อย่างที่ทราบกันดีว่า ท้องทะเลนั้นมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ทะเล พืชทะเล แต่ในทางกลับกันผลสำรวจทางวิชาการจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือ ทช. พบทะเลกลับกลายเป็นพื้นที่ไม่ปลอดภัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เนื่องจากการสะสมของขยะที่มาจากแหล่งสำคัญ 2 แหล่งคือ ขยะทะเลที่มาจากกิจกรรมบนบก 80 เปอร์เซ็นต์ และขยะทะเลที่มาจากกิจกรรมทางทะเล 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขยะพลาสติกย่อยสลายได้ยากลอยอยู่บนผิวน้ำ กลางมวลน้ำ และสะสมบนพื้นทะเลที่ระดับความลึกแตกต่างกันในมหาสมุทร โดยนักวิชาการด้านสิ่งแวลล้อมทางทะเล เปิดเผยว่า พลาสติกคือผู้ร้ายที่ทำลายสัตว์ทะเล และส่งผลให้ระบบนิเวศเสื่อมโทรม

หากย้อนกลับไป ปี 2558 ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลมากที่สุดในโลกเป็นอันดับ 6 ซึ่งมีขยะปริมาณ 1.03 ล้านตันต่อปี และตลอด 3 ปีที่ผ่านมา จากการเก็บสถิติการตายของสัตว์ทะเลจาก ทช.พบสัตว์ทะเลหายาก เช่น เต่าทะเล พะยูน โลมา และวาฬ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เกิดภาวะเกยตื้นเฉลี่ยปีละ 400 ตัว แบ่งเป็นเต่าทะเลร้อยละ 54 โลมาและวาฬร้อยละ 41 และพะยูนร้อยละ 5 ซึ่งเมื่อย้อนดูสถิติการเกยตื้นสัตว์ทะเลหายากในช่วง

15 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2546 – 2560) พบสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นรวม 3,702 ตัว ส่วนสาเหตุเกยตื้นสำหรับเต่าทะเลและพะยูน พบเกิดจากการติดเครื่องมือประมงอย่างซากอวนและตาข่ายดักจับสัตว์ทะเลเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนโลมาและวาฬป่วยตามธรรมชาติ

คุณรู้หรือไม่ ? ปัญหาทางระบบนิเวศทางทะเลที่อันตรายต่อสัตว์ทะเลมากที่สุด

ปัจจุบัน “ไมโครพลาสติก” พบตกค้างอยู่ในกระเพาะของสัตว์ทะเลหลายชนิดตั้งแต่แพลงก์ตอนสัตว์ไปจนถึงวาฬ ซึ่งการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก อาจเกิดจากการกินเข้าไปโดยตรงและการกินผ่านห่วงโซ่อาหาร โดยมีการประมาณการณ์ว่าทุกตารางกิโลเมตรของมหาสมุทรจะมีไมโครพลาสติก โดยเฉลี่ย 63,320 ชิ้น แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ซึ่งในเอเชียตะวันออก หรือโซนมหาสมุทรแปซิฟิก จะมีสูงกว่าที่อื่นถึง 27 เท่า และขยะทะเลที่เกิดจากพลาสติก ประเทศไทยถูกประมาณการว่ามีขยะทะเลที่เป็นพลาสติกและโฟมมากถึง 2.7 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 7,000 ตัน/วัน แบ่งเป็นขยะพลาสติก 80 เปอร์เซนต์ ซึ่งประเภทของขยะพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อชีวิตสัตว์ทะเลมากที่สุดคือ ไมโครพลาสติก เป็น ขยะที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ซม. ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าในน้ำ

ถุงพลาสติก อันดับ 1 ที่พบในทะเลไทย

หากย้อนกลับมาที่ประเทศไทย หากจำแนกปริมาณขยะทะเล ที่พบในทะเลไทยทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ประเภทขยะที่พบมากที่สุด 5 อันดับ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2558 พบว่าอันดับที่ 1 คือ ถุงพลาสติก (จำนวน 66,180 ชิ้น) อันดับที่ 2 คือ ฝาหรือจุกขวด (จำนวน 39,242 ชิ้น) อันดับที่ 3 คือ เชือก (จำนวน 36,110 ชิ้น) อันดับที่ 4 คือ หลอดหรือที่คนเครื่องดื่ม (จำนวน 28,315 ชิ้น) อันดับที่ 5 คือ ขยะอื่นๆ (จำนวน 28,272 ชิ้น) ซึ่งปัญหาเหล่านี้นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมยืนยันว่าส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลและระบบนิเวศทำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล

โตโน่ เตรียมว่ายน้ำข้าม 12 เกาะ สุราษฎร์-สมุย
รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ (ซ้าย)

รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า “ผลกระทบโดยตรงของขยะทะเลเมื่อสัตว์กินชิ้นส่วนพลาสติกเข้าไปโดยตรง ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร เนื่องจากขยะเหล่านั้นไปทําให้ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ การกินขยะบางชนิดที่ย่อยยาก ส่งผลให้เกิดการสะสมในกระเพาะอาหาร สัตว์จะรู้สึกอิ่มอยู่ตลอดเวลาและไม่อยากหาอาหารอีก จนทําให้ขาดสารอาหารในที่สุด โดยส่วนใหญ่ เต่า พะยูน วาฬ มันจะกินขยะเหล่านี้เข้าไป เนื่องจากเข้าใจว่าคือ แมงกะพรุน  ขณะที่นกทะเล กุ้ง ปู พบว่าในทางเดินอาหารมีเม็ดพลาสติก  หรือ ไมโครพลาสติก และเมื่อสัตว์ทะเลกิน

เข้าไปจะส่งผลให้การเจริญเติบโตผิดปกติ การลอกคราบผิดปกติ และไมโครพลาสติกที่ไปอยู่ในกระเพาะทำให้เกิดบาดแผลได้ รวมถึงกำลังมีการวิจัยว่าไมโครพลาสติกอาจส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ ส่วนขยะทะเลที่มีลักษณะแหลมคม เมื่อสัตว์กินเข้าไปจะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ติดค้างในหลอดอาหารทําให้ระบบการหายใจขัดข้องและตายในที่สุด”

ปัญหาเหล่านี้ สัตว์ทะเลต้องเผชิญแทบทุกวัน ดังนั้น พวกมันจึงไม่สามารถรอคอยการช่วยเหลือได้ ดังนั้นโครงการ ONE MAN & THE SEA หนึ่งคนว่าย หลายคนช่วย ที่โตโน่จะว่ายน้ำข้าม 12 เกาะ สุราษฎร์ – สมุย จึงเป็นหนึ่งโครงการที่จะเชื่อมโยงและเป็นกระบอกเสียงให้คนรู้ว่าสัตว์ทะเลรอการช่วยเหลือ ระบบนิเวศทางทะเลนั้นสำคัญ จึงขอเชิญชวนคนไทยร่วมส่งน้ำใจบริจาคเงินสมทบทุนซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องมือแพทย์ เพื่อมอบให้กับศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร จังหวัดภูเก็ต, ส่วนงานช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จังหวัดระยอง และ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เกาะมันใน จังหวัดระยอง รวมไปถึง โรงพยาบาลริมชายฝั่ง โดยสามารถบริจาคผ่านทางบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเพชรบุรีตัดใหม่ ชื่อบัญชี : มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ เพื่อโครงการเทใจ (TRRM FOR TAEJAI) เลขบัญชี 043-272833-9 ทั้งนี้สามารถส่งหลักฐานการบริจาค เพื่อขอลดหย่อนภาษีได้ที่ Line @taejaidotcom สามารถติดตามรายละเอียดของโครงการได้ทาง Facebook Fanpage เก็บรักษ์ และทาง Instagram @kebruksociety

ในยุคสมัยนี้การตระหนักถึงอันตรายจากสารที่อยู่ในพลาสติกมีการหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง และเตือนกันอยู่เป็นประจำ ขณะเดียวกันนายทุนห้างสรรพสินค้าใหญ่ ห้างดังหลายห้าง ร่วมใจรักษ์โลก โดยการประกาศไม่ใช้ถุงพลาสตอกบรรจุสินค้าให้กับลูกค้า  ใครมาซื้อสินค้าต้องนำถุงผ้ามาเอง เห็นว่าเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ถึงกระนั้นก็ตาม เรื่องของพลาสติกยังจำเป็นต้องเผยแพร่ให้เห็นถึงโทษกันอยู่เนืองๆ เพื่อจะได้สร้างความตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้นสะสมในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง

นายเนียล แมคลัสกี นักวิจัยมหาวิทยาลัยกูเอลฟ์ นครโตรอนโต ประเทศแคนาดา เปิดเผยว่าโรงงานทำขวดพลาสติกทั่วโลก ต่างใช้สารคมี “ไบสฟีนอล เอ.” เป็นส่วนประกอบสำคัญ ทั้งๆ ที่มันมักจะละลายหรือซึมแทรกปนอยู่ในอาหารแข็ง, อาหารเหลวหรือน้ำดื่มที่บรรจุอยู่ และเมื่อกินหรือดื่มเข้าไป จะก่อกวนระบบการสื่อสารระหว่างหน่วยประสาทของสมอง มีผลเสียหายต่อความจำและความเข้าใจ

สำหรับสาร “ไบสฟีนอล เอ.” (Bisphenol A)   คือสารพิษที่หากสะสมอยู่ในร่างกาย จะส่งผล กระทบต่อฮอร์โมนเพศ ESTROGEN จึงทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆ เช่น  สมาธิสั้น   ก้าวร้าว   มีปัญหาเรื่องความจำ  สมองพัฒนาการช้า เป็นโรคอ้วน  โรคเบาหวาน อาจเป็นสาเหตุของโรคเอ๋อ (ดาวน์ซินโดม) และกระตุ้นเซลล์มะเร็ง ทำให้เป็นโรคมะเร็ง และภูมิคุ้มกันของ

ร่างกายทำงานบกพร่อง (impaired immune function)

ดูจากผลกระทบและอันตรายที่เกิดขึ้นแล้ว จะป้องกันอย่างไร? เพราะในทุกๆวันชีวิตก็ยังต้องใช้พลาสติกและเกี่ยวพันกับพลาสติก  มีคำแนะนำที่สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

1.เลือกใช้ขวดแก้วใส่นม ใส่น้ำดื่ม เช่นเดียวกับจานชามใส่อาหาร ให้ใช้ภาชนะที่เป็นแก้วเช่นกัน หรือเป็นสแตนเลส (Stainless steel) เซรามิค กระเบื้องเคลือบ (Porcelain) หรือชาม จาน ถ้วย หรือขวดนมเป็นพลาสติก แต่มีระบุว่า “Non-Polycarbonate” ก็ใช้ได้

2. ต้องหลีกเลี่ยงภาชนะพลาสติก มีคำย่อว่า PC หรือ พลาสติกเบอร์ 7 ซึ่งเป็นคำย่อยของ Polycarbonate ต้องหลีกเลี่ยงภาชนะ PVC หรือ พลาสติกเบอร์ 3

3.ไม่ควรอุ่นอาหาร หรืออุ่นนมในภาชนะพลาสติกทุกประเภท ไม่ควรนำขวดพลาสติกไปแช่แข็ง

4.ไม่นำขวด PET มาใช้ซ้ำ (ขวด PET เป็นคำที่ใช้เรียกขวดพลาสติกทั่วๆไป เช่นขวดน้ำดื่ม เพราะมันผลิตจาก Polycarbonate หรือ PET (Polyethyleneterephthalate)

5.อาหารกล่องแช่แข็งทุกวันนี้เป็นที่นิยม เพราะแค่เอาเข้าไมโครเวฟทำร้อน แป๊บเดียวก็ยกมากินได้ แต่อย่าลืมว่าอาหารกล่องโดยมากแล้วทำด้วยพลาสติก

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสบายใจ จึงควรเทอาหารใส่จาน ชาม แก้ว แล้วค่อยนำไปเวฟ อย่างนี้ก็ยังพอจะป้องกันการได้รับสารพิษจากภัยพลาสติกที่เราใช้ในชีวิตประจำวันได้บ้าง

นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯพัฒนาแผ่นพลาสติกมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคได้เมื่อเจอแสงแดดเตรียมใช้ในการแพทย์-บรรจุภัณฑ์อาหาร

นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ คิดค้นและกำลังพัฒนาแผ่นพลาสติกที่ผลิตสารไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค ออกมาในปริมาณเล็กน้อยเมื่อได้รับเเสงเเดด ซึ่งเป็นการต่อยอดจากปัญหาที่ก่อนหน้านี้ หลายปีก่อนมีทีมแพทย์เข้าไปรักษาคนไข้อีโบล่าในเขตระบาดของโรค ต้องสวมชุดป้องกันการติดเชื้อ เเต่ในระหว่างการใช้งานภาคสนาม ชุดที่สวมเพื่อป้องกันเชื้อโรคก็มีการปนเปื้อนเเละเป็นอันตรายต่อผู้สวมเช่นกัน

โดยการคิดค้นแผ่นพลาสติกที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคได้เมื่อเจอแสงแดด อาจนำไปใช้กับบรรจุภัณฑ์อาหารได้ด้วย เพื่อช่วยลดปัญหาโรคติดต่อผ่านทางอาหาร

กัง ซัน นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเดวิส กล่าวว่า หากมีเชื้อเเบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่ยังมีชีวิตอยู่บนผิวหน้าวัสดุหรือพื้นผิวต่างๆ เชื้อโรคก็จะสามารถแพร่กระจายต่อไปได้เเละทำให้คนติดเชื้อ แต่แผ่นพลาสติกนี้จะผลิตสารฆ่าเชื้อโรคออกมาทุกครั้งที่เจอกับเเสงแดด เเม้จะมีปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น เเต่ก็เพียงพอที่จะฆ่าเชื้อโรคได้ นอกจากจะช่วยป้องกันเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ไม่ให้ติดเชื้อโรคเเล้ว ยังอาจใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับผักผลไม้สดเพื่อให้เก็บไว้ได้นานขึ้นเเละปลอดเชื้อโรค โดยหากเพิ่มพลาสติกนี้เข้าไปอีกชั้นหนึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อเเบคทีเรียเข้าไปปนเปื้อนในอาหารได้