ศิริราชเปิดตัวเทคโนโลยีการเรียนการสอนด้าน Facial Anatomy และการทำหัตถการบนใบหน้า ด้วย Virtual Reality (VR)

ศ. นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นประธานงานแถลงข่าว “Advancing Education with 3D Anatomy Software and Virtual Reality for Facial Injections” between Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Thailand and SurgiMind INC, South Korea” โดยมี ศ. ดร. พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา หัวหน้าภาควิชาตจวิทยาและหัวหน้าศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล พร้อมด้วย ผศ. นพ.ณปกรณ์ แสงฉาย หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล  ผศ. พญ.ธัญญา เดชะพิเชฐวณิช ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และ Mr. Kim IL CEO บริษัท Surgical Mind พร้อมทั้งร่วมลงนาม MOU เพื่อร่วมพัฒนาเทคโนโลยีการเรียนการสอนแพทย์ในการทำหัตถการบนใบหน้าของผู้ป่วย ณ อาคารศูนย์วิจัยทางการแพทย์ (SIMR) ชั้น 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

ศ. นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวถึงการสนับสนุนของคณะฯ ในการให้ความสำคัญของการเรียนการสอนแพทย์ว่า “หนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล คือด้านการเรียนการสอน เรามีความมุ่งมั่นที่จะสร้างองค์ความรู้และบริการอันเป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพระดับโลก เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ด้านสุขภาพ ตลอดจนผลิตบัณฑิต บุคลากรด้านสุขภาพ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ตอบสนองต่อความต้องการในอนาคตให้มีคุณภาพ คุณธรรม ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในวงการแพทย์

ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร ในอดีต เราใช้ร่างอาจารย์ใหญ่เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกการทำหัตถการกับผู้ป่วย ก่อนที่จะไปทำหัตถการกับคนไข้จริง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทักษะและความเชี่ยวชาญในการทำหัตถการ ดังนั้น เราจึงหาวิธีที่จะให้นักศึกษาฝึกทักษะเหล่านี้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดการใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” ศ. ดร. พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา หัวหน้าภาควิชาตจวิทยา และหัวหน้าศูนย์เลเซอร์ผิวหนังศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวถึงความจำเป็นในด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน Facial Anatomy ในแพทย์ที่ทำหัตถการบนใบหน้าว่า “แต่เดิมนั้น นักศึกษาแพทย์จะลองฝึกหัตถการบนเปลือกผลไม้ ด้วยการฝึกการใช้มีดลอกเปลือกมะเขือเทศเป็นชั้นๆ โดยที่ผลเนื้อในยังคงความสวยงาม ไม่เป็นรอยช้ำ ซึ่งถือเป็นสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่า Fruit lab จากนั้นก็เริ่มฝึกทักษะฉีดยากับหุ่นจำลองทางการแพทย์

S__75317275_0
S__75317274_0

ซึ่งหุ่นจำลองดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากสถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ในการผลิตขึ้น โดยมีการจำลองผิวหนังเทียมเสมือนกับผิวหนังของร่างกายคน ก่อนที่จะฝึกการทำหัตถการบนร่างอาจารย์ใหญ่ ซึ่งในแต่ละเดือนจะใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ เพื่อหัตถการด้านเสริมความงามด้วย Botulinum Toxin และสารเติมเต็มมากกว่าเดือนละครั้ง และในการทำหัตถการแต่ละครั้งจะใช้เพียงเฉพาะใบหน้าเท่านั้น ทำให้เป็นการสิ้นเปลืองร่างอาจารย์ใหญ่ ส่วนตัวจึงมีความเห็นว่าเราควรใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ในการฝึกหัตถการอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์สูงสุด มากกว่าการทำหัตถการเพื่อความสวยงาม เราพยายามคิดค้นหาวิธีพัฒนาขีดความสามารถวงการแพทย์สู่อนาคตด้วยเทคโนโลยีที่จะมาช่วยลดการใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2562 ได้มีโอกาสรู้จักกับบริษัท Surgical Mind เป็นบริษัทผลิตเกมส์จากประเทศเกาหลีและต้องการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ มาร่วมกันออกแบบโปรแกรมนี้”

Mr. Kim IL CEO บริษัท Surgical Mind กล่าวว่า “เราร่วมออกแบบโปรแกรม Anatomy 2D-3D เพื่อการเรียนการสอน Anatomy และฝึกฝนการทำหัตถการ โดยเริ่มจากการทำโปรแกรม Anatomy ในระบบ 2D และพัฒนามาเป็นแบบ 3D มองเห็นรอบทิศทาง 360 องศา แสดงผลสาธิตแยกชิ้นส่วนของใบหน้าเป็นชั้น ๆ แบบเดียวกับการ Dissection ร่างอาจารย์ใหญ่ ทำให้การเรียนการสอนง่ายขึ้น โดยไม่สิ้นเปลืองร่างอาจารย์ใหญ่ ล่าสุดได้มีการพัฒนาโปรแกรมด้วยการนำเทคโนโลยี Mixed Reality (MR) โดยนำจุดเด่นของเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) รวมเข้าด้วยกัน ผู้เรียนสามารถฝึกทักษะหัตถการเสมือนจริง โดยใช้อุปกรณ์แว่นตา Hologram เป็นสื่อกลางที่จะช่วยมองเห็นวัตถุเสมือน ที่แสดงผลแบบ 3 มิติ ได้ในพื้นที่จริงคล้ายกับภาพ Hologram ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เสมือนจริง นอกจากนี้ยังนำไปสู่การพัฒนาหุ่นจำลองในการทำหัตถการบนใบหน้าของผู้ป่วย ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาคาดว่าจะนำมาใช้ได้ภายในระยะเวลา 1-2 ปี ข้างหน้า”

อย่างไรก็ตามโปรแกรมดังกล่าวเป็นโปรแกรมออนไลน์จึงจะผลักดันให้เกิดการต่อยอดขยายองค์ความรู้ไปสู่ระดับสากล และนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ให้นักศึกษา ม.มหิดลสามารถใช้เรียนรู้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังวางแผนพัฒนาไปสู่รูปแบบของเกมออนไลน์ ให้นักศึกษาได้รับความสนุกไปพร้อมการเรียนรู้อีกด้วย โปรเจคต์นี้จะเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่และเป็นโอกาสในการพัฒนาผลงานวิจัยที่มีคุณค่าที่มากกว่าการให้บริการทางการแพทย์ ตลอดจนพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้ก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยขับเคลื่อนพันธกิจของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัยและนวัตกรรม และการบริการทางการแพทย์ ผลิตบัณฑิต บุคลากรทางการแพทย์สู่สังคมและเป็นสถาบันการแพทย์ของแผ่นดิน ที่สร้างองค์ความรู้และบริการอันเป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพระดับโลก

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือเอ็มไอที คิดค้นหุ่นยนต์ปลาที่สามารถว่ายน้ำใต้ทะเลได้เสมือนสัตว์โลกใต้น้ำ การคิดค้นนี้เพื่อนำไปสู่การศึกษาชีวิตใต้น้ำ

โดยหุ่นยนต์ปลาตัวนี้ มีชื่อเรียกว่า SoFi สามารถว่ายน้ำที่ความลึก 50 ฟุต เป็นเวลานาน 40 นาที ซึ่งกลไกออกแบบให้หุ่นยนต์ปลาตัวนี้สามารถควบคุมการว่ายน้ำและลอยใต้ทะเลด้วยตัวเอง ส่วนการควบคุมอื่นๆจะมีตัวควบคุมที่ใช้จอยสติ๊กจากซุปเปอร์นินเทนโด้มาเป็นตัวรีโมท ซึ่งที่ตัวหุ่นยนต์ติดตั้งกล้องที่ความละเอียดสูงเพื่อเก็บภาพบรรยากาศใต้น้ำ ซึ่งจะช่วยทำให้นักวิจัยได้เรียนรู้ชีวิตในท้องทะเลส่วนที่อาจจะเข้าใจยากได้ เพราะหุ่นยนต์ปลาจะสามารถเข้าไปใกล้ชีวิตในท้องทะเลได้ประชิดกว่ามนุษย์ รวมทั้งอุปกรณ์ที่เป็นยานยนต์ใต้น้ำแบบอื่นๆ

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มักมีนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ หนึ่งในนั้นคือ “เทคโนโลยีช้อปปิ้ง” อันใหม่ ที่ฝังมากับตะกร้าช้อปปิ้ง โดยตะกร้าช้อปปิ้งสุดล้ำนี้จะเป็นวิธีที่ลูกค้าสามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง คือเมื่อตัดสินใจซื้อสินค้า ก็สแกนบาร์โค้ดเข้ากับตัวรับที่ติดอยู่ที่ตะกร้า เมื่อเลือกสินค้าครบแล้วก็นำมาชำระเงินผ่านเครื่อง ซึ่งจะนำของลงถุงโดยอัตโนมัติ และให้ลูกค้าชำระเงิน เป็นอันเสร็จเรียบร้อยไม่ต้องพึ่งพนักงานอีกต่อไป

ชมคลิป

New Shopping Technology in Japan 🇯🇵 Video by-朝日新聞

โพสต์โดย Japan Inside เมื่อ วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2017

เรียกได้ว่าทำเอาลูกค้าในวอลมาร์ทที่แคลิฟอร์เนียตกตะลึงกันเป็นแถว เมื่อได้เห็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่มาตามทางเดินระหว่างชั้นวางของในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้

แวบแรกที่เห็น บางคนอาจคิดว่ามันเป็นหุ่นยนต์ทำความสะอาด แต่ความจริงหุ่นยนต์ดังกล่าวมีหน้าที่สแกนชั้นวางของในซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อตรวจดูข้อมูลว่าของขาดหรือไม่, วางผิดที่หรือเปล่า, ฉลากถูกต้องหรือไม่ รวมไปถึงติดราคาถูกต้องหรือไม่

โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งกลับมาอยู่ในฐานข้อมูลที่อยู่ในระบบคลาวด์ ให้พนักงานได้รับรู้และตัดสินใจว่าจะจัดการกับสินค้าอย่างไร เช่น เติมสินค้าให้เต็มชั้น หรือแก้ไขข้อมูลราคา เป็นต้น

ทั้งนี้ ห้างสรรพสินค้าวอลมาร์ทได้ติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวใน 50 สาขา ทั่วสหรัฐอเมริกา โดยวอลมาร์ทเชื่อว่าหุ่นยนต์ดังกล่าวจะช่วยพนักงานประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น แต่ยังไม่มีแผนว่าจะติดตั้งเพิ่มในสาขาที่เหลือ

ชมคลิป

Robots have begun to roam the aisles of Walmart stores

“Are machines taking over?”Towering, autonomous robots are beginning to roam the aisles of select Walmart stores, scanning shelves for data on out-of-stock, misplaced or mislabeled items. https://abcn.ws/2GhMpOy

โพสต์โดย Good Morning America เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2018

ปัจจุบันเทคโนโลยีก็ยิ่งพัฒนาไปเรื่อย มนุษย์เรามีการประดิษฐ์หุ่นยนต์ให้สามารถทำงานได้อย่างอัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์ที่สามารถสำรวจความลึกของมหาสมุทร ที่สามารถเข้าไปในสภาพแวดล้อมที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปได้ นอกจากนี้เรายังมีการประดิษฐ์หุ่นยนต์ขึ้นมาทำงานอีกหลายอย่าง จนหลายคนกังวลว่าหุ่นยนต์จะเข้ามาแย่งงานของมนุษย์

แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีงานบางประเภทที่ยังไงๆ หุ่นยนต์ก็ทำได้ดีไม่เท่าคนเลย ซึ่งงานนั้นก็คือ “การเก็บผัก-ผลไม้” นั่นเอง

การเก็บผลไม้ถือเป็นปัญหาสำหรับนักพัฒนาหุ่นยนต์ เนื่องจากการคัดเลือกผลไม้เป็นเรื่องยากสำหรับเครื่องจักร เพราะหุ่นยนต์นั้นไม่เหมือนกับมนุษย์ พวกมันไม่มีประสาทสัมผัสที่จะจับดูแล้วรู้ว่าผลไม้นี้สุกหรือไม่สุก นี่จึงเป็นความท้าทายในการออกแบบของนักพัฒนาเลยทีเดียว

เส้นทางของเครื่องเก็บเกี่ยวผลไม้

ถึงแม้ว่าหุ่นยนต์เก็บผลไม้จะยังทำงานได้ไม่ดีเท่ามนุษย์ แต่ก็ยังมีการศึกษาและพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับเก็บสตรอว์เบอร์รี่ โดยบริษัทสัญชาติสหรัฐที่มีชื่อว่า Harvest CROO Robotics กำลังพัฒนาเครื่องจักรที่จะสามารถเก็บสตรอว์เบอร์รี่ทั้งไร่ได้ภายในเวลาเพียงแค่ 8 วินาที ย้ายไปยังแปลงถัดไปได้ภายใน 1.5 วินาที และเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 เอเคอร์ ได้ภายใน 1 วัน โดยบริษัทดังกล่าวระบุว่า เครื่องจักรชิ้นนี้จะทดแทนแรงงานเก็บเกี่ยวได้มากกว่า 30 คน

ซึ่งการทดลองครั้งล่าสุดของ Harvest CROO Robotics พบว่า เครื่องจักรดังกล่าวจะเคลื่อนที่ไปบนทางรอบๆ แปลงโดยใช้จีพีเอสและแผนที่ในระบบของเครื่อง ซึ่งจะแสดงตำแหน่งของพืชผลแต่ละชนิด จากนั้นจะใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับว่าเป็นสตรอว์เบอร์รี่ โดยเครื่องเก็บเกี่ยวนี้ยังติดตั้งกล้องความละเอียด HD เพื่อจับตำแหน่งของผลไม้ และกรงเล็บจากหุ่นยนต์ก็จะเข้าไปเก็บผลไม้นั่นเอง

“ไม่มีใครบังคับหุ่นยนต์ดังกล่าว” พอล บิสเสตต์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Harvest CROO Robotics กล่าวระหว่างทำการทดสอบ และว่า หุ่นยนต์จะจดจำเส้นทางในแต่ละแถว และจดจำได้หมดว่าพืชผลอยู่ตรงไหน

อย่างไรก็ตาม บ็อบ พิตเซอร์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทนี้ กล่าวว่า หุ่นยนต์ดังกล่าวยังมีประสิทธิภาพไม่ดีเท่ามนุษย์ ปัจจุบันหุ่นยนต์สามารถค้นหาและเก็บสตรอว์เบอร์รี่สุกได้มากกว่า 50% เท่านั้น ขณะที่มนุษย์สามารถเก็บได้ 60-90%

แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่พิตเซอร์ก็คาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีการใช้เครื่องจักรชนิดนี้อย่างแพร่หลาย โดยเป้าหมายของบริษัทก็คือการพัฒนา “หุ่นยนต์บริการ” และทำกำไรจากการให้เช่าอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งตอนนี้โครงการดังกล่าวก็เรียกได้ว่าดึงดูดความสนใจจากอุตสาหกรรมสตอร์เบอร์รี่ได้เป็นอย่างดี หลังเปิดตัวโครงการตั้งแต่ปี 2013 ก็มีบริษัทในอุตสาหกรรมสตรอว์เบอร์รี่ 2 ใน 3 บริษัท สนใจลงทุน

และไม่ใช่เพียงบริษัทนี้เท่านั้นที่กำลังลงทุนกับการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บสตรอว์เบอร์รี่ แต่มีอีกหลายบริษัทที่กำลังพัฒนาเครื่องจักรชนิดนี้เช่นกัน เนื่องจากตลาดกำลังเติบโต หนึ่งในนั้นคือบริษัท Agrobot ซึ่งเป็นคู่แข่งรายแรกที่ได้ทดสอบการทำงานเต็มรูปแบบของหุ่นยนต์

หุ่นยนต์ทดแทนคนงานเพิ่มสูงขึ้น?

แกรี่ วิชแนทซ์กี้ อีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้ง Harvest CROO กล่าวว่า ตลาดการเก็บเกี่ยวสตรอว์เบอร์รี่ในสหรัฐมีมูลค่าสูงถึงปีละ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2015 การเก็บเกี่ยวสตรอว์เบอร์รี่สร้างเม็ดเงินสูงถึง 1.63 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ดีมานด์ของสตรอว์เบอร์รี่และผลไม้ชนิดอื่น เช่น บลูเบอร์รี่และอโวคาโด กำลังเพิ่มขึ้น แต่จำนวนแรงงานเก็บเกี่ยวในภาคเกษตรกลับน้อยลง

ซินดี้ แวน ริจสวิค นักวิเคราะห์จาก Rabobank กล่าวกับเว็บไซต์ FreshPlaza เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า แรงงานเก็บเกี่ยวนั้นหายากขึ้น เพราะเป็นงานที่ทำชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงแต่ในสหรัฐหรือยุโรป แต่ยังพบปัญหานี้ในภูมิภาคอื่นๆ รวมทั้งอเมริกาใต้ด้วย

ปัญหาดังกล่าวมาจากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่เอื้ออำนวยนัก ทำให้แรงงานข้ามชาติหลายคนเลือกที่จะกลับบ้านเกิดมากกว่า ขณะที่คนหนุ่มสาวก็ไม่อยากทำงานในไร่สวน ด้วยชื่อเสียงของอาชีพเก็บผลไม้ว่าเป็นอาชีพที่ค่าแรงต่ำ

นักวิจารณ์หลายคนเตือนว่า เราอาจจำเป็นต้องใช้หุ่นยนต์ในการเก็บเกี่ยวพืชไร่หลายชนิด เพื่อให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน