Tour Story : เรื่องราวระหว่างทัวร์

ตามรอย “เจ้านายสตรีล้านนา” เครื่องมือทางการเมือง? ? และความรักที่ไม่สมหวัง…

สตรีล้านนา ข้าราชบริพารในพระตำหนักของพระราชชายา เจ้าดารารัศมีในพระบรมมหาราชวัง ล้วนเป็นสาวงาม โดยเฉพาะ "เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่" ราชนารีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเจ้าหญิงแห่งเชียงใหม่ที่มีสิริโฉมงดงาม จนเป็นที่หมายปองแห่งเจ้านายทั้งหลาย แต่พระราชชายาทรงหวงมาก เจ้าบัวชุมเป็นธิดาคนสุดท้องของเจ้าดวงทิพย์และเจ้าคำแสน ณ เชียงใหม่ เป็นพระญาติสนิทกับเจ้าดารารัศมี

เจ้านายสตรีล้านนา

เรื่องราวของเมืองเชียงใหม่หรือล้านนากับสยาม มีสัมพันธ์กันมาแต่โบราณกาล โดยมากแล้วออกแนว tragedy มากกว่าจะ แฮปปี้ เอนดิ้ง

เพราะหากจะกล่าวถึงการสมรสเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างล้านนากับสยาม คงจะหนีไม่พ้นกรณีของ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี พระราชธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ที่ได้ถวายตัวเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ 5

แต่นอกจากการถวายตัวของเจ้าดารารัศมีแล้ว ยังมีการสมรสระหว่างเจ้านายสตรีล้านนากับเจ้านายและข้าราชการสยามอีกหลายคู่ เริ่มจาก…

ในสมัยกรุงธนบุรี  เจ้าศรีอโนชา  ขนิษฐาในพระเจ้ากาวิละ ได้ถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (ต่อมาทรงเป็นวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 1) ดังปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ความว่า

“…พระกษัตริย์เจ้าตากสินปราบชนะมารปักขะข้าศึกได้เชียงใหม่ ในศักราช 1136 ตัว ปีกาบสง้า เดือน 5 เพ็ง วัน 1 หั้นแลฯ…ก็ตั้งพระยาจ่าบ้านหื้อเป็นพระยาเชียงใหม่…ตั้งเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระยาละคร พระมหากษัตริย์เจ้าตากสินและเจ้าพระยาจักรี

ก็พาเอาเสนาโยธาล่องไปทางเมืองเถิน ล่องไปตามกระแสแม่น้ำระมิงค์แลฯ พันดั่งเจ้าพระยาสุรสีห์ ก็มีใจรักใคร่ได้ยังนางศรีอโนชา ราชบุตรีอันเป็นน้องเจ้ากาวิละ จึงใช้ขุนนางผู้ฉลาดมาขอเจ้าทั้ง 7 พระองค์พี่น้อง มีเจ้าชายแก้ว พระบิดาเป็นประธาน

รำพึงเห็นกัลญาณมิตรอันจักสนิทติดต่อไปภายหน้า ก็เอายังนางศรีอโนชาถวายเป็นราชเทวี แห่งเจ้าพระยาเสือ คือ พระยาสุรสีห์หั้นแลฯ เจ้าพระยาสุรสีห์เมื่อได้นางศรีอโนชาราชเทวีแล้ว ก็เสด็จเมือทางเมืองสวรรคโลก หั้นแลฯ…”

พระรูปปั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กับ "เจ้าศรีอโนชา" ขนิษฐาในพระเจ้ากาวิละ
ภาพวาดเจ้าศรีอโนชา "เจ้าศรีอโนชา" และ "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท" ทรงมีพระราชธิดาพระนามว่า "เจ้าฟ้าพิกุลทอง" เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. 2346 เจ้าศรีอโนชาคงจะประทับอยู่กับพระราชธิดา จนกระทั่งเจ้าฟ้าพิกุลทองสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2353 ขณะพระชนมายุได้ 33 พรรษา หลังจากนั้นก็ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่กล่าวถึงเจ้าศรีอโนชาอีก

“เจ้าศรีอโนชา” และ “สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท”  ทรงมีพระราชธิดาพระนามว่า  เจ้าฟ้าพิกุลทอง เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเสด็จทิวงคตใน พ.ศ. 2346 เจ้าศรีอโนชาคงจะประทับอยู่กับพระราชธิดา   จนกระทั่งเจ้าฟ้าพิกุลทองสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2353 ขณะพระชนมายุได้ 33 พรรษา หลังจากนั้นก็ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่กล่าวถึงเจ้าศรีอโนชาอีก

ถึงสมัยพระเจ้าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองอย่างมากมาย ทั้งในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ เป็นผลให้เจ้านายสตรีล้านนามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อประสานประโยชน์ให้กับเครือญาติด้วยการสมรสกับเจ้านายสยาม นั่นคือ การเข้าถวายตัวของ  เจ้าทิพเกสร  ธิดาเจ้าสุริยะกับเจ้า

สุวรรณา ซึ่งมีฐานะอยู่ในชั้นหลานของพระเจ้ากาวิละในสายสกุล ณ เชียงใหม่ เจ้าทิพเกสรถวายตัวเมื่อ พ.ศ. 2426 ก่อนการเข้าถวายตัวของเจ้าดารารัศมี  ซึ่งเป็นพระญาติ ประมาณ 2 ปี  หลังจากเจ้าจอมทิพเกสรถวายตัวแล้วใน พ.ศ. 2427 ก็ได้ประสูติพระราชโอรส พระนามว่า  พระองค์เจ้าดิลกจันทรนิภาธรต่อมารัชกาลที่ 5 พระราชทานพระนามใหม่ว่า  “พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ” หมายถึง “ศรีเมืองเชียงใหม่”

เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ ธิดาเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้านครเชียงใหม่องค์สุดท้าย สมรสกับมหาอำมาตย์ตรี พระยานริศราชกิจ ข้าหลวงใหญ่เทศาภิบาลมณฑลพายัพ
เจ้าทิพวัน ณ เชียงใหม่ สมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลพายัพในช่วง พ.ศ. 2458-2462 แม้ว่าเจ้าทิพวันจะมีบทบาทในการติดตามพระองค์เจ้าบวรเดชไปตรวจราชการยังที่ต่าง ๆ จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวเชียงใหม่ แต่เจ้าทิพวันก็ไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิตสมรส ได้หย่าร้างกับพระองค์เจ้าบวรเดชในเวลาต่อมา
เจ้าทิพเกสร กับ พระโอรส พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ เจ้าทิพเกสร เป็นธิดาเจ้าสุริยะกับเจ้าสุวรรณา ซึ่งมีฐานะในชั้นหลานของพระเจ้ากาวิละในสายสกุล ณ เชียงใหม่ เจ้าทิพเกสรถวายตัวเมื่อ พ.ศ. 2426 ก่อนการเข้าถวายตัวของเจ้าดารารัศมีซึ่งเป็นพระญาติ ประมาณ 2 ปี หลังจากเจ้าจอมทิพเกสรถวายตัวแล้วใน พ.ศ. 2427 ก็ได้ประสูติพระราชโอรส พระนามว่า "พระองค์เจ้าดิลกจันทรนิภาธร" ต่อมารัชกาลที่ 5 พระราชทานพระนามใหม่ว่า "พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ" หมายถึง "ศรีเมืองเชียงใหม่"
เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่" ธิดาเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้านครเชียงใหม่องค์สุดท้าย สมรสกับมหาอำมาตย์ตรี พระยานริศราชกิจ ข้าหลวงใหญ่เทศาภิบาลมณฑลพายัพ
เจ้าลดาคำ ธิดาเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ สมรสกับสมเด็จฯ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน แต่ก็ต้องอยู่ในสถานะหม่อม ท้ายที่สุดก็ต้องหย่าร้างกับพระสวามี
เจ้าอุบลวรรณา ธิดาพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับพระยาปาจิน ขุนนางกรุงเทพฯ

การปฏิรูปการปกครองของสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้เจ้านายและข้าราชการระดับสูงของสยามได้เข้ามามีบทบาทในล้านนามากขึ้น ฉะนั้น จึงเป็นโอกาสที่ได้พบปะเจ้านายสตรีล้านนา และนำไปสู่การสมรสในที่สุดหลายคู่ เช่น เจ้าสุมิตรา ธิดาเจ้าราชวงศ์ (ขัตติยะ) ณ เชียงใหม่ สมรสกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงพิเศษที่มาปฏิบัติราชการที่เชียงใหม่ เจ้าข่ายแก้ว ณ เชียงใหม่ ธิดาเจ้าทักษิณนิเกตต์ (มหายศ ณ เชียงใหม่) ได้สมรสกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา (พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต) ข้าหลวงพิเศษเชียงใหม่ (พ.ศ. 2432-2434)

เจ้ากาบคำ ณ เชียงใหม่  ธิดาเจ้าหนานสมมนุษย์ ได้สมรสกับพระยาทรงสุรเดช ซึ่งขึ้นมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงพิเศษมณฑลลาวเฉียง (พ.ศ. 2436-2442) ต่อมาเจ้ากาบคำได้สมรสใหม่กับมหาอำมาตย์ตรี พระยาวิเศษฤาชัย  ข้าหลวงตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยมณฑลพายัพ

(ยืน-จากซ้าย) พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ (นั่ง-จากซ้าย) สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร พระมงกุฏเกล้า พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ สำหรับพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ พระโอรสของเจ้าทิพเกสร ได้ชื่อว่าเป็นผู้จบการศึกษา เป็นดอกเตอร์คนแรกของเมืองไทย

เจ้าอุบลวรรณา  ธิดาพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์  มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับพระยาปาจิน ขุนนางกรุงเทพฯ

เจ้าฟองแก้ว ณ เชียงใหม่  ธิดาเจ้าน้อยบัวระวงษ์  ข้าหลวงในความปกครองของเจ้าดารารัศมี ได้สมรสกับเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ่ม มาลากุล) แต่อยู่ในสถานะภรรยารอง

กรณีของเจ้าฟองแก้วนั้นตกอยู่ในภาวะที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากญาติฝ่ายสามี รวมทั้งต้องถูกบังคับให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างชาวเชียงใหม่มาเป็นแบบชาวกรุงชั้นสูง เช่น ให้ตัดผมแบบชาวกรุงเทพฯ เพื่อที่ญาติฝ่ายสามีจะไม่ขายหน้าใครว่ามีสะใภ้เป็นลาวจากเชียงใหม่  ซึ่งการเปลี่ยนวัฒนธรรมเช่นนี้ก็ไม่ได้ทำให้ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริง  สุดท้ายก็จําต้องแยกทางกัน

เจ้าทิพวัน ณ เชียงใหม่  สมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลพายัพในช่วง พ.ศ. 2458-2462 แม้ว่าเจ้าทิพวันจะมีบทบาทในการติดตามพระองค์เจ้าบวรเดชไปตรวจราชการยังที่ต่าง ๆ

จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวเชียงใหม่ แต่เจ้าทิพวันก็ไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิตสมรส ได้หย่าร้างกับพระองค์เจ้าบวรเดชในเวลาต่อมา

เจ้าลดาคำ  ธิดาเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ สมรสกับสมเด็จฯ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน แต่ก็ต้องอยู่ในสถานะหม่อม ท้ายที่สุดก็ต้องหย่าร้างกับพระสวามี

การสมรสกับข้าราชการหรือเจ้านายจากสยาม แม้ว่าดูเผิน ๆ แล้วน่าทำให้เกิดการเลื่อนสถานภาพของเจ้านายสตรีล้านนาโดยผ่านการสมรส แต่ในท่ามกลางบริบทของการปฏิรูปการปกครองซึ่งเจ้านายฝ่ายเหนือตกอยู่ใต้อำนาจของรัฐบาลสยามนั้น

เจ้านายฝ่ายเหนือได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างมากว่าเป็น “ลาว”  ที่ป่าเถื่อนด้อยอารยธรรม  ครอบครัวของเจ้านายและข้าราชการในกรุงเทพฯ จึงยากที่จะยอมรับ  “สะใภ้ลาว”

การสมรสที่เกิดขึ้นระหว่างเจ้านายสตรีล้านนากับเจ้านายและขุนนางสยามเหล่านี้ ได้สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มชนชั้นปกครองทั้งรัฐบาลสยามและเชียงใหม่ ได้ใช้เจ้านายสตรีเข้ามาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะนี้  นอกจากจะทำให้เจ้านายฝ่ายเหนือได้รับความเกรงใจจากการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจในส่วนกลางแล้ว ยังเป็นการสร้างพันธมิตรทางการเมืองอีกด้วย

อัพเดตเรื่องราวทัวร์ศิลปวัฒนธรรม ได้ที่ เพจเฟซบุ๊กทัวร์มติชนอคาเดมี

ครอบครัวของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา (พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต) ข้าหลวงพิเศษเชียงใหม่ (พ.ศ. 2432-2434)
พระยาทรงสุรเดช ดำรงตำแหน่งข้าหลวงพิเศษมณฑลลาวเฉียง (พ.ศ. 2436-2442) สมรสกับ เจ้ากาบคำ ณ เชียงใหม่ ธิดาเจ้าหนานสมมนุษย์
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลพายัพในช่วง พ.ศ. 2458-2462 ได้สมรสกับเจ้าทิพวัน ณ เชียงใหม่
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) สมรสกับเจ้าฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ ธิดาเจ้าน้อยบัวระวงษ์ ข้าหลวงในความปกครองของเจ้าดารารัศมี แต่อยู่ในสถานะภรรยารอง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา (พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต) ข้าหลวงพิเศษเชียงใหม่ สมรสกับเจ้าข่ายแก้ว ณ เชียงใหม่ธิดาเจ้าทักษิณ นิเกตต์ (มหายศ ณ เชียงใหม่)