคุณสามารถเข้ารับคำปรึกษาได้จากนักโภชนาการ หรือเทรนเนอร์ควบคู่กันไปด้วยก็ย่อมได้

 

ปรับปรุงระบบความจำ

ในการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองกับหนูทดลอง โดยให้หนูบริโภคผัก หรือวัตถุดิบที่นำมาทำกิมจิ ซึ่งพบว่าพวกมันมีการเกิดระบบความจำ และทักษะที่ดีขึ้น จึงทำให้นักวิจัยได้ดำเนินการพัฒนา และวิเคราะห์ไปถึงการนำมารักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ในอนาคต

ผลข้างเคียงของ “กิมจิ” ต่อสุขภาพ

ถึงจะประโยชน์มากมายต่อสุขภาพดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่คุณทราบหรือไม่ว่าการทานกิมจิก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณได้เช่นกัน เนื่องจากอาหารหมักดอง มักประกอบไปด้วยเกลือ หรือโซเดียมอยู่จำนวนมาก ทำให้ผู้ที่รับประทานเกินกว่าปริมาณ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน อาจได้รับความเสี่ยงที่จะทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้ของคุณแปรปรวน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากคุณมีความประสงค์ต้องการรับประทานกิมจิอย่างปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการทานแบบสดๆ และหันมารับประทานควบคู่กับข้าวสวยร้อนๆ หรือนำมาปรุงในเมนูอื่นๆ ทดแทน

นอกจากนั้นแล้ว สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจ ควรขอรับคำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการรับประทาน

ที่มา : Sanook.com

หลายคนอาจสงสัยว่ามีความเสี่ยงต่างกันหรือระหว่างหมูกระทะบุฟเฟ่ต์กับหมูเกาหลีที่กําลังพูดถึงอยู่นี้ ก็ต้องบอกว่ามีทั้งเหมือนและไม่เหมือน

ที่เหมือนคือ ความเสี่ยงในเรื่องปริมาณไขมันคอเลสเตอรอล ที่ต่างก็คือ เราไม่ต้องกังวลเรื่องการกินมากเพราะไม่ใช่บุฟเฟ่ต์และคุณภาพของอาหารอาจดีกว่า แต่ความเสี่ยงที่มาจากการกินหมูเกาหลีก็มีเพิ่มขึ้นด้วย

กิมจิก็มีความเสี่ยง

ตามปกติแล้วร้านหมูเกาหลีมักเสิร์ฟกิมจิให้มากินคู่ บางร้านมีกิมจิเป็นสิบๆ อย่าง หากมองในแง่ดี กิมจิเป็นอาหารชนิดโปรไบโอติกส์ที่ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีให้แก่ร่างกาย แต่ขณะเดียวกันกิมจิก็เป็นเช่นเดียวกับอาหารชนิดอื่นๆ คือ หากไม่ได้ทําอย่างถูกต้องและพิถีพิถันก็มีความเสี่ยงได้

ความเสี่ยงต่อการใช้ผักปนเปื้อนสารเคมี เป็นความเสี่ยงแรกที่มองข้ามไม่ได้อย่างเด็ดขาดกับการ กินกิมจิ เพราะ “ผักกาดขาว” ซึ่งถือเป็นกิมจิมาตรฐานที่ทุกร้านเกาหลีเสิร์ฟ เป็นหนึ่งในสี่ชนิดของผักที่ตรวจพบยาฆ่าแมลงมากที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีการตรวจพบว่ามีไข่พยาธิปนเปื้อนอยู่ในกิมจิบางชนิดด้วย เพราะกระบวนการทํากิมจิที่ไม่ได้ผ่านความร้อน ดังนั้น ไข่พยาธิที่ล้างออกไม่หมดก็จะยังมีชีวิตอยู่และส่งผลเสียต่อสุขภาพได้หากกินเข้าไป อีกความเสี่ยงหนึ่งของกิมจิก็คือ ในกิมจิมีเกลือผสมอยู่ค่อนข้างมาก หากเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว การรับประทานเกลือหรือโซเดียมเข้าไปมากๆ จะทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทํากิมจิในบ้านเราในช่วงหลังที่มักพบว่ามีการเติมผงชูรสลงไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มรสชาติ ซึ่งนั่นเป็นการเพิ่มเกลือลงไปในอาหารโดยไม่จําเป็นและส่งผลเสียอย่างแน่นอน

ร้านเกาหลีมีความเสี่ยง

ไม่เฉพาะความเสี่ยงจากอาหารเท่านั้น แต่การกินอาหารเกาหลีแบบปิ้งย่างในร้านมีความแตกต่างจากหมูกระทะบุฟเฟ่ต์อย่างชัดเจนคือ “สถานที่” ซึ่งส่วนใหญ่ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์มักอยู่ในร้านที่เปิดโล่งเพื่อประหยัดต้นทุนค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ

แต่หมูเกาหลีซึ่งอยู่ในร้านและมีราคาค่อนข้างสูงมักตกแต่งร้านอย่างสวยงาม โดยทําเป็นห้องแอร์เพื่อทําให้คนกินรู้สึกคุ้มค่าต่อการจ่ายค่าอาหารที่สูง ทว่านี่แหละคือความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะร้านที่ได้รับความนิยมสูงหรือมีผู้อุดหนุนมากๆ

มีข่าวปรากฏในสื่อมวลชนว่ามีผู้เข้าไปรับประทานอาหารหมูกระทะ-เนื้อย่างเกาหลีในร้านอาหารเขตกรุงเทพมหานครแล้วเกิดเป็นลมมากกว่า 5 คน ต่อมา กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้ตรวจสอบข้อมูลและเปิดเผยว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในร้านอาหารหมูกระทะ-เนื้อย่างเกาหลีแห่งหนึ่ง

ในวันเกิดเหตุ ภายในร้านมีการจัดงานเลี้ยงของบริษัทแห่งหนึ่ง และใช้ห้อง วี.ไอ.พี. ขนาดพื้นที่ 35 ตารางเมตร แต่มีผู้เข้าไปร่วมงานถึง 30 คน พร้อมเครื่องปิ้งย่างหลายกระทะ ทําให้ขาดอากาศถ่ายเท ขาดก๊าซออกซิเจน จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ร่วมงานหลายคนมีอาการมึนงงและเป็นลมในที่สุด ขณะนี้ได้สั่งห้ามไม่ให้ใช้ห้อง วี.ไอ.พี. เป็นสถานที่บริการหมูกระทะ-เนื้อย่างเกาหลีแก่ลูกค้า เพราะเป็นห้องขนาดเล็กและไม่มีระบบดูดควันหรือการถ่ายเทอากาศที่ได้มาตรฐาน

นั่นหมายความว่า การรับประทานเนื้อย่างเกาหลีในห้องอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศนั้นค่อนข้างเป็นอันตราย เพราะในขณะปิ้งหรือย่างจะเกิดควันขึ้น โดยควันเหล่านี้ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์นั้นมีอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก

เมื่อคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าสู่ร่างกายจะไปขัดขวางการจับเกาะของก๊าซออกซิเจนกับฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ในเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะจับกับฮีโมโกลบินอย่างแน่นหนาและถาวรกลายเป็นสารที่เรียกว่าคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (carboxyhemoglobin) และอัตราเร็วของการจับเกาะของก๊าซนี้กับฮีโมโกลบินจะเร็วกว่าการจับเกาะกันของก๊าซออกซิเจนกับฮีโมโกลบินประมาณ 200-300 เท่า เป็นผลให้เซลล์เม็ดเลือดแดงนำก๊าซออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายลดลง จึงเกิดอาการผิดปกติขึ้นได้ ส่วนอาการที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเวลาและปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ได้รับ

หากได้รับก๊าซนี้ทีละน้อยๆ เป็นเวลานานๆ หรือได้รับอย่างสม่ำเสมอจะทําให้เกิดอาการอ่อนเพลียทั้งร่างกายและจิตใจ มีอาการเวียนศีรษะ หงุดหงิด ความจําเสื่อม ประสาทสัมผัสในการเห็นและการได้ยินผิดปกติไปจนถึงเบื่ออาหาร และผลสุดท้ายทําให้สุขภาพทรุดโทรมได้ง่าย

แต่ถ้าหากได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณมากจะรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก ชีพจรเต้นช้า หน้ามืดตาลาย กล้ามเนื้อแขนขาหมดกําลังจนไม่สามารถยืนได้ และเป็นลมหรือหมดสติได้

ในกรณีของหญิงมีครรภ์ ถ้าได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป จะทําให้ปริมาณก๊าซออกซิเจนที่จะไปสู่ทารกในครรภ์ลดลง ถ้าเป็นเช่นนี้ไปนานๆ เป็นผลให้ทารกเจริญเติบโตได้ช้า และทารกที่คลอดจะมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ หรือบางกรณีก็อาจทําให้เกิดการแท้งได้

ลดความเสี่ยง

การเลือกรับประทานหมูเกาหลีในร้าน ต้องเลือกดูจากผู้ประกอบการที่ใส่ใจ ทั้งเรื่องความสะอาดและออกแบบสถานที่โดยคำนึงถึงการระบายอากาศในร้าน และข้อปฏิบัติมาตรฐานของการกินที่ปลอดภัยอีกประการหนึ่งที่ย้ำเสมอคือ การไม่รับประทานปริมาณมาก หรือบ่อยเกินไป

ในกรณีเหตุการณ์ที่ผู้บริโภคเป็นลมในห้องอาหารที่รับประทานหมูกระทะ-เนื้อย่างเกาหลีดังกล่าวแล้ว อาจเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประกอบการหรือของร้านอาหาร การป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นอีกทําได้โดยผู้ประกอบการต้องให้บริการหมูกระทะ-เนื้อย่างเกาหลีในสถานที่โปร่งสบาย และมีการระบายอากาศหรือถ่ายเทอากาศที่ดี เพื่อให้ระบายความร้อนหรือควันจากการปิ้งหรือย่างออกไปได้อย่างรวดเร็ว

ส่วนผู้ประกอบการที่ต้องการให้บริการลูกค้าในห้องปรับอากาศก็จะต้องติดตั้งเครื่องดูดอากาศไว้ด้วย และต้องมีอัตราการระบายอากาศในลักษณะใกล้เคียงกับห้องครัวในร้านอาหารและที่พักอาศัย ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2535 โดยให้มีอัตราการระบายอากาศไม่น้อยกว่า 12-24 เท่าของปริมาตรของห้องใน 1 ชั่วโมงจึงจะถือว่าปลอดภัย

หมู-เนื้อเกาหลี

เนื้อวัว-เนื้อหมู สันใน 500 กรัม / น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ / ซีอิ๊วขาว 3 ช้อนโต๊ะ / น้ำมันงา 2 ช้อนโต๊ะ

เครื่องเคียง กิมจิ ผักกาดหอม กระเทียมสด

น้ำจิ้มสูตรเกาหลี

ส่วนผสม

มิโสะ 2 ช้อนโต๊ะ 1 ก้อน / โชยุหรือซีอิ๊วขาว ½ ถ้วยตวง / น้ำส้มสายชูหมัก ¼ ถ้วยตวง / น้ำตาลผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ / งาคั่วละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ / น้ำมันงาปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ / กระเทียมบดละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  1. หั่นเนื้อสัตว์เป็นชิ้นบางๆ แล้วหมักด้วยน้ำผึ้ง ซีอิ๊วขาว และน้ำมันงา พักไว้
  2. ทำน้ำจิ้มโดยผสมเครื่องปรุงทั้งหมดเข้าด้วยกัน (น้ำจิ้มจะเป็นลักษณะข้นๆ)
  3. ย่างเนื้อสัตว์รับประทานกับน้ำจิ้ม ผัก และเครื่องเคียง

 

ข้อมูลจาก : หนังสืออาหารเสี่ยงเลี่ยงได้ สำนักพิมพ์มติชน

หลายคนอาจจะคุ้นเคยว่า ชนชาติที่มีอายุขัยเฉลี่ยบืนยาวที่สุดในโลก คือ ชาวญี่ปุ่น แต่งานวิจัยที่จัดทำขึ้นโดยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน และองค์การอนามัยโลก และเพิ่งเผยแพร่ในวารสาร The Lancet แสดงให้เห็นว่า หญิงเกาหลีใต้ที่เกิดตั้งแต่ปี 2030 จะเป็นคนกลุ่มแรกในโลกที่มีอายุยืนยาวเฉลี่ยเกิน 90 ปี

ขณะที่อีก 6 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา ชิลี และสหราชอาณาจักร อายุขัยเฉลี่ยของผู้หญิงก็น้อยกว่าไม่มากนัก คืออยู่ที่ประมาณ 85 ปี

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนวิเคราะห์ว่า สิ่งที่ทำให้สาวเกาหลีมีอายุขัยยืนยาวนั้นน่าจะมาจากอาหาร โดยเฉพาะ “กิมจิ” อาหารที่ทำจากการนำผักมาดอง รสชาติเค็มและเผ็ด โดยส่วนใหญ่แล้วใช้ผักกาด

กิมจิเป็นอาหารดองที่อุดมไปด้วยโปรไบโอติกส์ วิตามินเอและบี นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแลคโตบาซิลลีจำนวนมาก ซึ่งเป็นแบคทีเรียดีที่พบในโยเกิร์ตและทางเดินอาหาร

อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่กิมจิอย่างเดียวเท่านั้นที่ทำให้อายุยืนยาวขึ้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกไม่ว่าจะเป็นระบบการดูแลสุขภาพอันยอดเยี่ยมของเกาหลี, การพัฒนาการศึกษาด้านโภชนาการ, การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสภาพสังคม, อัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่ลดลง ก็ล้วนช่วยลดอัตราการตายได้ แต่การกินอาหารที่ประกอบด้วยกิมจิ, ข้าว และปลา ก็ดูเหมือนจะเสริมได้นั่นเอง


Content Team Matichon Academy
ติดต่อ อีเมล์ : [email protected]
โทรศัพท์ 0-2954-3971 ต่อ 2111

อาเซียน คือ ถิ่นของอาหารหมักดองที่หลากหลายชนิดที่สุดในโลก จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มีอยู่แล้วในวัฒนธรรมอาหารอาเซียนและเอเชีย ที่รู้จักทำและบริโภคอาหารหมักดองเพื่อให้ได้โปรไบโอติกส์มาดูแลท้องไส้ นี่คือภูมิปัญญาของคนอาเซียน คือความมั่นคงด้านสุขภาพที่ไม่ต้องซื้อหา

“มติชน อคาเดมี” พารู้จัก 4 อาหารหมักดองของอาเซียนและเอเชียมาให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกัน

เทมเป้ ถั่วเน่าอินโดนีเซีย

ภาพจาก www.abhaiherb.com/knowledge/thaiherb/3443

เทมเป้เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวอินโดนีเซีย และมีการบริโภคกันในมาเลเซียด้วย ปัจจุบันเป็นอาหารสุขภาพที่แพร่เข้าไปในอเมริกาและยุโรป เทมเป้ทำมาจากการหมักถั่วเหลือง คล้ายกับการทำถั่วเน่า จึงเป็นแหล่งของโปรไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์ที่จะช่วยการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ในการหมักเทมเป้จะใช้เชื้อ Rhizopus oligosporus ซึ่งเชื้อราชนิดนี้สามารถย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน ทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น และให้น้ำตาลสแตไคโอส (Stachyose) ซึ่งเป็นอาหารของโปรไบโอติกส์และช่วยลดอาการท้องอืดเมื่อบริโภคถั่ว เชื้อรายังสามารถย่อยสลายไขมันในถั่วเหลือง ทำให้เทมเป้มีปริมาณไขมันต่ำ สำหรับวิธีการกินเทมเป้ เช่น เทมเป้ทอด เป็นต้น

ถั่วเน่า …ถั่วเน่าไทยใหญ่ หัวใจสุขภาพของชาติพันธุ์

ภาพจาก http://thelemursarehungry.wordpress.com/2012/02/09/buddhas-jungle-curry/

ถั่วเน่าเป็นอาหารพื้นเมืองของคนไทยใหญ่ ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในรัฐฉานของพม่าและทางภาคเหนือของประเทศไทย ถั่วเน่าเป็นการแปรรูปถั่วเหลืองเพื่อใช้เป็นอาหารรูปแบบหนึ่ง โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาย่อยโปรตีนในถั่วเหลืองให้มีโมเลกุลเล็กลง เป็นทั้งการถนอมอาหารและเพิ่มรสชาติไปในตัว เราจะพบการใช้จุลินทรีย์มาหมักถั่วเหลืองได้ในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก เช่น เทมเป้ อาหารพื้นเมืองของอินโดนีเซีย นัตโตะของญี่ปุ่น คีเนมา อาหารพื้นเมืองของชาวเนปาลและอินเดีย เป็นต้น

ข้าวหมาก มันหมาก …โปรไบโอติกส์อร่อยๆ

ภาพจาก www.abhaiherb.com/knowledge/thaiherb/3443

ข้าวหมากเป็นอาหารหมักที่เกิดจากการคัดสรรเชื้อยีสต์กับราที่สามารถย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลและทำให้เกิดแอลกอฮอล์ขึ้น การต่อเชื้อยีสต์จะทำเป็นลูกแป้ง คือ เชื้อยีสต์แห้งผสมกับข้าวและมีเครื่องเทศเป็นตัวคุมเชื้อ มีการศึกษาวิจัยพบว่า ในกระบวนการหมักข้าวหมากนั้นพบแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือโปรไบโอติกส์ ข้าวหมากจัดเป็นยาร้อน เหมาะสำหรับบำรุงเลือดลมสตรี และคนที่ไม่แข็งแรง หนาวง่าย

ข้าวหมากเป็นอาหารหวานในงานมงคล เช่น งานปีใหม่ งานแต่งงานของชาวบ้านทุกท้องถิ่นทั่วไทย เรียกในชื่อต่าง ๆ เช่น ข้าวหมัก ข้าวหวาน ชุมชนมุสลิมเรียกว่า ตาแป

กิมจิ …หนึ่งในห้าอาหารสุขภาพของโลก

กิมจิเป็นผักดองเกาหลีที่ถูกจัดเป็นหนึ่งในห้าอาหารสุขภาพโดยนิตยสาร Health Magazine โดยให้เหตุผลว่ากิมจิอุดมด้วยวิตามินและช่วยในการย่อยอาหาร กิมจิทำมาจากผักหลายชนิดแต่ที่เป็นหลักก็คือพืชตระกูลผักกาดกับเครื่องเทศ กิมจิมีสูตรมากมาย เอกสารกิมจิในพิพิธภัณฑ์กิมจิในโซลบอกว่ากิมจิมีมากกว่า 187 สูตร โดยจะแตกต่างกันตามถิ่นและสภาพอากาศ ส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ ผักกาดขาว หัวผักกาด หัวหอม กระเทียม ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ที่มากกว่านั้นคือ กิมจิยังมีโปรไบโอติกส์ และปรีไบโอติกส์ มีสารช่วยย่อยคือ เครื่องเทศรวมอยู่ด้วย ในสังคมโลกาภิวัตน์ กิมจิเป็นเมนูผักดองที่มีคุณค่าที่แพร่กระจายไปทั่วโลก



ขอบคุณที่มา หนังสือ บันทึกแผ่นดิน 6 สมุนไพรท้องไส้ ในวิถี ASEAN โดย ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร