Tour Story : เรื่องราวระหว่างทัวร์

ลัดเลาะ “ท่าน้ำราชวงศ์” ในวันว่าง…ชมศิลปะที่แตกต่างในพื้นที่เดียว

ท่าน้ำราชวงศ์ ในปัจจุบัน เป็นท่าเรือที่อยู่ใกล้กับย่านการค้าอย่างสำเพ็งและเยาวราช

กรุงเทพมหานคร ปี 2565 แม้จะเปลี่ยนแปลงไปเพราะโรคไวรัสโควิด แต่ความคลาสสิคของสถานที่หลายแห่งยังคงเป็นนิรันดร์ ไปเดินกี่ครั้งกี่ครั้งก็ยังมีเสน่ห์ เช่นเดียวกับ “ท่าน้ำราชวงศ์” และ “ถนนทรงวาด” ในเวลานี้

ย้อนกลับไปเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจาก “กรุงธนบุรี” ฝั่งตะวันตก มายัง “บางกอก” ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. 2325 และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่ โดยให้ย้ายชาวจีนที่อยู่อาศัยในบริเวณที่จะสร้างพระบรมหาราชวังออกไปอยู่นอกกำแพงพระนคร ซึ่งก็คือย่านวัดสามปลื้ม หรือ วัดจักรวรรดิราชาวาส นั่นเอง และหลายๆ ปีต่อมา บริเวณย่านนี้ได้ขยายออกไปจนถึง คลองวัดสำเพ็ง หรือ คลองวัดปทุมคงคาฯ หรือที่ปัจจุบันเรียกกันว่า “สำเพ็ง”

รู้กันอยู่ว่าธรรมชาติของคนจีนเก่งกาจในเรื่องค้าขาย เมื่อย้ายมาตั้งบ้านเรืออยู่อาศัยก็ถือโอกาสค้าขายไปด้วย โดยอาศัยคลองรอบกรุงและคลองในบริเวณสำเพ็งในการสัญจรไป-มา และค้าขายขนส่งสินค้าดำเนินวิถีชีวิตผ่านคลอง ผ่านตรอกซอกซอยเล็ก ๆ ที่ลัดเลาะเชื่อมต่อถึงกัน ชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่ในย่านนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นความแออัด กระทั่งเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในสำเพ็งเมื่อพ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนน “ทรงวาด” เพิ่มขึ้นมา ลดความแออัดของสำเพ็ง

ถนนทรงวาด อยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าขายนำเข้า-ส่งออกสินค้านานาชนิด โดยเฉพาะทางน้ำมี “ท่าน้ำราชวงศ์” ที่เป็น “ท่าเรือ” สำคัญในประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของผู้คนในอดีต เนื่องจากท่าน้ำราชวงศ์  เป็นทั้งช่องทางในการขนส่งสินค้าจากสยามออกสู่ตลาดโลก และเป็นท่าเรือที่พระบรมวงศานุวงศ์ และเจ้านายชั้นสูงใช้ในการเดินทางไปต่างประเทศ

หากเดินลัดเลาะชมวิวสองฟากถนนทรงวาด แม้จะคับคั่งด้วยการจราจร ขนส่ง แต่สถาปัตยกรรมของตึกรามบ้านช่อง ตึกแขก ลวดลายฉลุไม้แบบเรือนขนมปังขิง ซุ้มหน้าต่างทรงโค้งแหลมแบบโกธิค  ลวดลายปูนปั้น ช่องลม เป็นสิ่งที่น่าดูและเพลิดเพลินตาเป็นอย่างมาก ด้วยปรากฏร่องรอยของอิทธิพลตะวันตกผสมผสานกับวิถีชีวิตของชาวจีน  ซึ่ง “ขวัญสรวง อติโพธิ์” อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยอธิบายว่ากลุ่มอาคารและเส้นทางสัญจรในย่านนี้ถูกออกแบบให้สามารถลัดเลาะไปมาถึงกันในลักษณะของโครงข่ายใยแมงมุม ซึ่งเป็นไปเพื่อตอบสนองกับสถานะความเป็นเมืองการค้า ฉะนั้น เขตชุมชนจากถนนทรงวาดสามารถทะลุสู่ถนนเยาวราช และเต็มไปด้วยตรอก ซอก ซอย จำนวนมาก ทำให้อาคารทุกหลังมีเส้นทางผ่านเชื่อมถึงกัน

เมื่อไปยืนที่หัวมุมถนนทรงวาดฝั่งที่ติดกับถนนราชวงศ์  จะเห็น “วัดจักรวรรดิราชาวาส” หรือ “วัดสามปลื้ม”  ส่วนอีกฝั่ง ถนนทรงวาดติดกับถนนเจริญกรุง  มี “วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร” หรือ “วัดสำเพ็ง” ล้วนเป็นวัดเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ทั้งสิ้น  ใจกลางถนนทรงวาดยังมี  “มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก” มัสยิดแห่งเดียวในย่านชุมชนจีน ห่างจากมัสยิดไม่กี่ร้อยเมตร ก็มี “ศาลเจ้าเล่าปูนเถ้ากง”  ศาลเจ้าจีนสมัยรัชกาลที่ 5 ศาสนสถานเหล่านี้หลายแห่งมีมาก่อนถนนทรงวาด บางแห่งเกิดขึ้นในช่วงไล่เลี่ยกัน แต่ก็สะท้อนเอกลักษณ์สำคัญของถนนทรงวาด นั่นคือ การอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลายของสังคมที่ยึดโยงกันด้วยการค้าขาย ไม่ว่าชาวจีน แขกเปอร์เซีย หรือชาติตะวันตก

ร้านค้าของชาวจีนในถนนทรงวาดในอดีต จินตนาการตามคำบอกเล่าของ “ณรงค์ แซ่จิว” หรือคนท้องถิ่นเรียกว่า “เฮียกุ๋ย” ระบุถึงภาพของย่านนี้ ว่า โรงสีข้าวในอดีตจะตั้งสำนักงานในซอยที่ชาวจีนเรียกว่า “บีโกยห้วย” ปัจจุบันยังหลงเหลือเพียงชื่อ “ตรอกข้าวสาร” เป็นร่องรอยของความเฟื่องฟูของการส่งออกข้าวไปต่างประเทศ และยังมี “เตี่ยลงถั่ง” หรือ เกาะกระทะ ย่านที่ตั้งของโรงงานกระทะ  “หวงโหลวโกย” หรือ ซอยเตา ย่านที่ผลิตและขายเตา ไปจนถึง “ก๊อกเต็ง” คือ ย่านขายโคมไฟ  เป็นภาพรวมของธุรกิจที่เกิดขึ้นในย่านนี้

เมื่อเจาะลงไปยังสถานที่แต่ละแห่งในพื้นที่นี้ มีเรื่องราวน่าสนใจ น่าตามไปค้นหามากมาย เริ่มตั้งแต่ “วัดปทุมคงคาฯ “ หรือ “วัดสำเพ็ง”  เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในพระราชพงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มีข้อความระบุถึงชื่อ “วัดสามเพ็ง”  ว่า “…ให้พระยาราชาเศรษฐี และพวกจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่สวนตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง…”   คำว่า “สามเพ็ง” เป็นทั้งชื่อคลองและชื่อวัด โดยทั่วไปแล้วคนจะคุ้นกับคำเรียก “วัดสำเพ็ง” มากกว่า  แต่เดิมในอดีต วัดปทุมคงคาฯ มีคลองในบริเวณใกล้เคียงเขตวัด กระทั่งเมื่อตัดถนนทรงวาดแล้วช่วงราว พ.ศ. 2450 คลองเขตวัดเริ่มลดบทบาทลงและตื้นเขินไป ในหนังสือประวัติวัดปทุมคงคา พ.ศ. 2514 เขียนเล่าไว้ว่าเมื่อก่อนจะตัดถนนทรงวาด หากจะมาวัด ต้องมาทางถนนราชวงศ์ หรือท้องสำเพ็ง ถ้ามาทางถนนเจริญกรุง ต้องเข้าตรอกข้าวหลาม วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวนตลาดน้อย) หรือกรมเจ้าท่า แล้วข้ามคลองวัดปทุมคงคาจึงจะเข้ามาถึงวัด นอกจากนี้ก่อนที่มีถนนทรงวาดยังมีคลองเขตวัดรอบไปจดคลองผดุงกรุงเกษม

ท่าน้ำราชวงศ์ มีชื่อเก่าคือ "กงสีล้ง" คำว่า "กงสีล้ง" หมายถึงส้วมสาธารณะ หรือ เว็จ สำหรับกุลี เนื่องมาจากที่ท่าน้ำราชวงศ์มีส้วมสาธารณะขนาดใหญ่ตั้งอยู่ เป็นท่าที่พ่อค้าจะใช้นั่งเรือไปสำรวจสินค้าเพื่อนำมาขาย และใช้เรือเล็กขนของจากเรือสำเภามาขึ้นที่ท่าน้ำนี้
อาคารที่ทำการธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย อาคารแห่งนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยที่จะให้มีสถาบันการเงินของสยาม เป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเงิน จึงทดลองจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก ในปี 2447 โดยใช้ชื่อ "บุคคลัภย์"(Book Club) เปิดดำเนินการวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ที่ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร โดยมีพระสรรพการหิรัญกิจ เป็นผู้จัดการ
"โบสถ์กาลหว่าร์" เป็นวัดเก่าแก่ของชาวโปรตุเกสที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอพยพมาตั้งบ้านเรือนภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 และได้สร้างขึ้นใช้ชื่อตามภูเขาที่พระเยซูถูกตรึงกางเขน ว่า "กาลวารีโอ" และต่อมาเรียกขานว่า "วัดกาลหว่าร์" เป็นวัดคาทอลิกคู่กรุงรัตนโกสินทร์เลยก็ว่าได้

ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ วัดแห่งนี้เป็นสถานที่สำหรับสำเร็จโทษเจ้านายหลายพระองค์ นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา ภายในวัดมี “แท่นหินสำเร็จโทษเจ้านาย” อยู่  โดยพงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์  มีบันทึกเรื่องการสำเร็จโทษ กรมหลวงรักษ์รณเรศ (หม่อมไกรสร) ด้วยท่อนจันทน์ที่แท่นหินประหาร เกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2391  วัดปทุมคงคายังเป็นจุดที่ลอยพระอังคารของพระบรมศพเจ้านาย ภายหลังจากพระราชพิธีพระบรมศพในสมัยก่อน เมื่อเก็บพระบรมอัฐิแล้ว จะอัญเชิญพระอังคารลงเรือ  มีกระบวนแห่มาลอยพระอังคารที่หน้าวัดปทุมคงคา  ไม่ใช่แค่ลอยพระอังคารเท่านั้น ในสมัยอยุธยา เมื่อช้างเผือกล้ม จะมีพิธีแห่ลากช้างเผือกมาถ่วงน้ำที่วัดปทุมคงคา ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) อีกด้วย

พระพุทธปรางค์ สร้างในสมัยพระพุฒาจารย์ (มา) เป็นเจ้าอาวาส ระหว่าง พ.ศ. 2443-2457 อยู่ด้านเหนือของพระมณฑปประพุทธบาท มีระเบียงคดรอบฐานทักษิณ ระเบียงชั้นสองส่วนที่อยู่ตรงกับมุมหลังคา เป็นรูปเก๋งจีน ราวลูกกรงระเบียงที่ฐานทักษิณชั้นสองด้านใต้เคลือบสีเขียวลายแก้วชิงดวงแบบจีน ฐานพระปรางค์เป็นฐานสิงห์ครรภธาตุประกอบด้วยซุ้มทิศ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืน

วัดจักรวรรดิราชาวาส เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อ “วัดนางปลื้ม” สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาเรียก “วัดสามปลื้ม” ตามประวัติกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดาร ว่า “…พ.ศ.2343 วันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 8 ค่ำ เวลา 5 โมงเย็น เกิดเพลิงไหม้ ที่วัดสามปลื้ม ตลอดลงไปถึงตลาดน้อยวัดสำเพ็ง” (วัดปทุมคงคา) ตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ต่อมาจนถึงต้นรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น สิงหเสนี) ได้เป็นผู้เริ่มปฏิสังขรณ์วัดสามปลื้ม แต่ยังไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่อสัญกรรมเสียก่อน…ต่อมาเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ผู้เป็นบุตร จึงได้ทำการปฏิสังขรณ์ต่อ โดยมอบให้บุตรชายคนโต ชื่อ นายเกต (เจ้าพระยามุขมนตรี) เป็นผู้อำนวยการสร้าง จากด้านเหนือเข้ามาทางด้านใต้ และให้บุตรชายคนรอง ชื่อ นายแก้ว (เจ้าพระยายมราช) เป็นผู้อำนวยการสร้าง จากด้านใต้เข้าไปหาด้านเหนือ บรรจบกันตรงกลาง มีการสร้างพระอุโบสถ เสนาสนสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ตลอดจนขุดคลองจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาจนถึงสระน้ำซึ่งขุดไว้ใช้ภายในวัด…” (ปัจจุบันคลองถูกถมเป็นถนนเส้นกลางวัดแล้ว)
เมื่อก่อสร้างเสร็จได้อาราธนาพระภิกษุจากวัดราชบุรณะบ้าง วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์ฯ) ท่าเตียนบ้าง มาจำพรรษา และน้อมเกล้าถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานนามใหม่ ว่า “วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร” สิ่งพิเศษของวัดนี้ คือ พระวิหาร หันหน้าไปทางทิศใต้ หันหลังให้พระอุโบสถผิดกับวัดอื่นๆ ส่วนสิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ห้ามพลาดเป็น “วิหารพระบาง” สร้างเพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานพระบาง ซึ่งนำมาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และพระบางถูกนำคืนที่เดิมคือ เมืองหลวงพระบาง ปัจจุบันนี้ เป็นที่ประดิษฐานพระนาก จากพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้ยังมี มณฑปพระพุทธบาท ซึ่งแต่เดิมเมื่อแรกสถาปนาวัด เจ้าพระยาบดินทรเดชา ให้ขุดสระและสร้างหอไตรลงไว้กลางสระ ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 หอไตรชำรุดทรุดโทรม เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นพระวิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาท เมื่อประมาณปี พ.ศ.2434 ส่วนสระก็ปรับเปลี่ยนเป็นสระจระเข้ตั้งแต่นั้นมา จึงเป็นวัดแห่งเดียวที่เลี้ยงจระเข้

ถัดมาคือ “โบสถ์กาลหว่าร์” เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งชาวโปรตุเกสที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกจำนวนหนึ่ง อพยพมาตั้งบ้านเรือนภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ได้สร้างขึ้นใช้ชื่อตามภูเขาที่พระเยซูถูกตรึงกางเขน ว่า “กาลวารีโอ” และต่อมาเรียกขานว่า “วัดกาลหว่าร์” เรียกว่าเป็นวัดคาทอลิกคู่กรุงรัตนโกสินทร์ก็ว่าได้  ย้อนกลับไปเมื่อสมัยทหารพม่าบุกเข้ายึดกรุงศรีอยุธยา พวกพระสงฆ์โปรตุเกสยอมมอบตัวแก่ทหารพม่า ส่วนพระสังฆราช และพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสถูกจับเป็นเชลย วัดนักบุญยอแซฟถูกทำลาย ทรัพย์สมบัติถูกยึดไป บรรดาคริสตังชาวโปรตุเกสและชาวญวณจำนวนหนึ่งที่รอดจากการถูกจับพากันอพยพลงมายังบางกอก กลุ่มชาวโปรตุเกสที่ไม่ยอมรับอำนาจของพระสังฆราชประมุขมิสซัง ได้นำเอาทรัพย์สมบัติไปด้วย และในบรรดาสมบัติดังกล่าว มีรูปปั้นมีค่ายิ่ง 2 รูป รูปแรก คือ รูปแม่พระลูกประคำ (คือรูปที่ใช้แห่ทุกๆ ปี ในโอกาสฉลองวัดในปัจจุบันนี้) อีกรูปหนึ่ง คือ รูปพระศพของพระเยซูเจ้า (ซึ่งใช้แห่กันทุกปี ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ จนปัจจุบัน)  สำหรับอาคารที่เห็นในปัจจุบันเป็นการบูรณะขึ้นใหม่ในปี 2434 นับเป็นการบูรณะครั้งที่ 3 โดยผนังของโบสถ์หลังใหม่ยังเป็นการก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ ไม่ใช้เหล็กเส้นและเสาเข็ม ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบกอธิคที่งดงามมากแห่งหนึ่ง

อาคารที่ทำการธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย “บุคคลัภย์” (Book Club) เป็นอีกแห่งที่น่าติดตามค้นหา อาคารแห่งนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยที่จะให้มีสถาบันการเงินของสยาม เป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเงิน จึงทดลองจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก ในปี 2447 โดยใช้ชื่อ “บุคคลัภย์”(Book Club) เปิดดำเนินการวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ที่ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร โดยมีพระสรรพการหิรัญกิจ เป็นผู้จัดการ  ประกอบด้วยพนักงานจำนวน 18 คนรับเงินฝาก ซึ่งกำหนดจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 7.5 ปรากฏว่ามีเงินฝากที่ระดมได้เป็นจำนวน 80,000 บาทเศษ ในเวลาอันสั้นนี้เมื่อนำมารวมเข้ากับทุนของบุคคลัภย์แล้ว ได้นำไปให้กู้ยืมในธุรกิจเกี่ยวกับที่ดิน สิ่งก่อสร้างและรับจำนองเป็นส่วนใหญ่ บรรดาพ่อค้า นักธุรกิจและทางราชการนิยมใช้บริการกันอย่างมาก มื่อกิจการประสบความสำเร็จรุ่งเรือง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ตั้งเป็นธนาคารในนาม“บริษัท แบงก์สยาม กัมมาจล ทุนจำกัด” ต่อมาอาคารเดิมคับแคบจึงซื้อที่ดินย่านตลาดน้อยติดกับสำเพ็ง สร้างอาคารใหม่เปิดทำการใน พ.ศ. 2453 นับเป็นธนาคารแห่งแรกและสาขาแรกของประเทศไทย ต่อมาพัฒนาเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน

มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก ตั้งอยู่ถนนทรงวาด ใช้ชื่อตามผู้ก่อตั้งมัสยิดคือ หลวงโกชาอิศหาก (เกิด บินอับดุลลาห์) และเป็นมัสยิดเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในย่านชุมชนจีน ก่อตั้งมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันหลวงโกชาอิศหาก ชื่อเดิม เกิด บินอับดุลลาห์ เป็นบุตร ของหวันมูซา กับนางจุ้ย ชาวเมืองไทรบุรี (ขณะนั้นเป็นจังหวัดหนึ่งของไทย) หลวงโกชาอิศหากเข้ารับราชการตําแหน่งล่ามมลายู กรมท่าขวา ทําหน้าที่ติดต่อกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทําการค้าขายกับกรุงสยาม หรือบรรดาประเทศราชแหลมมลายูที่มาถวายเครื่องราชบรรณาการเป็นประจําทุกปี

ภาพจิตรกรรมบานประตู วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
ด้านหน้าของโบสถ์มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม
อีกมุมหนึ่งของวัดกาลหว่าร์ พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน

หลวงโกชาอิศหากรู้จักและคุ้นเคยกับบรรดาชาวต่างชาติทั้งหลายเป็นอย่างดี โดยเฉพาะชาวต่างประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามที่มาติดต่อค้าขายทางเรือกับประเทศไทย ขณะนั้นท่าจอดเรือในกรุงเทพฯ จะอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเริ่มตั้งแต่บางรักไปถึงท่าราชวงศ์ ชาวต่างประเทศที่นับถืออิสลามจึงขอร้องให้จัดหาที่สําหรับทําการละหมาด จะได้ไม่ต้องเดินทางไปละหมาดที่มัสยิดไกลๆ เนื่องจากการคมนาคมลําบากมาก หลวงโกชาอิศหากจึงจัดหาซื้อที่ดินได้แปลงหนึ่งมีเนือ้ที่ประมาณ 2 ไร่ อยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา และท่าเรือที่ชาวต่างชาติจอดเรือขนถ่ายสินค้า  จัดสร้างเรือนไม้เล็กๆ เรียกว่า “บ้านแล” พอเป็นที่ละหมาดเท่านั้น ยังไม่มีความสะดวกสบาย ต้องเดินบนสะพานเล็กๆ ข้ามร่องสวนเจ้าไป (เวลานั้นยังไม่มีถนนทรงวาด) ต่อมาบ้านแลเริ่มทรุดโทรม  มาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 หลวงโกชาอิศหากตั้งใจจะสร้างมัสยิดให้มั่นคงถาวร จึงเรี่ยไรทรัพย์สินเงินทองจากลูกหลานที่มีฐานะมั่งคั่ง รวมกับเงินทองส่วนตัว สร้างเป็นอาคารทรงยุโรปตามสมัยนิยมขณะนั้น ส่วนพื้นที่ด้านหลังทำเป็นกุโบร์สำหรับฝังศพประมาณ 1 ไร่  ปัจจุบันการบริหารงานของมัสยิดดำเนินการโดยบุคคลในสกุล “มันตรัฐ” ซึ่งเป็นเชื้อสายของหลวงโกชาอิศหาก ชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณสําเพ็งและเยาวราชจะเข้ามาร่วมกันทําละหมาดที่มัสยิดแห่งนี้

มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก ตั้งอยู่ถนนทรงวาด ใช้ชื่อตามผู้ก่อตั้งมัสยิดคือ หลวงโกชาอิศหาก (เกิด บินอับดุลลาห์) และเป็นมัสยิดเพียงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่ในย่านชุมชนจีน ก่อตั้งมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน

ศาสนสถานที่กล่าวมานี้ สะท้อนถึงความหลากหลายของคนในพื้นที่ย่านถนนทรงวาด สำเพ็ง หรือบริเวณท่าน้ำราชวงศ์ เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต คอยให้ผู้คนค้นหา แวะเวียนไปเยี่ยมเยือน ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด

อัพเดตเรื่องราวทัวร์ศิลปวัฒนธรรม ได้ที่ เพจเฟซบุ๊กทัวร์มติชนอคาเดมี

สภาพของถนนทรงวาดในปัจจุบัน
สถาปัตยกรรมของตึกรามบ้านช่อง ตึกแขก ลวดลายฉลุไม้แบบเรือนขนมปังขิง ในย่านถนนทรงวาด
ด้านหัวถนนจะเห็นลายฉลุไม้ยังคงอยู่ในปัจจุบัน
พระประธานในพระอุโบสถวัดจักรวรรดิฯ วัดนี้สันนิษฐานว่าคงมาจากผู้หญิงสามนางร่วมกันสร้าง และอาจด้วยเพราะอยู่ใกล้กับสำเพ็ง หรือ สามเพ็ง ทำนองเดียวกับวัดสามจีน หรือวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ที่อยู่ใกล้กัน เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ ทั้งพระอาราม ประมาณ พ.ศ. 2362 และได้ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดจักรวรรดิราชาวาสเมื่อประมาณ พ.ศ. 2368 ภายในวัดมีศาลและรูปปั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาอยู่ด้วย
พระอุโบสถ วัดจักรวรรดิราชาวาส เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อ "วัดนางปลื้ม" สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาเรียก "วัดสามปลื้ม" ตั้งอยู่ริมถนนจักรวรรดิและตรอกวานิช
พระพุทธมหาชนก พระประธานในพระอุโบสถ วัดปทุมคงคา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่อง ขัดสมาธิราบ ลงรักปิดทอง เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ สมัยก่อนจะตัดถนนทรงวาด หากจะมาวัด ต้องมาทางถนนราชวงศ์ หรือท้องสำเพ็ง ถ้ามาทางถนนเจริญกรุง ต้องเข้าตรอกข้าวหลาม วัดอุภัยราชบำรุง (วัดญวนตลาดน้อย) หรือกรมเจ้าท่า แล้วข้ามคลองวัดปทุมคงค าจึงจะเข้ามาถึงวัด
พระวิหาร วัดปทุมคงคาฯ หันหน้าไปทางทิศใต้ หันหลังให้พระอุโบสถผิดกับวัดอื่นๆ ส่วนสิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ห้ามพลาดเป็น "วิหารพระบาง" สร้างเพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานพระบาง ซึ่งนำมาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว
ป้ายชื่อธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยที่จะให้มีสถาบันการเงินของสยาม เป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเงิน จึงทดลองจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก ในปี 2447 โดยใช้ชื่อ "บุคคลัภย์"(Book Club) เปิดดำเนินการวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ที่ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประกอบด้วยพนักงานจำนวน 18 คนรับเงินฝาก ซึ่งกำหนดจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 7.5 ปรากฏว่ามีเงินฝากที่ระดมได้เป็นจำนวน 80,000 บาทเศษ
"แท่นหินสำเร็จโทษเจ้านาย" พงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มีบันทึกเรื่องการสำเร็จโทษ กรมหลวงรักษ์รณเรศ (หม่อมไกรสร) ด้วยท่อนจันทน์ที่แท่นหินประหาร เกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2391