การนำ “โมเดลธุรกิจ” แฟรนไชส์มาช่วยต่ออาชีพให้กับผู้มีรายได้น้อย เป็นหนึ่งนโยบายของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์มอบหมายให้ “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า ในปัจจุบันไทยมีธุรกิจแฟรนไชส์ 1,807 ราย เป็นนิติบุคคล 1,517 ราย และเป็นบุคคลธรรมดา 290 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นประเภทค้าปลีก รองลงมาเป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริการ การศึกษา และความงามและสปา

“นายสาโรจน์ สุวัตถิกุล” รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า กรมได้ส่งเสริมแฟรนไชส์ใหม่ ภายใต้หลักสูตร Franchise B2B ระยะเวลา 120 ชั่วโมงในการฝึกอบรม ซึ่งขณะนี้ดำเนินการมา 20 รุ่น รับสมัครรุ่นละ 50 คน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

สำหรับหลักสูตรนี้ มี 6 หมวด คือ 1.พื้นฐานธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ การออกแบบธุรกิจให้ตรงตามความต้องการของตลาด สามารถนำข้อมูลทางบัญชีมาวิเคราะห์ทิศทางธุรกิจ และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเติบโตธุรกิจ

2.การวางแผนกลยุทธ์และการสร้างคู่มือในระบบแฟรนไชส์ หลักการบริหารจัดการร้านต้นแบบ และคู่มือปฏิบัติงานในระบบแฟรนไชส์เพื่อควบคุมการทำงานให้มีคุณภาพเหมือน ต้นฉบับ 3.การบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ กลยุทธ์การสร้างแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จมีมาตรฐาน การกำหนดค่าธรรมเนียม และทำตลาดผ่าน e-Commerce

4.การวางแผนทางการเงินและภาษีอากร 5.สัญญาแฟรนไชส์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 6.กลยุทธ์การตลาด การสร้างแบรนด์และขยายธุรกิจ

ทั้งนี้ กรมเปิดรับสมัครผู้สนใจฝึกอบรมรุ่นที่ 21 ตั้งแต่ขณะนี้จนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม เพื่อรับการอบรมในเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2561

 


ที่มา นสพ.ประชาชาติธุรกิจ

นา งกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์(พณ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยได้รับการยอมรับและมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อ เนื่อง แต่การจะเติบโตเป็นแฟรนไชส์ที่เข้มแข็งได้นั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความพร้อมด้านการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐาน ซึ่งจะสามารถช่วยในการพัฒนาธุรกิจให้ขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว แต่การจะผลักดันธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์และประสบความสำเร็จได้นั้นไม่ใช่ เรื่องง่าย เพราะแฟรนไชส์ที่จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งนั้น ต้องผ่านการวางรากฐานที่แข็งแรง ตั้งแต่วิธีคิด กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ร้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ

กรมฯ ได้เปิดหลักสูตรการสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ (Franchise B2B)จะช่วยสร้างการยอมรับและเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ ผู้ประกอบการ จะต้องสร้างลักษณะเฉพาะของสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของ ลูกค้า ตลอดจนต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน นอกจากนี้การพัฒนายกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน”

โดย ปีนี้ กรมฯ มีการปรับหลักสูตรให้มีความเข้มข้นและกระชับมากยิ่งขึ้น ทั้งความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า กฎหมายลิขสิทธิ์ สัญญาอนุญาตให้ใช้งานลิขสิทธิ์ สัญญาแฟรนไชส์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้ การบริหารจัดการซื้อรูปแบบ Chain Store เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างถูกต้อง สามารถนำแนวทางระบบแฟรนไชส์ไปใช้ในการขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาศักยภาพองค์กร ให้สามารถขยายโอกาสทางการตลาดธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ได้อย่างกว้างขวาง และสร้างความเข้มแข็งสู่สากล

“ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นสาขาธุรกิจที่สร้าง มูลค่าทางเศรษฐกิจ และช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาและขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว สามารถลดข้อจำกัดและสร้างความได้เปรียบในด้านแหล่งทุนและบุคลากร ที่จะมาร่วมสร้างความเจริญเติบโตให้กับองค์กร และสร้างผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ให้มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าและเร็ว กว่าการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตนเอง ”

ทั้งนี้ มีผู้สำเร็จหลักสูตรแล้ว 20 รุ่น รวม 1,807 ราย ประกอบด้วยธุรกิจค้าปลีก 763 ราย คิดเป็น 42% ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 466 ราย คิดเป็น 26 % 3.ธุรกิจบริการ 404 ราย คิดเป็น 22% 4.ธุรกิจการศึกษา 89 ราย คิดเป็น 5% 5.ธุรกิจความงามและสปา 85 ราย คิดเป็น 5% โดยรุ่น 21 ได้เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ถึง 25 พฤษภาคม ที่ E-mail : [email protected] และ www.dbd.go.th