เลิกดื่ม “กาแฟ” ทำให้ “ปวดหัว” จริงหรือ?

Content พาเพลิน

คนที่ติดกาแฟ ต้องดื่มกาแฟทุกเช้า หรืออาจจะวันละหลายแก้ว แต่ก็น่าจะทราบกันดีว่าการดื่มกาแฟมากๆ อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เลยพยายามเลิกดื่ม แต่การเลิกดื่มกาแฟหลังจากที่ดื่มติดต่อกันมานาน อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติได้

เลิกดื่มกาแฟ ส่งผลอย่างไรต่อร่างกายบ้าง?

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ข้อมูลว่า กาแฟมีสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า คาเฟอีน (Caffeine) โดยคาเฟอีนมีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า รู้สึกตื่นตัว แต่หากดื่มกาแฟเป็นประจำจนติดเป็นนิสัย อาจส่งผลให้ขาดกาแฟไม่ได้ และอาจมีอาการที่เกิดจากการขาดคาเฟอีนหากเลิกดื่มกาแฟอย่างฉับพลัน

ภาวะการขาดคาเฟอีนอย่างเฉียบพลัน มักเกิดในช่วง 12-24 ชั่วโมงหลังการบริโภคคาเฟอีนครั้งสุดท้าย อาการจะรุนแรงที่สุดในช่วง 20-48 ชั่วโมง และอาการนี้อาจคงอยู่ภายใน 7 วัน ซึ่งอาการที่พบบ่อยมากที่สุด คือ ปวดศีรษะ นอกจากนี้แล้ว อาจเกิดภาวะ อ่อนเพลีย ง่วงซึม หดหู่ ไม่มีสมาธิได้ แต่ถ้าหากร่างกายได้รับคาเฟอีนเข้าไปอาการจะดีขึ้นภายในครึ่งชั่วโมง

วิธีลดกาแฟอย่างปลอดภัย

  1. ค่อยๆ ลดปริมาณการบริโภคลงภายในระยะเวลา 7-14 วัน เพื่อป้องกันอาการขาดคาเฟอีนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  2. จำกัดปริมาณในการดื่ม เช่น การลดขนาดของถ้วยกาแฟ และจํากัดจํานวนครั้งในการดื่มต่อวัน
  3. เปลี่ยนไปใช้เครื่องดื่มชนิดอื่นซึ่งมีส่วนผสมของคาเฟอีนในปริมาณที่ต่ำกว่า เช่น ชา โกโก้ เครื่องดื่มเกลือแร่ เป็นต้น

ที่มา : Sanook.com