ทำความรู้จักเม็ดขนุน (Jackfruit Seed)

เม็ดขนุน หรือ เมล็ดขนุน มีคุณค่าทางโภชนาการที่จำเป็นต่อสุขภาพสูงไม่แพ้เนื้อขนุนเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังสามารถนำมาประกอบอาหารทั้งคาว-หวานได้อีกหลากหลายเมนู เช่น แกงไตปลาเม็ดขนุน แกงเขียวหวานเม็ดขนุน แกงบวดเม็ดขนุนมะพร้าวอ่อน เม็ดขนุนต้ม เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการ

เม็ดขนุน ปริมาณ 28 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังต่อไปนี้

  • พลังงาน 53 แคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 11 กรัม
  • โปรตีน 2 กรัม
  • ไฟเบอร์ 0.5 กรัม
  • วิตามินบี 2 8% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน
  • ไทอามีน 7% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน
  • แมกนีเซียม 5% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน
  • ฟอสฟอรัส 4 % ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน

3 คุณประโยชน์ดีๆ ที่ได้จากเม็ดขนุน

เม็ดขนุนมีคุณค่าทางสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ดังต่อไปนี้

ต้านมะเร็ง

เม็ดขนุนอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซาโปนิน (Saponin) และฟีนอลิก (Phenolic) สารประกอบเหล่านี้ สามารถต่อต้านการอักเสบ ปรับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และซ่อมแซมส่วนที่เสียหายของดีเอ็นเอได้ จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากเม็ดขนุนช่วยลดการก่อมะเร็งในเส้นเลือดได้ถึง 61% (เฉพาะการศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์)

ปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร

เม็ดขนุนมีไฟเบอร์สูง ช่วยปรับสมดุลระบบย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องผูก บรรเทาอาการริดสีดวง และป้องกันโรคลำไส้อักเสบ ยิ่งไปกว่านี้ ไฟเบอร์ยังถือว่าเป็นพรีไบโอติก (Prebiotics) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้

ต้านเชื้อแบคทีเรีย

เม็ดขนุนมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สามารถป้องกันโรคเจ็บป่วยที่เกิดจากการรับประทานอาหารได้ เช่น อาการท้องร่วง

ข้อควรระวังในการรับประทานเม็ดขนุน

ถึงแม้ว่าเม็ดขนุน หรือ เมล็ดขนุน จะมีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพมากเพียงใด แต่การรับประทานเม็ดขนุนนั้นก็มีข้อควรระวังอยู่บ้าง เช่น การรับประทานเม็ดขนุนร่วมกับยาบางชนิด อาจทำให้เสี่ยงต่อการตกเลือด หากคุณรับประทานยาที่เสี่ยงต่อการตกเลือดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเม็ดขนุน

ที่มา : Sanook

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดทำภาพอินโฟกราฟิกเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับพลังงานในขนมไทย โดยใช้ภาพประกอบจากละครดังที่กำลังเป็นกระแสโด่งดัง อย่างละครบุพเพสันนิวาส โดยมีตองกีมาร์ หรือเท้าทองกีบม้า ผู้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ขนมไทยขึ้นมา ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองม้วน และหม้อแกง ขึ้นมา จนได้รับได้รับฉายา ”ราชินีแห่งขนมไทย”

โดยสำนักโภชนาการระบุว่า ฝอยทอง 1 แพ เท่ากับ น้ำตาล 3 ช้อนชา ได้พลังงาน 220 กิโลแคลอรี ไม่ควรอร่อยเกิน 3/4 แพ

เม็ดขนุน 1 ชิ้น เท่ากับน้ำตาล 1 ช้อนชา ได้พลังงาน 40 กิโลแคลอรี ไม่ควรอร่อยเกิน 2 เม็ด

ทองหยอด 1 ชิ้น เท่ากับน้ำตาล 1 ช้อนชา พลังงานที่ได้ 30 กิโลแคลอรี ไม่ควรอร่อยเกิน 3 เม็ด

ทองหยิบ 1 ชิ้น เท่ากับน้ำตาล 2 ช้อนชา พลังงานที่ได้ 60 กิโลแคลอรี ไม่ควรอร่อยเกิน 1-2 ชิ้น

 

ที่มา มติชนออนไลน์