มื้อต่อไปหากจะกินปลาดิบจานโปรดก็อยากให้ระมัดระวังกันสักนิดค่ะ เพราะปลาดิบที่แม้จะเป็นประเพณีการรับประทานอาหารที่เน้นสุขภาพจากประเทศญี่ปุ่น แต่เมื่อมาเจอสภาพแวดล้อมในบ้านเราที่มีความร้อนชื้นมากกว่าแดนอาทิตย์อุทัย ปลาดิบสดๆ ใหม่ๆ อาจมีพยาธิและเชื้อบางอย่างที่ก่อให้เกิดโรคหรืออาการเสี่ยงดังต่อไปนี้ได้

1. พยาธิ

ใครบอกว่าปลาทะเลไม่มีพยาธิก็คงต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ค่ะ เนื่องจากปลาน้ำเค็มที่นำมาทำปลาดิบนั้นก็อาจมีพยาธิได้ โดยไล่ตั้งแต่พยาธิใบไม้ พยาธิตัวจี๊ด พยาธิตัวกลมหรือในชื่อว่า พยาธิอะนิซาคิส (Anisakis simplex) ซึ่งพยาธิเหล่านี้จะอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ดีในอาหารประเภทสุกๆ ดิบๆ และอาจทำให้เกิดอาการอาเจียน จากผลพวงที่ร่างกายต้องการขับพยาธิออกจากลำไส้

หรือหากพยาธิหลุดเข้าไปในทางเดินอาหารหรือภายในช่องท้อง อาจเกิดก้อนทูมในกระเพาะอาหาร ทำให้มีอาการปวดท้อง ปวดกระเพาะอาหาร ลำไส้อุดตัน หรืออาจมีอาการปวดคล้ายๆ ไส้ติ่งอักเสบ

โดยบางรายอาจมีอาการถ่ายออกมาเป็นมูกเลือดภายใน 1-5 วัน หลังจากรับประทานปลาดิบที่มีพยาธิเหล่านี้เข้าไป หรืออย่างเร็วก็อาจรู้สึกคลื่นไส้อาเจียนหลังจากรับประทานปลาดิบไป 1 ชั่วโมง

2. ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ บิด และอหิวาตกโรค

ต้องบอกว่าแทบทุกกระบวนการผลิตปลาดิบ ตั้งแต่การจับ การเก็บรักษาปลาดิบ ตลอดจนขั้นตอนเฉือนปลาดิบของพ่อครัวก่อนส่งต่อถึงปากเรา มักจะมีเชื้อโรคตัวเล็กตัวน้อยหลากชนิดติดสอยห้อยตามมาป่วนสุขภาพเราด้วย

ซึ่งเจ้าเชื้อโรคและจุลินทรีย์ปนเปื้อนก็มีตั้งแต่เชื้ออีโคไล, เชื้อซาลโมเนลลา, เชื้อวิบริโอ, วิบริโอ คอเลอเร, ลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส, สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส และพยาธิตัวกลมกลุ่มอนินิซาคิส

โดยอาจเกิดได้จากกระบวนการผลิตปลาดิบที่ไม่ถูกสุขอนามัย อย่างการไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนมาทำปลาดิบ เป็นต้น ซึ่งข้อบกพร่องที่ว่าอาจเป็นสาเหตุของอาการอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง ท้องเสีย บิด และอหิวาตกโรคได้ ซึ่งบางรายอาจมีอาการขั้นรุนแรงจนต้องหามส่งโรงพยาบาลได้เลยนะคะ ฉะนั้นหากเป็นไปได้พยายามกินปลาที่ผ่านความร้อนมากพอจะฆ่าเชื้อโรคและจุลินทรีย์เหล่านี้จะดีกว่า

3. อาการคันคอ

Tingling Throat Syndrome หรือกลุ่มอาการจั๊กจี้ลำคอ ตลอดจนรู้สึกคันคอหอย ที่อาจเกิดเพราะตัวพยาธิเดินทางจากหลอดอาหารมาที่คอหอย ซึ่งบางครั้งตัวอ่อนของพยาธิเหล่านี้อาจออกมาปนเปื้อนกับเสลดที่เราขากออกมา พอนึกภาพพยาธิเลื้อยช้าๆ จากหลอดอาหารผ่านมายังลำคอ ก็รู้สึกสะอิดสะเอียนเต็มกำลังอยู่ไม่น้อยเลยเนอะ

4. ขาดวิตามิน

เป็นงงเบาๆ เลยว่าทำไมแค่กินปลาดิบก็ทำให้ร่างกายเกิดอาการขาดวิตามินได้ คำตอบคือ ในปลาดิบ รวมไปถึงอาหารประเภทสุกๆ ดิบๆ มีสารต้านวิตามินบี 1 อยู่นั่นเองค่ะ ดังนั้น เมื่อเรารับประทานปลาดิบเข้าไปก็อาจเกิดภาวะที่วิตามินบี 1 จะถูกเจ้าสารต้านวิตามินที่ว่าย่อยสลายไปซะเฉยๆ แต่หากปลาดิบหรืออาหารสุกๆ ดิบๆ เจอเข้ากับความร้อนก่อนที่เราจะรับประทาน วิธีปรุงสุกจะช่วยทำลายเอนไซม์สลายวิตามินบี 1 ได้จ้า

5. เสี่ยงคอเลสเตอรอล

โดยเฉพาะคนที่ชอบกินไข่ปลามากเป็นพิเศษ หลุยส์ ซัตตัน แห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ เมโทรโพลิแทน ก็ออกโรงเตือนว่า ไข่ปลาอาจมีคอเลสเตอรอลสูง จึงไม่ควรรับประทานไข่ปลาครั้งละมากๆ โดยเฉพาะคนที่มีประวัติคอเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว

6. โรคเกาต์อาจกำเริบ

ในซูชิหรือปลาดิบก็มีกรดยูริกค่อนข้างสูง อีกทั้งเมื่อกินคู่กับกับโชยุหรือซอสรสเค็มก็อาจทำให้อาการของโรคเกาต์กำเริบได้ง่ายๆ รวมทั้งคนที่มีแนวโน้มหรือมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็ควรเลี่ยงการรับประทานปลาดิบ ซาซิมิ และซูชิ ด้วยเช่นกัน

แม้ปลาดิบจะมีรสชาติหวานยั่วน้ำลายแค่ไหน แต่หากรับประทานเข้าไปแล้วเสี่ยงต่ออาการเหล่านี้ก็คงไม่เวิร์คกับสุขภาพแน่ๆ ว่าไหมคะ ฉะนั้นคงดีกว่าหากเราจะหันมารับประทานอาหารที่สุก สด และใหม่ หรือหากห้ามใจต่อปลาดิบได้ยากเย็นจริงๆ อย่างน้อยก็ขอให้รู้วิธีกินปลาดิบอย่างไร ให้ห่างไกลจากพยาธิสักนิด จะได้รับประทานได้อย่างปลอดภัย

ขอบคุณข้อมูลจาก : momypedia, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คมชัดลึก

เมื่อวันที่ 27 ก.พ.เพจ  สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น – 在東京タイ王国大使館   โพสต์แจ้งเตือนเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ไว้ ซึ่งต่อมามีชาวเน็ตพากันแชร์ข้อความต่อกันเป็นจำนวนมาก ว่า

“เชื้อไวรัส COVID-19 ไม่ทนความร้อน และถูกทำลายได้ด้วยวิธีการประกอบอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส

องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงแนะนำให้

(1) หลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ที่ดิบหรือปรุงไม่สุก และ (2) จัดการกับเนื้อสัตว์ดิบ นมดิบ หรืออวัยวะของสัตว์ด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเข้าสู่ผลิตภัณฑ์อาหารที่รับประทานสด

ญี่ปุ่นมีการรับประทานปลาดิบ เนื้อสดกันเยอะ ช่วงนี้เลี่ยงการรับประทานปลาดิบ เนื้อสด ของดิบไปก่อนนะคะ”

ผู้เขียน : เส้นทางเศรษฐีออนไลน์

แซลมอนเป็นปลาที่อุดมไปด้วยไขมัน มีกรดไขมันโอเมกา-3 สูง การรับประทานแซลมอนในปริมาณมากไม่ได้ทำให้อ้วนหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพ เว้นแต่จะทานพร้อมกับครีมและมันบดฉ่ำเนย ที่จริงแล้วกรดไขมันโอเมกา-3 ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจอย่างยิ่ง งานวิจัยเปิดเผยว่า ผู้ที่บริโภคแซลมอนสองถึงสามครั้งต่อสัปดาห์ จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจลงเกือบครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่รับประทานแซลมอน

และนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจแล้ว กรดไขมันโอเมกา-3 ในแซลมอนยังช่วยลดความดันโลหิตและเพิ่มปริมาณไขมันดี (HDL) ในร่างกายอีกด้วย สรุปได้ว่าการทานบุฟเฟ่ต์แซลมอนสัปดาห์ละสองครั้งนั้นนอกจากจะทำให้หัวใจแข็งแรงแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับแซลมอน: รู้หรือไม่ว่าซาชิมิแซลมอนไม่ใช่อาหารดั้งเดิมของญี่ปุ่น? นอร์เวย์เริ่มนำเข้าแซลมอนมายังญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ 1980 วัฒนธรรมการบริโภคแซลมอนดิบจึงถือกำเนิดขึ้น ทำให้ซาชิมิแซลมอนกลายเป็นอาหารยอดนิยมตั้งแต่นั้นมา

แซลมอนเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในไทย แม้ว่าในประเทศเองจะไม่สามารถผลิตแซลมอนทั้งจากการทำฟาร์มเลี้ยงหรือการจับจากแหล่งน้ำได้ เพราะปลาเนื้อสีส้มชนิดนี้ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ท่ามกลางอากาศอันร้อนระอุแห่งสยามประเทศได้ ทุกๆ วันแซลมอนปริมาณมหาศาลจะถูกส่งตรงทางเครื่องบินมาจากนอร์เวย์ ซึ่งเป็นประเทศผู้บุกเบิกและเชี่ยวชาญด้านการผลิตแซลมอนเป็นอันดับหนึ่งของโลก กระแสน้ำอันเย็นเฉียบและสะอาดบริสุทธิ์ของนอร์เวย์ส่งผลให้แซลมอนมีความอ้วนท้วน เต็มไปด้วยไขมันดีและมีรสชาติอร่อย เพียงแค่ 48 ชั่วโมง แซลมอนที่ว่ายน้ำอยู่ในทะเลก็จะถูกส่งตรงสู่จานอาหารของคุณ กลายเป็นซาชิมิที่สดที่สุดในร้านอาหารญี่ปุ่นของไทย

แซลมอน…กินแล้วฟิน (จริงๆ นะ)

ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าการกินจะสร้างความสุขให้กับเราได้หรือไม่ ทว่าอาหารบางชนิด (เช่นแซลมอน) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำให้ผู้บริโภคมีอารมณ์ดี และนอนหลับได้ง่ายขึ้น

แซลมอนมีกรดอมิโนทริปโตเฟนที่ช่วยให้ร่างกายผลิตเซโรโทนินหรือ “สารแห่งความสุข” มีคุณสมบัติทำให้รู้สึกอารมณ์ดี เพราะฉะนั้นแม้เงินจะซื้อความสุขให้คุณไม่ได้ แต่เราก็ใช้เงินซื้อแซลมอนได้! และถ้าการได้ทานซาชิมิจานโปรดยังทำให้คุณมีความสุขไม่ได้ รับรองว่าเซโรโทนินจะช่วยได้แน่นอน จึงไม่น่าแปลกใจว่านอร์เวย์ ประเทศผู้ริเริ่มการผลิตและส่งออกแซลมอนจะเป็นชาติที่ประชาชนมีความสุขเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

แซลมอนนอร์เวย์ดำรงชีวิตโดยสามารถว่ายน้ำภายในกระชังขนาดใหญ่มหึมาได้อย่างอิสระ ส่งผลให้เนื้อปลามีความสด รสชาติอร่อย มีชั้นไขมันแทรกอยู่ในเนื้อปลา สิ่งสำคัญที่สุดคือปลอดภัยต่อการบริโภค

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับแซลมอน: แซลมอนนอร์เวย์อาศัยอยู่ในกระแสน้ำอันเย็นเฉียบและสะอาดบริสุทธิ์ ปลาเหล่านี้อาศัยอยู่ในกระชังขนาดใหญ่มหึมา ส่งผลให้ปลาว่ายน้ำได้อย่างอิสระและมีสุขภาพแข็งแรงไม่ต่างจากปลาที่อยู่ตามธรรมชาติ แซลมอนถูกเลี้ยงด้วยอาหารปลาซึ่งมีส่วนประกอบจากแหล่งธรรมชาติได้แก่ส่วนประกอบจากพืชคิดเป็นร้อยละ 70 และส่วนประกอบจากท้องทะเลคิดเป็นร้อยละ 30 ปัจจัยสำคัญต่างๆ รวมถึงน้ำทะเลที่เย็นและใสสะอาดของนอร์เวย์ ทำให้แซลมอนนอร์เวย์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่ปลอดภัยที่สุดในโลก

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด แซลมอนทานแล้วสวยขึ้นกล้อง

กล่าวกันว่าดัชนีชี้วัดความสุขแห่งยุคโซเชียลคืออินสตาแกรม และแซลมอนก็คือกุญแจสู่การชนะใจทั้งตัวคุณและฟอลโลเวอร์ เพราะปลาสีส้มสดแทรกด้วยชั้นไขมันดีอันแสนอร่อยนี้ นอกจากจะถ่ายรูปออกมาได้สวยสด ดูดีมีราคาเวลาอยู่บนจานอาหารแล้ว ยิ่งทานหน้าและผิวจะยิ่งเปล่งประกาย ดูมีสุขภาพดีจากภายใน พร้อมให้คุณถ่ายช็อตเด็ดลงสตอรี่แบบไม่พึ่งฟิลเตอร์ สารอาหารต่างๆ รวมถึงกรดไขมันโอเมกา-3 ที่อยู่ในแซลมอนช่วยส่งเสริมการมองเห็นและช่วยป้องกันภาวะตาแห้ง นอกจากนี้แซลมอนยังมีวิตามินบีหลายชนิดที่ช่วยซ่อมแซมดีเอ็นเอ และยังมีวิตามินดีที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและสร้างเซลผิวหนัง ทำให้ผิวดูเปล่งปลั่งและอ่อนเยาว์ โชคดีที่ไทยเป็นผู้นำเข้าแซลมอนนอร์เวย์รายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงทำให้อาหาร “ซุปเปอร์ฟู้ด” มากประโยชน์นี้มีให้เราได้เลือกทานได้ทั่วไป