บั๋นหมี่ หรือแซนด์วิชเวียดนาม เป็นขนมปังแบบบาแก็ตขนาดเล็ก มีขายทั่วไปในเวียดนาม แต่ร้านนี้ “Huynh hoa” แจ่มสุดในโฮจิมินห์ คนต่อแถวยืนกันคึกคึกหน้าร้านคูหาเดียว

บริการแกร็บฟู้ด ซื้อ-ส่งอาหาร มาไม่ขาดสาย นักท่องเที่ยวฝรั่ง ต่างชาติมาเข้าคิว คนเวียดนามในพื้นที่มาแวะซื้อ ราคาขายชิ้นละ 60 บาท

ความคึกคักของร้าน Huynh hoa ที่โฮจิมินห์ ดูได้จากคลิป

ที่มา Youtube กินเที่ยว สายกลางตามงบ

จากการสำรวจในโฮจิมินห์ “บั๋นหมี่” เป็นสตรีทฟู้ดเวียดนามที่ฝรั่งนักท่องเที่ยวในเวียดนามกล้ากินมากที่สุด ขณะที่สตรีทฟู้ดรูปแบบอื่นฝรั่งมาสังเกตดูเฉยๆ แล้วเดินจากไป

โดย บั๊นหมี่ บาแก็ตนี้ นิยมกินด้วยการทาตับบดที่เรียกว่า “ปาเต้” (Pate) ทากับขนมปัง และใส่แฮมชนิดต่างๆ

ความที่บั๋นหมี่ หรือแซนด์วิชเวียดนาม มีรากมาจากขนมอบฝรั่งเศสยุคอาณานิคม (เวียดนามรับวัฒนธรรมจากฝรั่งเศสจากการเป็นอาณานิคมมาเกือบ 100 ปี)  และขนมปังฝรั่งเศสเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวเวียดนาม เพราะเป็นเสบียงของกองทัพช่วงสงครามอินโดจีน
.
คนฝรั่งเศสในเวียดนามฝึกชาวเวียดนามในท้องถิ่นมาทำบาแก็ต ต่อมามี บาแก็ตขนาดเล็กเรียกว่า “เปอตีต์ แปง” ที่ชาวเวียดนาทำออกมาขายเองแพร่หลาย คนเวียดนามเลยเอาขนมปังบาแก๊ตไซซ์เล็กนี้มาปรับรสชาติใส่นั่นใส่นี่สูตรของเวียดนามเองจนเป็นบั๋นหมี่ในที่สุด

 

 

 

เมื่อวันที่ 22 เมษายน นายสุทธิชัย ทรรศนสฤษดิ์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในฐานะประธานคณะกรรมการท่องเที่ยวและการกีฬา สภากรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า จากการติดตามนโยบายและผลการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีรับประทานอาหารริมทาง หรือสตรีทฟู้ด ของ กทม. ในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ เห็นว่าควรจัดเป็นโซนอาการ (Food Area) ไม่ใช่ทำเพียงแค่สตรีทฟู้ดบนถนนเยาวราชเท่านั้น เพราะย่านดังกล่าวมีร้านจำหน่ายอาหารที่อร่อยและมีคุณภาพดีอีกจำนวนมาก แต่อยู่ในตรอกซอกซอยที่นักท่องเที่ยวอาจจะไม่รู้จัก

“นอกจากนี้ กรุงเทพฯ มีขนาดพื้นที่กว่า 1,500 ตารางกิโลเมตร ยังมีพื้นที่อื่นเหมาะสมอีกมาก อาทิ ย่านบางลำพู ถนนพระอาทิตย์ วัดโพธิ์ ฯลฯ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก หรือพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยหนาแน่น น่าสนใจพัฒนาให้เป็นสตรีทฟู้ดได้ แต่ต้องทำความตกลง เอาใจใส่ผู้ค้าไม่ให้การค้าสร้างความเดือดร้อน ขณะเดียวกัน ก็เห็นใจผู้ค้าที่ต้องทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว แต่หากอ้างความจนแล้วให้ กทม.หาพื้นที่ให้กับผู้ค้าทุกรายคงทำไม่ได้” นายสุทธิชัย กล่าว

นายสุทธิชัย กล่าวว่า กทม.ได้ดำเนินโครงการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย ความสะอาดและคุณภาพของอาหารให้แก่ผู้ค้าที่ผ่านมาตรฐาน กทม.กำหนด แต่มีเพียงป้ายขนาดเล็กระบุร้านอาหารปลอดภัยเท่านั้น ประชาชนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เห็นควรมีตราสัญลักษณ์โดดเด่น เห็นชัด และสวยงาม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว อย่างป้ายเชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น ต่อมาควรเสริมศักยภาพของสตรีทฟู้ดร่วมกับพื้นที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ช่วยสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมร่วมกัน คือ การกิน การเที่ยว และพักค้าง โดย กทม.ต้องประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวให้ทราบทั่วถึง นอกจากนี้ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในย่านต่างๆ สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม.ควรประชุมหารือร่วมกับสำนักงานเขต ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ได้ข้อสรุปก่อนแล้วจึงนำเสนอต่อผู้บริหาร กทม.เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต

 


ที่มา  มติชนออนไลน์