‘ก๋วยเตี๋ยว-ผัดไทย’ เมนูประชาธิปไตย หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

Culture ศิลปวัฒนธรรม

เมนูสร้างชาติ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 มิถุนายน 2566 ที่มติชนอคาเดมี มบ.ประชานิเวศน์ 1 เครือมติชน โดย ศิลปวัฒนธรรม , สำนักพิมพ์มติชน , ศูนย์ข้อมูลมติชน (MIC) และเส้นทางเศรษฐี  จัดงาน “๒๔ มิถุนาฯ วันมหาศรีสวัสดิ์”เป็นวันที่สอง โดยมีเวทีทอล์กเสวนา ศิลปวัฒนธรรมสเปเชียลน่าสนใจตลอดทั้งวัน

ในวงเสวนา “เมนูสร้างชาติ ราษฎรยุค 2475” โดย ผศ.ดร.ชาติชาย มุกสง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มี นายดวงฤทธิ์ แคล้วปลอดทุกข์ กูรูด้านอาหาร และเป็น Food Stylist ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอาหารแถวหน้าของประเทศ เป็นผู้ดำเนินรายการ

อ.ชาติชาย กล่าวสรุปว่า หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เกิดการเปลี่ยนด้านอาหารการกินด้วย เน้นความเท่าเทียม ไม่ว่าหญิงหรือชายสามารถทำกับข้าวได้ เปลี่ยนทั้งการปรุงและวัตถุดิบ มีตำราอาหารหลากหลาย ทำให้อาหารมีมาตรฐาน มีเครื่องปรุงอาหารที่มีการผลิตแบบอุตสาหกรรมมากขึ้น และเน้นโภชนาการมากขึ้น

“หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เกิดการปฏิวัติการกิน มีเมนูประชาธิปไตย เป็นเมนูที่ไม่มีชนชั้น อาทิ ก๋วยเตี๋ยวสมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เมื่อครั้งเกิดน้ำท่วม ,  ผัดไทย และอาหารจำพวกผัด ที่สำคัญมีก๋วยเตี๋ยว 3 เมนูอย่าง ก๋วยเตี๋ยวผัดใส่ถั่วงอก , ก๋วยเตี๋ยวถังแตก ใส่เส้น ถั่วงอก และเต้าหู้  , ผัดไทย จะมีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวถังแตก แต่มีการแต่งรสชาติเพิ่มขึ้นมา ทั้งเปรี้ยว เค็ม หวาน และบีบมะนาวใส่เพิ่ม โดยผัดไทยเราเชื่อกันว่าเป็นผลพวงหลังจากการนำเสนอก๋วยเตี๋ยวสมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เพราะในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สมัยจอมพล.ป.พิบูลย์สงคราม ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับผัดไทย

S__37609529

“นโยบายเศรษฐกิจของคณะราษฎร เน้นให้คนไทยผลิตอาหารเอง มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่ต้องนำเข้า มีการผลิตด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น เน้นพึ่งพาตัวเองได้ มีโรงงานน้ำตาล โรงงานกระดาษ โรงงานนม และต่อมาก็มีการทำฟาร์มเป็นระบบ ด้านพฤติกรรมการกินก็เปลี่ยนจากการทำครัวสำรับซับซ้อนทำกินเองที่บ้าน มาทานร้านอาหารนอกบ้านเป็นวิถีชนชั้นกลางรุ่นใหม่ในช่วงนั้น”อ.ชาติชาย กล่าว

#เครือมติชน #ศิลปวัฒนธรรม #สโมสรศิลปวัฒนธรรม #๒๔มิถุนาฯวันมหาศรีสวัสดิ์ #SilpaMag #เทศกาลหนังสือการเมือง #สำนักพิมพ์มติชน #MatichonMIC #เส้นทางเศรษฐี