สรุป เส้นทางสายศรัทธา สักการะ
"๑๑๗ เกจิอาจารย์สังขารเหนือกาลเวลา" ๑๗ จังหวัด ภาคกลาง

ททท. ภูมิภาคภาคกลาง ได้จัดกิจกรรม สายศรัทธาสักการะ “๑๑๗ เกจิอาจารย์สังขารเหนือกาลเวลา” ๑๗ จังหวัด ภาคกลาง”  เพื่อเป็นการส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวที่ในช่วงวันสงกรานต์ เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันปีใหม่ของไทย และเป็นวันครอบครัวซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ นิยมเดินทางกลับบ้านเล่นน้ำ ไปทำบุญไหว้พระเพื่อเป็นศิริมงคล ซึ่งนอกจากนี้ ใน ปี 2567 ทางยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการในบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขอมนุษยชาติ โดยทางรัฐบาลได้กำหนดจัดงานเทศกาลสงกรานต์ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1-21 เมษายน 2567   

โดย ให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปสักการะเกจิอาจารย์ สแกน QR Code ลงทะเบียน รับ “ภาพที่ระลึกมหามงคล”  ผ่านพิธีเมตตาอธิฐานจิตจาก ๑๐ พระเกจิอาจารย์ดังยุคปัจจุบัน 1. หลวงปู่สมบุญ  วัดลำพันบอง จ. สุพรรณบุรี 2. หลวงปู่แผ้ว วัดรางหมัน จ. นครปฐม    3.หลวงปู่นนท์  วัดเขาพรานธูป จ. ประจวบคีรีขันธ์ 4. หลวงพ่อแถม วัดช้างแทงกระจาด จ. เพชรบุรี 5. หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก จ. พระนครศรีอยุธยา 6. หลวงพ่อสารันต์ วัดดงน้อย จ. ลพบุรี 7. หลวงพ่อจักษ์  วัดชุ้ง จ. สระบุรี 8. หลวงพ่อวราห์  วัดโพธิ์ทองกรุงเทพฯ 9. หลวงปู่ฤาษีตาไฟ  วัดเทพหิรัญย์ จ. ชัยนาท 10. หลวงพ่อมั่น วัดชะอำคีรี  จ. เพชรบุรี ณ จุดจำหน่ายวัตถุมงคลในวัด ที่รวมกิจกรรม  ซึ่งภาพที่ระลึกมหามงคลจะมีรูปและข้อมูลของเกจิทั้งอาจารย์ครบทั้ง 117 ภาพ นอกจากนี้  ททท. ภาคกลาง ยังจัดทำ EBOOK รูปภาพ และประวัติ ๑๑๗ เกจิอาจารย์สังขารเหนือกาลเวลา สแกนเก็บไว้ เป็นที่ ระลึก

หลวงพ่อมั่น 56 วัดชะอำคีรี 

หลวงปู่ฤาษีตาไฟ 60    วัดเทพหิรัญย์ 

หลวงพ่อวราห์  62 วัดโพธิ์ทอง

หลวงพ่อจักษ์   69    วัดชุ้ง

หลวงพ่อสารันต์ 77 วัดดงน้อย

หลวงพ่อแม้น    79    วัดหน้าต่างนอก   

หลวงพ่อแถม 81  วัดช้างแทงกระจาด

หลวงปู่นนท์ 93  วัดเขาพรานธูป

หลวงปู่สมบุญ 101   วัดลำพันบอง

หลวงปู่แผ้ว 101  วัดรางหมัน

One Day Trip “ท่องเที่ยวสุขใจไปกับ รฟม.” ปี 2567 ชวนไหว้พระ-ทำบุญ อุดหนุนสินค้าชุมชน

เริ่มต้นปีด้วยความเป็นสิริมงคล กับกิจกรรมพิเศษ “One Day Trip กับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)” เพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนตามแนวสายทางรถไฟฟ้ามหานคร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง รฟม. และชุมชน พาผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ที่เข้าร่วมกิจกรรมประจำปีไหว้พระทำบุญ อุดหนุนสินค้าชุมชน สนุกสนานกับ Workshop จัดช่อดอกไม้แฮนด์เมด และรับของที่ระลึกกลับบ้านสุดฉ่ำใจ เมื่อเร็วๆ นี้

“จิรฐา วัฒนประดิษฐ์”  ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย  เล่าถึงที่มาของกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่องจากผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) รวมถึงผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจร ของรถไฟฟ้า MRT ทั้ง 2 สาย มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ทาง รฟม. ได้คัดเลือกผู้ร่วมทริป 50 คน เพื่อร่วมเดินทางไปสักการะและขอพรพระนอน เยี่ยมชมความงามของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์ วัดประจำรัชกาลที่ 1 โดดเด่นและเต็มไปด้วยเสน่ห์ของศิลปะไทยอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมเช็กอินถ่ายภาพคู่กับ “ไอศกรีมลายกระเบื้อง” ไอศกรีม 3 มิติ สุดฮิตที่ รฟม. นำมาแจกฟรีคลายร้อนให้ทุกคนในทริป แล้วไปเดินย้อนรอยอดีต เรียน รู้ เล่น กันต่อที่ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แบบ Discovery Museum ที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และชมพิพิธภัณฑ์ใต้ดินแห่งแรกในไทย (Site Museum) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สนามไชย สถานีรถไฟฟ้าแห่งเดียวในพื้นที่บนเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน

จากนั้นแวะพักรับประทานอาหารกลางวัน เปิดสัมผัสประสบการณ์ความอร่อยแบบสุขภาพดีกับอาหารไทยรสเลิศ ที่เป็นซิกเนเจอร์เมืองสยาม ณ ร้าน Siam Origins ตอกย้ำกระแส ‘Thai Taste Therapy’ ที่ถือว่าอาหารไทยเป็นยาที่อร่อยที่สุดในโลก พออิ่มท้องกันแล้วก็มาต่อกันที่ชอปปิ้งสินค้าจากร้านค้าชุมชนจากตลาดส่งเสริมเกษตรไทย ปากคลองตลาด ส่งตรงจากสวนของเกษตรกรแท้ๆ กลับบ้านไปฝากครอบครัว  ซึ่งทาง รฟม. สนับสนุนเป็นคูปองเงินสดคนละ 50 บาทไว้ไปเป็นส่วนลดสำหรับการซื้อสินค้าชุมชนที่ขนมาไว้ให้ซื้อได้ง่ายๆ ที่มิวเซียม สยาม   

S__3440713_0

 ก่อนจะปิดท้ายกิจกรรมด้วย Workshop จัดช่อดอกไม้จากชุมชนปากคลองตลาด  แถมยังมีของที่ระลึกจากรฟม. ให้นำกลับบ้านไปพร้อมรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความประทับใจที่ผู้ร่วมทริปทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า รู้สึกประทับใจกับกิจกรรมในวันนี้เป็นอย่างมาก มาวันเดียวได้อิ่มทั้งบุญ อิ่มทั้งท้อว และยังอิ่มใจที่ได้อุดหนุนชุมชนให้มีรายได้ สนุกสนานมากจริงๆ

โดยเฉพาะกิจกรรมเวิร์กชอปจัดช่อดอกไม้ด้วยตัวเอง ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มาเรียนรู้วิธีการจัดช่อดอกไม้จากอาจารย์มากประสบการณ์ สำหรับช่อดอกไม้ที่ได้จัดรวมถึงผักสดที่ได้จากร้านค้าชุมชนจะนำไปฝากคนที่บ้าน สุดท้ายขอขอบคุณประสบการณ์สุดประทับใจที่รฟม. ได้จัดขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในโอกาสหน้า รฟม. จะจัดกิจกรรมดีๆ แบบนี้อีก

ทั้งนี้ รฟม. จะยังคงดำเนินการจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อสานสัมพันธ์ สร้างความสุขให้แก่ชุมชนและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานครต่อไป สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมพิเศษของรฟม. ได้ที่ www.mrta.co.th หรือ Call Center รฟม. หรือโทร. 0 2716 4044 “รฟม. ร่วมยกระดับเมืองด้วยโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและนวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน”

 

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2563 ที่โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ รางน้ำ กทม. ในงานเสวนา “ปลุกไทยเที่ยวไทย ปลุกเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้า” งานสัมมนาฟื้นฟูประเทศไทยในมิติของการท่องเที่ยวภายหลังวิกฤตโควิด-19 ที่จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 โดย บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ตอบคำถามการจัดพื้นที่ จ.ภูเก็ต ให้เป็นโมเดล “ภูเก็ต เด็ดทั้งเมือง” ในการนำร่องมาตรการนำชาวต่างชาติเข้าในพื้นที่ มีความเป็นไปได้อย่างไร ว่า ขณะนี้เริ่มมีการคุยกัน ว่า จ.ภูเก็ต เป็นพื้นที่จัดการง่ายมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ปิด และมีความมั่นใจ โดยได้มีการเตรียมการในพื้นที่แล้ว ยืนยันว่า เป็นส่วนเสริมของมาตรการ Health and Tourism

“เรื่องที่เราภูมิใจร่วมกัน คือ การกลับมาเป็นประเทศฟื้นตัวที่รับมือได้ดีที่สุดในโลก เรื่องสตรีทฟู้ดของเรา เป็นเสน่ห์จริงๆ ไม่ใช่การสาธารณสุขอย่างเดียว พื้นที่นอกโรงพยาบาลของประเทศไทย เช่น ร้านอาหารสตรีทฟู้ด ผู้ประกอบอาหารก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา สวมถุงมือ สวมอุปกรณ์ป้องกันใบหน้า เฟซชิลด์ และเรากำลังจะเฟซชิลด์สำหรับผู้ประกอบอาหารแบบที่หลายประเทศทำ เพราะต้องมีการชิม เพื่อให้มีการใช้ได้มาตรฐาน เป็นสิ่งที่เราจะประกาศว่า ในชีวิตวิถีใหม่ เรายังรักษาเสน่ห์ของประเทศไว้ได้ด้วย Safety และ Health ต้องช่วยกัน เราลงไปดูผู้ประกอบการให้ประเมินตนเอง ด้วยการใช้แพลตฟอร์ม thai stop covid-19 ที่สามารถประเมินตนเองได้ หากมีเรื่องที่ปรับปรุง และทำได้ก็สามารถดำเนินการได้ทันที แต่หากติดขัดอะไร เราก็ลงไปช่วยสนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาให้ได้” พญ.พรรณพิมล กล่าว

ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ททท.

เมื่อเวลา 10.35 น. วันที่ 2 สิงหาคม 2563 นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวในช่วงเสวนาเรื่อง ไทยพร้อมแล้วกับการท่องเที่ยว วิถีใหม่ ในงานสัมมนา ปลุกไทยเที่ยวไทย ปลุกเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้า ที่ห้องอินฟินิตี้ 1-2 โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ รางน้ำ จัดขึ้นโดยเครือมติชน ว่า ในเรื่องของการจัดการสถานการณ์ด้านสาธารณสุขประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ส่วนภาพรวมสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว ขณะนี้เริ่มเห็นการกลับมาท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นแล้ว ในแง่ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังได้รับผลกระทบอยู่ ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรก หรือตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน ยังไม่พบการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือมีจำนวนอยู่ที่ 6.69 ล้านคน ลดลงจากปี 2562 ประมาณ ลบ66% ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวไทยมีแนวโน้มที่ดี โดยพบว่าในช่วง 6 เดือนแรก หรือตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน มีนักท่องเที่ยวสะสมรวม 54.5 ล้านคน ซึ่งในเดือนกรกฎาคมมีแนวโน้มที่จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอีก

“ในส่วนของการคาดการณ์รายได้ด้านการท่องเที่ยว เป็นการคาดการณ์ที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา โดยในปีนี้คาดว่าจะจบรายได้ที่ 1.23 ล้านบาท เป็นตัวเลขเดียวกับที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ประมาณการณ์ไว้ หากประเมินในกรณีที่เลวร้ายที่สุด แต่ยังสามารถดึงนักท่องเที่ยวไทยให้กลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้จำนวนมาก คาดว่ารายได้ในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 7.42 แสนล้านบาท หรือลดลงประมาณ 45% ส่วนข้อมูลในปัจจุบันไทยยังไม่สามารถเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ จากปัญหาดังกล่าวคาดว่าในช่วงที่เหลือของปี 2563 การที่จะดึงนักท่องเที่ยวให้เข้ามาอีก 4 แสนคน จึงมองว่าเป็นเรื่องที่ยาก จึงคาดว่าในปีนี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมทั้งปีจะสิ้นสุดแค่เพียง 7 ล้านคน เท่านั้น จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 9 ล้านคน” นางสาวฐาปนีย์ กล่าว

สำหรับ การปลดล็อกระยะที่ 6 โดยในปัจจุบันเริ่มคลายล็อกให้ทำกิจกรรมในหลายด้านมากขึ้นแล้ว อาทิ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ และธุรกิจการจัดงานสัมมนาขององค์กร หรือไมซ์ เป็นต้น แต่สิ่งที่สำคัญต้องทำให้ทุกฝ่ายเกิดความมั่นใจในเรื่องของการกักตัวต้องมีการควบคุมอย่างเข้มข้น เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจและสามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไป แม้ในขณะนี้จะยังไม่มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาแต่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีการเตรียมความพร้อม และคาดว่าจะมีชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตจากภาครัฐ หรือไทยแลนด์ อีลิท การ์ด เดินทางเข้ามาจำนวน 200 คน ซึ่งกว่า 80% เป็นการขอเข้ามาเพื่อติดต่อธุรกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่วนที่เหลือมีครอบครัวอยู่ที่ประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ ททท.ได้เริ่มพูดคุยกับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะโรงแรมในกรุงเทพฯ ต้องผันตัวมาเป็น โรงแรมกักตัวทางเลือก (เอเอสคิว) บนพื้นฐานความปลอดภัย

นางสาวฐาปนีย์ กล่าวต่อว่า จากความต้องการเรื่อง เอเอสคิว ที่มีมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันหลายโรงแรมเริ่มสมัครเข้าไปกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) มากขึ้น รวมถึงผู้ประกอบการโรงแรมที่อยู่ใกล้เคียงกรุงเทพฯ เริ่มมีความสนใจจะเป็นเอเอสคิว เช่นเดียวกันกับต่างจังหวัดเริ่มมีการปรับตัวเปลี่ยนมาเป็น เอเอสคิวมากขึ้น อาทิ จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการพูดคุยกับผู้ประกอบการด้านการบินว่าในอนาคตอาจจะต้องมีการเปิดเที่ยวบิน แบบบินตรงไปจังหวัดภูเก็ต เพื่อนำนักท่องเที่ยวไปสู่ที่พักที่เป็นเอเอสคิวต่อไป ซึ่งคาดว่าในเดือนตุลาคม 2563 มีการปลดล็อกในเรื่องของการเดินทางเข้าประเทศ ไทยจะได้เห็นแสงสว่างเรื่องการท่องเที่ยวมากขึ้นอีกด้วย

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

เมื่อเวลา 09.15 น. วันที่ 2 สิงหาคม 2563 ที่ ห้องอินฟินิตี้ 1-2 โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ รางน้ำ บรรยายกาศภายในงานสัมมนา “ปลุกไทยเที่ยวไทย ปลุกเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้า” ที่จัดขึ้นโดยเครือมติชน โดยนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ภาพรวมสถานการณ์ทางการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา ภาคการท่องเที่ยวไทย ถือว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย และถือว่าาเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่สำคัญในการกระตุ้นและพยุงเศรษฐกิจ โดยในปี 2561 รายได้จากภาคการท่องเที่ยวคิดเป็น 18% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของประเทศ ทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 4.3 ล้านงาน ซึ่งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยังส่งผลต่อการขยายตัว และการเติบโตอย่างต่อเนื่องให้กับภาคธุรกิจอื่นในในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย

นายพิพัฒน์กล่าวว่า ภาพรวมสถานการณ์ท่องเที่ยวไทยปี 2562 สร้างรายได้รวมจากการท่องเที่ยวกว่า 3.01 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.37% แบ่งเป็นตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยทั้งสิ้น 39.79 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.24% สร้างรายได้ประมาณ 1.93 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.05% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ส่วนตลาดในประเทศ มีการเดินทางของไทยเที่ยวไทย จำนวน 166.84 ล้านคน-ครั้ง หดตัวลงเล็กน้อย 0.06% สร้างรายได้หมุนเวียนในประเทศมูลค่า 1.08 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.18% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561

นายพิพัฒน์กล่าวว่า การท่องเที่ยวในปี 2563 หากไม่มีการระบาดโควิด-19 รัฐบาลตั้งเป้าว่าภาคการท่องเที่ยวไทย จะต้องสร้างรายได้รวมทั้ง 2 ตลาดกว่า 3.04 ล้านล้านบาท แต่เมื่อเกิดการระบาดโควิด-19 ขึ้น ก็ทำให้ความคาดหวังในการสร้างรายได้ผ่านการท่องเที่ยวหายไป แต่ยังหวังว่าประเทศไทย จะสามารถค้นพบวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ได้ หรือต่างประเทศมีการค้นพบวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะทำให้การเดินทางท่องเที่ยวมีความเสี่ยงน้อยลง แม้ในขณะนี้จะยังไม่มีการพบวัคซีนต้านวัส แต่ก็มีความคืบหน้าในการทดลองวัคซีนเพิ่มเติม ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยหากไม่มีวัคซีนต้านไวรัสได้ ก็อาจทำให้ภาคการท่องเที่ยว เปิดได้เฉพาะการท่องเที่ยวในประเทศ

“จากเดิมที่คาดการณ์แนวโน้มรายได้รวมทางการท่องเที่ยวของประเทศไทยปี 2563 อยู่ที่ 3.04 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40.78 ล้านคน สร้างรายได้ 2.02 ล้านล้านบาท โต 4.5% หากเทียบกับปีก่อน และตลาดไทยเที่ยวไทยออกเดินทาง จำนวน 172 ล้านคน-ครั้ง โต 4.4% สร้างรายได้ 1.13 ล้านล้านบาท โต 4.3% แต่เมื่อเกิด โควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยทุกส่วน จึงกำหนดเป้าหมายการทำงานปี 2563 สร้างรายได้รวมทั้งปีไม่ต่ำกว่า 1.23 ล้านล้านบาท มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทย 14-16 ล้านคน และนักท่องเที่ยวคนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ จำนวน 120 ล้านคน-ครั้ง ทั้งนี้ โดยขณะนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชิตที่จะเข้ามา หากเข้ามาได้ 9-10 ล้านคน ก็ถือว่าเก่งมากแล้ว” นายพิพัฒน์กล่าว

นายพิพัฒน์กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในการจัดทำโครงการเที่ยวปันสุข เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ผ่านแพคเกจเราเที่ยวด้วยกันและกำลังใจ โดยใช้งบรวม 22,400 ล้านบาท แบ่งเป็นงบของแพคเกจกำลังใจ 2,400 ล้านบาท ในการเปิดให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) จำนวน 1.2 ล้านคน ลงทะเบียนรับสิทธิ์เที่ยวฟรี โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐจำนวน 2,000 บาท เพื่อเป็นการขอบคุณกลุ่มผู้ที่รับมือกับโควิด-19 เป็นด่ายแรก ส่วนแพคเกจเราเที่ยวด้วยกัน ใช้งบ 20,000 ล้านบาท ในการสนับสนุนส่วนต่างของการใช้สิทธิ์ห้องพัก 5 ล้านห้อง และตั๋วเครื่องบิน 2 ล้านใบ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ 40% ผู้ลงทะเบียนจ่ายเอง 60% ซึ่งเชื่อว่าจะต้องมีงบเหลือจากทั้ง 2 แพคเกจแน่นอน จึงคาดว่าจะนำงบประมาณที่เหลือจากเฟส 1 จะมาเปิดโครงการเฟส 2 เพิ่มเติม ภายใต้เงื่อนไขที่อาจแตกต่างไปจากเดิม

น้ำตกปางสีดา

หลังจากต้องเก็บกักตัวกันอยู่บ้านมานาน แม้ว่าบางแห่งบางสำนักงานจะเข้าสู่ภาวะเกือบปกติไม่ต้องกักกันแล้ว ในที่สุดก็ถึงคราวของ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เตรียมเปิดแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ 127 แห่งให้ประชาชนได้เข้าเที่ยวผ่อนคลายเครียด และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังเฉาเนื่องจากวิกฤติโควิด-19  โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2563 และเน้นย้ำว่าเป็นการเที่ยวแบบ New Normal ต้องจำกัดจำนวนคน ใช้แอพพลิเคชั่น “ไทยชนะ” ในการเช็กอิน-เช็กเอาต์ เพื่อคัดกรองคน สำหรับอุทยานแห่งชาติที่มีความพร้อมในการเปิดการท่องเที่ยวมี 127 แห่ง  ยกเว้นในส่วนของอุทยานบางพื้นที่ยังคงปิดให้บริการอยู่ เช่น อุทยานแห่งชาติทางทะเลทางด้านฝั่งอันดามัน เนื่องจากช่วงนี้เข้าสู่ช่วงมรสุม หรืออุทยานแห่งชาติภูกระดึง ที่ปัจจุบันอยู่ในช่วงของฤดูฝน เป็นต้น

“จงคล้าย วรพงศธร”  รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้หารือร่วมกับกรมอุทยานฯ เรื่องมาตรการรองรับการเปิดอุทยานแห่งชาติเพื่อนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปเที่ยว โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญที่ต้องนำมาชี้วัด คือการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว และในแต่ละอุทยานฯ ซึ่งจะไม่ใช้รูปแบบที่เคยรองรับนักท่องเที่ยวแล้ว แต่จะต้องมีแอพพลิเคชั่น “ไทยชนะ” มาใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรองคนเข้า-ออก และตรวจเช็กจำนวนนักท่องเที่ยวด้วย

การหารือครั้งนี้มีหัวหน้าอุทยานทั่วประเทศ ได้ส่งตัวเลขอุทยานแต่ละแห่งว่าจะสามารถรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวได้เท่าไหร่ต่อช่วงเวลาหนึ่ง เช่น แห่งที่ 1 กำหนด 800 คน อาจจะเป็นน้ำตก 300 คน อีก 500 คนไปเที่ยวในภูเขา ความหมายคือนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเรื่อยๆ แต่ถ้าครบตรงหน้าด่านตามตัวเลข 800 ต้องหยุด และแบ่งนักท่องเที่ยวไปยังจุดอื่นๆ ที่กำหนดไว้ เช่น น้ำตก 300 คน ถ้าครบต้องเอาคนออกไป ถึงจะเสริมคนใหม่เข้าไปได้ อย่างนี้เป็นต้น

เรื่องการคำนวณจำนวนคนนั้น อุทยานฯ แต่ละแห่งจะมีการศึกษาสภาพทรัพยากรธรรมชาติว่าไม่กระทบต่อสัตว์ป่า พันธุ์พืช และด้านกายภาพของพื้นที่ ถ้ามีพื้นที่มารองรับได้มากตามกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อมทั้งผลประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว เมื่อนำมาสรุปแล้วก็จะเป็นตัวเลขขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว การไปท่องเที่ยวอุทยาน ยังคงต้องตระหนักถึงการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ซึ่งมีความสำคัญมากเพื่อไม่ให้อุทยานแห่งชาติเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดการระบาดของโควิด – 19 ระลอก 2 ได้ ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยก่อนเข้าภายในอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติที่กำลังจะเปิดทุกแห่งนั้น คงต้องฝากให้นักท่องเที่ยวทิ้งขยะในที่ที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ เพราะช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าไม่มีข่าวสัตว์เสียชีวิตเพราะขยะเลยหากเปิดการท่องเที่ยวแล้วพบว่านักท่องเที่ยวทิ้งขยะจำนวนมาก มีสัตว์ตายจากขยะพลาสติก ก็พร้อมจะปิดอุทยานฯ อีกครั้ง ทั้งหมดนี้เราทำเพื่อทรัพยากรธรรมชาติ เพราะทรัพยากรธรรมชาติเป็นของคนไทยทุกคน

สวนสัตว์เขาเขียว
สวนสัตว์นครราชสีมา
สวนสัตว์ขอนแก่น

สำหรับอุทยานแห่งชาติที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้นั้น อาทิ อุทยานแห่งชาติปางสีดา จ. สระแก้ว เป็นอุทยานที่มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติมาก และยังเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกเขาใหญ่-ดงพญาเย็นด้วย ไฮไลท์การท่องเที่ยวอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ซึ่งจะพบผีเสื้อจำนวนมากกว่า 400 ชนิด ออกมาหากินโป่งเทียมบริเวณโป่งรับแขก ใกล้กับน้ำตกปางสีดา ทำให้ภายในอุทยานถูกแต่งแต้มด้วยสีสันของธรรมชาติอย่างสวยงาม อุทยานแห่งชาติปางสีดา จ.สระแก้ว  จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยววันละ 400 คน และะนักท่องเที่ยวทุกคนที่เข้ามาจะต้องปฏิบัติตามตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด  สามารถสอบถามรายละเอียดก่อนไปได้ที่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา โทร. 081-862-1511 หรือ https://www.facebook.com/Pangsida.NationalPark

ส่วนการเปิดให้เข้าท่องเที่ยวและเข้าชมในสวนสัตว์ จะมีการจำกัดจำนวนผู้เข้าชมวันละไม่เกิน 2,000 คน โดยแบ่งเป็นช่วงเช้า 08.00 -12.00 น. ช่วงบ่าย 12.00 -17.00 น. และต้องจองเข้าชมล่วงหน้า ผ่านทางโทรศัพท์ หรือ แอพพลิเคชั่น ของสวนสัตว์:https://www.eventpop.me/e/9040/zoo Thailand หรือ ติดต่อผ่านโทรศัพท์ ดังนี้

  • สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ติดต่อ 034 318 444
  • สวนสัตว์เชียงใหม่ ติดต่อ 053 221  179
  • สวนสัตว์นครราชสีมา ติดต่อ 083 372 0404
  • สวนสัตว์สงขลา ติดต่อ 074 598 555
  • สวนสัตว์อุบลราชธานี ติดต่อ 045 252 761
  • สวนสัตว์ขอนแก่น ติดต่อ 086 455 6341
สวนสัตว์สงขลา
สวนสัตว์อุบลราชธานี

เปิด 5 ข้อ รับส่วนลดที่พัก 40 % สิทธิ์ใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 5 คืน รัฐแจกเงินวันละ 600 ใช้อะไรได้บ้าง เริ่มลงทะเบียนผ่านเว็บ 1 ก.ค.

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้กระทรวงการคลังจะหารือร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อสรุปแนวทางการทำเว็บไซต์ใช้ในโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภาคการท่องเที่ยว โดยจะเปิดตัววันที่ 1 ก.ค. ก่อนหน้าที่จะเปิดตัวต้องชี้แจงและสร้างความเข้าใจกับประชาชนที่จะเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าวจะสนับสนุนการท่องเที่ยวของประชาชนในโครงการเราไปเที่ยวกัน และโครงการเที่ยวปันสุข

สำหรับเงื่อนไขโครงการเราไปเที่ยวกัน ประกอบด้วย

1.ใช้สิทธิ์ได้ 1 ครั้งคือ ค่าห้องพักสูงสุดไม่เกิน 5 ห้องพักต่อคน

2.สิทธิ์ใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 5 คืน โดยไม่จำกัดราคาค่าห้อง ราคาห้องจะแพงเท่าไหร่ก็ได้ โดยรัฐบาลจะช่วยจ่ายให้ 40 % หรือไม่เกิน 3 พันบาทต่อคืน

3.ประชาชนที่สนใจต้องเข้ามาดูรายชื่อโรงแรมที่พักเข้าร่วมโครงการในเว็บไซด์ที่เตรียมจะเปิดตัว และทำการจองตรงกับโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ และต้องจ่ายเงินให้กับโรงแรมที่พักทันทีในอัตรา 60 % เพื่อให้โรงแรมมีเงินไปหมุนเวียน

4.ประชาชนต้องมาลงทะเบียนในระบบของเว็บไซด์เดิมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันตัวตนว่าจะไปท่องเที่ยวจริง และระบบจะโอนเงิน 40 % ค่าที่พักในส่วนที่เหลือให้โรงแรม

5.จากนั้นรับสิทธิ์ E-Voucher ผ่านแอพพลิเคชันเป๋าตังค์ 600 บาทต่อคืน (สูงสุดไม่เกิน 5 คืน) ให้กับผู้ไปเที่ยว ในวันที่ผู้จองที่พักเข้าเช็กอินที่โรงแรมที่พักในวันแรก โดยสิทธิ์ดังกล่าวจะจ่ายทุกวัน วันละ 600 บาท และผู้ได้รับสิทธิ์จะต้องใช้ให้หมดภายในวันที่เช็กเอาต์ก่อนเวลา 00.00 น.

โดยสิทธิ์ต่อคน 5 คืน สามารถกระจายใช้ได้ เช่น อาจจะไปพักที่หัวหิน 2 คืน และไปพักที่เชียงใหม่ 3 คืน แบบนี้ก็สามารถทำได้ แต่ขอให้อยู่ในระยะเวลาของโครงการ คือตั้งแต่เดือนก.ค.–ต.ค. (4 เดือน) เท่านั้น

สำหรับสิทธิ์ E-Voucher จำนวน 600 บาทนั้น ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้ และสามารถใช้ได้ 3 กรณี คือ

1.ร้านอาหารในโรงแรมที่เข้าพัก

2.ร้านอาหารนอกโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะมีทั้งร้านอาหารขนาดใหญ่ เล็ก และร้านอาหารริมทาง ซึ่งจะมีรายชื่อปรากฏในเว็บไซต์

3.การแสดงที่ต้องซื้อบัตรเข้าชม โดยการใช้สิทธิ์ E-Voucher ต้องเป็นการร่วมจ่ายกับรัฐบาล คือ รัฐบาลจ่ายให้ 40% เช่น ทานอาหารในโรงแรม 1 พันบาท ร้านอาหารจะคิดเงิน 600 บาท ส่วนอีก 400 บาทระบบจะตัดจาก E-Voucher อัตโนมัติ

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์

วัดหินกอง อ.เมือง จ.ราชบุรี หวนกลับมาคึกคัก เมื่อมีนักท่องเที่ยวเดินขึ้นยอดเขาชมทัศนียภาพที่สวยงาม พาเพลินชมธรรมชาติภูเขา ท้องทุ่งนา พร้อมแวะ “ตลาดริมดอย ณ ม่อนหินกอง”

“ม่อน” เป็นภาษาถิ่นภาคเหนือ หมายถึง ภูเขา หรือเนินเขาที่มีขนาดไม่สูงใหญ่มากนัก หากเป็นภูเขาขนาดสูงใหญ่มักจะใช้คำว่า “ดอย”

บนม่อนหินกอง เป็นจุดมองทิวทัศน์ได้ทุกทิศ 360 องศา เห็นทัศนียภาพภูเขาสลับซับซ้อนและท้องทุ่งนาเขียวขจีในระหว่างช่วงหน้าฝน สระน้ำที่อุดมสมบูรณ์ กับธรรมชาติที่สวยงาม บ้านเรือนประชาชนกระจายอยู่เป็นชุมชนโดยรอบ

ที่สำคัญพื้นที่ด้านบนยังมีหลวงปู่ทวดสลักด้วยหินประดิษฐาน และรอยพระพุทธบาทที่ชาวบ้านไปสักการะ ทั้งยังมองไปไกลเห็นวัดเขาวัง วัดหนองหอย ทัศนียภาพบริเวณเขาแก่นจันทน์

พระปลัดณรงค์ศักดิ์ ปภากโร เจ้าอาวาสวัดหินกอง กล่าวว่า ช่วงเกิดโควิด-19 ทำให้ประชาชนรอบวัดได้รับผลกระทบเดือดร้อนเรื่องอาชีพการงาน จึงปรึกษาหารือร่วมกันจัดตั้งตลาดชุมชน โดยใช้ต้นทุนทรัพยากรที่มีอยู่เดิมคือภูเขาหินกอง ภายใต้ชื่อ “ตลาดริมดอย ณ ม่อนหินกอง”

ด้วยความเป็นธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ ทั้งน้ำ ดิน หิน คิดว่าเป็นพื้นที่เหมาะที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติ อีกทั้งมีสินค้าในชุมชนที่นำมาจำหน่าย ชาวบ้านปลูกเอง ผลิตเอง นำออกมาขายกว่า 100 ร้านค้า หลังปลดล็อกแล้วชาวบ้านประกอบอาชีพได้เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.

จึงเริ่มเปิดตลาดแห่งนี้ขึ้นเป็นวันแรก มีกิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรมแบ่งเป็น 3 โซน มีโซนนักเรียน นักศึกษา มาเล่นดนตรีไทย โซนผู้สูงอายุมีการแสดงวัฒนธรรมแต่ละชาติพันธุ์

นอกจากนี้ ยังมีโซนส่วนของชาวบ้านเมียนมาเป็นประชาชนกึ่งหนึ่งของทั้งหมดในหมู่บ้านนี้จะมีวัฒนธรรมมาร่วมแสดงกัน

เบื้องหลังการพัฒนาต้นทุนธรรมชาตินี้ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด มาช่วยดูแลบริหารจัดการพื้นที่นี้ร่วมกับพัฒนาชุมชน ท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยดูแล มีชาวบ้านในพื้นที่เข้ามาช่วยกันทั้งช่วยปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ให้มีความสวยงาม เน้นสไตล์ไปทางภาคเหนือ เพราะเมื่อใช้ชื่อ “ตลาดริมดอย ณ ม่อนหินกอง” ก็อยากให้นักท่องเที่ยวรู้สึกคล้ายเดินทางไปเยือนภาคเหนือ

ภายในตลาดริมดอย ณ ม่อนหินกอง มีเส้นทางเดินลัดเลาะไปตามริมเขาทั้งด้านข้าง ขึ้นไปด้านบน แล้วลงไปด้านล่าง ตกแต่งประดับประดาไปด้วยร่มหลากสีสัน มีอ่างบัว กระถางต้นไม้ดอกกำลังเบ่งบานสะพรั่งรับแสงอาทิตย์

เมื่อเดินเข้าไปก็จะมีร้านค้าของชาวบ้านนำผลผลิตทาง การเกษตรในท้องถิ่นมาวางขาย ทั้งผัก ผลไม้ปลอดสาร อาหารแปรรูปพื้นบ้าน ขนมหวาน อาหารโบราณ ผ้าทอมือ และผลิตภัณฑ์ของดีในชุมชน ขับกล่อมด้วยเสียงดนตรีของนักเรียนในวันพักผ่อน

หลายคนพาครอบครัวมาเที่ยวชิม ชม เลือกซื้อสินค้า กับการเปิดแหล่งที่เที่ยวแห่งใหม่ที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และยังเชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้เคียงของราชบุรีได้อีกหลายแห่ง เช่น ตลาดไท-ยวน วัดนาหนอง กาดวิถีชุมชนคูบัว ที่วัดโขลงสุวรรณคีรี อ.เมือง ลักษณะเหมือนกับมาวันเดียวแต่เที่ยวสนุกสนานเพลิดเพลินได้หลายแห่งอีกด้วย

สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยและสุขภาพ จัดที่จอดรถบริเวณด้านหน้าแล้วให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นไปเที่ยวตลาด มีจุดคัดกรอง วัดอุณหภูมิ เจลล้างมือ การลงทะเบียนรายชื่อ สแกนคิวอาร์โค้ด โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. เข้ามาช่วยดูแล

ตลาดเปิดวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ใครมีโอกาสอย่าลืมแวะเวียนไปเพลิดเพลินทั้งด้านธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชน

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์

เปิดให้เข้าชมพระบรมมหาราชวัง-วัดพระแก้ว ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. เป็นต้นไป หลังต้องปิดการเข้าชมชั่วคราว เนื่องจากลดการระบาดของไวรัสโควิด-19

โดย เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ ประชาสัมพันธ์เรื่องเปิดพระบรมมหาราชวัง ระบุว่า “จะเปิดให้เข้าชมพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป เวลา 08.30 – 15.30 น.”

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์

6 ธันวาคม พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์จำนวน 33 รูป ซึ่งได้คัดเลือกไว้แล้วและให้รวมฝึกอบรมอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ มาจำวัดที่ “วัดเบญจมบพิตร” วัดที่ทรงสถาปนาตามพระราชดำริให้สร้างขึ้นทดแทนวัดโบราณ 2 แห่ง และในคราวนี้เองได้พระราชทานที่ดินส่วนหนึ่งที่เป็นพระราชอุทยาน “ดุสิตวนาราม” ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร  จึงโปรดฯ ให้เรียกนามรวมกันว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม”  มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถ และถาวรวัตถุอื่นๆ  พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง

พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อแรกสร้างภายในมุขตะวันตก ประดิษฐานพระพุทธชินราช ด้านหน้าพระพุทธชินราชเป็นรั้วหินอ่อนกลมสีเขียวหยก พื้นพระอุโบสถประดับหินอ่อนหลากสี ณ พระแท่นรัตนบัลลังก์พระพุทธชินราชนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงสถาปนาวัด  ผนังเหนือกรอบหน้าต่างขึ้นไปซึ่งเป็นปูน รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ช่างกรมศิลปากรเขียนลายไทยเทพนมทรงพุ่มข้าวบิณฑ์สีเหลืองบนพื้นขาวอมเหลืองอ่อน ตลอดถึงเพดานเหนือหน้าต่าง10 ช่อง เป็นช่องกระจกรับแสง เขียนสีลายไทยเทพนม โดยช่างกรมศิลปากร ออกแบบสั่งทำจากเมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ประเทศอิตาลี  ในปี พ.ศ 2497  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงรับเป็นเจ้าภาพ ด้านบนขื่อในและขื่อนอก 3 ชั้น ลงรักปิดทองลายรดน้ำ เพดานในล่องชาด ประดับดาวกระจาย 232 ดวง ดาวใหญ่ 11 ดวง มีโคมไฟระย้าแก้วขาวอย่างดี ตราเลข 5 ซึ่งเป็นตราวัดเบญจมบพิตร 6 โคมพร้อมสายบรอนซ์ ซึ่งสั่งทำจากประเทศเยอรมนี

ช่องคูหาทั้ง 8 ที่ผนังพระอุโบสถเขียนภาพสถูปเจดีย์ที่สำคัญจากทุกภาค จัดเป็น “จอมเจดีย์” ในประเทศไทย โดยว่าจ้างให้กรมศิลปากรออกแบบและเขียนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2489  ได้แก่ พระมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี,  พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม,  พระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช,  พระเจดีย์ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,  พระมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย,  พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม,  พระมหาธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน และ พระศรีรัตนธาตุ จังหวัดสุโขทัย

เฉพาะช่อง “พระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงรับเป็นเจ้าภาพ  ส่วนช่อง “พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงรับเป็นเจ้าภาพ  นอกจากนี้ มีพระบรมวงศานุวงศ์ และผู้มีจิตศรัทธารับเป็นเจ้าภาพ

สำหรับหินอ่อนที่ประดับตกแต่งพระอุโบสถ พระระเบียง ตลอดจนสถานที่อื่น ๆ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงวัดขนาดทำแบบส่งไปเป็นตัวอย่าง เรียกประกวดราคาโดยตรงจากบริษัทขายหินอ่อน ประเทศอิตาลี ในการออกแบบประดับหินอ่อน มีวิศวกรและสถาปนิกชาวอิตาเลียน จากกรมโยธาธิการ ร่วมดำเนินการด้วย คือ วิศวกร อัลเลกริ (Carlo Allegri) ประสานงานสั่งซื้อหินอ่อน,  สถาปนิก ตะมาโย (Mario Tamagno) เป็นผู้ช่วยเขียนแบบบางส่วน 

หินอ่อนทั้งหมดสั่งซื้อและเรียกประกวดราคาไปหลายแห่ง ส่วนหนึ่งเป็นหินอ่อนจากห้างโนวี ยัวเสปเป้ (Novi Guiseppe) เมืองเจนัว กับหินอ่อนจากเมืองคาร์รารา (Carrara) ประเทศอิตาลี ที่ถือว่าเป็นเมืองที่มีหินอ่อนมากและดีที่สุด มีเอกสารหลักฐานการสั่งซื้อมากมายเป็นหลักฐาน มิใช่เป็นหินอ่อนที่เหลือจากสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมตามที่หลายคนเข้าใจและเขียนเผยแพร่อยู่ในหนังสือต่าง ๆ  ช่วงแรกมีมิสเตอร์ มูโซ่ (Mr. L. Mosso) ซึ่งเป็นช่างจากบริษัทขายหินอ่อนเป็นนายช่างประดับหินอ่อน และมีช่างคนไทยเป็นลูกมือ

เมื่อมีการจัดระเบียบพระอารามหลวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในปี พ.ศ. 2458 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ดังนั้น ชื่อวัดจึงมีสร้อยนามต่อท้ายด้วยว่า “ราชวรวิหาร” ดังเช่นในปัจจุบัน