หลักฐานที่มีอยู่ในพงศาวดารชี้ไว้ว่า พระเพทราชาเป็นคนสุพรรณบุรี ถึงแม้เรื่องราวของพระองค์ใน จ.สุพรรณบุรี จะมีไม่มากนัก แต่หนึ่งในร่องรอยที่เกี่ยวกับพระเพทราชาที่เห็นอยู่ก็คือ “เสลี่ยงคานหาม” ที่ “วัดกุฎีทอง” อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีเรื่องเล่าตำนานเกี่ยวกับพระเพทราชาอยู่ว่า

“ครั้งหนึ่งในช่วงก่อนพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ มีชายมานอนหลับที่วัดแห่งนี้ และชายคนดังกล่าวนอนกรนเป็นเสียงดนตรี เจ้าอาวาสที่นี่เลยทำนายไว้ว่าจะได้เป็นใหญ่ต่อไป ซึ่งชายคนนั้นก็บอกว่า ถ้าได้เป็นใหญ่จริงจะกลับมาสร้างกุฏิ หรือกุฎีทองถวาย ซึ่งเมื่อพระเพทราชาได้ปกครองแผ่นดิน พระองค์ก็ทรงมาสร้างกุฏิถวายที่นี่จริงๆ โดยสมเด็จมาบนเสลี่ยงคานหาม มีการจัดพิธีฉลองสมโภชน์ยิ่งใหญ่ แต่เมื่อเสด็จกลับก็ทรงลืมไว้ ทางวัดจึงจัดเก็บไว้”

ปัจจุบันเสลี่ยงคานหามดังกล่าวถูกบูรณะซ่อมแซมและทางวัดได้นำออกมาแสดงให้ผู้คนทั่วไปได้ชม โดยเสลี่ยงนี้จัดแสดงอยู่บนกุฏิไม้โบราณหลังใหญ่ภายในวัด ซึ่งบนกุฏิยังจัดเก็บวัตถุโบราณหลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องลายครามโบราณ, หนังใหญ่ เป็นต้น

ในบริเวณพื้นที่ 30 ไร่ของวัดกุฎีทองยังอาคารต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือตำหนักสมเด็จพระเพทราชา ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2540 อีกด้วย

สำหรับ “วัดกุฎีทอง” นั้นจะเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ทัวร์ ออกพระเพทราชา “ฮีโร่” แห่งกรุงศรีฯ จะพาทุกคนไปเยือน พร้อมฟังเรื่องราวในยุคสมัยของออกพระเพทราชา ตั้งแต่ว่าพระองค์เป็นใครมาจากไหน ไปจนถึงเรื่องการเมือง และการเสด็จขึ้นครองราชย์ จาก รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล มาเป็นวิทยากร

กำหนดเดินทาง รอบสอง วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2560

สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี

Inbox : Facebook Matichon Academy

Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichonacademy

คลิกอ่านรายละเอียดการเดินทางได้ที่ https://www.matichonacademy.com/content/article_15932

การปฏิวัติสมเด็จพระนารายณ์มหาราชของพระเพทราชา ทำให้พระเพทราชาเป็น “ฮีโร่” หรือวีรบุรุษ แห่งกรุงศรีอยุธยาจริงหรือ? ชวนไปหาคำตอบ พร้อมตามรอยพระเพทราชา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง กับมติชนอคาเดมี ในทัวร์ ออกพระเพทราชา “ฮีโร่” แห่งกรุงศรีฯ จ.สุพรรณบุรี-พระนครศรีอยุธยา

กำหนดการเดินทาง : วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2561

วิทยากร : รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี

ราคา 2,700 บาท

สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี

Inbox : Facebook Matichon Academy

Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichonacademy

คลิกอ่านรายละเอียดโปรแกรมการเดินทางได้ที่นี่ https://www.matichonacademy.com/tour/article_14622

“เพราะลพบุรียังมีสิ่งน่าสนใจอีกมาก” รวบรวมบรรยากาศความประทับใจของทัวร์ “ย้อนเวลาพาออเจ้าไปเฝ้าขุนหลวงนารายณ์ที่ละโว้” จ.ลพบุรี ที่ถึงแม้รอบแรกจะฝนกระหน่ำ รอบสองจะจะอากาศร้อนอบอ้าว แต่ลูกทัวร์ของเราไม่มีใครหวั่นเลย

เรื่อง : ปริศนา ทับดวง ภาพ : กนกวรรณ มากเมฆ – เซคชั่นประชาชื่น นสพ.มติชนรายวัน


ฉากหวานในละครบุพเพสันนิวาส เมื่อขุนศรีวิสารวาจาอาสาเป็นไกด์ส่วนตัวพาแม่หญิงการะเกดขี่ม้าชมเมือง ไปเยือนเมืองละโว้ ราชธานีแห่งที่ 2 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

“พระราชวังมี 3 ชั้น ที่เห็นยอดแหลมทรงมณฑปนั่นเป็นพระราชฐานชั้นนอก พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทเป็นท้องพระโรง มีสีหบัญชรเสด็จออกรับแขกบ้านแขกเมือง พระราชฐานชั้นกลางพระที่นั่งจันทรพิศาลเป็นที่ว่าราชการงานเมือง ถัดไปโน่นไกลๆ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นที่ประทับฝ่ายใน” คุณพี่แนะนำพระราชวังเบื้องหน้าให้แม่หญิงที่ออกอาการตื่นเต้นและฟังอย่างตั้งใจ

ฉากนี้ออกอากาศเพียงชั่วข้ามคืน สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เมืองละโว้ หรือลพบุรีในปัจจุบันคึกคักขึ้นทันตา มีบรรดาออเจ้ายกขบวนไปร่วมตามรอยศึกษาประวัติศาสตร์กันอย่างเนืองแน่น

“พระนารายณ์ราชนิเวศน์” ตามท้องเรื่อง เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง มีรูปแบบที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปกรรมไทยและตะวันตก เจิดจรัสด้วยรูปลักษณ์สมัยใหม่ในยุคนั้น เช่น ประตูหน้าต่างเจาะเป็นช่องโค้งแหลม

จัดสวนตกแต่งในเขตพระราชฐานด้วยการแบ่งเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ พร้อมมีน้ำพุเตี้ยๆ ประดับสวน รูปแบบอาคารและสวนเป็นอิทธิพลที่ได้รับจากราชสำนักเปอร์เซียและโมกุล

ผนังภายในพระที่นั่งบางองค์ เช่น พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทตกแต่งด้วยกระจกเงา ที่นำมาจากยุโรป

พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท ตั้งอยู่ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์

แม้กระทั่งกระเบื้องมุงหลังคาเคลือบสีเหลืองจักรพรรดิของพระที่นั่งหลายองค์ในพระราชวังก็มีผู้บันทึกไว้ว่า ยามต้องแสงพระอาทิตย์จะสะท้อนวาววับเสมือนมุงหลังคาด้วยทองคำได้โปรดฯให้ซื้อจากจีน

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงใช้พระราชวังเมืองลพบุรีเป็นสถานที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะ อาทิ ทูตานุทูต บาทหลวง และพ่อค้านานาชาติตลอดรัชสมัยของพระองค์ เข้าใจว่าเป็นเงื่อนไขของการกำหนดให้สถาปัตยกรรมในพระราชวังเมืองลพบุรีมีรูปลักษณ์อันได้รับอิทธิพลจากหลายสายวัฒนธรรมของโลก

รวมถึงการวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังแบบพระราชวังอาลิคาปู ประเทศอิหร่าน อันแสดงให้เห็นถึงพระราชนิยมแบบเปอร์เซียของพระองค์ โดยพงศาวดารบอกว่า พระองค์มักประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี ปีละ 8-9 เดือน

บริเวณพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน พระนารายณ์ราชนิเวศน์

เยือนแหล่งประวัติศาสตร์เมืองละโว้ทั้งที ต้องเที่ยวชมให้ครบ สถานที่สำคัญอีกแห่ง “พระที่นั่งไกรสรสีหราช” หรือ “พระที่นั่งเย็น” พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่บนเกาะริมทะเลชุบศร จึงเรียกอีกชื่อว่า “พระที่นั่งทะเลชุบศร” สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ทรงสำราญพระราชอิริยาบถและทรงประพาสเพื่อคล้องช้าง

บันทึกของฝรั่งเศสกล่าวว่า เมื่อพระองค์เสด็จประพาสล่าช้างป่า จะเสด็จฯกลับเข้ามาประทับ ณ พระที่นั่งองค์นี้

พระที่นั่งไกรสรสีหราช มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทย คือเป็นพระที่นั่งจัตุรมุข มีหลังคาเครื่องไม้แบบไทย ด้านทิศตะวันออกมีมุขเด็จยื่นออกมา คงเป็นที่ใช้รับรองแขกเมืองและบรรดาบาทหลวง

มาถึง “วัดสันเปาโล” วัดในคริสต์ศาสนาที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานที่ดินให้แก่คณะบาทหลวงเยซุอิตจากฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาในสยามเมื่อ พ.ศ.2229 พร้อมกับคณะราชทูต เดอ ลา ลูแบร์ เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพร้อมกับใช้เป็นที่พักของคณะบาทหลวง โดยคำว่า “สันเปาโล” นี้คงจะเพี้ยนมาจากคำว่า เซนต์ปอลหรือแซงต์เปาโล (Saint Paulo) นั่นเอง

และเป็นที่ทราบกันดีว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสนพระทัยในเรื่องดาราศาสตร์อย่างมาก เมื่อมีกลุ่มบาทหลวงที่จะเดินทางไปยังประเทศจีนเข้ามาในราชอาณาจักร ก็ทรงพระกรุณาต้อนรับและให้สิทธิต่างๆ ในการตั้งกล้องสำรวจปรากฏการณ์สุริยุปราคาและจันทรุปราคา เป็นหอดูดาว

โดยหอดูดาวแห่งนี้ถือได้ว่า เป็นหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งแรกของสยาม และเป็น 1 ใน 3 ของหอดูดาวที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอีกด้วย

วัดสันเปาโล หรือวัดเซนต์ปอล มีขนาดใหญ่พอสมควร เพราะมีหลักฐานเป็นภาพเขียนสีน้ำมันรูปหอดูดาวที่วัดแห่งนี้ เป็นหอดูดาวแปดเหลี่ยมสูงสามชั้น ชั้นบนสุดสามารถใช้ตั้งกล้องดูดาวได้ ปัจจุบันยังคงมีร่องรอยแนวบันไดและช่วงชั้นปรากฏให้เห็นที่ผนัง ส่วนอาคารอื่นๆ เช่น ที่พักของคณะบาทหลวงเยซุอิต ห้องประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และหมู่อาคารต่างๆ ไม่ปรากฏร่องรอยให้เห็นแล้ว

อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่ปรากฏบนผนังส่วนที่เหลือของอาคารหอดูดาวทำให้สันนิษฐานได้ว่าคงมีลักษณะของศิลปะไทยผสมอยู่ด้วย เพราะมีการใช้ลวดบัวเป็นเส้นคั่น

ในสมัยนั้นคณะบาทหลวงเยซุอิตเดินทางเข้ามาในสยามตั้งแต่ครั้งทูต เดอ โชมองต์ เข้ามาเมื่อปี พ.ศ.2228 โดยพบว่า บาทหลวงตาชาร์ดมีบทบาทมากในเรื่องการเมือง เพราะได้พยายามประสานผลประโยชน์ทางการศาสนาและการเมืองกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ โดยในครั้งต่อๆ มาได้มีจดหมายลับฝากไปกับบาทหลวงตาชาร์ด เรื่องการขอบาทหลวงฝรั่งเศสให้เดินทางลับๆ เข้ามาในสยาม หลังจากที่พระเพทราชาปฏิวัติแล้ว บาทหลวงตาชาร์ดได้เป็นทูตเดินทางเข้ามาในสยามอีกครั้ง แต่ฝ่ายสยามเห็นว่าไม่ใช่การเดินทางมาพร้อมกับเรือฝรั่งเศส จึงให้บาทหลวงตาชาร์ดคอยวันที่เหมาะสมก่อน

วัดสันเปาโล

ส่วนสถานที่สำคัญที่ออเจ้าจักพลาดมิได้เชียวหนา คือ “บ้านหลวงรับราชทูตวิชาเยนทร์” หรือ “บ้านวิชาเยนทร์” สถานที่สำหรับรับรองราชทูตที่มาเข้าเฝ้าฯ ที่เมืองลพบุรี และเป็นบ้านพักของ “คอนสแตนติน ฟอลคอน” หรือ “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์” สมุหนายกชาวกรีก ผู้มีอิทธิพลเป็นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

บ้านวิชาเยนทร์ ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศเหนือของพระราชวังเมืองลพบุรี บริเวณส่วนหนึ่งใช้เป็นที่พักของบรรดาราชทูตอันมาแต่เมืองไกล เช่น เปอร์เซียและฝรั่งเศส จากประตูพระราชวังมุ่งตรงสู่บ้านหลวงรับราชทูต มีวัดเสาธงทองคั่นกลาง มีตึกที่สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชปรากฏอยู่ 2 หลัง คือ ตึกโคระส่าน และตึกปิจู ใช้เป็นที่พำนักของราชทูตเปอร์เซียส่วนหนึ่ง

ส่วนบ้านหลวงรับราชทูตตั้งอยู่บริเวณเดียวกับบ้านพักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เพียงแต่มีแนวกำแพงคั่น

อาคารทั้งหมดก่ออิฐถือปูนในลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยบางหลังเป็นแบบศิลปะยุโรปแบบเรอเนสซองต์ มีหน้าจั่วรูปสามเหลี่ยม ส่วนที่เป็นบ้านพักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์มีอาคารหลายหลังและประดับรอบบ้านด้วยน้ำพุ มีห้องใต้ดิน ส่วนบ้านพักของราชทูตเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน

ที่สำคัญคือ โบสถ์ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนาประดับกระจกสี ภายในมีแท่นบูชา มีเสาปลายเป็นรูปกลีบบัวยาวเป็นศิลปะแบบไทย โบสถ์หลังนี้ถือกันว่าเป็นโบสถ์คริสต์หลังแรกในโลกที่ตกแต่งด้วยลักษณะทางศิลปะแบบพระพุทธศาสนา

เมื่อพระเพทราชาและกลุ่มขุนนางคิดก่อการปฏิวัติ ฟอลคอนหรือเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ยังคงพำนักอยู่ในบ้านแห่งนี้ แต่มีความหวาดระแวงอยู่มาก เพราะให้ทหารฝรั่งเศส 4-5 นาย เป็นทหารอารักขาความปลอดภัย ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2231 พระเพทราชาสั่งให้ทหารไปตามฟอลคอน โดยแจ้งว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯทรงต้องการให้เข้าเฝ้าฯ แต่เมื่อเข้าประตูไปนั้นได้พบกับพระเพทราชาที่ดักรออยู่แล้ว ฟอลคอนถูกจับกุมไปทรมานและประหารชีวิตในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2231

โบสถ์ในบริเวณบ้านวิชาเยนทร์

รวมถึง “ประตูเพนียด” โบราณสถานสำคัญอีกแห่ง เป็นประตูเมืองโบราณขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเพนียดคล้องช้าง ปัจจุบันอยู่ในบริเวณค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีความสมบูรณ์ สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยเป็นประตูเมือง 1 ใน 2 แห่ง คือ ประตูชัยและประตูเพนียด ที่ยังหลงเหลือหลักฐานมาถึงในปัจจุบันของเมืองลพบุรี

นอกจากนี้ ในบริเวณนี้ยังมีร่องรอยเนินดินของเพนียดคล้องช้างปรากฏอยู่ โดยเพนียดคล้องช้างที่เมืองลพบุรีนี้ใช้ในการคล้องช้างของพระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยามาหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้โปรดฯให้มีการคล้องช้างให้กับราชทูตได้ชมที่เพนียดแห่งนี้

สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แต่ละแห่งในเมืองละโว้ ล้วนวิจิตรและทรงคุณค่า คุ้มค่าแก่การไปเยี่ยมเยือนยิ่งหนาออเจ้า

ประตูเพนียด

“มติชน อคาเดมี” พาร่วมทริปย้อนเวลาไปเฝ้าขุนหลวงนารายณ์ ณ เมืองละโว้ ตามรอยขุนศรีวิสารวาจากับแม่หญิงการะเกด สู่ราชธานีแห่งที่ 2 ไปกับ รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี ปรมาจารย์ประวัติศาสตร์กรุงเก่า วันที่ 29 เมษายน 2561

ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์จากโบราณสถานสำคัญ อาทิ ประตูเพนียด พระที่นั่งไกรสรสีหราช หรือพระที่นั่งเย็น วัดสันเปาโล วัดที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางคริสต์ศาสนา กำเนิดหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งแรกของสยาม และเป็น 1 ใน 3 ของหอดูดาวที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

จากนั้น มุ่งหน้าสู่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระราชวังที่ใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง ก่อนมุ่งหน้าสู่บ้านหลวงรับราชทูตวิชาเยนทร์ สถานที่รับรองราชทูต และเป็นบ้านพักของคอนสแตนติน ฟอลคอน หรือเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

สนใจติดต่อมติชน อคาเดมี โทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2123, 2124, 08-2993-9097 ID Line @m.academy

ถึงแม้ละครบุพเพสันนิวาสจะลาจอไปแล้ว แต่เรื่องราวประวัติศาสตร์ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหลายเรื่องยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจและชวนหาคำตอบ

โดยเฉพาะบางคำถามของแม่การะเกด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ทูตฝรั่งเศสไม่หมอบกราบถวายสาส์น หรือเรื่อง พระนารายณ์ตอบเรื่องเข้ารีต และ ลูกพระนารายณ์จริงๆแล้วมีกี่คน? มาฟังคำตอบจาก รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี ก่อนไป ทัวร์ย้อนเวลาพา “ออเจ้า” ไปเฝ้า “ขุนหลวงนารายณ์” เมืองละโว้ (ลพบุรี) กับ มติชนอคาเดมี 28-29 เม.ย.นี้

“ความสนุกของประวัติศาสตร์อยุธยาอยู่ที่ว่า ข้อมูลแต่ละข้อมูลเปลี่ยนได้ตลอดเวลา เมื่อเราหาหลักฐานหรืออะไรต่างๆ ที่มาเจอใหม่ แต่ว่าเราต้องใจกว้าง เพราะว่าถ้าเรียนประวัติศาสตร์แล้วทำใจแคบ แปลว่าเรายึดสิ่งนั้นเป็นสรณะไปแล้ว ถ้าอย่างนั้นประวัติศาสตร์จะหยุดนิ่งแล้วก็ตาย” รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี
.
รวมบรรยากาศความประทับใจทัวร์ ดูละครบุพเพสันนิวาส ดูประวัติศาสตร์อยุธยา รอบแรก เมื่อวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา ที่นอกจากจะสนุก ยังเต็มอิ่มไปด้วยสาระความรู้ของประวัติศาสตร์อยุธยาที่ชวนค้นหาได้อย่างไม่รู้จบ…

สนใจทัวร์ประวัติศาสตร์กับมติชนอคาเดมี ติดตามได้ที่เพจ Matichon Academy และ เพจ ทัวร์มติชนอคาเดมี เราจะอัพเดทโปรแกรมทัวร์ล่าสุดและข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมที่น่าสนใจ

รับจัดทัวร์แบบ PrivateTour และ VIPTour ในเส้นทางศิลปวัฒนธรรม และเส้นทางทัวร์สายเกษตร

สนใจติดต่อ
0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097
หรือ line @m.academy

ผ่านไปเรียบร้อยแล้วสำหรับทัวร์ “ดูละครบุพเพสันนิวาส ดูประวัติศาสตร์อยุธยา” ที่พาทุกคนไปร่วมย้อนอดีตตามรอยตัวละครดังอย่าง “แม่การะเกด” เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นรอบแรก โดยรอบที่สองจะจัดขึ้นในวันที่ 31 มีนาคมนี้

บรรยากาศงานนี้เรียกได้ว่าเต็มอิ่มความรู้ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาจาก รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี ที่เล่าให้ฟังทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปะและวัฒนธรรมของยุคกรุงศรีฯ ที่ถึงแม้อากาศจะร้อน แต่ก็ไม่มีใครหวั่น

ส่วนมื้อเที่ยงจัดเต็มที่ร้านอาหารบ้านวัชราชัยด้วยเมนูเด็ดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปลาช่อนเผา น้ำจิ้ม 3 รส, ขนมจีนน้ำพริก, แกงส้มผักรวมกุ้ง, น้ำพริกมะม่วงปลาซิวอด, ยำถั่วพู, มะม่วงน้ำปลาหวาน ตบท้ายด้วยขนมหวานอย่างขนมใส่ไส้และน้ำเย็นๆ ชื่นใจอย่างน้ำใบเตย