เมนูสร้างชาติ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 มิถุนายน 2566 ที่มติชนอคาเดมี มบ.ประชานิเวศน์ 1 เครือมติชน โดย ศิลปวัฒนธรรม , สำนักพิมพ์มติชน , ศูนย์ข้อมูลมติชน (MIC) และเส้นทางเศรษฐี  จัดงาน “๒๔ มิถุนาฯ วันมหาศรีสวัสดิ์”เป็นวันที่สอง โดยมีเวทีทอล์กเสวนา ศิลปวัฒนธรรมสเปเชียลน่าสนใจตลอดทั้งวัน

ในวงเสวนา “เมนูสร้างชาติ ราษฎรยุค 2475” โดย ผศ.ดร.ชาติชาย มุกสง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มี นายดวงฤทธิ์ แคล้วปลอดทุกข์ กูรูด้านอาหาร และเป็น Food Stylist ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอาหารแถวหน้าของประเทศ เป็นผู้ดำเนินรายการ

อ.ชาติชาย กล่าวสรุปว่า หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เกิดการเปลี่ยนด้านอาหารการกินด้วย เน้นความเท่าเทียม ไม่ว่าหญิงหรือชายสามารถทำกับข้าวได้ เปลี่ยนทั้งการปรุงและวัตถุดิบ มีตำราอาหารหลากหลาย ทำให้อาหารมีมาตรฐาน มีเครื่องปรุงอาหารที่มีการผลิตแบบอุตสาหกรรมมากขึ้น และเน้นโภชนาการมากขึ้น

“หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เกิดการปฏิวัติการกิน มีเมนูประชาธิปไตย เป็นเมนูที่ไม่มีชนชั้น อาทิ ก๋วยเตี๋ยวสมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เมื่อครั้งเกิดน้ำท่วม ,  ผัดไทย และอาหารจำพวกผัด ที่สำคัญมีก๋วยเตี๋ยว 3 เมนูอย่าง ก๋วยเตี๋ยวผัดใส่ถั่วงอก , ก๋วยเตี๋ยวถังแตก ใส่เส้น ถั่วงอก และเต้าหู้  , ผัดไทย จะมีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวถังแตก แต่มีการแต่งรสชาติเพิ่มขึ้นมา ทั้งเปรี้ยว เค็ม หวาน และบีบมะนาวใส่เพิ่ม โดยผัดไทยเราเชื่อกันว่าเป็นผลพวงหลังจากการนำเสนอก๋วยเตี๋ยวสมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เพราะในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สมัยจอมพล.ป.พิบูลย์สงคราม ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับผัดไทย

S__37609529

“นโยบายเศรษฐกิจของคณะราษฎร เน้นให้คนไทยผลิตอาหารเอง มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ต้องนำเข้า มีการผลิตด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น เน้นพึ่งพาตัวเองได้ มีโรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ โรงงานนม และต่อมาก็มีการทำฟาร์มเป็นระบบ ด้านพฤติกรรมการกินก็เปลี่ยนจากการทำครัวสำรับซับซ้อนทำกินเองที่บ้าน มาทานร้านอาหารนอกบ้านเป็นวิถีชนชั้นกลางรุ่นใหม่ในช่วงนั้น”อ.ชาติชาย กล่าว

#เครือมติชน #ศิลปวัฒนธรรม #สโมสรศิลปวัฒนธรรม #๒๔มิถุนาฯวันมหาศรีสวัสดิ์ #SilpaMag #เทศกาลหนังสือการเมือง #สำนักพิมพ์มติชน #MatichonMIC #เส้นทางเศรษฐี

“ผัดไทย” หรือหากเรียกชื่อเต็มๆ ก็คือ “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย” อาจจะเป็นอาหารจานเดียวของชาติเราที่ชาว  ต่างชาติรู้จักกันมากที่สุด

โดยพื้นฐานแล้วก๋วยเตี๋ยวผัดไทยทำมาจากก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก ต่อมามีการดัดแปลงมาใช้วุ้นเส้น เกี๊ยวกรอบ หรือบางทีไม่ใส่เส้น รวมทั้งทำเป็นผัดไทยห่อไข่ก็มี ในที่นี้จะขอพูดโดยรวมถึงผัดไทยแบบดั้งเดิม

ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยแม้ไม่ได้เป็นอาหารมังสวิรัติ แต่ก็เป็นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบอยู่น้อย หรือหากมี ก็มีเพียงกุ้งแห้ง กุ้งสด หรือไข่ที่เป็นส่วนของเนื้อสัตว์แทน นอกจากนี้ ในผัดไทยก็ยังมีคุณค่าจากโปรตีนที่ได้จากเต้าหู้ด้วย ทําให้ผัดไทยเป็นอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วน โดยเฉพาะเมื่อรับประทานกับถั่วงอกดิบ หัวปลี ใบกุยช่าย หรือบางทีก็มีใบบัวบกไว้ให้กินแกล้ม ก็ยิ่งเพิ่มคุณค่าให้กับผัดไทยยิ่งขึ้น

ขณะที่อาหารที่มักขายอยู่คู่กันกับร้านขายผัดไทยก็คือ หอยทอด” ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วจะใช้หอยแมลงภู่เป็นส่วนประกอบหลัก ภายหลังบางร้านมีการดัดแปลงมาใส่หอยนางรมด้วย ซึ่งเราจะเรียกเมนูนี้ว่า “ออส่วน

นอกจากหอยแมลงภู่แล้ว ส่วนประกอบที่สําคัญของหอยทอดยังมีแป้งและถั่วงอกเช่นเดียวกันกับผัดไทย จึงถือว่า “ผัดไทย-หอยทอด” เป็นอาหารที่มีคุณค่าใกล้เคียงกัน

แล้วอะไรที่เสี่ยง

เกริ่นไปแบบนั้นอาจทําให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเราสามารถกินผัดไทย-หอยทอดได้โดยไม่ต้องกังวลถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพ ทว่าในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะมีความเสี่ยงมากมายที่มาจากอาหารทั้ง 2 จานนี้

ความเสี่ยงแรกคือ “ปริมาณไขมันสูง” สังเกตได้จากขั้นตอนของการทําผัดไทยที่คนขายมักจะตักน้ำมันใส่ในปริมาณมากเพื่อไม่ให้ติดกระทะเวลาผัด เพราะน้ำปรุงรสที่ใช้ทําผัดไทยนั้นมีส่วนประกอบที่สําคัญคือน้ำตาลปี๊บและน้ำมะขามเปียก ซึ่งน้ำตาลเองเป็นส่วนผสมที่ทําให้อาหารติดกระทะได้ง่าย ดังนั้น วิธีผัดไม่ให้ติดกระทะจึงต้องใส่น้ำมันในปริมาณมาก ยิ่งถ้าเป็นผัดไทยใส่ไข่ เมื่อตอกไข่ใส่ลงไป คนขายก็ต้องเติมน้ำมันลงไปอีกเพื่อทําให้ไข่สุก เรียกว่าได้น้ำมันถึงสองต่อในปริมาณที่ไม่น้อยเลย และเท่าที่สังเกตดูจะพบว่าผัดไทยเจ้าดังๆ จะใช้น้ำมันหมูในการทํา เพื่อให้ได้กลิ่นหอมอร่อยกว่าการใช้น้ำมันพืช

แต่ปริมาณน้ำมันในผัดไทยก็ยังน้อยกว่าปริมาณน้ำมันในหอยทอด โดยเฉพาะในหอยทอดที่ใส่จานร้อน แบบกรอบๆ ไม่มีทางที่แป้งหอยทอดจะกรอบได้ ถ้าไม่ใส่น้ำมันมากๆ ดังนั้น คนขายหอยทอดจึงต้องใส่น้ำมันในกระทะมากๆ เพื่อให้แป้งกรอบตามสูตรหรือตามความต้องการของลูกค้า หากเป็นการทอดหอยทอดในกระทะแบนๆ ใหญ่ๆ แบบที่เจ้าดังๆ ใช้ ก็อาจมีน้ำมันบางส่วนไหลลงไปที่ด้านข้างกระทะอีกด้วย รับรองว่าน้ำมันส่วนใหญ่อาจติดอยู่ในแป้งและผสมอยู่ในจานของเราด้วยแน่ๆ

หากเป็นหอยทอดจานร้อนแบบที่กําลังนิยมขายในฟู้ดเซ็นเตอร์จะเห็นว่าคนขายจะใช้จานร้อนนั้นแทนกระทะ และทําหอยทอดทีละจาน ใส่น้ำมันลงไปในจาน เอาจานตั้งไฟ แล้วใส่แป้งหอยทอด รอจนกรอบ ก่อนจะเอาถั่วงอกมาใส่อีกที

ใครที่เคยไปยืนดูขั้นตอนการทํา จะเห็นว่าคนขายจะตักน้ำมันอย่างน้อย 1 กระบวยใหญ่ๆ ใส่ในจานร้อน และเมื่อมาถึงเรา เรากินเสร็จเรียบร้อย น้ำมันเหล่านั้นจะไม่ติดค้างอยู่ที่จานสักนิดเลย… นั่นหมายความว่า เราได้กินน้ำมันทั้งหมดไปพร้อมๆ กับหอยทอดแล้ว

เมื่อมาคะเนปริมาณน้ำมันแบบคร่าวๆ จะพบว่าในน้ำมัน 1 กระบวยนั้นต้องมีไม่ต่ำกว่า 3 ช้อนโต๊ะ โดย 1 ช้อนโต๊ะจะมีปริมาณเท่ากับ 15 กรัม นั่นหมายความว่าเรากินไขมันไปแล้วในมื้อนี้ 45 กรัม ซึ่งพลังงานจากไขมันคือ 9 แคลอรี่/กรัม เท่ากับว่าเราได้พลังงานจากไขมันไปแล้ว 405 กรัม

สรุปว่ามื้อไหนที่เรากินผัดไทยจานร้อน เราต้องได้พลังงานไม่ต่ำกว่า 700-800 กิโลแคลอรี่ และที่แน่ๆ คือ ไขมันนี้ยังเป็นไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่ไม่น้อยเสียด้วย ความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและไขมันอุดตันในเส้นเลือดจึงมีอยู่สูงมากในอาหารทั้ง 2 จานนี้

ถั่วงอกก็เสี่ยง

สารที่ผู้ขายถั่วงอกแช่เพื่อให้ถั่วงอกขาวสวยเรียกว่า “โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (Sodium hydrosulfite)” ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการฟอกย้อมแห อวน ซึ่งมีอันตรายต่อร่างกาย หากบริโภคเข้าไปจะทําให้เกิดอาการหายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง สําหรับผู้ที่แพ้อย่างรุนแรงหรือป่วยเป็นโรคหอบหืดจะมีอาการรุนแรงขึ้น คือมีอาการช็อก หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

โดยอาสาสมัครสาธารณสุข นักเรียน นักศึกษา และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับได้ใช้ชุดทดสอบโซเดียม ไฮโดรซัลไฟต์ไปตรวจสอบถั่วงอก หน่อไม้ดอง ขิงหั่นฝอย ผลไม้สด น้ำตาลปึก และทุเรียนกวน จํานวน 2,438 ตัวอย่าง พบสารปนเปื้อนโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ 392 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 16

แต่ข่าวดีคือ สารไฮโดรซัลไฟต์ที่อาจมีอยู่ในถั่วงอกจะถูกทําลายด้วยความร้อน ดังนั้น หากเห็นถั่วงอกดิบของร้านไหนมีสีขาวมากๆ ดูผิดปกติก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงดีกว่า แต่ถ้าร้านไหนถั่วงอกคล้ำมาก มีส่วนเน่าเสียปนอยู่ก็ไม่ควรกินด้วยเช่นกัน เพราะอาจทําให้ท้องเสียได้

พริกป่น ถั่วคั่ว มะนาวเทียม

พริกป่น ถั่วลิสงป่น มักมีการตรวจพบ “สารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin)” ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา หากร่างกายได้รับสารพิษอย่างต่อเนื่องจะเกิดการสะสมของสารพิษจนกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด โดยเฉพาะมีการตรวจพบว่าพริกป่นที่นําเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีราคาถูกกว่าบ้านเรามีการปนเปื้อนเชื้อราอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่ถั่วลิสงคั่วสําเร็จที่ขายอยู่ทั่วไปก็มีความเสี่ยงมากเช่นเดียวกัน

อาจเป็นเพราะบ้านเราเป็นประเทศร้อนชื้น เชื้อราเติบโตได้ง่าย และยิ่งคนขายนำพริกป่นและถั่วคั่วมาวางทิ้งไว้บนโต๊ะ และใช้วิธีการเติมถั่วลงไปเมื่อเห็นว่าพร่อง โดยไม่ได้เทของเก่าออกก่อน ทําให้ถั่วส่วนที่อยู่ด้านล่างถูกทิ้งไว้นาน และมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดเชื้อราได้

ขณะที่น้ำมะนาวหากเป็นการใช้น้ำมะนาวเทียม มักจะพบรา ยีสต์ปะปนอยู่ด้วย ซึ่งน้ำมะนาวเทียมที่มีจําหน่ายทั่วไปนั้นมีทั้งชนิดบรรจุถุงและบรรจุขวด ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตมาจาก “กรดซิตริก (Citric)” หรือที่เรียกกันว่า “กรดมะนาว” ซึ่งเป็นกรดผลไม้มีอยู่ในส้มหรือมะนาว โดยจะมีการใส่สีและปรุงแต่งให้ดูเหมือนน้ำมะนาวแท้

จากการสุ่มตรวจตัวอย่างน้ำมะนาวเทียมโดย สํานักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2548 จากตลาด 5 แห่งในกรุงเทพมหานคร จํานวน 23 ตัวอย่าง ประกอบด้วยชนิดบรรจุขวดมีเลขทะเบียน อย. และไม่มีเลขทะเบียน อย. รวมทั้งชนิดบรรจุถุงพลาสติกรัดด้วยยาง พบว่าน้ำมะนาวเทียมบรรจุขวดที่มีเลขทะเบียน อย. และไม่มีเลขทะเบียน อย. มีปริมาณกรดซิตริกใกล้เคียงน้ำมะนาวธรรมชาติซึ่งผ่านเกณฑ์ทั้งหมด ส่วนน้ำมะนาวเทียมที่บรรจุถุงพลาสติกรัดด้วยยางไม่ผ่านเกณฑ์        5 ตัวอย่างจากจํานวน 13 ตัวอย่าง เนื่องจากตรวจพบยีสต์และราเกินเกณฑ์กําหนด

นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำมะนาวเทียมชนิดใส่ถุงพลาสติกรัดด้วยยาง มีกรดซิตริก 9-10% มากกว่าน้ำมะนาวแท้ ซึ่งน้ำมะนาวแท้จะพบกรดซิตริกเพียง 7.1% และหากผู้บริโภครับประทานน้ำมะนาวเทียมที่มียีสต์ รา และกรดซิตริกมากเกินไป อาจทําให้ท้องเสียได้

หอยทอดอันตราย

หอยแมลงภู่ก่อนที่จะนํามาบริโภคต้องผ่านกระบวนการบําบัดเพื่อให้หอยได้คายสิ่งสกปรกและจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนออกเสียก่อน เพราะหอยแมลงภู่จะกินอาหารโดยการกรองสิ่งแขวนลอยที่อยู่ในน้ำ หากแหล่งเลี้ยงนั้นอยู่ใกล้แหล่งชุมชนหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ทิ้งของเสียลงในแหล่งน้ำก็จะพบจุลินทรีย์ที่ก่อโรคหรือสารโลหะหนักปนเปื้อนในเนื้อหอยด้วย

ดังนั้น การรับประทานหอยแมลงภู่จึงต้องเลือกซื้อจากแหล่งที่มีสภาพแวดล้อมสะอาด มีมลพิษต่ำ และหลีกเลี่ยงการซื้อหอยจากแหล่งที่อยู่ใกล้พื้นที่อุตสาหกรรม อีกทั้งควรทําความสะอาดหอยแมลงภู่อย่างพิถีพิถัน ซึ่งทําได้โดยขัดล้างภายนอกของเปลือกหอยให้สะอาด ดึงหนวดของมันออกให้มากที่สุด จากนั้นนําไปใส่ในภาชนะที่ปล่อยให้น้ำสะอาดไหลผ่านตัวหอยช่วงระยะเวลาหนึ่งให้หอยคายสิ่งสกปรกออกจากกระเพาะ หรือแช่มันไว้ในน้ำเกลือสักพัก ก็จะได้หอยที่สะอาด เหมาะกับการนําไปบริโภคแล้ว

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น ได้เคยสุ่มเก็บตัวอย่างหอยแครงและหอยแมลงภู่สดจากตลาดในจังหวัดนนทบุรี 10 แห่งมาตรวจ พบเชื้ออาหารเป็นพิษคือ “วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus)” ในหอยแครงร้อยละ 100 ในหอยแมลงภู่ร้อยละ 80 พบเชื้อ “ซาลโมเนลล่า” ใน    หอยแครงร้อยละ 10 และในหอยแมลงภู่ร้อยละ 70

หากจะทําลายเชื้อโรคด้วยการลวกหอยแครงจะต้องทําในน้ำเดือดนาน 1-2 นาที ส่วนวิธีอบหรือนึ่งหอยแมลงภู่ต้องใช้เวลา 5-7 นาที จึงจะสามารถทําลายเชื้อโรคได้หมด

เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าหอยทอดที่เราซื้อรับประทานนั้นคือหอยที่ได้คุณภาพหรือไม่ หรือผ่านการล้างทําความสะอาดอย่างที่ควรจะเป็นหรือเปล่า…เรื่องนี้ย่อมทําให้เกิดความเสี่ยงในการรับประทานอย่างแน่นอน

ซื้อกินอย่างไรให้ปลอดภัย

การเลือกร้านที่ดูสะอาดเป็นเครื่องป้องกันด่านแรกที่จะลดความเสี่ยงลงได้บ้าง ป้าย Clean Food Good Taste อาจช่วยในการตัดสินใจได้ระดับหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ควรมองดูความสะอาดภายในร้านด้วย ไม่ใช่ว่าเห็นหนูวิ่งอยู่ที่ใต้เตาแล้วยังตัดสินใจว่าจะกินร้านนี้อยู่

ปัญหาเรื่องน้ำมันหรือไขมันสูงอาจจะแก้ไขยาก นอกจากเมื่อรู้ว่าได้รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงไปแล้วมื้อหนึ่ง มื้อต่อไปก็ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และไม่ควรกินผัดไทยหรือหอยทอดติดต่อกันหลายวัน ทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูงด้วย และหากออกกําลังกายเป็นประจําร่วมด้วยก็จะทําให้ความเสี่ยงที่เกิดจากการกินไม่สูงนัก

การรับประทานอาหารหรือชาที่ช่วยลดไขมันก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทําให้ความเสี่ยงลดลง ขณะที่การกินหัวปลีที่มีกากใยสูงก็จะช่วยกวาดไขมันบางส่วนออกจากลําไส้ ส่วนกุยช่ายนั้นนอกจากมีกากใยสูงเช่นเดียวกับหัวปลีแล้ว ยังมีสารอัลลิซินเหมือนในกระเทียมที่ช่วยลดไขมันได้ อย่างไรก็ตาม ผู้มีระบบการย่อย        ไม่แข็งแรงต้องระวัง เพราะกุยช่ายนั้นถือเป็นผักที่ย่อยยากชนิดหนึ่ง

ทำกินกันเองดีกว่า

ความจริงแล้วถ้าเราลงมือทําผัดไทย-หอยทอดกินด้วยตัวเอง อาหาร 2 จานนี้ถือว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพเลยทีเดียว เพราะความเสี่ยงทั้งหลายที่กล่าวมาล้วนมาจากความไม่สะอาดของเครื่องปรุง ไม่ใช่ความเสี่ยงที่เกิดจากตัวของอาหารเอง

เพราะหากเราทําอาหารกินเอง เราสามารถที่จะเลือกชนิดและจํากัดปริมาณของน้ำมันและพลังงานที่จะรับได้ เราจะสามารถเลือกหรือล้างถั่วงอกให้ปราศจากสารฟอกขาว รวมไปถึงสามารถเลือกหรือล้างหอยให้สะอาดตามที่ควรจะเป็น และเลือกเครื่องปรุงที่มีคุณภาพในการนํามาปรุงได้ ไม่ว่าจะเป็นถั่วคั่ว พริกป่น ซอสพริก หรือน้ำมะนาว

ผัดไทยทำเอง

เพื่อความปลอดภัยและความสะดวก เราสามารถเลือกใช้วุ้นเส้นแทนก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก หากใช้กุ้งแห้งก็ควรดมดูไม่ให้มีกลิ่นฉุน ไม่ใส่สี และเอามาล้างน้ำก่อนนําไปใช้ ขณะที่เครื่องปรุง เช่น ถั่วลิสงก็ควรซื้อถั่วลิสงแบบเม็ดมาคั่วเอง เช่นเดียวกับพริกป่น ที่ตัดเป็นท่อนๆ ควรคั่วและป่นเอง จะได้ผัดไทยที่หอมอร่อย ปลอดภัย และไม่มีความเสี่ยง

ส่วนผสม

วุ้นเส้นขนาด 70 กรัม 1 ห่อ / หอมแดงซอย 1 หัว / กุ้งสด 4-5 ตัว หรือกุ้งแห้ง 2 ช้อนโต๊ะ / เต้าหู้แข็ง    ครึ่งก้อน / กุยช่าย 6-7 ต้น / ถั่วงอก 2 ถ้วยตวง / น้ำผัดไทย / น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ

เครื่องปรุง

ถั่วลิสงคั่ว / พริกป่น / มะนาว

ส่วนผสมน้ำผัดไทย

น้ำมะขามเปียก 4 ช้อนโต๊ะ / เกลือป่น ½ ช้อนชา / น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

ผสมน้ำมะขามเปียก 4 ช้อนโต๊ะกับเกลือป่น ½ ช้อนชา และน้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ คนส่วนผสมให้เข้ากัน

วิธีทำ

  1. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอร้อน แล้วนําเต้าหู้ไปทอดให้เหลืองก่อน
  2. ใส่กุ้งลงไปในกระทะตอนเต้าหู้เกือบๆ เหลือง กุ้งจะสุกพอดีกับตอนที่เต้าหู้เหลืองเกรียม
  3. พอกุ้งใกล้สุกก็เอากระเทียมกับหอมแดงลงไปเจียวให้หอมๆ
  4. ใส่วุ้นเส้น แล้วเทน้ำผัดไทยลงไปพอให้เส้นนุ่มๆ เติมน้ำผัดไทยจนได้รสตามชอบ
  5. ใส่ถั่วงอกกับใบกุยช่ายผัดเร็วๆ ให้ทั้งหมดเข้ากัน ผัดให้แห้ง
  6. ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมกับถั่วงอกและใบกุยช่ายดิบ

หอยทอดทำเอง

ส่วนผสม

เนื้อหอยแมลงภู่ 1 ถ้วย / ถั่วงอก 1 ถ้วย / ไข่ไก่ 2 ฟอง / หอมแดงสับ 1 หัว / ต้นหอมหรือผักชี        สำหรับโรยหน้า / ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนชา / แป้งหอยทอด (แป้งมัน ½ ถ้วย / แป้งข้าวเจ้า ¼ ถ้วยตวง / แป้งทอดกรอบ ¼ ถ้วยตวง / น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง)

วิธีทำ

  1. ล้างหอยแมลงภู่ให้สะอาด แล้วพักไว้
  2. นําแป้งทั้ง 3 อย่างมาละลายด้วยน้ำเย็นและคนให้เข้ากัน
  3. ตั้งกระทะที่ไฟปานกลาง ใส่น้ำมันลงไปครึ่งหนึ่ง พอน้ำมันร้อน แบ่งแป้งและหอยแมลงภู่อย่างละครึ่งใส่ลงไปในชามผสม คนให้เข้ากัน แล้วจึงเทลงไปในกระทะ
  4. เมื่อแป้งเริ่มสุกแล้วจึงตอกไข่ลงไป 2 ฟอง เกลี่ยไข่ให้ทั่วแผ่นแป้ง โรยน้ำมันให้รอบขอบแป้ง รอจนขอบเริ่มเหลืองจึงค่อยกลับด้าน
  5. ทอดจนแป้งสุกเหลืองทั้งสองด้านจึงใช้ตะหลิวตักไว้ที่ริมกระทะ ใส่น้ำมันลงไปประมาณ 1 ช้อนชา จากนั้นใส่หอมสับลงผัดพอให้มีกลิ่นหอมจึงใส่ถั่วงอกลงไป ½ ถ้วย เติมซีอิ๊วขาว (หรือน้ำปลา) ลงไป 1 ช้อนชา ผัดให้เข้ากันแล้วปิดเตาได้
  6. ตักถั่วงอกผัดและหอยทอดใส่จาน โรยด้วยต้นหอม ผักชีซอย จากนั้นก็ยกเสิร์ฟพร้อมกับซอสพริก

 

ข้อมูลจาก : หนังสืออาหารเสี่ยงเลี่ยงได้ สำนักพิมพ์มติชน

เย็นตาโฟเครื่องทรง โดย อ.มัลลิการ์ ชวนสัมผัสมหัศจรรย์ความอร่อยกับ เทศกาลผัดไทยแสนอร่อย สูตรเฉพาะ อ.มัลลิการ์ ที่ให้อร่อยโดนใจเต็มๆ กับวาไรตี้ผัดไทยกุ้งสดตัวอวบๆ เนื้อหวานๆ กับผัดไทย 5 จานอร่อย เริ่มจาก

ผัดไทยเส้นใหญ่กุ้งสด อร่อยกับเส้นใหญ่แผ่นนุ่มผัดเคล้ากับเครื่องผัดไทยรสเข้ม

ผัดไทยเกี๊ยวกรอบกุ้งสด อร่อยกับแผ่นเกี๊ยวไข่ ทอดจนเหลืองกรอบ ผสานความจัดจ้านของเครื่องผัดไทยรสเข้ม

ผัดไทยไดเอ็ทกุ้งสด เอาใจคนรักสุขภาพกับผัดไทยเส้นมะละกอสดปลอดสาร ส่งตรงจากสวนสาระพรรณ จ.ลพบุรี ที่ให้ความหวานกรุบกรอบทุกคำ

ผัดไทยอุด้งกุ้งสด อร่อยเข้มข้นกับอุด้งเส้นเหนียวนุ่ม ผัดเคล้ากับเครื่องผัดไทย แทรกความจัดจ้านเข้าถึงเนื้ออุด้งทุกเส้น

และ ผัดไทยหนังปลาแซลมอนกรอบกุ้งสด รับประกันความอร่อยแบบสุดๆ กับความกรอบกรุบของหนังปลาแซลมอนทอดใหม่กรอบ เคล้าความเข้มข้นจัดจ้านของเครื่องผัดไทย ซึ่งทุกจานเพิ่มความอร่อยด้วยผักแกล้มสดๆ ทั้ง ถั่วงอก กุยช่าย ใบบัวบก และหัวปลีอ่อน บีบน้ำมะนาวนิดๆ อร่อยครบสูตรผัดไทยโบราณ สุดยอดความอร่อยที่แฟนผัดไทยต้องลอง

อร่อยโดนใจกับ 5 เมนูผัดไทยแสนอร่อยได้ที่ ร้านเย็นตาโฟเครื่องทรง โดย อ.มัลลิการ์ ทุกสาขา ยกเว้นสาขาสนามบินดอนเมืองและอุดรธานี ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 ตุลาคม 2561 ทั้งนี้รายได้จากการจำหน่ายเมนูในเทศกาลผัดไทยทุกจาน จานละ 10 บ. ร่วมสมทบทุนซื้อเตียงสำหรับให้เคมีบำบัดเพื่อรักษามะเร็งในผู้ป่วยเด็ก มอบให้กองทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-946-1000 หรือที่ Facebook : http://www.facebook.com/YentafoMallika