หลักฐานที่มีอยู่ในพงศาวดารชี้ไว้ว่า พระเพทราชาเป็นคนสุพรรณบุรี ถึงแม้เรื่องราวของพระองค์ใน จ.สุพรรณบุรี จะมีไม่มากนัก แต่หนึ่งในร่องรอยที่เกี่ยวกับพระเพทราชาที่เห็นอยู่ก็คือ “เสลี่ยงคานหาม” ที่ “วัดกุฎีทอง” อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีเรื่องเล่าตำนานเกี่ยวกับพระเพทราชาอยู่ว่า

“ครั้งหนึ่งในช่วงก่อนพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ มีชายมานอนหลับที่วัดแห่งนี้ และชายคนดังกล่าวนอนกรนเป็นเสียงดนตรี เจ้าอาวาสที่นี่เลยทำนายไว้ว่าจะได้เป็นใหญ่ต่อไป ซึ่งชายคนนั้นก็บอกว่า ถ้าได้เป็นใหญ่จริงจะกลับมาสร้างกุฏิ หรือกุฎีทองถวาย ซึ่งเมื่อพระเพทราชาได้ปกครองแผ่นดิน พระองค์ก็ทรงมาสร้างกุฏิถวายที่นี่จริงๆ โดยสมเด็จมาบนเสลี่ยงคานหาม มีการจัดพิธีฉลองสมโภชน์ยิ่งใหญ่ แต่เมื่อเสด็จกลับก็ทรงลืมไว้ ทางวัดจึงจัดเก็บไว้”

ปัจจุบันเสลี่ยงคานหามดังกล่าวถูกบูรณะซ่อมแซมและทางวัดได้นำออกมาแสดงให้ผู้คนทั่วไปได้ชม โดยเสลี่ยงนี้จัดแสดงอยู่บนกุฏิไม้โบราณหลังใหญ่ภายในวัด ซึ่งบนกุฏิยังจัดเก็บวัตถุโบราณหลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องลายครามโบราณ, หนังใหญ่ เป็นต้น

ในบริเวณพื้นที่ 30 ไร่ของวัดกุฎีทองยังอาคารต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือตำหนักสมเด็จพระเพทราชา ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2540 อีกด้วย

สำหรับ “วัดกุฎีทอง” นั้นจะเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ทัวร์ ออกพระเพทราชา “ฮีโร่” แห่งกรุงศรีฯ จะพาทุกคนไปเยือน พร้อมฟังเรื่องราวในยุคสมัยของออกพระเพทราชา ตั้งแต่ว่าพระองค์เป็นใครมาจากไหน ไปจนถึงเรื่องการเมือง และการเสด็จขึ้นครองราชย์ จาก รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล มาเป็นวิทยากร

กำหนดเดินทาง รอบสอง วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2560

สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี

Inbox : Facebook Matichon Academy

Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichonacademy

คลิกอ่านรายละเอียดการเดินทางได้ที่ https://www.matichonacademy.com/content/article_15932

เรียกได้ว่ายังเป็นที่สงสัยสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์กันอยู่มาก ว่าแท้จริงแล้ว “ออกหลวงสรศักดิ์” หรือ พระเจ้าเสือเป็นใคร เป็นพระราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์จริงหรือไม่ แล้วเหตุใดพระเพทราชาถึงเป็นคนเลี้ยงดูออกหลวงสรศักดิ์

รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล เล่าให้ฟังว่า การที่พระเพทราชามาเป็นพ่อของออกหลวงสรศักดิ์ได้นั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องยังสันนิษฐานกันในทางประวัติศาสตร์ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

โดยออกหลวงสรศักดื์นั้นเป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าข่ายเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์ เนื่องจากออกหลวงสรศักดิ์นั้นเกิดที่โพธิ์ประทับช้าง เมืองพิจิตร ในช่วงที่สมเด็จพระนารายณ์เสด็จกลับหลังจากไปทำสงครามที่เชียงใหม่ ซึ่งในพงศาวดารบอกว่าสมเด็จพระนารายณ์ได้พระธิดาของเจ้าเมืองเชียงใหม่มาเป็นมเหสี และเข้าใจว่าเจ้าหญิงเมืองเชียงใหม่ทรงตั้งครรภ์ และเมื่อกลับลงมาก็คลอด

รศ.ดร.ปรีดีกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ใจเหตุผลที่อยู่ๆ ท่านก็ยกลูกคนนี้ให้พระเพทราชา แต่โดยนัยก็รู้ว่าออกหลวงสรศักดิ์เป็นพระราชโอรสลับของพระนารายณ์ ที่พระเพทราชาเลี้ยงมาตั้งแต่ต้น ซึ่งช่วงนั้นเป็น 10 ปีแรกของรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ สาเหตุที่ว่าทำไมพระนารายณ์ไม่รับเป็นลูกนั้น อาจยังตอบไม่ได้ แต่เป็นไปได้ว่าพระนารายณ์กลัวว่าถ้าพาออกหลวงสรศักดิ์กลับมาที่อยุธยาแล้วจะเกิดความไม่พอใจหรือเปล่า หรือกลัวว่าที่อยุธยามีคนอื่นอยู่แล้ว การเอากลับมาด้วยจึงอาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก

“นอกจากนี้ ขณะนั้นในอยุธยาก็มีอำนาจทางการเมืองของหลายฝ่าย ทั้งอำนาจของอยุธยา สุพรรณบุรี แล้วอยู่ๆ ก็มีอำนาจทางการเมืองของออกหลวงสรศักดิ์เข้ามาอีก ก็อาจทำให้อำนาจทางการเมืองมีหลายฝ่ายขึ้นไปอีก ซึ่งก็จะไม่ปลอดภัยต่อออกหลวงสรศักดิ์ด้วยก็เป็นได้ จึงให้พระเพทราชาไปดูแล หรือพระเพทราชาอาจจะขอไปดูแลเองก็ได้ เพราะไม่พบว่าพระเพทราชามีพระราชโอรสหรือพระธิดาก่อนขึ้นครองราชสมบัติ”

ทั้งนี้ ก่อนที่พระเพทราชาจะขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์ทรงมีพระมเหสีอยู่แล้วคนหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏชื่อ และมามีมเหสีเพิ่มอีก 2 พระองค์ เมื่อสิ้นรัชกาลพระนารายณ์แล้ว โดยพแพระองค์ขึ้นครองราชเป็นพระเพทราชา พระองค์ก็ยกมเหสีเดิมขึ้นเป็นมเหสีกลาง และให้พระขนิษฐาหรือน้องสาวของพระนารายณ์ และพระธิดาของพระนารายณ์มาเป็นมเหสีซ้าย-ขวาด้วย รวมแล้วคือหลังจากขึ้นครองราชย์ พระเพทราชามีมเหสี 3 พระองค์ และมามีลูกในภายหลัง

เรื่องราวประวัติศาสตร์สมัยพระเพทราชาที่น่าสนใจยังมีอีกมาก “มติชนอคาเดมี” ชวนไปตามรอยออกพระเพทราชาในทัวร์ ออกพระเพทราชา “ฮีโร่” แห่งกรุงศรีฯ จ.สุพรรณบุรี-พระนครศรีอยุธยา กำหนดเดินทางวันที่ 23 มิถุนายน ส่วนรอบ 2 กำหนดเดินทางวันที่ 30 มิถุนายนนี้ โดยมี รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี เป็นวิทยากร ราคา 2,700 บาท

สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี

Inbox : Facebook Matichon Academy

Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichonacademy

หรืออ่านรายละเอียดโปรแกรมการเดินทางได้ที่ https://www.matichonacademy.com/tour/article_14622

ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์หรือคนที่ได้ดูละครบุพเพสันนิวาส คงจะรู้จัก “พระเพทราชา” ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายแห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา แต่พระเพทราชาเป็นใคร มาจากไหน ขึ้นมามีอำนาจไหนกรุงศรีอยุธยาได้อย่างไรนั้น รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า โดยหลักฐานที่มีอยู่ในพงศาวดาร บอกว่าพระเพทราชาเป็นคนสุพรรณบุรี ที่บ้านพลูหลวง ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำสุพรรณขึ้นไปทางเหนือ คือเหนือตัวเมืองสุพรรณบุรี อาจจะนอกกำแพงเมืองสุพรรณบุรีออกไปนิดหนึ่ง แต่ก็ถือว่าอยู่ในอำเภอเมือง

ทั้งนี้ บ้านพลูหลวงนี้น่าจะเป็นย่านของขุนนาง และส่วนหนึ่งคงมีความสามารถในการดูแลช้างมาด้วย เพราะพอต่อมาพระเพทราชาก็ได้ขึ้นเป็นเจ้ากรมช้าง

ส่วนพ่อแม่ของพระองค์นั้นไม่มีใครทราบ พงศาวดารก็ไม่ได้บอกถึงพ่อแม่ของพระองค์ แต่ด้วยความที่ท่านคงมีความสามารถ และอยู่ๆ ท่านก็ขึ้นเป็นขุนนางไปแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าท่านเรียนที่ไหน อย่างไร จึงสันนิษฐานได้ว่าท่านคงต้องมีเชื้อสายอยู่พอสมควร เพราะอยู่สุพรรณฯ แต่สามารถข้ามห้วยมารับราชการในอยุธยาได้  จึงอาจเป็นไปได้ว่าอาจมีเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองสุพรรณบุรีเก่า เพราะสุพรรณบุรีเก่าก็มีกษัตริย์ปกครอง

อย่างไรก็ตาม แม่ของพระเพทราชานั้นเป็นพระนมในพระนารายณ์ เพราะฉะนั้นก็ยิ่งตอกย้ำว่าท่านเป็นผู้ดีเก่า เพราะหญิงที่จะเป็นพระนมได้ต้องเป็นหญิงที่มีเชื้อสาย หญิงที่มีความพร้อม ไม่ใช่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นพระนมได้ จึงยิ่งยืนยันว่าแม่ของพระเพทราชา หรือพระเพทราชาเอง ต้องมีเชื้อสายของความเป็นเจ้าอยู่พอสมควร

ซึ่งพอเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ท่านก็จะร่วมกันกับพระนารายณ์มาตั้งแต่ต้น โดยอายุของพระเพทราชานั้นรุ่นราวคราวเดียวกันกับพระนารายณ์ คือท่านน่าจะเป็นขุนนางที่พระนารายณ์คุ้นเคยมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์ แต่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติพระศรีสุทธรรมราชาด้วยหรือไม่นั้น พงศาวดารไม่ได้บอกไว้ เพราะว่าตอนที่พระนารายณ์ท่านปฏิวัติพระศรีสุทธรรมราชา หรือตอนที่ทั้งสองพระองค์ร่วมกันปฏิวัติเจ้าฟ้าชัย ก็ไม่ได้มีชื่อของออกพระเพทราชาเป็นผู้ร่วม

การดำรงตำแหน่งในกรมช้างของพระเพทราชานั้น ถ้าดูศักดินาจากตำแหน่งของพระเพทราชา พบว่าพระองค์มีศักดินาอยู่ 5,000 ไร่ ซึ่งถือว่ามากพอสมควร ทั้งนี้ การคุมตำแหน่งกรมช้างนั้นเท่ากับการคุมกลาโหม เพราะว่าช้างเป็นปัจจัยหลักของการบในสมัยนั้น รวมไปถึงการค้าขายด้วย ดังนั้น การกุมอำนาจช้างไว้ได้ก็เป็นสัญลักษณ์ของการกุมอำนาจส่วนหนึ่ง

ต่างชาติมีบทบาทเยอะ เหตุระหองระแหงของ2กษัตริย์

อย่างที่กล่าวไปข้าวต้นว่า พระเพทราชากับพระนารายณ์นั้นคุ้นกันมาตั้งแต่ต้น เพราะแม่ของพระเพทราชาเป็นแม่นมโท เข้าใจว่าช่วงแรกคงเล่นกันมาตลอด เพราะอายุของทั้ง 2 พระองค์ไล่เลี่ยกัน แต่ความไม่พอใจกันน่าจะเริ่มที่ชาวต่างชาติเริ่มเข้ามามีบทบาทเยอะ เช่นในช่วงที่ฝรั่งเศสมีบทบาทเยอะขึ้น ช่วงนี้จะมองหน้ากันไม่ค่อยติดเท่าไหร่ เพราะจะเห็นว่าพระนารายณ์ไปโปรดคอนสแตนติน ฟอลคอน หรือเห็นคล้อยตามในสิ่งที่ฝรั่งเสนอ ไม่ว่าจะสร้างตรงนั้น ทำตรงนี้ พระนารายณ์ก็ช่วยเหลือทุกอย่าง จึงดูเหมือนว่าพระองค์ไม่ค่อยสนใจชาวสยามเท่าไหร่นัก

นอกจากนี้ พระนารายณ์ยังคุยกับมิชชันนารีบ่อยๆ ก็เป็นที่เคลือบแคลงว่าพระองค์จะเปลี่ยนศาสนาหรือไม่ จะเข้ารีตหรือเปล่า ซึ่งไม่มีใครอยากให้เข้ารีต ดังนั้นการมองหน้ากันไม่ค่อยติดระหว่างพระเพทราชาที่เป็นตัวแทนของชาวสยาม กับพระนารายณ์ ก็น่าจะเกิดขึ้นในช่วง 8 ปีสุดท้ายของรัชกาลพระนารายณ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ฟอลคอนเริ่มเข้ามีอำนาจ

อย่างไรก็ตาม พระนารายณ์เองก็ยังไว้เนื้อเชื่อใจพระเพทราชาอยู่ เพราะในช่วงที่พระองค์ประชวร พระเพทราชาก็เข้ามาดูแลกิจการบ้านเมืองแทน จนในที่สุดก็ออกว่าราชการแทน ซึ่งเป็นการว่าราชการแทนในขณะที่พระนารายณ์เองก็ยังมีสติสัมปชัญญะอยู่ นั่นหมายถึง พระนารายณ์ก็ยอมมอบสิทธิในการดูแลราชอาณาจักรบางส่วนให้กับพระเพทราชาอยู่แล้ว แปลว่าพระองค์คงไม่ได้ระหองระแหงอะไรกันมาก แต่คงมีการเสี้ยมว่าพระเพทราชาไม่ดี พระเพทราชาจะยึดอำนาจ ซึ่งคนที่เสี้ยมก็มี เช่น ฝ่ายฝรั่งเศส รวมถึงฝั่งพระเพทราชาเองก็บอกว่าฝรั่งเศสไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ กลายเป็นต่างฝ่ายต่างเสี้ยมกันนั่นเอง

รศ.ดร.ปรีดีกล่าวอีกว่า สำหรับคนที่ชอบฝรั่งเศสแบบพระนารายณ์ในสมัยอยุธยานั้นมีอยู่ไม่มาก ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์มากกว่า คือไม่ได้เห็นด้วยกับพระนารายณ์ตลอด เป็นการเห็นด้วยเฉพาะกิจในช่วงที่ตนเองได้ผลประโยชน์เท่านั้น แม้แต่บาทหลวงหรือพ่อค้าก็ไม่ได้เห็นด้วยกับฟอลคอนทั้งหมด ขณะที่ชาวสยามส่วนใหญ่เห็นด้วยกับพระเพทราชา ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าพระเพทราชาจะมองออกว่าจะจำกัดอำนาจของฝรั่งให้ลดลง หรือบีบบังคับอะไรบางอย่างออกมา

“จริงๆ แล้วเราก็ปรักปรำท่านไปมากพอสมควรว่าการที่ฝรั่งเศสหายไปจากอยุธยาเป็นเพราะพระเพทราชาปฏิวัติ จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและฝรั่งเศสยุติลง ขณะที่ในพงศาวดารระบุว่า พระเพทราชาก็ยังส่งทูตไปฝรั่งเศส แปลว่าท่านยังสืบสานในสิ่งที่พระนารายณ์ทำ แต่ท่านมองออกว่าฝรั่งเศสเข้ามาในวัตถุประสงค์ที่ไม่ดี ไม่เหมือนชาติอื่นหรือฝรั่งเศสยุคแรกที่เข้ามา คือฝรั่งเศสยุคแรกไม่ได้ยุ่งกับการเมือง มาแค่เผยแผ่ศาสนา เป็นต้น เพราะฉะนั้นฝรั่งเศสยุคแรกก็เทียบเท่ากับชาวต่างชาติที่เข้ามายุคแรก เหมือนฮอลันดา โปรตุเกส อังกฤษ คือไม่ได้ยุ่งกับการเมืองในราชสำนัก แต่ฝรั่งเศสมีการเปลี่ยนท่าที ซึ่งเป็นสิ่งที่พระเพทราชามองออก

“การปฏิวัติของพระเพทราชาจึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ท่านจึงเป็นฮีโร่คนหนึ่ง”

แต่คนชอบเข้าใจผิดมากว่าท่านไปตัดความสัมพันธ์ แล้วด้วยท่านเป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนเสียกรุง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่เกี่ยวกับราชวงศ์สุดท้ายหรือไม่ นอกจากนี้ทายาทที่สืบทอดต่อมาของพระองค์นั้น บางคนก็มีเรื่องอื้อฉาวเยอะ เช่น ออกหลวงสรศักดิ์ หรือที่คนเรียกว่าพระเจ้าเสือ ที่เป็นคนดุร้าย หรือพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ที่จะเสวยแต่ปลาตะเพียน และมีอีกหลายพระองค์ที่ภาพไม่ได้เป็นภาพที่ดีมาก อย่างไรก็ตาม การที่เราเห็นภาพไม่ดีนั้นอาจเป็นการที่ท่านถูกใส่ความเข้าไปในสมัยหลังก็ได้

“อยากให้เห็นว่า 15 ปีที่พระเพทราชาครองราชย์ พระองค์ก็ยังทำในสิ่งที่ทำในยุคพระนารายณ์ ทูตก็ยังรับอยู่ พ่อค้าก็ยังรับอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างสยามและฝรั่งเศสไม่ได้จบลง มีแค่ทหารที่ต้องออกไป มิชชั่นนารีถูกปล่อยตัวออกมา พ่อค้าก็ยังทำการค้าได้เหมือนเดิม คงไม่มีใครที่จะไปตัดตอนการค้าได้ เพราะเป็นท่อน้ำเลี้ยงของอยุธยา ดังนั้นจึงอยากให้มองท่านให้เป็นฮีโร่ เพราะท่านตัดไฟแต่ต้นลม หากท่านไม่ทำเช่นนี้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าฝรั่งเศสจะมาไม้ไหน เพราะไม่ใช่แค่ทหารจำนวน 600 คนเท่านั้น แต่ตอนท้ายยังมีทหารถูกส่งมาบนเรืออีก ซึ่งหากพระเพทราชาไม่ปฏิวัติ อยุธยาเองก็อาจจะถูกปฏิวัติ แต่เป็นการปฏิวัติโดยนโยบายของชาติอื่น ซึ่งก็ไม่รู้ว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร”

เรื่องราวของพระเพทราชาที่น่าสนใจยังมีให้ติดตามอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวก่อนขึ้นครองราชย์ เหตุการณ์ก่อนปฏิวัติพระนารายณ์ ที่ผู้สนใจสามารถไปหาคำตอบได้ในทัวร์ “ออกพระเพทราชา ฮีโร่แห่งกรุงศรีฯ” จ.สุพรรณบุรี-พระนครศรีอยุธยา กับ “มติชนอคาเดมี” โดยมี รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี เป็นวิทยากร กำหนดออกเดินทางวันที่ 23 มิถุนายน 2561 ส่วนรอบ 2 กำหนดเดินทางวันที่ 30 มิถุนายน 2561 นี้

สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี

Inbox : Facebook Matichon Academy

Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichonacademy

คลิกอ่านรายละเอียดการเดินทางได้ที่ https://www.matichonacademy.com/tour/article_14622


Content Team Matichon Academy
ติดต่อ อีเมล์ : [email protected]
โทรศัพท์ 0-2954-3971 ต่อ 2111

การปฏิวัติสมเด็จพระนารายณ์มหาราชของพระเพทราชา ทำให้พระเพทราชาเป็น “ฮีโร่” หรือวีรบุรุษ แห่งกรุงศรีอยุธยาจริงหรือ? ชวนไปหาคำตอบ พร้อมตามรอยพระเพทราชา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง กับมติชนอคาเดมี ในทัวร์ ออกพระเพทราชา “ฮีโร่” แห่งกรุงศรีฯ จ.สุพรรณบุรี-พระนครศรีอยุธยา

กำหนดการเดินทาง : วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2561

วิทยากร : รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี

ราคา 2,700 บาท

สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี

Inbox : Facebook Matichon Academy

Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichonacademy

คลิกอ่านรายละเอียดโปรแกรมการเดินทางได้ที่นี่ https://www.matichonacademy.com/tour/article_14622

รียกขานกันมานมนานหนักหนาแล้ว สำหรับคำว่า “พระเจ้าเหา” ซึ่งเป็นชื่อมาจากตึกหรืออาคารโบราณสถานตั้งอยู่ในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ จ.ลพบุรี ที่ตอนนี้กลายเป็นสถานที่สำคัญที่ใครต่อใครต้องเดินทางไปดูให้เห็นกับตา เพื่อตามอย่างละครบุพเพสันนิวาส คราวที่แม่การะเกดเธอทำตาโตบอกคุณพี่หมื่น ว่าอยากเห็นตึกพระเจ้าเหา ประเด็นนี้คุณพี่หมื่นไม่ได้บอกว่าพระเจ้าเหาเป็นใคร แต่มีผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์สมัยพระนารายณ์ “อาจารย์ภูธร ภูมะธน” มาเฉลยให้ทราบกัน

“ผมคิดว่ารูปธรรมทั้งหลายที่สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่ จ.ลพบุรี มีมากมายหลายที่ บางที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ดีงาม บางที่ก็ทรุดโทรม บางที่มีความหมายแต่คนไม่รู้ สำหรับกรณี ตึกพระเจ้าเหา ซึ่งตั้งอยู่ในวังนารายณ์ราชนิเวศน์ อยู่ ณ มุมหนึ่งของพระราชวัง เป็นตึกที่มีสถาปัตยกรรมแบบไทย ซึ่งในวังนารายณ์นั้นจะมีสถาปัตยกรรมในสมัยพระนารายณ์หลายแบบ แบบไทยหรือแบบฝรั่งปนแขก หรืออะไรก็ตาม กรณีของตึกพระเจ้าเหา จะตรงกับตำแหน่งที่ระบุในแผนที่ของชาวฝรั่งเศสว่าเป็น หอพระประจำพระราชวัง…”

อาจารย์ภูธร ภูมะธน

“โดยสถาปัตยกรรมของตึกพระเจ้าเหา จะเห็นว่ามีกำแพงแก้วล้อมรอบอีก เพราะฉะนั้น น่าจะตรงกับที่ฝรั่งเศสระบุไว้ คือเป็นหอพระประจำพระราชวังแน่นอน ถามต่อไปว่าชื่อของตึกที่รู้จักกันในนาม พระเจ้าเหา นั้นคืออะไรกันแน่? ถ้าเป็นหอพระประจำพระราชวัง คำว่าพระเจ้าเหาน่าจะเป็นชื่อพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำอาคารหลังนี้ก็ได้ ทีนี้มีเหรอพระพุทธรูปชื่อ เหา มีการวิเคราะห์ศัพท์นี้ เพราะกังขากันมานับศตวรรษ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการบันทึกไว้ว่าเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาที่นี่ ก็ทรงตั้งคำถามนี้เช่นกัน…”

“เหา คืออะไร? มีการตีความกันไปต่างๆ นานา โชคดีที่คนโบราณเมื่อตีความก็มีทางออกหลายทาง หนึ่ง-เหา มาจากคำว่า “House” ที่ฝรั่งอาจเรียกหอพระว่า God’s House สอง-เหา มาจากภาษาเขมรเป็นรากศัพท์มาจากเขมร แปลว่า รวมเข้ามาหากัน เสมือนหนึ่งเป็นที่ประชุม เอาล่ะ..ในระยะหลังที่พบหลักฐานว่าที่ตรงนี้คือหอพระประจำพระราชวัง พระเจ้าเหาก็ต้องเป็นชื่อพระพุทธรูปที่สำคัญประจำพระราชวัง ที่ประดิษฐานอยู่ในอาคารหลังนี้ ถามว่า เหา เป็นชื่อพระพุทธรูปได้ไหม? ต้องผูกโยงไปอีกว่าตอนต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ได้เสด็จไปตีดินแดนล้านนาก่อนมาสถาปนาเมืองลพบุรีให้มั่นคง แล้วมีไหมพระพุทธรูปในล้านนาที่เริ่มคำแรกว่า พระเจ้า อันนี้ธรรมดามาก ใครไปล้านนาจะรู้ว่าพระพุทธรูปสำคัญของล้านนาขึ้นต้นด้วยคำว่าพระเจ้าทั้งสิ้น อย่างพระเจ้าตนหลวง พระเจ้าเก้าตื้อ คือชื่อพระพุทธรูปสำคัญประจำพื้นที่นั้นๆ…”

“คราวนี้มาถึงพระเจ้าเหา พระเจ้าเหาเป็นชื่อพระพุทธรูปแน่ๆ ส่วนคำว่า เหา มีความหมายว่าเหาบนหัว หรือมีความหมายอื่น สำหรับผมเองสันนิษฐานเลยว่า ด้วยเหตุที่ท่านยกทัพไปตีเชียงใหม่มาก่อนแล้วค่อยมาสถาปนาลพบุรีเป็นเมืองสำคัญ คำว่า เหา เป็นชื่อพระพุทธรูป ซึ่งน่าจะตรงกับคำว่า หาว ก็ได้ ซึ่งแปลว่าสวรรค์หรือท้องฟ้า แต่สำหรับคนภาคกลาง การออกเสียงอาจจะลำบาก จากหาวมาเป็นเหาก็ได้ อย่างนี้เป็นต้น สรุปชื่อ พระเจ้าเหา คือชื่อพระพุทธรูปสำคัญที่ประดิษฐานในหอพระแห่งนี้ซึ่งเป็นหอพระประจำพระราชวังนารายณ์นั่นเอง”

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเห็นต่างไปจากอาจารย์ภูธรอีกหลายแนวคิด อาทิ แนวคิดที่อธิบายโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อธิบายว่า คำว่า พระเจ้าเหา มาจากชื่อตึกหลังหนึ่ง ตั้งอยู่ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รัชกาลที่ 5 มีพระราชวิจารณ์ว่า ‘คำว่าเหานี้ สันนิษฐานว่าเป็นภาษาเขมร แปลว่าเรียก หมายความว่ารับสั่งให้เข้าหา หรือเข้ามาประชุม นึกสงสัยต่อไปว่า จะมีศาลพระเจ้าเหาหรืออย่างไรทำนองเดียวกันแต่โบราณมาแล้ว เป็นแต่เอาชื่อเดิมมาเรียก มิใช่คิดขนานใหม่สำหรับตึกที่สมเด็จพระนารายณ์ฯทรงสร้างที่ในพระราชวังเมืองลพบุรี ตึกพระเจ้าเหาจึงแปลได้ว่า “ตึกพระเจ้าเรียก” เป็นที่สำหรับขุนนางประชุมปรึกษาราชการ ถ้าจะแปลเป็นฝรั่งก็แปลได้ตรงๆ ตัวว่า “Convocation Hall”

ในสมัยปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์์ได้กระทำรัฐประหารในตึกนี้ กล่าวคือ ในขณะที่ขุนนางทั้งปวงประชุมกันอยู่พร้อมเพรียง ก็ให้ทหารเอาหอกดาบและปืนสอดเข้าไปตามช่องหน้าต่างประตูโดยรอบ แล้วพระเพทราชาก็ประกาศตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ให้ขุนนางทั้งหลายกระทำสัตย์สาบาน ณ ที่นั้น หลังจากรัฐประหารครั้งนี้แล้วเหตุการณ์ในกรุงศรีอยุธยาและระเบียบวิธีปฏิบัติราชการคงจะเปลี่ยนไปมาก ของอะไรที่เกิดขึ้นใหม่ถ้ามีคนถามว่าเกิดขึ้นเมื่อไร ก็คงจะตอบกันว่า “แต่ครั้งตึกพระเจ้าเหา” ราชวงศ์บ้านพลูหลวงนั้นก็เกิดขึ้น “แต่ครั้งตึกพระเจ้าเหา” ต่อมาคำว่า “ตึก” เห็นจะหายไป คงเหลือแต่คำว่า “ตั้งแต่ครั้งพระเจ้าเหา” แปลว่า ‘ตั้งแต่ครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครอง’ หรือ ‘ตั้งแต่ครั้งรัฐประหาร’ นั่นเอง

แนวคิดเรื่องพระเจ้าเหามาจากชื่อตึกนี้ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เคยระบุไว้เช่นกันว่า เคยทรงสอบถามศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ได้รับคำตอบว่า เป็นภาษาเขมร แปลว่าที่พระเจ้าแผ่นดินตรัสเรียก เคาน์ซิลออฟแชมเบอร์ (Council of Chamber) มาประชุม

เฉลยกันไปแล้วว่า พระเจ้าเหา คือชื่อพระพุทธรูปสำคัญของพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของอาจารย์ภูธร ภูมะธน ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์สมัยพระนารายณ์ หากยังมีความเห็นต่าง ผิดแผกออกไปอีกหลายแนวคิด ทั้งนี้ ก็เป็นเรื่องของปัญญาชนคนสยามที่จะมาวิสาสา ปรมา ญาติ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและความรู้ที่ทำให้เกิดปัญญาเป็นคุณค่ากับประวัติศาสตร์ของชาติไทยต่อไป

นักแสดงละครบุพเพสันนิวาสที่ทำเอาคนทั้งประเทศอินไปตามๆ กัน ตั้งแต่บทพระเอกจนตอนนี้พระรองนักแสดง ใครๆ ที่มีบทเด่นๆ ในละครนี้ล้วนแต่ได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมาก ล่าสุดไม่ใช่พี่หมื่นแต่อย่างใด แต่เป็น “ออกพระเพทราชา” ซึ่งรับบทโดย “ศรุต วิจิตรานนท์” ที่แสดงได้อินจนคนดูอินจัดไปกับฉากปะทะคารมกับ “สมเด็จพระนารายณ์” จนหลายคนรับพลิกอ่านประวัติศาสตร์กันแทบไม่ทัน

ทัวร์มติชน อคาเดมี จึงได้จัดทริปพาออเจ้า ไปเฝ้า “ขุนหลวงนารายณ์” ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) เพื่อพาย้อนไปชมประวัติศาสตร์จากซากปรักหักพัง ที่มีชีวิตอีกครั้งโดย ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี กูรูนักประวัติศาสตร์ (อ่านรายละเอียดที่ลงค์นี้ https://www.matichonacademy.com/update/article_9124)

โดยสมเด็จพระเพทราชา เป็นพระมหากษัตริย์ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวงและอยู่ในราชสมบัตินาน 15 ปี ได้ราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระนารายณ์ โดยได้ราชสมบัติตอนพระชนมายุ 51 พรรษา ประวัติศาตร์ได้กล่าวถึงสมเด็จพระเพทราชาจากหลากหลายมุมมอง จากสิ่งที่สมเด็จพระเพทราชาได้ทำการรัฐประหารยึดราชสมบัติจากสมเด็จพระนารายณ์ ขณะที่ทรงประชวรด้วยโรคไอหืด

ท่ามกลางบรรยากาศของข้าศึกที่ประชิดประตูเมืองในทุกด้านนั้น สมเด็จพระเพทราชา เมื่อทำการรัฐประหารสำเร็จ ได้ราชสมบัติแล้ว ยังได้กระทำการขับไล่ทหารฝรั่งเศสที่ป้อมบางกอก ที่อยู่ในความควบคุมของนายพลเดส์ฟาร์จ และที่ป้อมเมืองมะริด ในความควบคุมของนายพลดูบรูอัง เฉพาะที่ป้อมบางกอกค่อนข้างใช้เวลาและมีการสูญเสียของทั้ง 2 ฝ่าย ครั้นทำท่าจะสงบศึกกันได้ แต่เพราะเต็มไปด้วยความหวาดระแวง ทำให้กลายเป็นศึกยืดเยื้อโดยไม่จำเป็น

ในที่สุดสงครามก็ยุติลงโดยไทยได้ตัวประกัน 4 คนคืนมา (ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 2 คน ล่ามและทหารรับใช้) กับได้สมบัติฝรั่งเศส และได้กักกันนักบวชจำนวน 70 คน ไว้ระยะหนึ่งก่อนจะให้อิสรภาพ โดยเฉพาะบุตรชาย 2 คน ของนายพลเดส์ฟาร์จ ซึ่งเป็นตัวประกัน ซึ่งท่านนายพลก็โหดเหี้ยมพอที่จะยอมเสียบุตรชายทดแทนกับการกระทำขัดคำสั่งของพระเพทราชา อย่างไรก็ดีทรงมีเมตตาให้อิสรภาพแก่บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด รวมทั้ง มารี กีมาร์ ภรรยาและบุตรของวิชาเยนทร์ (ฟอลคอน) อีกคนหนึ่ง ไม่เช่นนั้นสยาม (อยุธยา) อาจถูกยึดครองโดยฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (2231) ก็เป็นได้

ในด้านความสัมพันธ์ของพระเพทราชากับสมเด็จพระนารายณ์นั้น แม่จริงของพระเพทราชา คือแม่นมของสมเด็จพระนารายณ์ นั่นคือเจ้าแม่วัดดุสิต นอกจากนั้นยังเป็นศิษย์พระอาจารย์องค์เดียวกัน (พระอาจารย์พรหม) ที่สำคัญกว่านั้นคือ พระเพทราชาเป็นคนลุ่มลึกเยือกเย็นองอาจกล้าหาญ และเฉลียวฉลาด ว่ากันว่าสมเด็จพระเพทราชา เป็นกษัตริย์ที่มีพื้นฐานคนบ้านนอก บ้านเดิมอยู่บ้านกร่าง หรือบ้านพลูหลวง ชานเมืองสุพรรณบุรี

พระเพทราชา

คู่ปรับของพระเพทราชา คือ ออกญาวิชาเยนทร์ (ฟอลคอน) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ออกญาวิชาเยนทร์ได้นำทหารฝรั่งเศสพร้อมอาวุธทันสมัยเข้ามาประจำการที่ป้อมบางกอก ซึ่งถือว่าเป็นอันตราย เพราะอาวุธเหล่านั้นมีอานุภาพเหนือกว่าทางอยุธยามาก แม้มีทหารเพียงกองร้อย ก็สามารถเอาชนะทหารไทยในระดับกองทัพได้ พระเพทราชาเคยติงเรื่องนี้ในที่ประชุมขุนนางต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระนารายณ์เรื่องการคบหากับต่างชาติที่ต้องระมัดระวัง สมเด็จพระนารายณ์ในเวลานั้นทรงชื่นชอบพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และโปรดวิชาเยนทร์เป็นพิเศษ

เท่ากับว่าวิชาเยนทร์มีกองทหารที่แข็งแกร่ง ขณะที่พระเพทราชาอาศัยพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ ในเขตเมืองลพบุรีและปริมณฑล โดยเฉพาะได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากพระสังฆราชเมืองลพบุรี ณ วัดราชา ทั้งในเรื่องการสอดแนมการเคลื่อนไหวต่างๆ การก่อม็อบและอาจใช้เป็นกำลังรบถ้าจำเป็น การอาศัยกำลังจากพระสงฆ์ในกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้น เป็นวิธีที่แนบเนียน ทำให้วิชาเยนทร์ตายใจเข้าใจว่าพระเพทราชาไม่มีกำลังรบที่ดีๆ อยู่ในมือ จึงเร่งเอาใจนายพลเดส์ฟาร์จมากขึ้นเพื่อคิดว่าจะมีกำลังพลในมือ

ออกญาวิชาเยนทร์หวังว่าจะใช้กองกำลังทหารฝรั่งเศสที่ป้อมบางกอกทำการรัฐประหารยึดอำนาจ กองทหารนั้นควบคุมโดยนายพลเดส์ฟาร์จ ทั้งนี้จะใช้กองกำลังเพียง 60-80 คน ก็สามารถดำเนินการได้เพราะมีอาวุธที่ดีกว่ามาก แต่พระเพทราชาเหนือกว่าเพราะได้ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จึงอยู่ในฐานะได้เปรียบกว่าในการสั่งการต่างๆ โดยอ้างพระราชโองการ แต่ก็เต็มไปด้วยความระมัดระวังในการใช้อำนาจ จึงกระทำการรัฐประหารสำเร็จ ซึ่งถือเป็นการชิงไหวชิงพริบกันเป็นอย่างมาก

เรียบเรียงจาก ศิลปวัฒนธรรม https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_9992