แฟรนไชส์น้ำเต้าหู้ปั่น ถ้าขยัน ขายได้ทั้งกลางวัน กลางคืน มีทุนหลักหมื่นเปิดร้านได้

ธุรกิจอาหาร มีหลายคนอยากเป็นเจ้าของ แฟรนไชส์น้ำเต้าหู้ปั่น อาจเป็นตัวเลือกน่าสนใจ เพราะทราบมาว่า ใช้เงินลงทุนหลักหมื่นเปิดร้านได้แล้ว แถมใครขยัน อาจเปิดขายได้ทั้งกลางวัน กลางคืน ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไร  คุณเป้-กันต์กร ตั้งมงคลกิจการ เจ้าของแฟรนไชส์ วัย 28 ปี  มีข้อมูลมาแจงให้ฟัง

คุณเป้ บอกว่า แฟรนไชส์น้ำเต้าหู้ปั่น ของเขานั้น เป็นการแตกไลน์สินค้ามาจาก ชานมไข่มุก บรรจุกระป๋อง แบรนด์ UPCHA  BEGIN (อัพชา บีกิน) ที่เขาและคุณมะเหมี่ยว-ภรรยา ช่วยกันเริ่มต้นและดำเนินกิจการมาได้ราวสองปีแล้ว โดยปัจจุบันมีแฟรนไชส์ชานมไข่มุก อัพชา บีกิน กระจายอยู่ทั่วประเทศราว 50 สาขา

“แฟนขายของออนไลน์ ส่วนผมชอบกินชาไข่มุก เลยช่วยกันคิด ลองทำแบรนด์ชานมไข่มุก ออกมาดีมั๊ย ก่อนไปเรียนการทำชา ทางออนไลน์ เป็นสูตรจากเชฟท่านหนึ่ง ที่ใส่น้ำแข็งเหมือนทั่วไป เลยยังไม่ทำออกขาย เพราะชาไข่มุก ในท้องตลาดมีนับร้อยแบรนด์ เราเป็น น้องใหม่ เกิดยากแน่แลย ถ้าไม่มีความต่าง”คุณเป้ ย้อนจุดเริ่ม

ก่อนบอก ความต่างที่ต้องการฉีก ไปจากชาไข่มุกใส่น้ำแข็งทั่วไป สำหรับเขา คือ การทำชาไข่มุกสูตรหวานพอดี ที่แช่เย็นแล้วเปิดกินได้เลย ไม่ต้องใส่น้ำแข็ง แล้วบรรจุอยู่ในกระป๋องปิดฝา ก่อนตั้งชื่อแบรนด์ ว่า  UPCHA  BEGIN (อัพชา บีกิน) ที่สั้น กระชับ มีความหมายฟังแล้ว เหมือน “ของขาด” ต้องอัพ กันหน่อย

แต่กว่าจะได้ชาไข่มุก สูตรหวานพอดีไม่ต้องพึ่งน้ำแข็งอย่างที่เขาว่านั้น ไม่ง่ายเหมือนกัน ต้องแกะสูตรเดิม แล้วนำมาปรับใหม่ ทำแล้ว เททิ้ง เททิ้ง ไม่รู้กี่รอบ

ส่วนการเริ่มต้นขาย ด้วยมีทุนไม่มาก คุณเป้จึงใช้วิธีการจ้างให้คนทำกราฟิก ออกแบบแพ็กเกจชานมดังกล่าว ก่อนยิงแอด (โพสต์ข้อความประชาสัมพันธ์บนเพจเฟซบุ๊ก) ปรากฏมีคนให้ความสนใจกันมาก สอบถามกันเข้ามาว่าขายแฟรนไชส์หรือเปล่า สุดท้ายสามารถปิดการขายได้ถึง 50 ราย ทั่วประเทศ

เมื่อมีกิจการแฟรนไชส์ชานมไข่มุกแล้ว คุณเป้ และภรรยา ก็ไม่หยุดนิ่ง พยายามหาสินค้าอื่นมาลงเพิ่มให้กับ  แฟรนไชส์ อย่าง บราวนี่ เอแคลร์ แต่ไม่ค่อยเวิร์กเท่าไหร่ กระทั่งเมื่อราว 6 เดือนก่อน จึงตัดสินใจแตกไลน์สินค้า เป็น แฟรนไชส์น้ำเต้าหู้ปั่น ภายใต้แบรนด์ อัพชา

“ตอนทำชาไข่มุก มีลูกค้าสายสุขภาพ มาถามไถ่กันเยอะ ใช้ครีมเทียมรึเปล่า หวานมากมั้ย เลยเกิดความคิดขายน้ำเต้าหู้ดีกว่า คนกินกันทุกวัน แต่ติดตรงอาจขายได้แค่เช้ากับกลางคืน หรือหน้าหนาวกับหน้าฝน สุดท้าย ตัดสินใจขายสามแบบ เย็น ร้อน ปั่น จะได้ขายได้ทั้งกลางวัน กลางคืน ขายได้ทั้งปี ไปเลย” คุณเป้ บอกยิ้มๆ

นอกเมือง ในเมือง กำลังซื้อต่าง

มีสูตรชานมไข่มุกอยู่กับตัวแล้ว การต่อยอดมาเป็นสูตรน้ำเต้าหู้ จึงไม่ยากเย็นเท่าไหร่นัก หาความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตอีกนิดหน่อยลงตัวไม่ยาก จากนั้น จึงมองหาโรงงานที่รับจ้างผลิต ผงน้ำเต้าหู้ ให้ เป็นอันผ่านขั้นตอนยากที่สุด

“คนที่จะลงทุนธุรกิจนี้ ในยุคนี้ ผมว่าไม่มีใครจะตื่นมาคัดถั่วเหลือง ต้มถั่วเหลือง คั้นถั่วเหลือง ตอนตีหนึ่ง ตีสอง หรอก ฉะนั้น โจทย์แรกเลย คือ ต้องทำเป็นผงน้ำเต้าหู้ เพื่อกระจายให้แฟรนไชส์ ทำต่อ และด้วยความที่มีทุนไม่มาก เลยออกแบบกราฟิก เหมือนครั้งขายแฟรนไชส์ชานมไข่มุก แล้วยิงแอดเหมือนเดิม ปรากฏมีคนสนใจติดต่อขอซื้อ 50 ราย ภายในเวลารวดเร็ว” คุณเป้ เล่าให้ฟัง

สำหรับเงื่อนไขเข้าร่วมแฟรนไชส์ น้ำเต้าหู้ปั่น By อัพชา บีกิน นี้ คุณเป้ บอก แฟรนไชส์จ่าย 35,000 บาท รับไปเลย สูตรการทำวัตถุดิบเริ่มต้น และเซตอุปกรณ์ พร้อมขาย เพียงไปหาซื้อถังแก๊สอย่างเดียว เปิดร้านได้เลย ไม่มีการหักเปอร์เซ็นต์จากการขายเป็นรายเดือน แต่มีค่าลิขสิทธิ์แบรนด์เป็นรายปี คิดปีละ 2 หมื่นบาท ส่วนทำเลที่ตั้ง แต่ละร้าน อยากให้ห่างกันอย่างน้อย 5 กิโลเมตร แต่ถ้าทำเลไหนผู้คนหนาแน่น อาจห่างกัน 2-3 กิโลเมตร

“แฟรนไชส์ สามารถเลือกเครื่องน้ำเต้าหู้ลงในร้านเองได้ ทางต้นสังกัด จะขายแต่แก้วและผงน้ำเต้าหู้ให้ ส่วนการคืนทุนได้เมื่อไหร่นั้น อาจระบุยาก ขึ้นอยู่กับทำเล ถ้านอกเมือง อาจคืนทุนไม่ไวเท่าในเมือง เพราะกำลังซื้อไม่เหมือนกัน” คุณเป้ ว่าอย่างนั้น

และว่า แฟรนไชส์น้ำเต้าหู้ปั่น ของเขา มีการตั้งราคากลางไว้ที่ ร้อน 25 บาท เย็น 30 บาท และ ปั่น 35 บาท แต่ถ้าแฟรนไชส์ไหนไปเปิดในห้าง สามารถบวกราคาเพิ่มได้ เพราะค่าเช่าที่ น่าจะแพงกว่าตามแหล่งชุมชน

“สินค้านี้ เหมาะสำหรับคนรักษ์สุขภาพ ทุกเพศทุกวัย ผลตอบรับตอนนี้ ทั้ง 30-40 เจ้า ที่ซื้อแฟรนไชส์ไป ถือว่า โอเคเลย วันนึงขายได้ 100-200 แก้ว” คุณเป้ บอกมา

และว่าส่งท้าย

“สิ่งที่ตั้งใจกับธุรกิจนี้ คือ อยากมีหลายร้อยสาขา ฝากคนที่สนใจด้วยครับ”

แฟรนไชส์น้ำเต้าหู้ปั่น By อัพชา บีกิน ช่องทางติดต่อ @upcha https://lin.ee/l37Zvcr และ โทร. 083-662-8962, 081-428-7829

ที่มา : เส้นทางเศรษฐีออนไลน์

คุณเป้ เจ้าของเรื่องราว
น่าทาน

การนำ “โมเดลธุรกิจ” แฟรนไชส์มาช่วยต่ออาชีพให้กับผู้มีรายได้น้อย เป็นหนึ่งนโยบายของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์มอบหมายให้ “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า ในปัจจุบันไทยมีธุรกิจแฟรนไชส์ 1,807 ราย เป็นนิติบุคคล 1,517 ราย และเป็นบุคคลธรรมดา 290 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นประเภทค้าปลีก รองลงมาเป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริการ การศึกษา และความงามและสปา

“นายสาโรจน์ สุวัตถิกุล” รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า กรมได้ส่งเสริมแฟรนไชส์ใหม่ ภายใต้หลักสูตร Franchise B2B ระยะเวลา 120 ชั่วโมงในการฝึกอบรม ซึ่งขณะนี้ดำเนินการมา 20 รุ่น รับสมัครรุ่นละ 50 คน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

สำหรับหลักสูตรนี้ มี 6 หมวด คือ 1.พื้นฐานธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ การออกแบบธุรกิจให้ตรงตามความต้องการของตลาด สามารถนำข้อมูลทางบัญชีมาวิเคราะห์ทิศทางธุรกิจ และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเติบโตธุรกิจ

2.การวางแผนกลยุทธ์และการสร้างคู่มือในระบบแฟรนไชส์ หลักการบริหารจัดการร้านต้นแบบ และคู่มือปฏิบัติงานในระบบแฟรนไชส์เพื่อควบคุมการทำงานให้มีคุณภาพเหมือน ต้นฉบับ 3.การบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ กลยุทธ์การสร้างแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จมีมาตรฐาน การกำหนดค่าธรรมเนียม และทำตลาดผ่าน e-Commerce

4.การวางแผนทางการเงินและภาษีอากร 5.สัญญาแฟรนไชส์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 6.กลยุทธ์การตลาด การสร้างแบรนด์และขยายธุรกิจ

ทั้งนี้ กรมเปิดรับสมัครผู้สนใจฝึกอบรมรุ่นที่ 21 ตั้งแต่ขณะนี้จนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม เพื่อรับการอบรมในเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2561

 


ที่มา นสพ.ประชาชาติธุรกิจ

นา งกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์(พณ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยได้รับการยอมรับและมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อ เนื่อง แต่การจะเติบโตเป็นแฟรนไชส์ที่เข้มแข็งได้นั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความพร้อมด้านการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐาน ซึ่งจะสามารถช่วยในการพัฒนาธุรกิจให้ขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว แต่การจะผลักดันธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์และประสบความสำเร็จได้นั้นไม่ใช่ เรื่องง่าย เพราะแฟรนไชส์ที่จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งนั้น ต้องผ่านการวางรากฐานที่แข็งแรง ตั้งแต่วิธีคิด กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ร้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ

กรมฯ ได้เปิดหลักสูตรการสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ (Franchise B2B)จะช่วยสร้างการยอมรับและเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้ประกอบการ จะต้องสร้างลักษณะเฉพาะของสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของ ลูกค้า ตลอดจนต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน นอกจากนี้การพัฒนายกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน”

โดย ปีนี้ กรมฯ มีการปรับหลักสูตรให้มีความเข้มข้นและกระชับมากยิ่งขึ้น ทั้งความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า กฎหมายลิขสิทธิ์ สัญญาอนุญาตให้ใช้งานลิขสิทธิ์ สัญญาแฟรนไชส์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้ การบริหารจัดการซื้อรูปแบบ Chain Store เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างถูกต้อง สามารถนำแนวทางระบบแฟรนไชส์ไปใช้ในการขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาศักยภาพองค์กร ให้สามารถขยายโอกาสทางการตลาดธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ได้อย่างกว้างขวาง และสร้างความเข้มแข็งสู่สากล

“ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นสาขาธุรกิจที่สร้าง มูลค่าทางเศรษฐกิจ และช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาและขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว สามารถลดข้อจำกัดและสร้างความได้เปรียบในด้านแหล่งทุนและบุคลากร ที่จะมาร่วมสร้างความเจริญเติบโตให้กับองค์กร และสร้างผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ให้มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าและเร็ว กว่าการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตนเอง ”

ทั้งนี้ มีผู้สำเร็จหลักสูตรแล้ว 20 รุ่น รวม 1,807 ราย ประกอบด้วยธุรกิจค้าปลีก 763 ราย คิดเป็น 42% ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 466 ราย คิดเป็น 26 % 3.ธุรกิจบริการ 404 ราย คิดเป็น 22% 4.ธุรกิจการศึกษา 89 ราย คิดเป็น 5% 5.ธุรกิจความงามและสปา 85 ราย คิดเป็น 5% โดยรุ่น 21 ได้เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ถึง 25 พฤษภาคม ที่ E-mail : [email protected] และ www.dbd.go.th