จับเข่าคุย รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม

The Project

 

 

จับเข่าคุย “ศรีศักร วัลลิโภดม”

ทำไมถึงชวนไป “อู่ทอง” ?

การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ผ่านการเดินทางกลายเป็นการท่องเที่ยวเทรนด์ใหม่ที่มีความหมายมากกว่าการไปให้ถึง หากแต่เป็นการเข้าถึงและเข้าใจสถานที่ ผู้คน ชุมชน ในบริบทต่างๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี ถือเป็นการเรียนรู้ความเป็นมาของชาติ ความรุ่งเรือง ล่มสลาย เพื่อให้เกิดกระบวนทัศน์ทางความคิด พร้อมๆ กับการสัมผัสความงดงามของสถานที่ วัฒนธรรม ประเพณีที่ยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน และยังเป็นความมหัศจรรย์อันน่าทึ่งสำหรับคนยุคปัจจุบัน

ดินแดน “สุวรรณภูมิ” คือหมุดหมายของการเรียนรู้ในครั้งนี้

alt

        ผ่านคนนำทาง คนเล่าเรื่อง ทีชื่อว่า “รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม” เป็นนักโบราณคดี นักมานุษยวิทยา เจ้าของรางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟูกูโอกะ ประจำปี พ.ศ. 2550  ทั้งยังเป็นผู้ที่ศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงงานวิชาการ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยา ไว้อย่างมากมาย  หนึ่งในนั้นก็คือผลงานที่ชื่อว่า “ประวัติศาสตร์โบราณคดี : เมืองอู่ทอง”

เนื้อหาบอกเล่าเกี่ยวกับ เมืองอู่ทองซึ่งเป็นเมืองสำคัญในยุคทวาราวดีซึ่งตั้งอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบก  ทั้งยังเป็นที่รวมของคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและศาสนาอันแสดงให้เห็นถึงการเป็นสังคมนานาชาติได้ดีกว่าที่อื่นๆ รวมถึงรายงานการศึกษาเมืองอู่ทองในแง่ของพัฒนาการของบ้าน เมือง และรัฐในสุวรรณภูมิการจัดการน้ำและโครงสร้างทางกายภาพของปุระและนคร

        จึงเป็นที่มาของทัวร์ “เที่ยวสุวรรณภูที่อู่ทอง” และการจับเข่าคุยกับ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดมถึงเหตุผลของการชวนไปเที่ยวเมืองอู่ทองในครั้งนี้

·         ทำไมถึงต้องไปเที่ยวสุวรรณภูมิที่อู่ทอง?

 

อยากให้ไปรู้จักบ้านเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มันมีการติดต่อกับทางอินเดีย ตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 3-4 มันเป็นเส้นทางของการเผยแผ่

พุทธศาสนาจากอินเดียสู่สุวรรณภูมิ เพราะการเผยแผ่นั้นต้องข้ามมหาสมุทรอินเดีย แต่การข้ามมีหลายยุคหลายสมัย อู่ทองเป็นยุคแรกๆ ที่มีการข้ามแถว

ปากแม่น้ำคงคา  เลาะมาแถวอ่าวเบงกอล ผ่านทางเมืองมอญ สะเทิง เข้ามาที่ทวาย เพราะเวลานี้มีการค้นพบหลักฐานที่ทวายอยู่มาก มีท่าเรือจอดมากที่

สุด เพราะมีเกาะขวางหน้านอกจากนั้นยังมีการเดินทางข้ามเทือกเขาตะนาวศรี บริเวณเขตสวนผึ้ง พบหลักฐานอยู่มาก รวมหลักฐานที่เป็นแผ่นสำริด ขัน

สำริด มีลวดลายของอินเดีย ตรงนี้ผ่านแถวบริเวณจอมบึง แล้วตัดเข้าเมืองกาญฯ มาตามเส้นทางหนองขาว ถึงดอนตาเพชร จนมาถึงอู่ทอง บริเวณนี้

เหมาะสมมาก เพราะตั้งอยู่เชิงเขาแล้วลงสู่ที่ราบลุ่ม รอบๆ เขาอู่ทองนี้ มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เก่ามาก ก่อนประวัติศาสตร์

 

·         อะไรที่ยืนยันว่าอู่ทองคือจุดนัดพบนานาชาติ และเส้นทางการค้าตะวันออก-ตะวันตก?

มีร่องรอยการตั้งชุมชนเล็กๆ อยู่มากมาย ชุมชนเหล่านั้นศึกษาจากหลุมศพ เห็นการเข้ามาของวัตถุที่เป็น trade item คือที่เป็นสินค้า เช่น ลูกปัดขนาดใหญ่ และ

มีความหลากหลายชนิด แสดงถึงการค้าขาย มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคเหล็ก เข้าสู่ยุคตอนปลายๆ มีการติดต่อจนเป็นเมืองท่า เส้นทางการค้าทางทะเลเข้ามายุค

พุทธศตวรรษที่ 5-6 ถือเป็นการเดินทางยุคสายไหม ทางทะเล อู่ทองเป็นเมืองท่าสำคัญที่ติดต่อไปจีน เวียดนาม อู่ทองพัฒนามาเรื่อยจนถึงยุคฟูนัน อู่ทองเป็น

เมืองร่วมสมัย เมืองท่า

 

·         มีการขุดพบจารึกปุษยคีรี มันคืออะไร?  และแสดงถึงอะไร ?

คำว่าปุษยคีรีสะท้อนให้เห็นถึงการอ้างอิงชื่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ตรงนั้นเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ  มีหลักฐานสอดคล้องกับการที่ส่งพระโสนะอุตตระเข้ามา เมื่อเข้า

มาแล้วผ่านจุดนี้ ก็เป็นจุดศักดิ์สิทธิ์ เข้าใจว่าการสร้างพระบรมธาตุคือการเผยแพร่พุทธศาสนา พอเข้าก็นำเอาชื่อนี้ไป ตอนเอาเข้ามาก็เอามาฝังไว้ที่เมืองอู่ทอง

จะเป็นพระโสนะอุตตระหรือไม่ ไม่ทราบ!  แต่สันนิษฐานว่าเป็นการฝังเพราะมีเพิงหิน จึงเป็นจุดศักดิ์สิทธิ์เพราะมีการฝังพระบรมธาตุ เป็นเจดีย์เล็กๆ ซึ่งหายไป

แล้ว ไป ครั้งนี้เราก็จะสื่อให้เห็นว่ามันมีจุดสำคัญอยู่ แล้วก็บริเวณเขาพระก็เหมือนกัน มีศิลาแลง ส่วนด้านล่างก็มีเสาธรรมจักรอยู่

 

·         โบราณสถานบึงคอกช้างดินคืออะไร?

 แต่ก่อนบริเวณนี้เป็นดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ทั้งนั้น ไม่ใช่แค่พุทธ มีทั้งฮินดูด้วย เริ่มจากวัดถ้ำเสือ รอบๆ เขาพุหางนาค จนถึงวัดเขาดีสลักเป็นเทือกเขาที่

สัมพันธ์กัน แต่ละถ้ำมีพระสงฆ์ นักพรต ฤาษี เข้าไปจำศีล ถ้ำเหล่านี้เขาสร้างพระพิมพ์ เรียกว่า พระถ้ำเสือ ผมคิดว่าน่าจะเป็นพระพิมพ์รุ่นแรกๆ  รูปร่างหน้า

ตาน่าเกลียด แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงความเก่าแก่ มีทั้งนั่งขัดสมาธิ นั่งเก้าอี้ ผสมปนเปกันไป เราจะไม่พบกันทั่วๆ ไป สะท้อนให้เห็นถึงว่าเคยมีพระสงฆ์หรือนัก

พรตอยู่บริเวณนั้น

 เชิงเขารอบๆ นั้น ตรงเขตถ้ำเสือบริเวณคอกช้างดินนั้น พบแหล่งศาสนสถานของฮินดู เพราะมันเป็นวิหาร? แต่ไม่ใช่เจดีย์ ทำด้วยหินกรวด ขณะเดียวกัน

พบทางน้ำ ที่ใช้แนวหินบีบเข้าสู่คอกช้าง มันมี 2-3 คอกช้าง ลักษณะคอกช้าง เข้าใจว่า เป็นสิ่งที่เขาเรียกว่า บาราย เป็นภาษาสันสกฤตที่ว่า ยกขึ้นมาแล้ว

เก็บน้ำไว้บนผิวดิน เพราะบริเวณอู่ทองนี้เป็นที่แล้งน้ำ จำเป็นจะต้องมีสิ่งเหล่านี้ ในบริเวณรอบๆ อู่ทอง เราค้นพบว่ามีการทำคันดิน ทั้งชะลอน้ำ แยกน้ำ แบ่ง

น้ำ หลายๆ แห่งสะท้อนให้เห็นว่ามีการชะลอน้ำเพื่อการทำนา ในที่ลุ่ม  แล้วก็เห็นว่าบริเวณ 5-6 กิโลเมตรรอบๆ อู่ทอง มีการตั้งถิ่นฐานอยู่มาก   

 

·         จริงหรือ ? เจดีย์ที่พบที่อู่ทอง น่าจะเก่ากว่าเจดีย์ที่นครปฐม

 มันมีทั้งเก่ากว่า และร่วมสมัย และหลังลงมา มันไม่ได้สลายไป แต่ต้องตรวจสอบดู เราต้องมองเห็นว่า เสาธรรมจักร, ลายปูนปั้น น่ะมันเป็นของเก่า แต่มาจากที่

ตรงไหนก็ไม่รู้ อีกอันเป็นรูปพระสงฆ์ 3 องค์, อีกอันเป็นลายเทวดาเหาะ แสดงว่าเหล่านั้นได้รับอิทธิพลจากอมราวดีมากกว่า ไม่ได้มาจากทางลุ่มน้ำคงคา

 

·         รอยพระพุทธบาทที่เขาดีสลัก น่าสนใจอย่างไร?

 นั่นแสดงการสืบเนื่องของชุมชนที่อยู่ตรงนั้น ที่มีการนับถือพุทธศาสนา เพราะที่เราเคยเห็นก่อนหน้านั้นมักจะไม่มีมงคล 108 ประการ อย่างที่ปราจีนบุรีก็มีรอย

พระพุทธบาทรุ่นแรกๆ คล้ายกับอมราวดี ที่นี่มันเห็นภาพหลายอย่าง เช่น ความโดดเด่นของพุทธบัญญัติ ซึ่งธรรมจักรเนี่ยะ หรือกวางหมอบเป็นศิลปอัตลักษณ์

แบบทวารวดี มี 2 อย่างคือ ธรรมจักรแบบกวางหมอบ กับ พระพุทธรูปเหนือพนัสบดี จริงๆแล้ว คือพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แต่อาศัยสัตว์

เนรมิต เชื่อมสวรรค์กับโลก เป็นความคิดริเริ่มที่ดี ที่อู่ทองมีเยอะมากที่เป็นหลักฐาน โดยเฉพาะลูกปัดมีอยู่มาก แสดงว่ามันมีมามากกว่าที่อื่น แต่เสียดายที่ถูก

ทำลายลงไป ถ้ามีการศึกษาเอามาเทียบกันจะทำความเข้าใจได้ง่าย แต่ที่อู่ทองนี่ระยะหลังมันมีการติดต่อกับเวียดนาม ถึงยุคนั้น ยุคที่พบลิงลิงโอ มันเป็นยุค

ก่อนจะมีเส้นทางการค้านะ เพราะพวกลิงลิงโอ กลุ่มที่นำมาเป็นพวกซาร์วิน ที่อยู่ตอนกลางของเวียดนาม ก่อนที่จะจีนจะทำการค้าขาย อู่ทองมีเครือข่ายอยู่

มาก ดังนั้น อู่ทองเป็นร่วมสมัยฟูนัน ยุคพุทธศตวรรษที่ 13-14 จึงจะพบมหายานขึ้น

 

 

·         ทำไมเมืองอู่ทองถึงหายไปได้?

 เมืองอู่ทองไม่ได้หายไปไหน  แต่มันไม่มีคนอนุรักษ์  เพราะการอนุรักษ์สมัยก่อนเก็บไว้แต่ในตัวเมือง ส่วนบริเวณรอบๆ ไม่มีการขุดสำรวจ จริงๆ มันกระจายไปทั่ว

การที่จะเป็นนครใหญ่ไม่ใช่เฉพาะตัวเมือง ภาษาอินเดียเรียกว่า นครา ตัวเมืองเป็นปุระ รอบๆ เป็นรัศมีกว้าง ถึงได้กินพื้นที่คอกช้างและที่อื่นๆ แล้วความสัมพันธ์

ก็ไปเห็นที่ดอนตาเพชร ที่จริงอู่ทองเป็นแหล่งที่มีของป่า และแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุมาก โดยเฉพาะบ่อพลอยมีเยอะมาก เพราะที่ตรงนั้นเป็นเมืองท่า

 

                ร่วมมองอดีต เข้าถึงความงามอย่างรู้ซึ้งคุณค่า ร่วมดูแลและใช้ทรัพยากรทางประวัติศาสตร์โบราณคดีให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือเป้าหมายสำคัญของ

การเดินทางทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี