“กาแฟ” มักเป็นเครื่องดื่มที่หลายคนเลือกดื่มเพื่อมอบความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า แก้ง่วงนอนในตอนเช้า เพื่อรับกับการทำงานในวันใหม่ แต่มีการแชร์ข้อมูลกันในอินเตอร์เน็ต เราไม่ควรดื่มกาแฟในตอนเช้า จริงหรือไม่?

แม้ว่าการดื่มกาแฟจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายอยู่บ้าง จากผลงานวิจัยพบว่า การดื่มกาแฟช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งบางประเภท โรคหัวใจ เบาหวานประเภท 2 และโรคพาร์กินสัน

แต่การดื่มกาแฟเพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่ ต้องดื่มอย่างถูกวิธีด้วย เพราะหากดื่มไม่ถูกวิธี นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์จากกาแฟแล้ว ยังอาจส่งผลเสียต่อร่างกายแทนได้

อย่าดื่มกาแฟตอนเช้า จริงหรือ?

บางคนอาจเคยได้ยินว่า ห้ามดื่มกาแฟตอนเช้า เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอลถูกผลิตออกมามากตอนเช้า ช่วยให้เรารับมือความเครียด ถ้ากินกาแฟเข้าไป จะไปยับยั้งการผลิตคอร์ติซอล ทำให้เครียดง่ายขึ้น

แต่อันที่จริงแล้ว อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ฮอร์โมนคอร์ติซอล เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาเมื่อร่างกายของเรารับรู้ถึงความเครียด

ถ้ามีปริมาณมาก มันจะยับยั้งการทำงานของสมอง ทำให้เมตาบอลิซึ่มในร่างกายนั้นช้าลง ทำให้กล้ามเนื้อสลายตัว และทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น บางคนจึงเรียกว่าเป็น “ฮอร์โมนความเครียด” ไม่ได้หมายความเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายรับมือกับความเครียดแต่อย่างใด ดังนั้นถ้าอยากให้ร่างกายผ่อนคลายจากความเครียดได้ไวๆ ต้องลดปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอลลง

ในกาแฟที่มีคาเฟอีน คาเฟอีนไม่ได้ยับยั้งการหลั่งคอร์ติซอล แต่จะไปกระตุ้นการหลั่งให้มากขึ้น ดังนั้น การดื่มกาแฟในช่วงที่ร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติซอลหลั่งออกมาสูงนั้น ก็จะยิ่งเพิ่มความเครียดให้กับร่างกายขึ้นไปอีก

ควรดื่มกาแฟช่วงเวลาไหน ถึงจะเหมาะสมที่สุด

ในส่วนของตอนเช้าหลังตื่นนอน หากเป็นคนตื่นเช้าตรู่ราว 6.30 น. ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลจะค่อยๆ สูงขึ้นเรื่อยๆ หลังตื่นนอน ไปจนถึงช่วง 8.00-9.00 น., 12.00-13.00 น. และ 17.30-18.30 น. ดังนั้นหากอยากดื่มกาแฟให้เหมาะสม ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาดังกล่าว โดยสามารถเลือกดื่มกาแฟตอนเช้าตรู่ก่อน 8.00 น. ได้ และดื่มตอนสายๆ ก่อนเที่ยง และตอนบ่ายๆ ราว 14.00-15.00 น. ได้เช่นกัน แต่การดื่มกาแฟตอนบ่ายๆ ก็ควรระวัง และไม่แนะนำให้ดื่มกาแฟหลัง 16.00 น. เพราะฤทธิ์ของคาเฟอีนอยู่ได้นานถึง 12 ชั่วโมง จึงอาจตกค้างไปจนถึงตอนกลางคืนซึ่งทำให้นอนไม่หลับได้

ทำไมแต่ละคนดื่มกาแฟแล้วได้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน?

แต่ละคนมีการตอบสนองต่อคาเฟอีนในกาแฟไม่เหมือนกัน บางคนดื่มกาแฟแก้วเดียวตาค้างไปจนถึงตอนกลางคืน บางคนกินไป 3 แก้วแล้วยังไม่รู้สึกอะไร ดังนั้นแต่ละคนค่อยๆ เรียนรู้ร่างกายของตัวเองไปด้วยการค่อยๆ ลองดื่มทีละน้อย ค่อยๆ เพิ่มปริมาณและความเข้มข้น จนกว่าจะได้สูตรและปริมาณที่คิดว่าร่างกายของตัวเองรับได้ แต่หากร่างกายมีประสาทสัมผัสไวต่อคาเฟอีนมากเกินไป แต่อยากดื่มเครื่องดื่มที่ทำให้กระปรี้กระเปร่า อาจลองเป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟเล็กน้อยอย่าง ชา โกโก้ เป็นต้น

ที่มา : Sanook

กาแฟเครื่องดื่มยอดนิยมที่หลายคนมักดื่มในตอนเช้า เพราะการดื่มกาแฟจะทำให้เราหายง่วงและตื่นพร้อมที่จะออกไปทำงาน แต่รู้หรือไม่ว่าการดื่มกาแฟในขณะที่เราท้องว่างอยู่นั้นอาจทำให้มีอาการผิดปกติกับร่างกายได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะในกาแฟมีคาเฟอีนซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทและฮอร์โมน ซึ่งการดื่มกาแฟขณะที่ท้องว่างจะส่งผลเสียอย่างไรบ้างเรามาดูกันเลย

มีผลต่อการดูดซึมของแร่ธาตุ
คาเฟอีนจากกาแฟจะขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม สังกะสีและธาตุเหล็ก ดังนั้นการดื่มกาแฟจึงทำให้ร่างกายไม่ดูดซึมแคลเซียม และแร่ธาตุที่จะเข้ามาสู่ร่างกาย หรือดูดซึมน้อยมากจนทำให้ได้รับแร่ธาตุไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกายได้มากทีเดียว

ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
คาเฟอีนในกาแฟจะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ หากดื่มในเวลาท้องว่างจะทำให้ระคายเคือง อีกทั้งในกาแฟจะมีตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำย่อยในร่างกาย ดังนั้นการดื่มกาแฟตอนเช้าขณะที่ท้องว่างอยู่ จึงทำให้เกิดการระคายเคืองและเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย

มีอาการใจสั่น
คาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟ ถือว่าเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง ซึ่งจะช่วยในการกระตุ้นการทำงานของสมองและระบบประสาท ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น โดยหากได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่มากเกิน จะทำให้ใจสั่น กระวนกระวาย และไม่มีสมาธิได้นั่นเอง

ความอยากอาหารลดลง
การดื่มกาแฟขณะท้องว่าง จะทำให้มื้อถัดไปรู้สึกไม่หิว ไม่อยากทานอะไรเลย และเมื่อเป็นแบบนี้จะทำให้ร่างกายของเรานำพลังงานมาใช้ได้น้อย และทำให้ร่างกายเข้าสู่โหมดขาดสารอาหาร ซึ่งผลกระทบที่ตามมาก็คือ ร่างกายอ่อนแอ ป่วยง่าย และระบบการเผาผลาญแย่ลง

ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
การดื่มกาแฟในตอนเช้าอาจทำให้เรารู้สึกอิ่ม  แต่การดื่มในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ย่อมเสี่ยงต่อการทำให้น้ำหนักเพิ่มได้ เนื่องจากในกาแฟมีส่วนผสมของนม น้ำตาลและครีมเทียมในปริมาณมาก

เสี่ยงโรคกระดูกพรุน
คาเฟอีน มีส่วนช่วยในการกระตุ้นขับปัสสาวะ แต่การดื่มกาแฟตอนท้องว่างจะทำให้เกิดการปัสสาวะบ่อย และเมื่อดื่มติดต่อกันเป็นเวลานานย่อมทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมไปกับปัสสาวะในปริมาณมาก และเข้าสู่ภาวะการเกิดโรคกระดูกพรุนได้

อย่างไรก็ตาม การดื่มกาแฟตอนเช้าของคนทำงาน อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น หากต้องการดื่มก็ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ดื่มจนเยอะเกินไปและควรเลือกดื่มเป็นกาแฟดำโดยไม่ต้องเติมน้ำตาลหรือใช้สารเพิ่มความหวานแทนน้ำตาล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วนและผลกระทบอื่นๆ ที่ตามมาภายหลังนั่นเอง

ที่มา : Sanook

คนจำนวนมากมีปัญหาท้องผูกขับถ่ายไม่ปกติ และใช้วิธีต่างๆ เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก หนึ่งในวิธีการที่คนญี่ปุ่นใช้เพื่อช่วยให้การขับถ่ายคล่องและป้องกันท้องผูกคือการดื่มกาแฟ มารู้เหตุผลว่าทำไมกาแฟช่วยให้การขับถ่ายคล่อง และรู้วิธีการดื่มกาแฟเพื่อช่วยให้การขับถ่ายคล่องตามคำแนะนำของคนญี่ปุ่นกัน

ทำไมการดื่มกาแฟช่วยให้การขับถ่ายคล่องและป้องกันท้องผูก

กาแฟมีส่วนผสมของคาเฟอีน ซึ่งมีผลในการกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่เพื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย นอกจากคาเฟอีนแล้วในกาแฟยังมีส่วนผสมของน้ำตาลโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่สกัดจากส่วนผสมของเมล็ดกาแฟบด โอลิโกแซ็กคาไรด์เป็นอาหารที่ดีของแบคทีเรียชนิดดีที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ส่งผลให้ลำไส้มีสภาพแวดล้อมที่ดีซึ่งทำให้การขับถ่ายดีตามไปด้วย

นอกจากนี้การดื่มกาแฟผสมนมจะยิ่งช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น เนื่องจากคนเอเชียมีเอนไซม์แลคเตสสำหรับย่อยน้ำตาลแลคโตสน้อย ส่งผลให้น้ำตาลแลคโตสไม่ถูกย่อยและดูดซึมที่ลำไส้เล็ก แต่จะถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่ ที่ซึ่งเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียบิฟิโดแบคทีเรียม ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ช่วยปรับให้สภาพแวดล้อมของลำไส้ดี

วิธีการดื่มกาแฟเพื่อบรรเทาและป้องกันอาการท้องผูก

1. ดื่มกาแฟตอนเช้าขณะที่ท้องยังว่าง

ส่วนผสมในกาแฟจะไปกระตุ้นการทำงานของลำไส้และกระตุ้นให้มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ใหญ่ ส่งผลในการขับถ่ายอุจจาระ เพื่อให้ผลดีควรดื่มกาแฟในตอนเช้าประมาณ 1 ถ้วย หากดื่มมากเกินไปกาแฟมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะซึ่งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำผ่านทางปัสสาวะ ทำให้น้ำในร่างกายมีไม่เพียงพอที่จะทำให้ของเสียในลำไส้ใหญ่นิ่มและอ่อนตัวเพื่อขับออกทางอุจจาระ วิธีแก้ไขสำหรับคนที่ดื่มกาแฟแล้วปัสสาวะบ่อยคือ ให้ดื่มน้ำตามไปอย่างน้อยหนึ่งแก้วหลังจากดื่มกาแฟ

2. ใส่น้ำตาลโอลิโกแซ็กคาไรด์แทนน้ำตาล

สำหรับคนที่ชอบหวาน การใช้สารให้ความหวานที่ทำจากน้ำตาลโอลิโกแซ็กคาไรด์ เช่น ฟรุคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ แทนน้ำตาล จะยิ่งทำให้การขับถ่ายง่ายขึ้น เนื่องจากโอลิโกแซ็กคาไรด์เป็นอาหารของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในลำไส้ดีและช่วยเสริมให้การขับถ่ายดี

3. เติมน้ำมันมะกอกลงไปดื่มพร้อมกับกาแฟ

น้ำมันมะกอกมีกรดโอเลอิก ซึ่งมีผลในการกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ และช่วยให้อุจจาระที่อยู่ในลำไส้ใหญ่นิ่ม ส่งผลให้ขับถ่ายออกจากร่างกายได้ง่าย วิธีการชงกาแฟทำได้โดยเติมน้ำมันมะกอกลงไปในกาแฟประมาณ 2-3 หยดหรือประมาณ 1 ช้อนชา คนให้เข้ากันและนำมาดื่ม

วิธีการป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกดังข้างต้นน่าจะถูกใจผู้อ่านที่รักกาแฟนะคะ อย่างไรก็ตามต้องระวังไม่ดื่มกาแฟมากเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้ได้ผลตรงกันข้ามแล้วก็ยังทำให้ใจสั่นและเต้นเร็วผิดปกติและทำให้นอนไม่หลับได้

ที่มา : Sanook

คนที่ติดกาแฟ ต้องดื่มกาแฟทุกเช้า หรืออาจจะวันละหลายแก้ว แต่ก็น่าจะทราบกันดีว่าการดื่มกาแฟมากๆ อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เลยพยายามเลิกดื่ม แต่การเลิกดื่มกาแฟหลังจากที่ดื่มติดต่อกันมานาน อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติได้

เลิกดื่มกาแฟ ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายบ้าง?

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ข้อมูลว่า กาแฟมีสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า คาเฟอีน (Caffeine) โดยคาเฟอีนมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า รู้สึกตื่นตัว แต่หากดื่มกาแฟเป็นประจำจนติดเป็นนิสัย อาจส่งผลให้ขาดกาแฟไม่ได้ และอาจมีอาการที่เกิดจากการขาดคาเฟอีนหากเลิกดื่มกาแฟอย่างฉับพลัน

ภาวะการขาดคาเฟอีนอย่างเฉียบพลัน มักเกิดในช่วง 12-24 ชั่วโมงหลังการบริโภคคาเฟอีนครั้งสุดท้าย อาการจะรุนแรงที่สุดในช่วง 20-48 ชั่วโมง และอาการนี้อาจคงอยู่ภายใน 7 วัน ซึ่งอาการที่พบบ่อยมากที่สุด คือ ปวดศีรษะ นอกจากนี้แล้ว อาจเกิดภาวะ อ่อนเพลีย ง่วงซึม หดหู่ ไม่มีสมาธิได้ แต่ถ้าหากร่างกายได้รับคาเฟอีนเข้าไปอาการจะดีขึ้นภายในครึ่งชั่วโมง

วิธีลดกาแฟอย่างปลอดภัย

  1. ค่อยๆ ลดปริมาณการบริโภคลงภายในระยะเวลา 7-14 วัน เพื่อป้องกันอาการขาดคาเฟอีนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  2. จำกัดปริมาณในการดื่ม เช่น การลดขนาดของถ้วยกาแฟ และจํากัดจํานวนครั้งในการดื่มต่อวัน
  3. เปลี่ยนไปใช้เครื่องดื่มชนิดอื่นซึ่งมีส่วนผสมของคาเฟอีนในปริมาณที่ต่ำกว่า เช่น ชา โกโก้ เครื่องดื่มเกลือแร่ เป็นต้น

ที่มา : Sanook.com

หลายคนอาจจะเคยสังเกตว่าผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก หรือยาระบายถ่ายท้องสำหรับคนที่มีอาการท้องผูก มักมาในรูปแบบของกาแฟสำเร็จรูป บางคนบอกว่าดื่มกาแฟยังไงก็ต้องถ่ายอยู่แล้ว แค่กาแฟธรรมดานี่แหละ ไม่ต้องใส่สมุนไพรมะขามแขกหรืออะไรทั้งนั้น แต่กับบางคนก็ดื่มกาแฟแล้วไม่มีอาการอะไรใดๆ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

นพ.พิรัตน์ โลกาพัฒนา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์ หรือหมอแมว เจ้าของเฟซบุ๊คเพจ ความรู้สนุกๆ แบบหมอแมว อธิบายว่า

“กาแฟ และคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นตัวรับมัสคารินิก กระตุ้นให้ลำไส้เกิดการบีบตัว นอกจากนี้การดื่มน้ำ (กาแฟ) ในปริมาณมาก (3 แก้วขึ้นไป) ก็ทำให้กระเพาะยืดตัว กระตุ้นแกสโตรโคลิกรีเฟล็กซ์ ซึ่งนำไปสู่การถ่ายอย่างหมดไส้หมดพุงได้”

แต่อย่างไรก็ตาม กรณีนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเป็นคนที่ไม่เคยดื่มกาแฟมาก่อน หรือนานๆ ดื่มกาแฟที ไม่ได้ดื่มกาแฟเป็นประจำ ดังนั้นใครที่รู้ตัวว่าไม่ค่อยได้ดื่มกาแฟ ก็อย่าดื่มกาแฟเป็นจำนวนมาก เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่ออาการท้องเสียแล้ว ยังอาจโดนฤทธิ์ของคาเฟอีนเข้าไปได้ (ในบางราย) เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ วิตกกังวล ปวดศีรษะ หรือบางคนอาจจะแพ้คาเฟอีน เช่น ริมฝีปาก หรือลิ้นบวม ผื่นขึ้น หากมีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นหน้าบวม หายใจไม่ออก คลื่นไส้อาเจียน และเวียนศีรษะได้เช่นกัน

ดังนั้น เคล็ดลับสำหรับคนที่ไม่ค่อยได้ดื่มกาแฟ แต่อยากดื่มเพื่อแก้ง่วง หรืออยากดื่มเพื่อลิ้มรสชาติ ควรเลือกดื่มกาแฟในสูตรที่ไม่เข้มข้นมาก อาจจะเริ่มจากกาแฟลาเต้ มอคค่า หรือสั่งบาริสต้าให้ลดปริมาณกาแฟลง และอย่าดื่มเกิน 1 แก้วในครั้งเดียว ตลอดทั้งวันไม่ดื่มเกิน 3 แก้ว (แก้วกาแฟ) ค่อยๆ จิบทีละนิด ไม่ดื่มรวดเดียวหมด หรือจะหาอาหารทานระหว่างดื่มกาแฟไปด้วยก็ได้ จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมคาเฟอีนช้าลง

ที่มา : Sanook.com

สังเกตมั้ยว่าหลังจากดื่มกาแฟแล้วจะปวดปัสสาวะ นั่นเป็นเพราะฤทธิ์ของกาเฟอีน

ประเด็นที่เคยเป็นเมาธ์กันสนั่นโซเชียล และยังคงมีประปรายอยู่เป็นประจำ คือข่าวลือที่ว่า ดื่มกาแฟแล้วทำให้ร่างกายลดการดูดซึมแคลเซียม เป็นผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน

เครือข่ายความร่วมมือบริการเภสัชสนเทศ ภญ.โพยม วงศ์ภูวรักษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อธิบายเรื่องนี้อย่างเข้าใจง่ายสรุปว่า กาแฟอาจลดการดูดซึมแคลเซียมได้ แต่ไม่มากแค่ 2-3 มก.ต่อถ้วย

แคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ดีในภาวะที่เป็นกรด ดังนั้น ยาที่ทำให้ลำไส้มีความเป็นด่าง เช่น ยาลดกรด ยายับยั้งการหลั่งกรด เช่น ไซเมทิดีน รานิทิดีน ฟาโมทิดีน และโอเมพราโซล ต่างหากที่จะลดการดูดซึมแคลเซียม

สำหรับกาแฟ บางงานวิจัยพบว่าจะมีการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นหลังจากดื่มกาแฟไม่เกิน 3 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตามการสูญเสียแคลเซียมในร่างกายจากการดื่มกาแฟจะมีผลในผู้สูงอายุที่ได้รับแคลเซียมไม่ค่อยเพียงพอ แต่สำหรับคนวัยหนุ่มสาวที่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอจะไม่ค่อยมีผลมากนัก

“แต่…ก็ไม่ควรดื่มเกินวันละ 3-4 แก้ว!”

ที่มา : คอลัมน์ เครื่องแนม มติชนรายวัน

หากเอ่ยถึง “brainwake” แน่นอนว่าบรรดานักชิมทั้งหลายต้องนึกถึงร้านอาหารจานเดียว หรือ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ซึ่งเป็นอาหารขึ้นชื่อของทางร้าน แต่ใครจะรู้ว่าของกินขึ้นชื่ออีกอย่างของ brainwake เป็น “ขนมปัง” และ “เค้ก” ที่นักชิมทั้งหลายต้องยกนิ้วให้ โดยเฉพาะขนมปังนั้น ของเขาไม่ธรรมดาเพราะเป็นสูตรมาจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีให้เลือกซื้อหารับประทานมากมายหลายรูปแบบ เรียกว่าเป็น “ไฮไลท์” อีกอย่างหนึ่งของร้านก็ว่าได้

“ปุ้ม-สุรนันทน์ เวชชาชีวะ” เจ้าของร้านบอกว่าขนมปังของทางร้านที่วางขายทั้งหมดมาจากปลายนิ้วของเชฟ “คาซุมา ซาโตะ” เป็นสูตรที่เชฟนำมาจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งการนำเข้าวัตถุดิบด้วย “ขนมปังของร้าน brainwake รสชาติไม่เหมือนขนมปังของที่อื่นๆ ที่เคยกินมา จุดเด่นเป็นแป้งผสมพิเศษ เป็นแป้งมาจากโรงงานญี่ปุ่นในเมืองไทยช่วยผลิตให้เรา เชฟซาโตะทดลองจนได้ที่ เขาจะมีเคล็ดลับการผสมแป้ง การใส่แป้ง กรรมวิธีการนวดแป้ง ที่ทำให้ขนมปังนุ่มและรสชาติอร่อยแตกต่างจากที่อื่น รวมถึงใช้เนยอย่างดี เป็นเนยฝรั่งเศสทั้งหมด แต่ละสาขาจะเลือกวางชนิดของขนมปังที่แตกต่างกันไป บางสาขาลูกค้าชอบแบบนี้เราก็อาจปรับเปลี่ยน โดยดูจากยอดขายว่าลูกค้าชอบอะไรจากนั้นก็ขยายไลน์จากตรงนั้น”

เจ้าของร้านบอกอีกว่า ขนมปังที่เป็นพระเอกของร้าน ขายดี ป๊อปปูลาร์มาก คือ “อัลมอนด์ครัวซองต์”  มีทุกสาขา เป็นครัวซองต์ที่มีความกรอบนอกนุ่มใน หอมกลิ่นของเนยบางๆ และเป็นขนมปังที่ขายหมดก่อนเป็นลำดับแรกในทุกวัน อีกตัวคือ “มัทฉะถั่วแดง” และ “ขนมปังทูน่า” ก็ขายดี ราคาเริ่มต้นที่ 45 บาท ยิ่งตั้งแต่เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป ทางร้านจะลดราคา 50% จากราคาปกติ เพราะเป็นขนมปังที่ทำวันต่อวัน สด ใหม่เสมอ ใครไปช้าบางทีไม่มีเหลือให้ติดมือกลับบ้าน ปัจจุบันร้าน brainwake มีทั้งหมด 8 สาขา คือ สุขุมวิท 33, ทองหล่อ 19, อาคาร G Tower พระราม 9, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สัมมากร, Show DC, โรงแรม shama ซอยนานา และที่ มติชนอคาเดมี ประชานิเวศน์ 1 ร้านเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-19.00 น. แวะชิม ช้อปได้ แบบสบายใจ เพราะเป็นขนมปังไร้สารกันบูด และไขมันทรานส์

เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมและมักมาพร้อมกับเบเกอรี่คือ กาแฟและชา มีข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับคุณประโยชน์และโทษของเครื่องดื่ม 2 ชนิดนี้ ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องยากที่จะสรุปว่าสิ่งใดมีประโยชน์มากกว่ากัน เพราะมีงานวิจัยที่ออกมาพูดในแง่มุมตรงกันข้ามนี้อย่างมากมาย และขณะเดียวกันการดื่มเครื่องดื่มทั้งสองชนิดนี้ก็มีรายละเอียดอื่นๆ ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการที่จะทําให้ชาและกาแฟ เป็นพระเอกหรือผู้ร้าย

ก่อนที่จะแยกชา-กาแฟออกจากกันเพื่อวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงที่จะพบในแต่ละอย่าง ขอพูดถึงภาพรวมของชา-กาแฟที่มีลักษณะร่วมกันเสียก่อน นั่นคือการมีกาเฟอีนผสมอยู่ในตัวมันเอง

“กาเฟอีน (Caffeine)” เป็นยากระตุ้นประสาทชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเสพติดได้ ซึ่งมีผลทําให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น ทําให้กระเพาะอาหารผลิตกรดออกมามากกว่าปกติ และทําลายโครโมโซมในหนูที่ใช้ทดลอง ทําให้ลูกหนูที่คลอดออกมาพิการไม่สมประกอบ โดยในปี ค.ศ.1980 สํานักงานอาหารและยา (F.D.A.) ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเตือนให้สตรีที่ตั้งครรภ์ลดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้

แต่ในขณะเดียวกันแพทย์ได้ใช้กาเฟอีนกับเด็กทารกที่คลอดก่อนกําหนดและหยุดหายใจแล้วกว่า 20 วินาที เพื่อช่วยกระตุ้นให้ฟื้น แต่ได้ผลไม่แน่นอน และมีการใช้ในห้องทดลองเกี่ยวกับการกระตุ้นระบบประสาท รวมถึงใช้ผสมกับยาเออร์กอท (Ergot) ในการรักษาไมเกรนด้วย

สถาบันวิจัยหลายแห่งพบว่าประโยชน์ของชาและกาแฟมีเท่าๆ กัน โดยกาแฟช่วยปรับให้ระดับอินซูลินคงที่ และลดอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคพาร์กินสัน และมะเร็งที่ลำไส้ได้

กาเฟอีนมีประสิทธิภาพทําให้เส้นเลือดที่ขยายออกหดตัวกลับสู่ภาวะปกติ บรรดายาแก้ปวดทั้งหลายจึงมีส่วนผสมของกาเฟอีนเพื่อช่วยลดอาการปวดไมเกรนหรือปวดศีรษะทั่วไป ขณะเดียวกันก็ทําให้เสพติด แม้จะไม่หนักหนาเหมือนยาเสพติดชนิดอื่นๆ แต่เมื่อไรที่รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หรือปวดหัว คนจะหันไปพึ่งกาเฟอีนเสมอ และมักจะพึ่งพาในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ ผลข้างเคียงที่ตามมาคือ ใจสั่น สมาธิสั้น คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อตึงและปวด และอาจทําให้ปวดไมเกรนได้

ดังนั้น ยังคงต้องสรุปเหมือนเดิมว่ากาเฟอีนนั้นเป็นทั้งพระเอกและผู้ร้าย ขึ้นอยู่กับว่ามีปริมาณแค่ไหน และร่างกายของผู้ได้รับกาเฟอีนนั้นมีการตอบสนองต่อกาเฟอีนอย่างไร

กาแฟ พระเอกหรือผู้ร้าย

มีคนจํานวนมากรักเครื่องดื่มชนิดนี้ และมีความสุขมากเพียงได้กลิ่นหอมของมัน มีผลการศึกษาเกี่ยวกับกาแฟมากมาย เช่น นักวิจัยจากโรงพยาบาลเฮนรี่ ดูแนนท์ ในเอเธนส์ ประเทศกรีซ เชื่อว่าการดื่มกาแฟเพียงวันละ 1 แก้ว สามารถทําให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากจะทําให้ระดับกาเฟอีนในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น ผนังหลอดเลือดหนาขึ้นและความดันโลหิตสูง

ทว่าสําหรับแพทย์โรคหัวใจของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซูริก สวิตเซอร์แลนด์ กลับระบุว่ากาแฟทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้นเฉพาะผู้ที่นานๆ ดื่มครั้งหนึ่งเท่านั้น แต่พวกคอกาแฟที่ซดกันวันละ 2-3 แก้ว ปลอดภัยหายห่วงจากเรื่องนี้

ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งทําการวิจัยในปี 2008 ได้สรุปว่า ไม่พบความสัมพันธ์ใดๆ ระหว่างการบริโภคกาแฟและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุการตายจากโรคมะเร็ง หรือเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด แม้กระทั่งคนที่ดื่มถึง 6 ถ้วยกาแฟต่อวัน ก็ไม่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยได้ทําการศึกษาในอาสาสมัคร 130,000 คน

นี่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การดื่มกาแฟไม่ได้มีผลกระทบต่อสุขภาพที่ร้ายแรงอันตราย ถือเป็นอีกข่าวดีล่าสุดจากประโยชน์ของการดื่มกาแฟ (แต่ต้องเป็นกาแฟที่ไม่ได้สกัดกาเฟอีนออกเท่านั้น) ทั้งนี้ ยังพบว่าผู้ดื่มกาแฟเป็นประจํา ทําให้ความเสี่ยงจากการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (ร่างกายต่อต้านอินซูลิน) ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม โดยยิ่งดื่มมากความเสี่ยงยิ่งต่ำมากเท่านั้น

นอกจากนี้ แม้กาแฟจะได้รับการกล่าวขานว่าเป็นอันตรายต่อหัวใจ แต่การศึกษาล่าสุดนี้ไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจ กลับพบว่าบุคคลที่มีสุขภาพดีวัย 65 ปีขึ้นไป ซึ่งดื่มกาแฟ (ชนิดมีกาเฟอีน) วันละ 4 แก้ว หรือมากกว่านั้นทุกวัน มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจต่ำกว่าผู้ไม่ดื่มถึง 53%

ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าทําไมกาแฟจึงช่วยลดความเสี่ยงโรคดังกล่าว แต่ผู้วิจัยเชื่อว่าน่าจะเป็นเพราะในกาแฟมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยพบว่ากาแฟมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับที่องุ่นมี และยังมีมากกว่าบลูเบอร์รี่เสียอีก

อีกทั้งเชื่อว่าแมกนีเซียมในกาแฟช่วยให้เซลล์ในร่างกายอ่อนไหวต่ออินซูลิน (จึงช่วยป้องกันเบาหวาน) นอกจากนี้ กาแฟยังเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคพาร์กินสัน, นิ่ว, น้ำดี และมะเร็งตับอีกด้วย

 

ผู้วิจัยบอกว่า การดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้วไม่เป็นอันตราย แต่กลับเป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยไม่แนะนําให้ดื่มกาแฟเพื่อป้องกันโรค และหากดื่มมากเกินไปจะก่อภาวะไม่สบายได้ เช่น อาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ส่วนผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่เดิมก็ไม่ควรดื่ม รวมถึงคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตรก็ควรงดเว้นการดื่ม เพราะกาเฟอีนจะไปผสมอยู่ในน้ำนมของมารดา

นอกจากนี้ กาเฟอีนยังมีผลต่อฮอร์โมนอะดรีนาลินในผู้ที่เล่นกีฬา ขณะเดียวกันก็ทําให้ร่างกายตื่นตัวและมีพลัง ดังนั้น จึงแนะนําให้ดื่มกาแฟหนึ่งแก้วใหญ่ (กาเฟอีน 100 มิลลิกรัม) ก่อนออกกําลังประมาณครึ่งชั่วโมง เพื่อช่วยทําให้กระชุ่มกระชวยและไม่ทําให้ใจสั่น

ความเสี่ยงจากกาแฟ

ปัญหาจากการดื่มกาแฟคือการได้รับกาเฟอีนเกินกว่าที่ร่างกายควรได้รับ และการปรุงกาแฟด้วยส่วนผสมที่มีไขมันสูง

การดื่มกาแฟชนิดอินสแตนต์ (สําเร็จรูป) ไม่เกิน 3 ถ้วย/วัน คือปริมาณที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจากกาเฟอีน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อกาเฟอีนในร่างกายของแต่ละคนด้วย ใครบางคนอาจใจสั่นได้แม้ดื่มเพียงแก้วเดียว ดังนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้ดื่มต้องรู้จักประมาณตนเองด้วย

การดื่มกาแฟขณะที่ท้องว่าง อาจทําให้ปฏิกิริยาตอบสนองต่อกาเฟอีนรุนแรงขึ้น และในขณะเดียวกันอันตรายจากการระคายเคืองในกระเพาะอาหารก็จะสูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่า หากไม่ต้องการเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือใจสั่นก็ไม่ควรดื่ม

นอกจากนี้ การดื่มกาแฟโดยหวังให้รู้สึกสดชื่น หรือนอนไม่หลับในขณะเหนื่อยล้า เพื่อที่จะทํางานใช้แรงงานหรือสมองต่อนั้นไม่ใช่หนทางที่ถูกต้อง เพราะนั่นเป็นการทําให้ร่างกายต้องดึงพลังงานสะสมหรือพลังงานสํารองมาใช้ และจะทําให้ร่างกายเกิดความอ่อนเพลีย ซึ่งส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลงได้

เพราะความจริงแล้วกาเฟอีนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความรู้สึกเหนื่อยและเพลียของร่างกายเลย แต่เป็นตัวกระตุ้นสมองให้เราตื่น ความอ่อนเพลียจึงยังคงอยู่ การลุกขึ้นมาทํางานจึงเหมือนการพยายามดันทุรังอยู่นั่นเอง

ความแตกต่างของกาแฟในแต่ละแบบ

ความแตกต่างที่จะพูดถึงนี้ จะเน้นไปที่เรื่องพลังงานและไขมันของกาแฟแต่ละชนิด เพื่อให้เห็นความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นที่จะทําให้เกิดโรคอ้วน เพราะหากดูเฉพาะกาแฟเท่านั้น จะเห็นว่ากาแฟดําไม่ใส่น้ำตาลมีพลังงานเพียง 2-3 แคลอรี่ จึงไม่มีความเสี่ยงที่ต้องพูดถึง

สมมุติว่าใครคนหนึ่งชงกาแฟ โดยใส่น้ำตาล 2 ช้อนชา และครีมเทียมผง 1 ช้อนโต๊ะ กาแฟถ้วยนั้นก็จะให้พลังงานเท่ากับ 30+30 = 60 กิโลแคลอรี่ ซึ่งนับว่าไม่มากมายอะไร แต่ถ้าเขาเปลี่ยนมากินกาแฟเย็น ที่ต้องใช้น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ (6 ช้อนชา) ใส่ครีม 2 ช้อนโต๊ะ เท่ากับว่าเขาได้รับพลังงาน 90+100 = 190 กิโลแคลอรี่ ซึ่งนับว่าไม่น้อยเลยทีเดียว

ปัญหาอยู่ที่ กาแฟเย็นที่เราดื่มกันทั่วไปตามปกติแล้วใส่น้ำตาลและครีมมากกว่าตัวอย่างที่ยกมานี้เสียอีก และบางชนิดยังมีการเพิ่มวิปปิ้งครีมที่ด้านบนอีกด้วย ทีนี้มาดูกันว่าพลังงานในกาแฟแต่ละชนิดที่ขายกันทั่วไปนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง

– กาแฟเฟรปปูชิโน แก้วขนาด 12 ออนซ์ ให้พลังงาน 181 กิโลแคลอรี่

– เฟรปปูชิโนขนาด 20 ออนซ์ ให้พลังงาน 346 กิโลแคลอรี่

– ลาเต้ 16 ออนซ์ ให้พลังงาน 274 กิโลแคลอรี่

– ลาเต้ 20 ออนซ์ ให้พลังงาน 348 กิโลแคลอรี่

– มอคค่า 16 ออนซ์ ไม่ใส่วิปปิ้งครีม ให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี่

– มอคค่า 20 ออนซ์ ใส่วิปปิ้งครีม ให้พลังงาน 508 กิโลแคลอรี่ โดยในกาแฟชนิดนี้มีไขมันประมาณ 27 กรัม

นี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งที่ทําให้เห็นว่า พลังงานที่สูงเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ไม่ยากเลย

ชา

ในกระแสรักสุขภาพ มักมีคําแนะนําให้ดื่มชาแทนการดื่มกาแฟ นัยว่าชาเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าและมีปริมาณกาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟ ซึ่งนอกจากกาเฟอีนแล้ว ในชายังมีสารที่สําคัญอื่นๆ อีก เช่น แทนนิน คาเทชิน เป็นต้น

มีการศึกษาพบว่า “แทนนิน (Tannin)” เป็นสารที่มีรสฝาด พบในใบชาแห้งประมาณร้อยละ 20-30 โดยน้ำหนัก ใช้บรรเทาอาการท้องเสียได้ ดังนั้น หากต้องการดื่มชาให้ได้รสชาติที่ดีนั้น ไม่ควรทิ้งใบชาค้างไว้ในกานานเกินไป เพราะสารแทนนินจะออกมามาก ทําให้น้ำชามีรสขม แต่ถ้าหากต้องการบรรเทาอาการท้องเสียก็ควรต้มใบชานานๆ เพื่อให้มีปริมาณสารแทนนินออกมามาก นอกจากนั้น สารแทนนินยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหัวใจและขยายผนังหลอดเลือด ทำให้ชาเขียวเหมาะสําหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วย แต่ขณะเดียวกันสารแทนนินในชาจะลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ซึ่งหากดื่มชาหลังอาหารเสมออาจทําให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

ขณะที่สาร “คาเทชิน (Catechin)” ในชานั้น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าอนุมูลอิสระนี้เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งปอด การใช้สารสกัดจากชาเขียวในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการฉายแสงและเคมีบําบัดจะทําให้เซลล์ปกติถูกทําลายน้อยลง นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับ LDL คอเลสเตอรอล และยับยั้งการก่อตัวแบบผิดปกติของก้อนเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหัวใจวายและลมชัก

มีรายงานจากทีมนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิจัยโรคมะเร็งในบริติชโคลัมเบียว่าชาสามารถยับยั้งการสร้าง “ไนโตรซามีน (Nitrosamines)” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งรุนแรงได้ ซึ่งสารไนโตรซามีนนั้นเป็นสารที่เกิดจากสารพวกดินประสิวในอาหารทําปฏิกิริยากับสารจําพวกโปรตีนที่มีในเนื้อสัตว์และอาหารทะเลกลายเป็นไนโตรซามีน ซึ่งก่อมะเร็งได้หลายชนิด

ดังนั้น ถ้านิยมบริโภคอาหารจําพวกไขมัน แอลกอฮอล์ เนื้อสัตว์ และไม่ค่อยรับประทานอาหารที่มีกากสูงก็ควรดื่มน้ำชาไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะจะช่วยลดไขมันหรือสารพิษที่อาจปะปน ในอาหารได้ ทว่าการดื่มชาร้อนที่มีอุณหภูมิเกินกว่า 70 องศาเซลเซียสเป็นประจํา ก็ทําให้เกิดโรคมะเร็งในลําคอ (throat cancer) ได้เช่นเดียวกัน

ศาสตราจารย์ Reza Malekzadeh แห่งมหาวิทยาลัย Tehran University of Medical Sciences และผู้ร่วมทีม ได้ทําการศึกษาอุปนิสัยการดื่มชาของคน 300 คนที่เป็นมะเร็งที่หลอดอาหาร ผู้หญิงและผู้ชายอีก 571 คนที่แข็งแรง จากในละแวกเดียวกันในจังหวัด Golestan ทางตอนเหนือของประเทศอิหร่าน ซึ่งในภูมิภาคนั้นเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีอัตราการเป็นมะเร็งในลําคอสูงที่สุดในโลก อัตราการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ต่ำ และเกือบทั้งหมดของอาสาสมัครดื่มชาดำเป็นประจำ ทั้งนี้ ดื่มโดยเฉลี่ยมากกว่า 1 ลิตร/วัน

นักวิจัยกล่าวว่า คนที่ดื่มชาหลังจากเทเป็นเวลาต่ำกว่า 2 นาทีเป็นประจํามีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รอประมาณ 4 นาทีหรือมากกว่านั้นถึง 5 เท่า ดังนั้น ให้ดีที่สุดควรรอให้ชาลดความร้อนลงบ้างจะเกิดความเสี่ยงน้อยกว่า

การวิจัยจากประเทศอังกฤษได้รายงานว่าคนทั่วไปจะชอบให้ชามีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 56 ถึง 60 องศา โดยนักวิจัยยังกล่าวอีกว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าชาร้อนอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้อย่างไร แต่ความคิดเห็นหนึ่งก็คือ ความร้อนทําให้ผนังที่บุด้านในของลําคอบาดเจ็บและเป็นผลให้เกิดมะเร็งได้

มะเร็งที่หลอดอาหารได้คร่าชีวิตคนมากกว่า 500,000 คนทั่วโลกต่อปี โดยส่วนใหญ่พบมากในคนแถบเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นเนื้องอกที่อันตรายถึงแก่ชีวิต เนื่องจากมีอัตราการอยู่รอดใน 5 ปี เพียง 12 ถึง 31%

กาเฟอีนในชาไม่อาจมองข้าม

“ใบชา” เป็นแหล่งของกาเฟอีนที่สําคัญอีกแหล่งหนึ่ง พบว่าในชาจะมีกาเฟอีนอยู่ครึ่งหนึ่งของกาแฟในปริมาณเดียวกัน โดยชนิดของใบชาและกระบวนวิธีการเตรียมเป็นปัจจัยสําคัญในการกําหนดปริมาณกาเฟอีนในน้ำชา เช่น ในชาดําและชาอูหลงจะมีปริมาณกาเฟอีนมากกว่าในชาชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สีของน้ำชาไม่ได้เป็นลักษณะบ่งชี้ถึงปริมาณกาเฟอีนในน้ำชา เช่น ในชาเขียวญี่ปุ่นซึ่งจะมีปริมาณกาเฟอีนสูงกว่าชาดําบางชนิด

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคของไทย ได้แถลงว่า ชาเขียวพร้อมดื่มที่มีจําหน่ายอยู่ทั่วไปในประเทศเราที่มีปริมาตรประมาณ 500-600 มิลลิลิตร จะพบสารกาเฟอีนเกินกว่ามาตรฐานกําหนดที่ 50 มิลลิกรัมทั้งสิ้น บางตราสินค้ามีสูงถึง 103 มิลลิกรัม/ขวด ในขณะที่ร่างกายเราสามารถรับสารกาเฟอีนได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/วันเท่านั้น นอกจากนี้ ยังแถมพ่วงด้วยปริมาณน้ำตาลสูงถึง 15.6 ช้อนชา/500 มิลลิลิตร ซึ่งถือเป็นการบริโภคน้ำตาลเกินข้อกําหนดขององค์การอนามัยโลก ที่กําหนดให้คนเราควรบริโภคเพียง 10 ช้อนชา/วัน และถ้าเทียบกับโครงการรณรงค์ของไทย “เด็กไทยไม่กินหวาน” ซึ่งกําหนดเพียง 6 ช้อนชาต่อวัน ก็จะเห็นได้ว่าเราบริโภคน้ำตาลเกินมาตรฐานไปมากมายเพียงใด

ในการชงชานั้น พบว่าใน 3 นาทีแรกจะได้กาเฟอีนออกมาในปริมาณสูง โดยทั่วไปในชา 1 ถ้วย จะมีกาเฟอีนอยู่ประมาณ 10-50 มิลลิกรัม และในน้ำชายังมีสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับกาเฟอีนชนิดอื่นๆ ที่ช่วยในการขับปัสสาวะ โดยไปกระตุ้นให้ไตขับน้ำปัสสาวะมากขึ้น และยังช่วยขยายหลอดลมอีกด้วย แต่มีงานศึกษาวิจัยบางชิ้นพบว่า น้ำชาที่ได้จากชาเขียวหรือชาดําที่สกัดเอาสารกาเฟอีนออกไป กลับไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันการก่อมะเร็งหรือเนื้องอก ข้อมูลดังกล่าวทําให้เกิดความสนใจขึ้นว่า บางทีกาเฟอีนในใบชาอาจจะเป็นสารออกฤทธิ์ตัวหนึ่งที่มีผลทางการแพทย์ก็เป็นได้

ดื่มอย่างไรไม่ให้อันตราย

ความพอดียังคงเป็นสูตรสําเร็จในการลดความเสี่ยงและสร้างคุณค่าที่เหมาะสมกับอาหารทุกชนิด ซึ่งอาจจะยากที่จะหาความพอดีได้ เพราะร่างกายของคนเราไม่เหมือนกัน ทั้งทางกายภาพและพฤติกรรม

แต่หากจะพูดโดยอ้างอิงกับคนส่วนใหญ่โดยอาศัยข้อมูลมาประกอบก็ต้องสรุปว่า การดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้ว โดยไม่ใส่น้ำตาลและครีมมากเกินไปไม่ทําให้เกิดความเสี่ยงทั้งจากกาเฟอีน และจากพลังงานและไขมันที่จะได้รับ

ขณะที่การดื่มชานั้นมีเงื่อนไขไม่แตกต่างกัน นั่นหมายถึงควรเลือกดื่มชาธรรมชาติ ไม่เติมน้ำตาลมาก และไม่ดื่มมากเกินไปหรือที่เรียกว่าดื่มตลอดเวลา ซึ่งหากทําได้เช่นนี้ก็นับว่าชาและกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ไม่สร้างความเสี่ยงต่อร่างกายแล้ว

กาแฟนมสด

ส่วนผสม

กาแฟ / นมสดพร่องมันเนย หรือนมแพะ 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ

  1. ชงกาแฟโดยใส่น้ำร้อนให้น้อยกว่าเดิมประมาณครึ่งหนึ่ง
  2. อุ่นนมสดให้ร้อนแล้วผสมลงในกาแฟ ใส่น้ำตาลเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องใส่ก็ได้ เพราะนมสดก็มีรสหวานตามธรรมชาติอยู่แล้ว

แทนการเติมน้ำตาลและครีมลงไปในกาแฟ ลองเปลี่ยนมาเติมนมสดชนิดพร่องมันเนยลงไป จะทําให้ได้รับสารอาหารจากนมสดเพิ่มขึ้น แม้ว่าการดูดซึมแคลเซียมจะไม่ได้มากเท่ากับการกินนมเปล่าๆ แต่ในนมมีสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ ฯลฯ

 

ข้อมูลจาก : หนังสืออาหารเสี่ยงเลี่ยงได้ สำนักพิมพ์มติชน

SME Development Bank เดินหน้ายกระดับการท่องเที่ยวชุมชน “ดอยผาหมี” ขึ้นแท่นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ประจำ จ.เชียงราย พร้อมรับอานิสงส์ ‘ถ้ำหลวง’ บูม มุ่งเติมทุนคู่ความรู้  สร้างชื่อกาแฟท้องถิ่น ยกระดับมาตรฐานโฮมสเตย์ เปิดโอกาสสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้สู่คนพื้นที่

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) หรือ ธพว. เปิดเผยว่า จากที่ธนาคารลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเชิงลึกชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศที่มีความโดดเด่น เพื่อต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดย “ดอยผาหมี” ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นหนึ่งในพื้นที่ ซึ่งธนาคารสนับสนุน เนื่องจากเห็นศักยภาพจากต้นทุนแผ่นดิน มีธรรมชาติสวยงามอุดมสมบูรณ์ สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นดีงาม อีกทั้งยังเป็นแหล่งปลูกกาแฟชั้นเยี่ยมของประเทศ เดินทางสะดวกอยู่ห่างจากตัวเมือง อ.แม่สาย แค่ 7 กิโลเมตร และคาดว่า ในอนาคตอันใกล้ จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาอีกจำนวนมาก เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากพื้นที่อยู่ติดกับถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ซึ่งเกิดเหตุการณ์นักฟุตบอล ทีม “หมูป่าอะคาเดมี่แม่สาย” 13 ชีวิตติดถ้ำ จนโด่งดังไปทั่วโลก กำลังก้าวเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย

ทั้งนี้ การสนับสนุนเบื้องต้น ส่งเสริมอาชีพการแปรรูปเมล็ดกาแฟ โดยอนุมัติ “สินเชื่อเถ้าแก่ 4.0” วงเงิน 1 ล้านบาท เพื่อนำไปซื้อเครื่องคั่วกาแฟ เนื่องจากที่ผ่านมา แม้ดอยผาหมีจะเป็นแหล่งปลูกกาแฟชั้นดี มีพื้นที่เพาะปลูกกว่า 1,500 ไร่ ทว่า ในชุมชนกลับไม่มีเครื่องคั่วกาแฟเลย ชาวบ้านต้องเดินทางกว่า 30 กิโลเมตรไปจ้างคั่วนอกพื้นที่ ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่ม ดังนั้น เมื่อมีเครื่องคั่วกาแฟประจำชุมชน จะลดต้นทุนการผลิตไปได้ถึง 10 บาทต่อกิโลกรัม อีกทั้ง รายจ่ายที่เดิมต้องไปจ้างคนภายนอกคั่วกาแฟ กิโลกรัมละ 50 บาท จะกลับมาหมุนเวียนในชุมชนแทน รวมถึง ส่งเสริมการสร้างแบรนด์ “กาแฟดอยผาหมี” ให้เป็นที่รู้จักและจดจำ เหมาะเป็นของฝากที่ต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับไปเมื่อมาเที่ยวดอยผาหมี

นอกจากนั้น ส่งเสริมให้คนในชุมชนที่มีความพร้อม ปรับปรุงบ้านพักเป็น “โฮมสเตย์” เนื่องจากทุกวันนี้ ดอยผาหมี มีโฮมสเตย์เพียงแค่ 3 หลังเท่านั้น รับนักท่องเที่ยวเข้าพักได้เพียงประมาณ 30 คนเท่านั้น ในขณะที่ จำนวนนักท่องเที่ยวมาดอยผาหมีเฉลี่ยประมาณ 500 คนต่อวัน ยิ่งเป็นวันหยุดเพิ่มเป็นกว่า 1,000 คนต่อวัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา ธนาคารได้นำผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโฮมสเตย์มาให้ความรู้แก่ชาวดอยผาหมีที่สนใจอยากปรับปรุงบ้านเป็นโฮมสเตย์ ควบคู่กับเติมทุนสินเชื่อดอกเบี้ยถูกพิเศษ เพื่อใช้ปรับปรุงบ้านพัก เช่น สินเชื่อเศรษฐกิจติดดาว สำหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล อัตราดอกเบี้ย 3% คงที่ 3 ปีแรก ผ่อนนาน 7 ปี และ สินเชื่อเถ้าแก่ 4.0 จากกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับนิติบุคคล คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 1% คงที่ตลอดระยะเวลา 7 ปี

นายมงคล กล่าวต่อว่า การยกระดับท่องเที่ยวชุมชนดอยผาหมี จะช่วยให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ แก่ชาวดอยผาหมี และส่งต่อไปยังธุรกิจต่อเนื่องอย่างกว้างขวาง ทั้งธุรกิจทัวร์ ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าที่ระลึก เป็นต้น โดย ธพว. นับเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกที่สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ชุมชนดอยผาหมีได้สำเร็จ เพราะชาวชุมชนไม่มีเอกสารสิทธิ์เพื่อใช้ค้ำประกันใดๆ สถาบันการเงินอื่นๆ จึงไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อให้ได้ แต่สำหรับ ธพว. ใช้กระบวนการพิจารณาจากสิทธิ์ทำกินในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินดอยตุง รวมถึงใช้กลไก บสย. มาค้ำประกัน จึงสามารถอนุมัติสินเชื่อแก่ชาวดอยผาหมีได้

ด้านนางสาวผกากานต์ รุ่งประชารัตน์ ประธานวิสาหกิจชุมชนกาแฟดอยผาหมี กล่าวเสริมว่า การเข้ามายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนของ ธพว. จะช่วยเพิ่มรายได้ให้ชาวดอยผาหมี จากเดิมเคยยึดอาชีพเกษตรกรปลูกกาแฟ ขายส่งผลผลิตราคาถูกให้พ่อค้าคนกลางนำไปขายต่อเพื่อติดแบรนด์อื่นๆ คนภายนอกจึงไม่รู้จักกาแฟภายใต้ชื่อดอยผาหมี เมื่อ ธพว. ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้การแปรรูปกาแฟ และสร้างแบรนด์ของตัวเอง อีกทั้งเติมทุนเพื่อซื้อเครื่องจักร ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ และส่งเสริมการตลาด จะช่วยเพิ่มมูลค่ากาแฟดอยผาหมี ในฐานะของฝากเด่นประจำถิ่น ขายได้ราคาสูงขึ้น ขณะเดียวกัน การปรับปรุงโฮมสเตย์ ให้มีมาตรฐานความสะอาดปลอดภัย จะช่วยเพิ่มราคาค่าที่พัก จากปัจจุบันแค่หลักร้อยบาทต่อวัน หลังปรับปรุงแล้ว สามารถเพิ่มเป็นหลักพันบาทต่อวัน

ทั้งนี้ ความสำเร็จจากการสนับสนุน สร้างโอกาส สร้างอาชีพให้ชุมชนดอยผาหมี มีส่วนให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณามอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2561 สาขารางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ด้านความร่วมมือในเชิงยุทธศาสตร์ (Collaboration) ประเภทเชิดชูเกียรติ ให้แก่ ธพว. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

 

ศาลในเมืองลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา พิพากษายืน เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่่ผ่านมา โดยยังคงคำสั่งให้ผู้จำหน่ายกาแฟหลายแบรนด์ในจำนวนนี้รวมไปถึงสตาร์บัคส์ ติดป้ายคำเตือนมะเร็งสำหรับผลิตภัณฑ์กาแฟที่จำหน่ายในแคลิฟอร์เนีย

คดีดังกล่าวมีขึ้นหลังสภาเพื่อการศึกษาและวิจัยสารพิษ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ยื่นฟ้องบรรดาบริษัทผู้ขายกาแฟ เมื่อปี 2553 ภายใต้กฎหมายที่ระบุว่าบริษัทผู้ค้าจะต้องติดป้ายเตือนบนผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งได้

โดยกลุ่มสภาเพื่อการศึกษาและวิจัยสารพิษระบุว่าในกาแฟมีสาร “เอคริลเอไมด์” ที่พบได้ในกาแฟส่วนใหญ่รวมถึงอาหารอื่นๆ ที่ใช้ความร้อนอย่างมันฝรั่งทอด เฟรนช์ฟรายส์ หรือแครกเกอร์ โดยสารดังกล่าวนั้นสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ โดยมีการบรรจุสารดังกล่าวอยู่ในรายการสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็งของแคลิฟอร์เนีย

ทั้งนี้ ศาลตัดสินว่าจำเลยซึ่งประกอบไปด้วยสตาร์บัคส์ เคอริก กรีนเมาเทน และพีตโอเปอเรตติง ไม่สามารถแก้ต่างได้ว่า การดื่มกาแฟมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะได้รับจากสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งดังกล่าวได้

ทั้งนี้ อีก 1 บริษัทที่ถูกฟ้องร้องคือเซเว่นอีเลเว่นที่ดำเนินการตามศาลสั่งไปก่อนหน้านี้แล้ว

 

ที่มา มติชนออนไลน์