ชวนค้นคว้าหาคำตอบ ชัยนาท เมืองหน้าด่าน 3 แคว้นโบราณ (สุพรรณภูมิ-กรุงศรีอยุธยา-สุโขทัย) เหตุใดใครๆ ต่างปรารถนาได้มาครอบครอง?

มติชนอคาเดมี ชวนตามรอย แพรกศรีราชา เมืองโบราณที่หลายคนอาจหลงลืมไปแล้ว ในทัวร์ “ชัยนาท-สรรคบุรี” เมืองโบราณลุ่มน้ำเจ้าพระยา จ.ชัยนาท

ชมและสัมผัส ศิลปะผสมผสาน โบราณวัตถุหาดูยาก อาทิ หลวงพ่อฉาย ที่มีการจารึกเรื่องราวไว้หลังพระพุทธรูป, พระพิมพ์สมัยต่างๆ, ศิลาจารึกวัดพระบรมธาตุ

สักการะ หลวงพ่อธรรมจักร แห่งวัดธรรมามูล ที่ ร.5 ต้องเสด็จฯ ถึง 3 ครั้ง, หลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปศิลปะล้านนา อิทธิพลสุโขทัย, เจดีย์วัดพระแก้ว ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งเจดีย์”, พระวิหารเก้าห้อง ที่ตอนนี้เหลือเพียงเสาแปดเหลี่ยมยอดบัวจงกล, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี แหล่งจัดแสดงพระพิมพ์มากที่สุดในประเทศไทย!!! ฯลฯ

ทริปนี้เดินทางไปกับ ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ รามคำแหง ที่จะมาไขคำตอบ ความสำคัญของ “ชัยนาท-สรรคบุรี” แบบเจาะลึก

กำหนดเดินทางวันที่ 15 ธันวาคม 2561 ราคา 2,800 บาท

คลิกอ่านโปรแกรมเดินทางได้ที่ https://bit.ly/2Q5oOZJ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสำรองที่นั่งได้ที่ inbox เฟซบุ๊กเพจมติชนอคาเดมี คลิก m.me/Matichon.Academy.Thailand

หรือโทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105
line : @matichonacademy

“สรรคบุรี” เมืองเล็กๆ ใน จ.ชัยนาท ที่มีเรื่องราวประวัติศาสตร์น่าค้นหาเพียบ ด้วยเป็นเมืองโบราณในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่เชื่อมโยงกับสุโขทัย สุพรรณภูมิ และอยุธยา จึงเกิดศิลปกรรมที่มีการผสมผสาน สวยงามแปลกตาและหาไม่ได้ที่ไหน

“มติชนอคาเดมี” เอาใจคอประวัติศาสตร์ จัดทริปพิเศษ “ชัยนาท-สรรคบุรี” เมืองโบราณลุ่มน้ำเจ้าพระยา พาชมโบราณสถานที่น่าสนใจใน จ.ชัยนาท หลายที่หลายแห่ง ยังเป็นที่ที่น้อยคนนักจะรู้จัก เราลองมาดูกันว่า 7 UNSEEN พลาดไม่ได้ในทัวร์ครั้งนี้มีอะไรกันบ้าง?

1.”เจดีย์ทรงดอกบัวตูม” ที่วัดโตนดหลาย

วัดโตนดหลาย ภายในประดิษฐานเจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรูปแบบของงานศิลปกรรมที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับแคว้นสุโขทัยในช่วงเวลานั้นด้วย

2.”พระปรางค์ทรงกลีบมะเฟือง” ที่วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ หรือวัดมหาธาตุเมืองสรรค์ วัดเก่าแก่คู่เมืองสรรคบุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยอยุธยา และมีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในบริเวณวัดมีพระเจดีย์ประธานที่เหลือเพียงส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมสูงซ้อนกันหลายชั้น, ปรางค์ทรงกลีบมะเฟืองซึ่งคล้ายกับที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังมีหมู่เจดีย์รายทรงแปดเหลี่ยมและพระวิหารซึ่งเป็นอาคารขนาดเก้าห้อง ที่ตอนนี้เหลือเพียงเสาแปดเหลี่ยมยอดบัวจงกล และผนังบางส่วนเท่านั้น

3.”ราชินีแห่งเจดีย์” ที่วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว แต่เดิมมีชื่อว่าวัดป่าแก้ว ภายในบริเวณวัดมีพระเจดีย์ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะอู่ทอง คือมีลักษณะเด่นคือฐานเป็นสี่เหลี่ยมสองชั้น ชั้นที่สามเป็นทรงแปดเหลี่ยม เหนือขึ้นไปเป็นองค์ระฆังต่อยอดด้วยเจดีย์ทรงกรวยกลม ในแต่ละชั้นจะมีซุ้มพระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่ทั้ง 4 ทิศ ซึ่งอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ บรมครูทางด้านศิลปะไทย ถึงกับยกย่องว่าสถูปของวัดพระแก้วเมืองสรรคบุรีนี้เป็น “ราชินีแห่งเจดีย์” ในประเทศไทยเลยทีเดียว

4.”หลวงพ่อเพชร” พระพุทธรูปศิลปะล้านนา

หลวงพ่อเพชรนี้ประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านนา ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัย

ภายในพิพิธภันฑ์ยังจัดแสดงศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่พบในเขตจังหวัดชัยนาทและบริเวณใกล้เคียง รวมถึงพระพิมพ์สมัยต่างๆ ซึ่งหาชมได้ยาก

5.”พระบรมธาตุเจดีย์” เจดีย์ที่มีศิลปะเป็นเอกลักษณ์

วัดพระบรมธาตุวรวิหาร เดิมเรียกว่า วัดพระธาตุ หรือวัดหัวเมือง เป็นศาสนสถานที่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วมาซ่อมแซมภายหลัง โดยมีหลักฐานเป็นศิลาจารึกที่อยู่ติดกับฝาผนังวิหารด้านหลังติดกับองค์พระธาตุเจดีย์ กล่าวถึงการเฉลิมฉลองบูรณปฏิสังขรณ์วัดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ชมพระบรมธาตุเจดีย์ที่มีรูปแบบศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ โดยมีฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมลดระดับขึ้นไปต่อกับระฆังคว่ำ และทั้งสี่ด้านมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก และยังมีเจดีย์เล็กจิ๋วประดับอยู่บนเจดีย์พระบรมธาตุคล้ายกับเจดีย์แบบศรีวิชัย

6.”วัดธรรมามูล” วัดที่ ร.5 เคยเสด็จฯมาถึง 3 ครั้ง

วัดธรรมมามูลวรวิหาร ตั้งอยู่บนเนินเขาธรรมามูลริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ซึ่งปรากฏหลักฐานเป็นจารึกว่ารัชกาลที่ 5 ได้เคยเสด็จฯมาสักการะถึง ‘หลวงพ่อธรรมจักร’ถึง 3 ครั้ง

หลวงพ่อธรรมจักร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองชัยนาท ปางห้ามญาติ ศิลปะผสมผสานระหว่างอยุธยาและสุโขทัย ที่พระหัตถ์ปรากฏลายธรรมจักร และประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้

ส่วนริมแม่นํ้าบริเวณหน้าวัดมีความเชื่อว่าเป็นนํ้าศักดิ์สิทธิ์ที่เคยนำไปใช้ในพระราชพิธีถือนํ้าพิพัฒน์สัตยาอีกด้วย

7.ชม “พระปรางค์แบบอยุธยาตอนต้น” ที่วัดสองพี่น้อง

วัดสองพี่น้อง วัดโบราณที่สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยา ชมพระปรางค์แบบอยุธยาตอนต้นที่ยังหลงเหลือลวดลายปูนปั้นให้เห็นอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

สนใจไปทริปเส้นทางชมประวัติศาสตร์ชัยนาทกับมติชนอคาเดมี คลิกอ่านโปรแกรมการเดินทางได้ที่ https://www.matichonacademy.com/tour/article_21610 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสำรองที่นั่งได้ที่ inbox เฟซบุ๊กเพจมติชนอคาเดมี คลิก m.me/Matichon.Academy.Thailand

หรือโทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105
line : @matichonacademy

เมืองชัยนาทบุรีมีอาณาเขตคลุม2ฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา คือรวมทั้งฝั่งตัวจ.ชัยนาทในปัจจุบันด้วย เพราะมีร่องรอยของวัดที่เกิดขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19-20 ลงมาหลายวัด เช่น วัดส่องคบ ที่พบจารึกที่เจ้าเมืองขุนเพชรสารสร้างสถูปบรรจุพระธาตุและเอ่ยชื่อเมืองใหญ่2เมืองในยุคนั้น คือเมืองสุพรรณภูมิและเมืองอโยธยา

เมืองชัยนาทที่ปากแม่น้ำน้อย คงเป็นเมืองบริวารของเมืองโบราณอีกแห่งหนึ่งอยู่ตามลำน้ำน้อยลงมาในเขต อ.สรรคบุรี คือเมืองสรรคบุรี หรือแพรกศรีราชา ซึ่งสรรคบุรีคงเป็นชื่อเมืองตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางลงมา แต่ก่อนหน้านี้คือแพรกศรีราชา

โบราณสถานที่พบโดยเฉพาะบรรดาพระสถูปเจดีย์เป็นของที่มีมาแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 18-19 ก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยา เป็นสถูปเจดีย์ในศิลปะแบบอโยธยา-สุพรรณภูมิ ที่พบในบริเวณเมืองสำคัญร่วมสมัย เช่น เมืองลพบุรี สุพรรณภูมิ และอโยธยา

เมืองแพรกศรีราชามีชื่อกล่าวถึงในจารึกสุโขทัยหลักที่1 ครั้งพ่อขุนรามคำแหงความสัมพันธ์กับทางสุโขทัยนั้น สะท้อนให้เห็นจากรูปแบบพระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้มทิศของ “พระปรางค์วัดสองพี่น้อง” และพระสถูปทรงดอกบัวตูมในวัดโตนดหลายในเขตเมือง แต่ที่สำคัญเมืองแพรกศรีราชาเป็นถิ่นกำเนิดที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบอู่ทองที่มีความงดงามกว่าที่อื่นๆ

ในเขตวัดมหาธาตุอันเป็นวัดสำคัญกลางเมืองแพรกศรีราชา มีการนำพระพุทธรูปศิลาทั้งในแบบอู่ทอง ลพบุรี และทวารวดีมาตั้งไว้ตามระเบียงคด โดยเฉพาะพระพุทธรูปแบบทวารวดีและลพบุรีนั้นเป็นของที่ได้รวบรวมจากที่อื่นในละแวกใกล้เคียง

ในการสำรวจพบว่า บริเวณใต้เมืองแพรกศรีราชาลงมารวม4กิโลเมตร มีร่องรอยของเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีคูน้ำคันดินล้อมแห่งหนึ่งในเขตบ้านดงคอน แต่ปัจจุบันการสร้างถนนและคลองชลประทานผ่าน ได้ทำลายเมืองโบราณแห่งนี้จนหมดไป

ในการสำรวจศึกษาแต่ก่อนพบว่าชุมชนโบราณแห่งนี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำมีหนองและสระน้ำมากมาย มีโคกเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า “โคกปราสาท” พบอิฐสมัยทวารวดีขนาดใหญ่กว่าที่เคยพบในแห่งอื่นๆ พบชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับฐานและพระสถูปรูปคนแคระ พบกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีสมัยลพบุรี แล้วพบตุ๊กตารูปสิงห์ ชิ้นส่วนภาชนะมีลวดลายสมัยทวารวดี ตะกรันเหล็กแวดินเผา ลูกปัดนานาชนิด

แต่ที่สำคัญคือ “เหรียญเงิน” แบบทวารวดีที่มีจารึกพระราชาและพระราชเทวีศรีทวารวดี รวมทั้งรูปลายสัญลักษณ์ต่างๆอีกมากมาย อันแสดงให้เห็นว่าเมืองโบราณแห่งนี้น่าจะเป็นเมืองสำคัญ เมื่อเมืองร้างไปแล้ว บรรดาศาสนาทั้งหลายได้ถูกโยกย้ายไปอยู่เมืองต่างๆในสมัยหลังลงมา

โดยเฉพาะเมืองแพรกศรีราชา ณ วัดพระแก้ว อันเป็นวัดนอกเมืองแพรกศรีราชาแห่งหนึ่ง ที่มีพระสถูปเจดีย์แบบอโยธยา-สุพรรณภูมิที่สวยที่สุดนั้น มีพระพุทธรูปหินทรายสีแดงตั้งเป็นพระประธานของพระวิหาร คนเรียก “หลวงพ่อฉาย” เป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองที่สลักขึ้นจากแท่งศิลาทรายที่เคยเป็นทับหลังของปราสาทของในสมัยลพบุรี นับเป็นโบราณวัตถุชิ้นหนึ่งที่น่าจะเคยเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมในเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่บ้านดงคอน

ความสำคัญของพระพุทธรูปหลวงพ่อฉายองค์นี้คือ การสะท้อนให้เห็นถึงการสืบเนื่องจากทับหลังสมัยลพบุรีลงสู่ศิลปะอู่ทองอันเป็นศิลปะของพระพุทธรูปในคติพุทธเถรวาทที่พัฒนาขึ้นแทนพุทธศาสนามหายานสมัยลพบุรี ในสมัยก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยา

จากความสัมพันธ์ของโบราณสถานวัตถุระหว่างเมืองดงคอนและเมืองแพรกศรีราชานี้ ทำให้อาจตีความได้ว่าเมืองแพรกศรีราชาน่าจะเป็นเมืองแต่พุทธศตวรรษที่ 18 ตอนปลาย ที่สืบทอดความสำคัญของบ้านเมืองสมัยทวารวดี-ลพบุรีจากเมืองดงคอน

การเกิดเมืองแพรกศรีราชานี้ สัมพันธ์กับการย้ายเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่เคยใช้มาแต่สมัยทวารวดีมายังลำแม่น้ำน้อย ที่สะท้อนให้เห็นว่าบรรดาบ้านเมืองในยุคหลังๆ จนถึงสมัยอยุธยานั้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามลำน้ำน้อยและลำน้ำเจ้าพระยาที่อยู่กันมาจนถึงปัจจุบัน

เมืองแพรกศรีราชานับเป็นเมืองชุมชนการคมนาคมทางน้ำที่สามารถเดินทางลงมาตามลำน้ำน้อยที่ไปรวมกับลำน้ำเจ้าพระยาในเขตจ.ชัยนาทก็ได้ หรือเดินทางตามลำคลองบัวไปยังลำน้ำท่าจีนหรือสุพรรณบุรีก็ได้ นั่นคือเมืองแพรกศรีราชาติดต่อโดยทางน้ำไปยังเมืองสุพรรณบุรีและเมืองอยุธยา และสามารถออกสู่ทะเลที่อ่าวไทยได้ทั้ง2แม่น้ำ

ตำแหน่งของเมืองแพรกศรีราชาที่แวดล้อมไปด้วยบ้านเมืองเก่าแต่สมัยทวารวดี-ลพบุรี ตั้งแต่นครสวรรค์และชัยนาทลงมานี้ เมื่อเชื่อมโยงให้ดีแล้ว อาจนำไปสู่การค้นพบรัฐโบราณในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน ที่มีกล่าวถึงในเอกสารจีนสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ที่เรียกว่า “เจนลีฟู”ได้

การเกิดขึ้นของเมืองแพรกศรีราชาและเส้นทางคมนาคมทางน้ำนั้นคงพัฒนาขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่18ตอนปลาย อันนับเนื่องในสมัยลพบุรีลงมา แต่บ้านเมืองสมัยทวารวดีที่มีอยู่นั้นคงใช้เส้นทางคมนาคมตามลำน้ำเก่าที่ผ่านเมืองเดิมไป เช่นเมืองอินทร์บุรี ที่มีลำน้ำแม่ลาไหลผ่านกึ่งกลางแม่น้ำน้อยและแม่น้ำเจ้าพระยา ไปจนถึงเมืองสิงห์บุรีที่วัดพระนอนจักรสีห์และเมืองพรหมบุรี

ส่วนบ้านเมืองสมัยทวารวดี เช่น เมืองดงคอนที่อยู่ระหว่างกลางขนาบด้วยแม่น้ำน้อยและแม่น้ำท่าจีนทางตะวันตกนั้น ก็มีเส้นทางน้ำที่ยาวต่อเนื่องไปจนถึงเขต จ.สิงห์บุรี อ่างทอง และอยุธยา ลำน้ำเก่าที่สำคัญคือ คลองสีบัวทอง ที่มีร่องรอยของต้นน้ำมาแต่หนองระหานในเขตบ้านหนองระหาน ผ่านบ้านแหลมข่อย และบ้านไม้แดงมายังบ้านดงคอน

ข้อมูลจาก : หนังสือสร้างบ้านแปงเมือง โดย ศรีศักร วัลลิโภดม จัดพิมพ์โดยศิลปวัฒนธรรม สำนักพิมพ์มติชน

______________________________________________________________________________

มติชนอคาเดมี ชวนย้อนรอยเมืองโบราณ ไปกับ ทัวร์ “ชัยนาท-สรรคบุรี” เมืองโบราณลุ่มน้ำเจ้าพระยา จ.ชัยนาท

เดินทางวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2561

นำชมและบรรยายโดย ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล

ราคา 2,800 บาท

.

คลิกอ่านโปรแกรมเดินทาง>>>>> https://bit.ly/2Q5oOZJ

.

สำรองที่นั่งติดต่อ  มติชนอคาเดมี  

Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124                            

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

สอบถามทาง Inbox Facebook : คลิกที่นี่ได้เลย m.me/Matichon.Academy.Thailand

หรือ line : @matichonacademy คลิกhttps://line.me/R/ti/p/%40matichonacademy