เต็ดตรา แพ้ค ผู้นำเสนอโซลูชั่นการแปรรูปอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก ร่วมเฉลิมฉลองสัปดาห์วันความปลอดภัยอาหารโลกขององค์การอนามัยโลก (World Food Safety Day) ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความตระหนักและเป็นแรงจูงใจที่จะช่วยป้องกัน ตรวจสอบ และบริหารจัดการความเสี่ยงที่มากับอาหาร ที่มีส่วนทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ ความเติบโตทางเศรษฐกิจ เกษตรกรรม การเข้าถึงตลาด ตลอดจนการท่องเที่ยวและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดหลักของวันความปลอดภัยอาหารโลกในปีนี้ คือ “Safe food today for a healthy tomorrow” หรือ อาหารปลอดภัยวันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีวันพรุ่งนี้ เป็นการเน้นย้ำว่าการผลิตและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยย่อมให้ประโยชน์ในทันทีและยังส่งผลดีในระยะยาว ทั้งต่อผู้คน โลก และระบบเศรษฐกิจ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัดถือโอกาสนี้นำเสนอวีดีโอ “A History of Innovation” หรือ เรื่องราวของนวัตกรรม พร้อมคำบรรยายภาษาไทย [ลิงก์] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจของเต็ดตรา แพ้คในการคิดค้นนวัตกรรมที่ทำให้อาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค พลิกโฉมวงการอุตสาหกรรมการผลิตและบรรจุภัณฑ์อาหาร

นับตั้งแต่การเปิดตัวบรรจุภัณฑ์รุ่น Tetra Classic® Aseptic ในปี พ.ศ. 2504 เต็ดตรา แพ้ค ได้คิดค้นโซลูชั่นบรรจุภัณฑ์ใหม่นับร้อยชนิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยปกป้องอาหารให้ปลอดภัยจากแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยในปี พ.ศ. 2544 บรรจุภัณฑ์รุ่น Tetra Recart® เป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดแรกในท้องตลาดที่สามารถบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องแบบดั้งเดิม อาทิ ข้าวโพดหวาน ถั่ว และซุป ในรูปแบบกล่อง บริษัทฯ ยังเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีความปลอดภัยทางอาหารหลายด้าน ได้แก่ ระบบพาสเจอร์ไรซ์ของน้ำผลไม้และการถนอมอาหารในระบบยูเอชที เต็ดตรา แพ้ค ยังคงแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อช่วยสนับสนุนลูกค้าให้สามารถตอบสนองต่อสภาวะของตลาดที่ท้าทายและสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น ในปัจจุบัน การตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิตสินค้าเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในการแสดงถึงความปลอดภัยทางอาหารทั้งสำหรับผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งนโยบายความปลอดภัยทางอาหารของเต็ดตรา แพ้ค มุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงสุดและการวางระบบการตรวจสอบแหล่งผลิตสินค้าแบบครบวงจร ซึ่งครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทานการผลิตและบรรจุภัณฑ์อาหาร

ในการประชุมด้านความปลอดภัยทางอาหารโลกที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆ นี้ ดร. ลอเรนซ์ มอทท์  รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายการพัฒนาและวิศวกรรม ของเต็ดตรา แพ้ค ได้ร่วมพูดคุยถึงความสำคัญของการยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างชาญฉลาดและเชิงรุกมากขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาด้านความปลอดภัยทางอาหาร [ลิงก์] เมื่อพิจารณาจากวิสัยทัศน์ของ ดร.มอทท์ พบว่ามี 3 ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนบรรจุภัณฑ์อาหารแห่งอนาคต ได้แก่ ความปลอดภัยทางอาหาร ความพร้อมด้านอาหาร และความยั่งยืน การเชื่อมโยงกันของทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ จะเป็นพื้นฐานในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืน ดร.มอทท์ ยังย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมพร้อมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนสามารถคาดการณ์และรับมือกับความท้าทายด้วยความมุ่งมั่นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

“เต็ดตรา แพ้ค กะตือรือร้นในการร่วมมือกับองค์กรภายนอกที่อยู่ในสายงานนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหาร ผู้สนับสนุนด้านเทคโนโลยี สถาบันการศึกษา และลูกค้า ซึ่งเมื่อเราร่วมมือกันคิดค้นนวัตกรรมใหม่ เราจะสามารถเปลี่ยนองค์ความรู้ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการทำงานแบบใหม่ได้” มร.เบิร์ท ยาน โพสท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “เราสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศไทยด้วยการนำเสนอนวัตกรรมที่ช่วยให้สามารถจัดหาอาหารที่ปลอดภัยได้อย่างยั่งยืน เพื่อรองรับประชากรของประเทศที่กำลังเพิ่มจำนวนขึ้น ปีนี้ถือเป็นปีที่ 40 ของการดำเนินงานเต็ดตรา แพ้ค ในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา เราได้นำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยในด้านการผลิตและบรรจุภัณฑ์อาหารมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะก้าวทันต่อเทรนด์การพัฒนาล่าสุดในด้านความปลอดภัยทางอาหาร”

เต็ดตรา แพ้ค (Tetra Pak) บริษัทผู้นำเสนอโซลูชั่นบรรจุภัณฑ์และกระบวนการผลิตอาหารชั้นนำของโลก เปิดเผยรายงาน “Trendipedia” ซึ่งเป็นการศึกษาเทรนด์ผู้บริโภคประจำปี 2563 โดยเทรนด์ของผู้บริโภคด้านอาหารฉบับนี้ของ เต็ดตรา แพ้ค ชี้ให้เห็นว่าการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนมีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา ในขณะที่ต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพและยังคงต้องการความสะดวกสบายด้วยเช่นกัน

เมื่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหารรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหล่าผู้ผลิตอาหารจำเป็นต้องตระหนักถึงเทรนด์ต่างๆและสถิติล่าสุดของตลาดเพื่อพร้อมปรับตัวอยู่เสมอ โควิด19 ได้สร้างความตื่นตระหนกทั้งในบริบททางกายภาพและทางสังคม ซึ่งส่งผลต่อความกังวลและพฤติกรรมของผู้บริโภค แต่ถึงแม้ว่าจะมีวิกฤตเช่นนี้เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศธุรกิจ เทรนด์หลักและปัจจัยในระดับมหภาคยังคงมีความสำคัญอยู่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เกิดขึ้น บรรดาผู้ผลิตอาหารจึงต้องใช้โซลูชั่นล่าสุดในด้านบรรจุภัณฑ์และการผลิต

ซึ่ง “เทรนดิพิเดีย” นี้ ได้ระบุเทรนด์สำคัญในปี 2020 ไว้ 7 ประการ ดังนี้ “การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ” “ความสะดวกในรูปแบบใหม่” “ต้นกำเนิดและแหล่งที่มา” “การเชื่อมสัมพันธ์” “ความดื่มด่ำที่ตั้งใจ” “ข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ประสบการณ์เต็มรูปแบบ” โดยเต็ดตรา แพ้คเน้นย้ำถึงความสำคัญของเทรนด์ดังกล่าวและยกตัวอย่างสามประการแรกที่เกี่ยวพันกับธุรกิจ

สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เทรนด์ผู้บริโภคที่แพร่หลายมากกว่าเรื่องอื่นๆ คือ การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ(Responsible consumption) ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่เดิมผู้บริโภคมองทั้งสองเรื่องนี้เป็นคนละเรื่องกัน แต่ปัจจุบันจะมองเป็นองค์รวมเดียวกันและเข้าใจกถึงความเชื่อมโยงของทั้งสองเทรนด์ ทำให้เกิดทัศนคติใหม่ที่ว่า “สิ่งใดที่ดีสำหรับโลกใบนี้ ย่อมดีสำหรับฉันด้วย” ซึ่งได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้แก่ผู้ผลิตอาหาร  โดยในการรักษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและคงไว้ซึ่งสถานะของแบรนด์ ทั้งผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้องร่วมกันนำเสนอสาระสำคัญที่มีความสอดคล้องกัน โดยผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปลักษณ์และให้ความรู้สึกที่สะอาดปลอดภัย

เทรนด์ที่สองคือ ความสะดวกในรูปแบบใหม่(Convenience reborn) ซึ่งเน้นถึงการพัฒนาที่รวดเร็วของระบบร้านค้าออนไลน์และบริการส่งถึงบ้านแบบเดลิเวอรี่ ซึ่งเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นอย่างช้า ๆ เนื่องจากผู้บริโภคจำเป็นต้องอยู่ที่บ้าน สำหรับผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่ยังไม่เคยพิจารณาถึงทางเลือกเหล่านี้มาก่อน อาทิ ผู้สูงอายุ ได้เริ่มทดลองใช้งานเป็นครั้งแรกและต้องอาจพึ่งพาสิ่งเหล่านี้ต่อไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์ง่ายยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์อาหารต้องสามารถหาซื้อ ระบุชนิด และทำความเข้าใจได้ง่าย บรรจุภัณฑ์ต้องได้รับการออกแบบมาเพื่อดึงดูดนักช็อปออนไลน์ โดยต้องพิจารณาถึงการแสดงผลบนจอของสมาร์ทโฟนทั่วไปด้วย

เทรนด์ที่สามจากเทรนด์ดิพิเดีย คือ ต้นกำเนิดและแหล่งที่มา(Heritage and provenance) เพราะอาหารถือเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมของมนุษย์มาโดยตลอด อีกทั้งเป็นสื่อถ่ายทอดสาระสำคัญเชิงวัฒนธรรมอันแข็งแกร่ง ปัจจุบันกระแสโลกภิวัฒน์กำลังก่อให้เกิดแรงกระตุ้นอันทรงพลังในการออกสำรวจวัฒนธรรมและต้นกำเนิดในแหล่งต่างๆ สำหรับสินค้าใหม่ที่ต้องการประสบความสำเร็จในหมวดผลิตภัณฑ์นี้ ผู้ผลิตอาหารจำเป็นต้องประสานคุณลักษณะของวัตถุดิบดั้งเดิมและคุณภาพ ให้สอดคล้องกับสูตรการผลิตและการนำเสนอผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม รวมถึงอาจต้องปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตอบรับกับความนิยมในรสชาติที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและของกลุ่มประชากรแต่ละแห่งในโลกด้วย

“เราเล็งเห็นว่าเทรนด์ผู้บริโภคเรื่องต่างๆ ในปัจจุบันมีความเชื่อมโยงถึงกัน และความเชื่อมโยงระหว่างเทรนด์เหล่านี้สามารถกลายเป็นจุดกระตุ้นไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง” นายสุภนัฐ รัตนทิพ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “รายงานผลการศึกษาของเราเน้นย้ำถึงแนวคิดที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง นั่นคือเทรนด์หนึ่งสามารถเอื้อประโยชน์ต่อเทรนด์อื่น ๆ ได้ และเทรนด์ทั้งหมดนี้อาจเป็นการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์หรือความเป็นจริงที่เป็นสากลของคนเรานั่นเอง”

รายงานผลการศึกษาเทรนด์ผู้บริโภคครั้งใหม่ในฉบับเต็มนี้ จะนำเสนอให้แก่ลูกค้าของเต็ดตรา แพ้ค ในรูปแบบอินเตอร์แอ็คทีฟที่เข้าถึงง่าย เพื่อให้ผู้สนใจสามารถศึกษาเนื้อหาอันน่าตื่นเต้นทั้งหมดนี้ได้อย่างสะดวกราบรื่นยิ่งขึ้น

สุภนัฐ รัตนทิพ

เต็ดตรา แพ้ค ผู้นำเสนอโซลูชั่นการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอนาคตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ณ ศูนย์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้า (Customer Innovation Centre: CIC) ของบริษัทที่ประเทศสิงคโปร์ ศูนย์แห่งนี้เป็นเสมือนสถานที่ปฏิบัติการซึ่งบริษัทใช้สำหรับให้บริการลูกค้า เพื่อสร้างโอกาสทางการเติบโต ยกระดับขั้นตอนการสร้างสรรค์นวัตกรรม และค้นหาโซลูชั่นใหม่หรือปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญของเต็ดตรา แพ้ค ได้ระบุถึงเทรนด์ล่าสุดที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่กำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน นั่นคือ เทคโนโลยีและความยั่งยืน

เทคโนโลยีระบบดิจิทัลถือเป็นเทรนด์แรกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่มีฟังก์ชั่น การทำงานใหม่ๆ กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากมีผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่พร้อมจะจ่ายเงินมากขึ้นให้กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากความมั่นใจในบรรจุภัณฑ์ที่จะสามารถมอบหลักประกันด้านอาหารความปลอดภัยได้นั่นเอง โดยบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะทำให้ผู้ซื้อสินค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลปริมาณมหาศาลได้อย่างง่ายดาย อาทิ สถานที่ผลิต แหล่งเพาะปลูกวัตถุดิบ

และสถานที่ที่สามารถส่งบรรจุภัณฑ์ไปรีไซเคิลได้ สำหรับอุตสาหกรรมร้านค้าออนไลน์ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วง 4 ปีข้างหน้า โซลูชั่นบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะจะมอบประโยชน์แก่ผู้บริโภคได้ตลอดทั้งวงจรการบริโภค ในแง่ของการขนส่งสินค้าและประสบการณ์ในภาพรวม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ผู้ค้าปลีกออนไลน์สังเกตเห็นได้ว่าแบรนด์สินค้าที่ใช้แอปพลิเคชั่นระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติผ่านคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Identification: RFID) รูปแบบใหม่บนบรรจุภัณฑ์ มียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 30%

เทรนด์ที่สองที่ เต็ดตรา แพ้ค ระบุถึง คือ ความยั่งยืน เนื่องจากความต้องการบรรจุภัณฑ์แบบยั่งยืนกำลังพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้บริโภค 49% คิดว่าการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมาก ทำให้บรรจุภัณฑ์มีบทบาทสำคัญอย่างมากในประเด็นความยั่งยืนนี้ ซึ่งกล่องเครื่องดื่มถือเป็นหนึ่งในบรรจุภัณฑ์ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะทำมาจากทรัพยากรทดแทนได้เป็นหลัก และยังสามารถรีไซเคิลได้ 100% ซึ่งรวมถึงหลอดและฝาปิดอีกด้วย กล่องเครื่องดื่มยังมีน้ำหนักเบาที่เพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งสินค้าได้มากที่สุด ทั้งยังมีอัตราการแตกหักเสียหายของผลิตภัณฑ์ต่ำที่สุด และทำให้เกิดขยะที่ไม่จำเป็นน้อยลงไปด้วย ผู้ขายผ่านระบบออนไลน์ระบุว่า บรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องเครื่องดื่มนั้นประหยัดพื้นที่ ซึ่งช่วยลดปริมาณการขนส่งสินค้าได้ราว 30-50% เลยทีเดียว ทั้งยังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในเขตเมืองที่มักเป็นครอบครัวเล็กและมีพื้นที่เก็บของจำกัด

“เทคโนโลยีและความยั่งยืนได้กลายเป็นเทรนด์หลักในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ สาเหตุหลักเนื่องจากทั้งผู้บริโภคและบริษัทผู้ผลิตต่างให้ความสำคัญกับสองสิ่งนี้” นายสุภนัฐ รัตนทิพ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด จำกัด กล่าว “เมื่อผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และผู้ซื้อสินค้า มีแนวคิดตรงกัน เราจึงได้เห็นถึงขั้นตอนการผลิตที่เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันครั้งใหญ่ เราถือเป็นพันธกิจของบริษัทที่ต้องนำเสนอเทรนด์สำคัญๆ เช่นนี้แก่กลุ่มลูกค้าของเรา เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างความเติบโตในธุรกิจทั้งในวันนี้และอนาคต สำหรับศูนย์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้า เราไม่เพียงนำเสนอประสิทธิภาพการทำงานแบบครบวงจรเท่านั้น แต่ยังร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนาแนวคิดใหม่และทำให้เทรนด์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม”

ศูนย์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าในสิงคโปร์ ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยให้ลูกค้าของเต็ดตรา แพ้ค รวมถึงผู้สนใจและผู้นำเทรนด์ในโลกอุตสาหกรรม สามารถติดตามเทรนด์ต่างๆ ของโลกได้อย่างทันท่วงที เพียบพร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาแนวคิด การระดมความคิด การสร้างสูตรผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีรูปแบบเฉพาะตามความต้องการของลูกค้า และยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายก่อนการเปิดตัวในตลาดอย่างเต็มรูปแบบ ศูนย์แห่งนี้ช่วยให้ผู้ผลิตอุตสาหกรรมในภูมิภาคสามารถค้นพบโอกาสการเติบโต เสริมประสิทธิภาพการคิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ และสร้างสรรค์โซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพให้กับแบรนด์ของลูกค้า นับเป็นศูนย์บริการแบบวัน-สต็อปที่รวบรวมสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน กระบวนการคิดค้นนวัตกรรม และความเชี่ยวชาญที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาแนวคิดตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จเข้าไว้ด้วยกันอย่างครบวงจร

ชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับศูนย์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าและบริการสนับสนุนงานด้านการตลาดได้ที่เว็บไซต์ http://innovationcreatesvalue.tetrapak.com/story/boost-product-innovation

เต็ดตรา​ ​แพ้ค​ ประเทศไทย​ ผู้นำเสนอโซลูชั่นการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก ร่วมงาน​ BECARE 2018 หรือที่รู้จักกันในชื่อโครงการ “กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้” ภายในงาน​เต็ดตรา ​แพ้ค​ และ​เหล่าพันธมิตรโครงการได้ร่วมบริจาค​กระดาษรีไซเคิลให้กับ​ ​13​ โรงเรียนสอนคนตาบอด​ ​ณ​ ห้องประชุม อารีย์สัมพันธ์ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยกระดาษที่นำไปบริจาคเป็นกระดาษที่ได้จากการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้ว

โครงการกล่องยูเอชที รีไซเคิลได้ริเริ่มโดยเต็ดตรา​ ​​แพ้ค​ และเหล่าพันธมิตรในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน​ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของบริษัทฯ​ โครงการนี้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า​ 3 ​ปี​ โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก​เพื่อทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีท้องถิ่นที่มีนโยบายการจัดการขยะที่สอดคล้องกับแนวคิดด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนของเต็ดตรา แพ้ค ภายใต้กิจกรรม “พี่มีกล่อง น้องขอนะ” BeCare Be Kind Book for the Blind เปลี่ยนกล่องยูเอชทีในมือ… ทำสื่ออักษรเบรลล์ ในปี 2561 ​นี้​ โครงการได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้คนในวงกว้าง​หลากหลายกลุ่ม​ อาทิ​ หน่วยงานราชการในท้องถิ่น​ ชุมชน​ โรงเรียน​ องค์กรภาครัฐและเอกชนต่างๆ จากการร่วมมือกันทำให้สามารถเก็บรวบรวมกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วได้กว่า 975 ตัน หรือ 97,500,000 กล่องภายในระยะเวลา 1 ปี และสามารถนำมาผลิตเป็นกระดาษรีไซเคิลได้กว่า 1,000,000 แผ่น เพื่อนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนสอนคนตาบอด 13 แห่งในประเทศไทย

มร.เบิร์ท ยาน โพสต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ที่ 2 จากขวา) ขึ้นรับรางวัล รางวัลสุดยอดบริษัทที่มีความใส่ใจต่อชุมชน และ รางวัลสุดยอดบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม บนเวที ACES Award 2019

เต็ดตรา แพ้ค ประเทศไทย ผู้นำเสนอโซลูชั่นการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก ได้รับสองรางวัลด้านความยั่งยืน จากการประกาศผลรางวัล Asia Corporate Excellence & Sustainability Awards (ACES) 2019 ได้แก่ รางวัลสุดยอดบริษัทที่มีความใส่ใจต่อชุมชน “Top Community Care Companies in Asia” และ รางวัลสุดยอดบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม “Top Green Companies in Asia” โดย มร.เบิร์ท ยาน โพสต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค เป็นตัวแทนจากเต็ดตรา แพ้ค ขึ้นรับรางวัลอันทรงเกียรติในครั้งนี้ เต็ดตรา แพ้ค ได้รับการยกย่องจากการริเริ่มสองโครงการสำคัญที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการใส่ใจต่อชุมชน โครงการแรก คือ การเสริมสร้างความตระหนักรู้ในฉลาก FSC™ บนกล่องเครื่องดื่ม ซึ่งมีความสำคัญต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม เนื่องจากฉลาก FSC แสดงถึงการรับประกันว่ากระดาษที่ใช้ในการผลิตกล่องได้มาจากป่าไม้ที่จัดการอย่างมีความรับผิดชอบ ส่วนโครงการที่สอง คือ โครงการหลังคาเขียวเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ที่รณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันเก็บกล่องเครื่องดื่มที่บริโภคแล้วส่งกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยนำไปผลิตเป็นแผ่นหลังคา เพื่อช่วยเหลือในการสร้างบ้านและที่พักพิงของผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติและผู้ที่ขาดแคลน

เต็ดตรา แพ้ค ผู้นำเสนอโซลูชั่นการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก ประกาศความสำเร็จในการส่งมอบบรรจุภัณฑ์ที่มีฉลากเอฟเอสซี Forest Stewardship Council™ (FSC™) มากกว่า 500,000 ล้านกล่องทั่วโลก ซึ่งถือเป็นหลักชัยสำคัญตามพันธกิจของบริษัทในการส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบเพื่อการผลิตบรรจุภัณฑ์อย่างรับผิดชอบและร่วมสนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบคาร์บอนต่ำ

บรรจุภัณฑ์เต็ดตราแพ้คที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน FSC กล่องแรกของโลก เปิดตัวครั้งแรกโดย เจ เซนส์เบอรี่ส์ เมื่อปี พ.ศ. 2543 และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้มีการใช้กล่องเครื่องดื่มที่มีฉลาก FSC มากขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี และยิ่งทวีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสามปีที่ผ่านมา

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2553 เต็ดตรา แพ้ค ได้นำเสนอกล่องเครื่องดื่มตามมาตรฐานการรับรอง FSC เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และจวบจนถึงปัจจุบัน ได้มีการส่งมอบกล่องเครื่องดื่มที่ติดฉลาก FSC มากกว่า 18,000 ล้านกล่องในประเทศ สำหรับปีนี้ เต็ดตรา แพ้ค ประเทศไทย คาดว่าจะมีการผลิตกล่องเครื่องดื่มมากกว่า 6 พันล้านกล่องโดยใช้กระดาษ 100% ที่นำมาจากป่าที่มีการบริหารจัดการอย่างรับผิดชอบตามมาตรฐาน FSC และแหล่งผลิตที่มีการควบคุมอื่นๆ

สิ่งแวดล้อมถือเป็นประเด็นที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และคาดว่าจะกลายเป็นหัวข้อที่ผู้คนให้ความสนใจมากยิ่งขึ้นในอนาคตข้างหน้า จากงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมของ เต็ดตรา แพ้ค เมื่อเร็ว ๆ นี้ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นของกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสนใจในประเด็นสิ่งแวดล้อม และทุกวันนี้ผู้บริโภค 1 ใน 2 คนมองหาฉลากมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมบนผลิตภัณฑ์ที่ตนเองซื้อหา

ผู้บริโภคที่พยายามมองหาฉลากมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อทำการซื้อสินค้านั้น กำลังมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น จากที่มีผู้บริโภคเพียง 37% ในปี พ.ศ 2556 ซึ่งกล่าวได้ว่า พวกเขามองหาฉลากด้านสิ่งแวดล้อมบ่อยครั้งหรือทำอยู่เสมอ ต่อมา ได้เพิ่มสัดส่วนเป็น 54%* ในปี พ.ศ. 2562

ฉลากมาตราฐาน FSC เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นการรับรองมาตรฐานสูงสุดของโลกในด้านการบริหารจัดการป่าไม้ ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกตราสินค้าที่มีความมุ่งมั่นในการปลูกป่าอย่างยั่งยืน โดยมีผู้บริโภค 30% ทั่วโลกที่เคยเห็นหรือเคยได้ยินเกี่ยวกับฉลาก FSC*

ทั้งนี้ การร่วมมือกับลูกค้าถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนแนวคิดความยั่งยืนให้ครอบคลุมทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานโดย อีวาน พาวิค ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้องานบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเหลวและพลาสติก บริษัท ฟรีสแลนด์ คัมพิน่า เชื่อว่า “ความสำเร็จของ เต็ดตรา แพ้ค ช่วยสนับสนุนเป้าหมายของเราในการจัดหาวัสดุบรรจุภัณฑ์กระดาษที่ผ่านการรับรองมาตรฐานทั้ง 100% ภายในปี พ.ศ. 2563 และการรับรองมาตรฐาน FSC ที่เพิ่มขึ้น ทำให้เราสามารถยืนยันได้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราไม่ก่อให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในโลกได้ โดยเราจะร่วมมือกับ เต็ดตรา แพ้ค ต่อไป ในการส่งเสริมการจัดหาทรัพยากรอย่างรับผิดชอบ เพื่อยกระดับการสืบค้นย้อนกลับแหล่งทรัพยากรที่ชัดเจนยิ่งขึ้น”

“การจัดหาทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบ เป็นขอบเขตการทำงานร่วมกับลูกค้าของเราที่กำลังจะเพิ่มมากขึ้น” อิกอร์ โพโพวิก ผู้อำนวยการฝ่ายดูแลลูค้าระดับโลก  PepsiCo ของ เต็ดตรา แพ้ค กล่าว “เราได้กำหนดแผนการทำงานที่มุ่งสู่การใช้ทรัพยากรที่ผ่านมาตรฐาน FSC ทั้ง 100% กับ PepsiCo ซึ่งเราทำสำเร็จแล้วเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา จากการดำเนินงานนี้ ทำให้ทั้งสองบริษัทสามารถช่วยส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และทำให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมบนเส้นทางนี้ได้อย่างเต็มที่”

มาริโอ อับบริว รองประธานฝ่ายบริหารด้านความยั่งยืน บริษัทเต็ดตรา แพ้ค กล่าวว่า “จากความสำเร็จในการรับรองมาตรฐานตามเกณฑ์ห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ FSC Chain of Custody ในทุกแหล่งผลิต   ทำให้เราสามารถส่งมอบบรรจุภัณฑ์ที่มีฉลาก FSC ได้ทุกที่ทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการขาดแคลนทรัพยากรกำลังส่งผลกระทบต่อสังคมและอุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐาน FSC จึงช่วยสนับสนุนเป้าหมายการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนภายใต้แผนงาน Sustainable Development Goal 15 ได้โดยตรง และยังช่วยส่งเสริมอีก 14 แผนงานอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เราจะพยายามผลักดันให้ซัพพลายเออร์ทุกรายร่วมกันเพิ่มและรักษาสัดส่วนจำนวนบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐาน FSC ให้มากกว่า 70% ต่อไป”

การผลักดันความเป็นเลิศด้านสิ่งแวดล้อมคือหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญสูงสุดของ เต็ดตรา แพ้ค และหนึ่งในวาระการทำงานดังกล่าว คือ ความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของเต็ดตรา แพ้ค ที่ติดฉลาก FSC ในระยะยาว

เมื่อเร็วๆ นี้ เต็ดตรา แพ้ค ผู้นำเสนอโซลูชั่นการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก จัดงานสัมมนาเป็นพิเศษให้กับลูกค้าของบริษัทในหัวข้อ “นวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตไอศกรีม (INNOVATIONS IN ICE CREAM MANUFACTURING)” โดยมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 100 รายซึ่งเป็นผู้แทนทั้งจากบริษัทในประเทศและบริษัทข้ามชาติกว่า 30 แห่ง เนื้อหาในการสัมมนาให้ความสำคัญกับเรื่องเทรนด์ไอศกรีมรูปแบบใหม่ในตลาดโลก ไลน์การผลิตที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูง และกรณีศึกษาจากโรงงานผลิตไอศกรีมในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมแบบอินเตอร์แอ็คทีฟที่นำเสนอประสบการณ์เสมือนจริง ไอศกรีมบาร์ และการนำชมอุปกรณ์เครื่องจักรที่ทันสมัยพร้อมการอธิบายแนะนำ

งานสัมมนาครั้งนี้มีความลงตัวกับช่วงเวลานี้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตลาดไอศกรีม เป็นหนึ่งในตลาดขนมหวานยอดฮิตระดับโลกที่ต้องการความแปลกใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะการนำเสนอรสชาติใหม่ๆ เท่านั้น หากผลิตภัณฑ์ต้องน่าลิ้มลองจนยากจะห้ามใจอีกด้วย ทำให้ความน่าสนใจของอุตสาหกรรมไอศกรีมจึงมีความหลากหลายทั้งในเรื่องรูปทรง การเคลือบ เครื่องโรยหน้า และการบรรจุผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดของเต็ดตรา แพ้ค ได้จับตาดูวิวัฒนาการเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคและเทรนด์ผลิตภัณฑ์โลกอย่างใกล้ชิด และได้นำข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มาแบ่งปันให้กับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ความนิยมที่มีต่อขนมหวานอย่างไอศกรีมที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ผลิตบางรายได้เติมวัตถุดิบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ผลไม้และถั่วต่างๆ ลงในผลิตภัณฑ์ของตนเอง ซึ่งเต็ดตรา แพ้ค ได้แนะนำเทคโนโลยีให้กับผู้ผลิต เพื่อการคำนวณวัตถุดิบที่แม่นยำ ทำให้มั่นใจได้ว่าไอศกรีมทุกคำจะมอบความอร่อยสุดประทับใจให้แก่ผู้บริโภค

อีกหนึ่งแนวโน้มคือ ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมไขมันต่ำที่กำลังพัฒนามากขึ้น ซึ่งเครื่องทำไอศกรีมของ เต็ดตรา แพ้ค ทำให้ผู้ผลิตสามารถลดขนาดของผลึกน้ำแข็งและฟองอากาศที่เกิดในผลิตภัณฑ์ได้ จึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์จะมอบเนื้อสัมผัสแบบครีมที่นุ่มนวล โดยไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณไขมันในส่วนผสมของไอศกรีม

“ทุกคนชื่นชอบไอศกรีม และไอศกรีมก็มีรสชาติและรูปทรง ตลอดจนสูตรที่หลากหลายให้เลือกสรร สำหรับ เต็ดตรา แพ้ค นั้น เราเชี่ยวชาญในการผลิตไอศกรีม โดยมีโซลูชั่นที่ครอบคลุมการผลิตไอศกรีมที่หลากหลาย ทั้งแบบแท่ง ถ้วย โคน แซนด์วิช เค้ก หรือแพ็คสำหรับครอบครัว คือจริงๆ แล้ว เราครอบคลุมการผลิตไอศกรีมทุกรูปแบบ และจับตาดูเทรนด์ของตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น เพื่อที่จะช่วยแนะนำผู้ผลิตในประเทศไทยให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมรูปแบบใหม่ที่ดึงดูดใจผู้บริโภค และสามารถนำเสนอรสชาติที่ดีที่สุดของแต่ละสูตรของตลาดไอศกรีมในประเทศไทยได้” มร.ราเมช กฤษณะมาชารี ผู้อำนวยการฝ่ายโพรเซสซิ่ง บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

เต็ดตรา แพ้ค ผู้นำด้านกระบวนการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับพันธมิตรในโครงการ “การรีไซเคิลกล่องนมโรงเรียน” โดยโครงการนี้ริเริ่มโดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ร่วมกับสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด และ บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อก จำกัด ซึ่งเป้าหมายของโครงการคือการส่งเสริมการรวบรวมกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้วจากโครงการนมโรงเรียนของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 437 โรงเรียน เพื่อนำมารีไซเคิลเป็นสมุดจด เฟอร์นิเจอร์ แผ่นหลังคา และสิ่งของที่มีประโยชน์อื่นๆ

เต็ดตรา แพ้ค นำโดย มร. เบิร์ท ยาน โพสท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด (ขวาสุด) ยืนยันว่าโครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยต่อยอดความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการลดของเสียไปพร้อมๆ กับการนำกล่องนมโรงเรียนยูเอชทีกลับมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้ารีไซเคิล เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จากซ้ายไปขวา
1. นายวัชรพงศ์ อึงศรีสวัสดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อค ประเทศไทย จำกัด
2. นายเกรียงไกร จงเจริญ รองผู้อำนวยการ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
3. ดร. ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
4. นายตรีวิจักษณ์ ยิบยินธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด
5. มร. เบิร์ท ยาน โพสท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด

เต็ดตรา แพ้ค (Tetra Pak) บริษัทผู้นำเสนอโซลูชั่นการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก เปิดตัวโครงการ Protects What’s Good” ในประเทศพม่า โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยของอาหารและผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มในกล่องเครื่องดื่มยูเอชทีที่วางจำหน่ายในประเทศ โดยดำเนินงานโครงการภายใต้การควบคุมดูแลของ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด

โครงการนี้นำร่องด้วยกิจกรรม Protects What’s Good with Tetra Pak ซึ่งจัดขึ้นที่ Myanmar Culture Valley (People’s Park) เชิญชวนผู้บริโภคให้เข้ามาเรียนรู้เรื่องของนมยูเอชที ผ่านการพูดคุย เล่นเกม ชมรายการความบันเทิงและกิจกรรมสำหรับครอบครัวที่สนุกสนานมากมาย

กิจกรรมเริ่มต้นขึ้นด้วยสุนทรพจน์เปิดงานโดย ดร. มิน วอน ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรุงย่างกุ้ง กล่าวถึง “ความสำคัญของความปลอดภัยของอาหาร” หลังจากนั้น จึงนำเข้าสู่ช่วงการเสวนา นำโดย ชิต ทู ไว แพทย์หญิงและนักร้องชื่อดัง หนึ่งในแอมบาสเดอร์ของโครงการ “Protects What’s Good” ของเต็ดตรา แพ้ค ร่วมด้วย ดร. วิน วิน หมิน ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ และ มร. ซีซี ตัง ผู้อำนวยการฝ่ายขายของเต็ดตรา แพ้ค พม่า ซึ่งได้มาร่วมพูดคุยกันในเรื่อง ผลิตภัณฑ์นมในกล่องเครื่องดื่มยูเอชทีจะช่วยให้เยาวชนชาวพม่าได้รับสารอาหารที่จำเป็นและปกป้องสุขภาพพลานามัย เพื่อการเติบโตและพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงได้อย่างไร

มร. ซีซี ตัง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย เต็ดตรา แพ้ค พม่า

การเลือกสรรอาหารที่เหมาะสมจากแหล่งผลิตที่เหมาะสม โดยอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยและใช้งานได้สะดวก ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศพม่า เนื่องจากเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีราวหนึ่งในสามของประเทศกำลังเผชิญกับภาวะขาดสารอาหาร ความปลอดภัยของอาหารจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสร้างหลักประกันสุขภาพดีและชีวิตที่มีสุขสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป และผลิตภัณฑ์นมยูเอชทีในกล่องเครื่องดื่มเต็ดตรา แพ้ค ซึ่งปัจจุบันมีวางจำหน่ายทั่วไปในประเทศพม่า มีส่วนช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพดังกล่าวได้ กิจกรรม Protects What’s Good with Tetra Pak จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคโดยการสื่อสารถึงประโยชน์นานัปการของกระบวนการรผลิตและบรรจุภัณฑ์แบบกล่องยูเชทีเหล่านี้ ผ่านเรื่องราวสนุกสนานและเข้าใจง่าย โดยเราได้ร่วมมือกับลูกค้าของเราในการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารแก่ชุมชนอย่างเต็มที่”  มร. ซีซี ตัง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย เต็ดตรา แพ้ค พม่า กล่าว

ประเทศพม่าเริ่มให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประเทศรั้งอันดับที่ 82 จาก 113 ประเทศทั่วโลกในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร จากข้อมูลดัชนีความมั่นคงทางอาหารโลก (Global Food Security Index) ของหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ (Economist Intelligence Unit) ซึ่งใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ในการพิจารณาสภาวะแวดล้อมในด้านความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งครอบคลุมถึงอัตราส่วนของผู้คนที่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มบรรจุขวดและร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่เหมาะสม

มร. เบิร์ท ยาน โพสท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด

“พม่าเป็นตลาดที่สำคัญมากของเต็ดตรา แพ้ค ซึ่งเราเล็งเห็นศักยภาพมากมายในประเทศนี้ เราเข้าใจดีว่าความปลอดภัยของอาหารมีความสำคัญสำหรับชุมชนมากเพียงใด ซึ่งสิ่งนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเราในการปกป้องอาหารให้ปลอดภัยและมีอยู่พร้อมสำหรับการบริโภคในทุกๆ ที่ เราจึงรู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการนำเสนออาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพและปลอดภัยในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้”      มร. เบิร์ท ยาน โพสท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

เต็ดตรา แพ้ค ได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปีเพื่อสร้างรากฐานในด้านความปลอดภัยของอาหารในประเทศพม่า โดยบริษัทฯ ได้แนะนำโซลูชั่นการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหาร รวมทั้งทำงานร่วมกับลูกค้าของเราอย่างใกล้ชิดในการนำเสนอผลิตภัณฑ์นมในกล่องเครื่องดื่มยูเอชทีที่มีความสะอาด ปลอดภัย และมีให้เลือกสรรหลากหลายชนิด ซึ่งโซลูชั่นเทคโนโลยีการผลิตและบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ช่วยปกป้องคุณค่าทั้งทางโภชนาการ รสชาติ และคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารภายในได้เป็นอย่างดี ผลิตภัณฑ์นมและเครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการผลิตแบบยูเอชทีและบรรจุในสภาวะปลอดเชื้อจึงสร้างความมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะปลอดภัยจากแบคทีเรีย พร้อมคงคุณค่าหลักทางอาหารไว้ได้อย่างครบถ้วนโดยไม่ต้องใช้วัตถุกันเสียแต่อย่างใด

เต็ดตรา แพ้ค ได้ร่วมมือกับแบรนด์ลูกค้าชั้นนำมากมายในประเทศพม่า อาทิ วีโต้, ไมโล, ดัชมิลล์, ฟาร์มโชคชัย, โอวัลติน, แลคตาซอย, เอบีเวีย, PEP, Marigold และ Cowhead ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ทั้งยังประสานงานกับกลุ่มลูกค้า ในการเชิญชวนผู้บริโภคชาวพม่าให้มาร่วมเล่นเกมและกิจกรรมเสริมความรู้ที่สนุกสนานมากมาย ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมในแฟนเพจ Tetra Pak Myanmar Facebook page เต็ดตรา แพ้ค ก่อตั้งสำนักงานในย่างกุ้งเมื่อปี พ.ศ. 2559 และตั้งเป้าหมายในการส่งมอบบรรจุภัณฑ์กล่องเครื่องดื่ม  ยูเอชที 300 ล้านกล่องในประเทศพม่าภายในปี พ.ศ. 2563