อรุ่งรุ่งที่สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย

The Project

 

รับรุ่งอรุณแห่งความสุข

“สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย”

ราชธานีคู่ 2 อุทยานมรดกโลก

เราจะก้าวรับศักราชใหม่บนแผ่นดิน “รุ่งอรุณแห่งความสุข”ด้วยกัน

ถนนโบราณที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมชุมชนต่างๆ ในยุคแผ่นดินทองเมื่อราว 2500 ปีก่อน พาดผ่านจากเมืองแถน (เวียดนาม)  หลวงพระบาง (ลาว)  เข้าสู่ปากลาย  ฝาง

 ทุ่งยั้ง  เชลียง และสุโขทัย  หรือจากหลวงพระบาง น่าน  แพร่  สุโขทัย เข้าสู่มะละแหม่งในพม่า รวมไปถึงเส้นทางข้ามหุบเขาตะวันออก-ตะวันตกจากชุมชนต่างๆ ใน

ลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำน่าน และภาคกลาง ร่องรอยแห่งอดีตยังคงปรากฏชัด…

เราได้รับชุดความรู้มาเหมือนๆ กันว่า เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัยเป็นเมืองพี่เมืองน้องที่เติบโตอยู่รุ่นราวคราเดียวกัน  เรียกว่า เมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย

เมื่อใดที่พระมหากษัตริย์ประทับอยู่ที่เมืองสุโขทัย ก็จะส่งพระโอรสที่จะขึ้นครองราชสมบัติต่อไป ให้ไปประทับที่ศรีสัชนาลัย ดังเช่นสมัยที่พญาเลอไท ปกครองสุโขทัย

ได้ส่งพระราชโอรส คือ พญาลิไทย ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ดังนั้นบทบาทในทางการเมือง การปกครองของเมืองสุโขทัยกับศรีสัชนาลัย จึงมีความเกี่ยวข้องกันโดย

ตลอดมา

สุโขทัยและศรีสัชนาลัยในวันนี้คือ  “เวลาในขวดแก้ว” ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในฐานะ เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานขิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้าง

สรรค์อันขาญฉลาดของมนุษย์ และเป็นสิ่งยืนยันถึงหลักฐานทางวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

alt

2 ราชธานีเก่าแก่ยังคงงดงามท้ากาลเวลา หนึ่งในหมุดหมายของนักเดินทางทั่วโลกดั้นด้นมาทิ้งรอยเท้าประทับความทรงจำ

เราจะเริ่มต้นเก็บอดีตกันที่ เมืองโบราณศรีสัชนาลัย เมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัยบนฝั่งขวาของแม่น้ำยม ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของกรมศิลปากรขึ้นทะเบียน

เป็น  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

 เมืองศรีสัชนาลัย เดิมมีชื่อว่า เมืองเชลียง มีศักดิ์เป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำยมตรงแก่งหลวง  เป็นเมือง ๓ ชั้น มี

กำแพงล้อมรอบ ชั้นในสุดก่อด้วยศิลาแลง กำแพงชั้นกลางและชั้นนอกเป็นกำแพงดิน บรรดาโบราณสถานต่าง ๆ ตั้งอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในกำแพงเมืองและนอก

กำแพงเมือง

        เมื่อปี พุทธศักราช 2536 – 2537 ได้มีการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อศึกษาพัฒนาการของชุมชนโบราณ บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(เชลียง) วัดชมชื่น และปราสาทวัด

เจ้าจันทร์ เมืองศรีสัชนาลัย ผลการขุดค้นพบว่ามีชุมชนเข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา และได้พบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 15 โครง พร้อมลูกปัดแก้ว และ

แท่งดินเผารูปสี่เหลี่ยมปลายเรียวทั้ง 2 ข้าง กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12

             โบราณสถานที่สำคัญๆ ภายในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมีจำนวนกว่า 200 แห่ง ถ้าจะเที่ยวกันให้ทั่วคงต้องใช้เวลานับเดือน ถ้าจะเที่ยวแบบสั้นๆ ใน

หนึ่งวันก็ต้องไม่พลาด 4 วัดสำคัญ ได้แก่ วัดเชลียง – วัดช้างล้อม- วัดเจดีย์เจ็ดแถว -วัดนางพญา

alt  alt

วัดเชลียง หรือวัดพระศรีมหาธาตุ ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระปรางค์ เนื่องจากมีพระปรางค์องค์ใหญ่สร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัย ยังคงปรากฏลวดลายศิลปร่วมยุคที่เป็นวัฒนธรรมร่วมสมัยลพบุรี ในรูปแบบศิลปะเขมรบายน เป็นหินสลักศิลาแลงและปูนปั้นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 ด้าน รูปเทพธิดาและนางอัปสร กำลังร่ายรำเทียบได้กับศิลปะเขมรสมัยบายน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18

โบราณสถานในกำแพงเมืองอีกแห่งหนึ่งก็คือ วัดช้างล้อม เป็นวัดสำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย  มีเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่เป็นหลักของวัด  ที่ฐานเจดีย์มีปูนปั้นช้างเต็มตัวประดับรายล้อมอยู่โดยรอบมีทั้งหมด 39 เชือก สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงสร้างวัดนี้

ข้ามฝั่งมาอีกด้านคือ วัดเจดีย์เจ็ดแถวนับเป็นวัดใหญ่อีกวัดหนึ่งของเมืองศรีสัชนาลัย มีกำแพงศิลาแลงล้อมอยู่โดยรอบ มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ตั้งอยู่บริเวณกลางวัด รอบเจดีย์องค์นี้มีเจดีย์น้อยใหญ่ประดับซุ้มพระแบบต่าง ๆ อีก 33 องค์ เป็นภาพที่น่าชมอย่างยิ่ง  เป็นวัดที่ผสมผสานศิลปะแบบศรีวิชัยและสุโขทัยแท้ได้อย่างลงตัว สวยงามมาก

alt

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชาธิราช ทรงสันนิษฐานว่า วัดเจดีย์เจ็ดแถวแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของราชวงศ์สุโขทัย!!!

ถ้าจะดูประติมากรรมปูนปั้นชั้นครู ก็ต้องไปวัดนางพญา ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น  มีพระเจดีย์ทรงลังกาเป็นหลักของวัด มีซากฐานโบสถ์และวิหาร 1 ห้อง ซึ่งยังเหลือผนังด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ด้านหนึ่ง บนผนังนี้มีลายปูนปั้นที่งดงามมาก ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบล้านนาและจีน ผสมผสานจนกลายเป็นลวดลายเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นแรงบันดาลใจสำคัญของช่างฝีมือท้องถิ่นนำไปพัฒนาต่อยอดทำลวดลายเครื่องประดับ จนเป็นที่รู้จักกันในนาม “ทองโบราณศรีสัชนาลัย” นั่นเอง

ออกจากเมืองลูกหลวงมุ่งหน้าสู่ราชธานีสุโขทัย ศูนย์กลางความรุ่งเรืองแห่งราชวงศ์พระร่วง ผู้นำมาซึ่งรุ่งอรุณแห่งความสุข ยุคของการประดิษฐอักษรไทย การวางรากฐานการเมือง การปกครอง และศาสนา

ปัจจุบันเมืองเก่าสุโขทัยถูกขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีโบราณสถานในอุทยานมากมายถึง 35 แห่ง อาทิ พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนราม

คำแหงมหาราชพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง วัดมหาธาตุ วัดตระพังเงินวัดศรีสวายวัดตระพังทอง วัดสระศรี วัดชนะสงคราม วัดตระกวน ศาลตาผา

แดง วัดพระพายหลวงเตาทุเรียงสุโขทัย วัดสังฆวาส วัดศรีชุม วัดช้างล้อม วัดตระพังทองหลาง วัดเจดีย์สูง วัดก้อนแลง วัดต้นจันทร์ วัดเชตุพน วัดเจดีย์สี่ห้อง วัด

ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม วัดวิหารทอง วัดอโสการาม วัดมุมลังกา วัดตะพานหิน วัดอรัญญิก วัดช้างรอบ วัดเจดีย์งาม วัดถ้ำหีบวัดมังกร วัดพระยืน วัดป่ามะม่วง

วัดตึก สรีดภงค์หรือทำนบพระร่วง

ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน

ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง

วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ เป็นวัดสำคัญที่สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีอิทราทิตย์  มีพระเจดีย์มหาธาตุทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ รวมถึงเจดีย์แบบ

ต่างๆ มากกว่า 200 องค์ วิหาร 10 แห่ง ซุ้มมณฑป 8 ศุ้ม พระอุโบสถ 1 แห่ง ตระพัง 4 แห่ง ที่ด้านเหนือและด้านใต้ของเจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มเรียก

ว่า “พระอัฏฐารส”

วัดที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจากวัดมหาธาตุก็คือ วัดพระพายหลวง เป็นโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ขั้น ปรางค์ประธานก่อด้วยศิลาแลง

ศิลปะเขมรบายน  สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนต้นเพื่อเป็นเทวสถาน ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมเป็นพุทธสถานแทน ด้านหน้าของวัดประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น

4 อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน และเดิน

            มาเยือนสุโขทัยทั้งที ต้องไปกราบ “พระอัจนะปางมารวิชัย” ของวัดศรีชุม เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ภายในวิหารทรงสี่เหลี่ยมคล้ายมณฑป ซึ่งภายในช่อง

กำแพงแต่ละด้านมีภาพเขียนเก่าแก่อายุกว่า 700 ปี ที่สวยงามมากๆ

            หากมองเงยไปบนเพดานช่องบันไดจะยิ่งประหลาดใจกับความวิจิตรของคนโบราณ เพราะมีการแกะสลักลวดลายเรื่องชาดกกว่า  50 ภาพบนหินชนวนขนาดใหญ่

เมื่อเดินขึ้นบันไดไปด้านบนของหลังคาวิหารก็จะเห็นทิวทัศน์สวยงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบอีกด้วย

เสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ยังสาดแสงทอง


เชื่อเหลือเกินว่า…อรุณรุ่งจะทาบทอทุกหัวใจของนักเดินทาง

———————————————————————-

ล้อมกรอบ  สนใจร่วมเดินทางท่องเที่ยว ศรีสัชนาลัย-สุโขทัย โดยวิทยากรนักประวัติศาสตร์ นักคิด นักเขียนระดับประเทศ ในเดือนมกราคมนี้ กับมติชนอคาเดมี โทน02-954-3977-84 ต่อ 2114, 2115, 2123 และ 2124 หรือ 0-82993-9097, 0-82993-9105  และ www.matichonacademy.com