Tour Story : เรื่องราวระหว่างทัวร์

‘เมืองศรีเทพ’ ตำนานพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ศูนย์รวมจิตใจชาวบ้าน

เขาคลังนอก เพชรบูรณ์

ทำไมชาวบ้านถึงไม่กล้าตั้งถิ่นฐานในเมืองศรีเทพ?!

ใครที่เคยไปเยือนโบราณสถานเมืองศรีเทพ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ต้องทึ่งในความอลังการ กว้างขวาง และความชัดเจนของร่องรอยของความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ครั้งก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ครั้งหนึ่งเคยมีมนุษย์มาอาศัยอยู่ และมีความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรตามลำดับ

แม้ร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองจะมีมาแต่ก่อนประวัติศาสตร์ แต่กว่าจะค้นพบเมืองโบราณแห่งนี้ ก็ล่วงเลยมานาน กระทั่งปีพ.ศ. 2447 หรือราว 100 ปีเศษที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ครั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ทรงค้นพบเมืองโบราณแห่งหนึ่ง โดยค้นพบทำเนียบเก่าบอกรายชื่อหัวเมืองและมีชื่อเมืองศรีเทพ แต่ในตอนแรกไม่มีผู้ใดรู้ว่าเมืองศรีเทพตั้งอยู่ที่ใด

เขาคลังใน เพชรบูรณ์ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

ต่อมาพระองค์ทรงค้นพบสมุดดำกล่าวถึงการให้คนเชิญตราสารไปบอกข่าวการสิ้นพระชนม์ของรัชกาลที่ 2 ไปตามหัวเมืองต่างๆ และมีอยู่เส้นทางหนึ่งไปทางเมืองสระบุรี เมืองชัยบาดาล เมืองศรีเทพ เมืองเพชรบูรณ์ จึงตั้งสมมติฐานว่าเมืองศรีเทพน่าจะอยู่ทางลำน้ำป่าสัก

เมื่อเสด็จตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ ได้จัดหาผู้ชำนาญพื้นที่เพื่อสอบถามว่ามีเมืองโบราณอยู่ใกล้ลำน้ำป่าสักที่ไหนบ้างและถามไถ่ชาวบ้านในพื้นที่ที่ออกมาต้อนรับว่า กระทั่งค้นพบเมืองโบราณตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำป่าสัก และทรงเรียกเมืองนี้ว่า “เมืองศรีเทพ”

สภาพทางภูมิศาสตร์ เมืองโบราณศรีเทพ เป็นเมืองซ้อนเมือง มีเนินดินสูงล้อมรอบคล้ายกำแพงเมือง ด้านนอกของเนินดินเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบอีกหนึ่งชั้น การขุดค้นเมืองโบราณแห่งนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยกรมศิลปากร

ในระหว่างการขุดค้น พบข้อมูลว่าในเขตเมืองศรีเทพไม่มีชาวบ้านเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เลย แต่ชาวบ้านจะตั้งรกรากอยู่รอบๆเมืองศรีเทพเท่านั้น

สืบสาวราวเรื่องได้ความว่า ชาวบ้านในพื้นที่ มีความเชื่อว่าเมืองศรีเทพเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่อยู่ของเทพเทวดา เมืองโบราณแห่งนี้เทพเทวดาสร้างเอาไว้ก่อนที่จะขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ จึงไม่มีใครกล้าเข้าไปอยู่อาศัย และมีความเชื่อว่าหากใครเข้าไปอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณแห่งนี้ จะเกิดอาเพศกับตัวเองและครอบครัว บางคนอาจล้มป่วยโดยไม่มีสาเหตุ หรือบางคนถึงขั้นเสียสติ ชาวบ้านทำได้แค่อาศัยพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบอาชีพเท่านั้น อาทิ การเกษตร ล่าสัตว์ และเก็บของป่า

โดยชาวบ้านมักจะกราบไหว้และนำเครื่องเซ่นไปไหว้ศาลที่ตั้งไว้บนเนินดินบริเวณขอบพื้นที่เมืองโบราณ หรือเนินที่กรมศิลปากรเชื่อว่าน่าจะเป็นกำแพงเมือง หลังจากที่เมืองโบราณเปลี่ยนเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ทางอุทยานฯ ได้อัญเชิญศาลแห่งนี้ลงมาไว้ด้านล่าง และเทวรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในศาลนั้นชาวบ้านเรียกขานกันว่า “เจ้าพ่อศรีเทพ” และหลังจากที่ทำการย้ายศาลลงมา ทางอุทยานฯ ก็ได้เข้ามาควบคุมดูแลพื้นที่บริเวณศาล

ปรางค์ฤาษี เพชรบูรณ์
ปรางค์ศรีเทพ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
ปรางค์สองพี่น้อง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

จากนั้นชาวบ้านเลิกนำของเซ่นเข้ามากราบไหว้ศาล แต่ยังจุดธูปเทียนอยู่ และส่วนใหญ่จะนำอาหารมาเซ่นไหว้ศาลในวันที่ทางอุทยานฯจัดงานบวงสรวงขึ้น ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จึงกลายเป็นงานประจำปีในปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เขตเมืองโบราณไม่กล้าแม้แต่จะเข้าไปอาศัยอยู่ ทุกคนให้ความสำคัญและเคารพในพื้นที่เมืองโบราณ เพราะไม่ได้เป็นเพียงโบราณสถานเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจที่ชาวบ้านต้องการที่จะรักษาภาพลักษณ์และอนุรักษ์ไม่ให้พื้นที่เมืองโบราณนี้ไม่ถูกทำลายจากบุคคลภายนอก

ข้อมูลจาก : เว็บไซต์ SILPA-MAG.COM (นิตยสารศิลปวัฒนธรรม)

______________________________

สำหรับผู้สนใจไป ทัวร์ ทวารวดี ที่ ‘ศรีเทพ’ จ.เพชรบูรณ์

นำชมและฟังเรื่องเล่าจาก รศ.พิชญา สุ่มจินดา อาจารย์ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พาไปค้นหาคำตอบว่า เมืองศรีเทพ เป็นศูนย์กลางของทวารวดี ราชธานีแห่งแรกของสยามหรือไม่

เดินทางเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม 2565   

ราคา 3,900 บาท

โปรแกรมทัวร์ : https://bit.ly/3LSXRRu

ชมโบราณสถานสวยงามอลังการ

-ปรางค์ฤาษี ศาสนสถานพราหมณ์-ฮินดูในวัฒนธรรมเขมรที่เก่าที่สุดที่เมืองศรีเทพ

-เขาคลังนอก สถูปขนาดใหญ่ที่สุดและยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ในวัฒนธรรมทวารวดี

-อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ รู้จัก ‘เมืองศรีเทพ’ เมืองโบราณขนาดใหญ่ของลุ่มน้ำป่าสัก จุดเชื่อมและควบคุมเส้นทางการค้าระหว่างชุมชนจากภาคกลางและชุมชนที่ราบสูงภาคอีสาน โดย ศ.พิเศษ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ อดีตอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประกาศข้อเสนอใหม่ว่า “เมืองศรีเทพแห่งนี้ น่าจะเป็นศูนย์กลางของทวารวดี ราชธานีแห่งแรกของสยาม” ชมจุดสำคัญภายในอุทยานฯ ดังนี้

  • อาคารศูนย์บริการข้อมูล ชมโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ เช่น พระพุทธรูป, ธรรมจักร, ชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรม และกลุ่มของเทวรูปพระสุริยเทพ (จำลอง) ฯลฯ
  • ปรางค์สองพี่น้อง ชมทับหลังรูปอุมามเหศวรประทับนั่งอยู่เหนือโคนนทิที่ยังมีสภาพสมบูรณ์
  • เขาคลังใน พุทธสถานขนาดใหญ่ใจกลางเมือง ชมประติมากรรมปูนปั้นรูปกุมภัณฑ์ (ยักษ์) คนธรรพ์ นรสิงห์ ทิศคชา (ช้างประจำทิศ) รวมทั้งกุมภัณฑ์ที่มีศีรษะเป็นวานรและกระบือในท่าแบกประกอบลายพันธ์พฤกษา ซึ่งหลงเหลือประดับอยู่ที่โบราณสถานในวัฒนธรรมทวารวดีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
  • ปรางค์ศรีเทพ ศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมรใจกลางเมืองโบราณศรีเทพ

สำรองที่นั่ง

  • โทร 08-2993-9097 , 08-2993-9105
  • inbox เฟซบุ๊ก Matichon Academy – มติชนอคาเดมี
  • line : @matichon-tour
  • line : @matichonacademy