ปฏิเสธไม่ได้ว่าภูมิทัศน์ของมนุษย์นั้นกำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในปี 2017 สิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นที่สุดออกแบบมาสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับความสงบและธรรมชาติ และนำเสนอโซลูชั่นที่ลดความแออัดของเมืองใหญ่

การออกแบบบ้านและที่อยู่อาศัยเรียกได้ว่ามีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดวิวของโลก ซึ่งแนวคิดของสถาปัตยกรรมเหล่านั้นก็เป็นคอนเซ็ปต์แห่งอนาคตที่คุณอาจไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน แต่กำลังจะกลายเป็นของจริงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ลองมาดูกันว่าในปีนี้มีการออกแบบอะไรที่น่าทึ่งที่สุดบ้าง!

เริ่มกันที่ “อาคารกลับหัว” ที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลก ส่วนฐานติดอยู่กับดาวเคราะห์อื่นๆ ที่โคจรอยู่รอบโลก ถือเป็นอาคารที่จะมีประโยชน์มากในวันที่พื้นโลกมีการอยู่อาศัยหนาแน่นเกินไป

ภาพจาก Futurism

ถัดมาคือ เดอะ นอติลุส อีโค-รีสอร์ท ที่การออกแบบได้แรงบันดาลใจมาจาก Fibonacci spiral โดยอาคารดังกล่าวยังติดตั้งเทคโนโลยีการปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์ และเครื่องมืออื่นๆ ที่ช่วยให้พืชเติบโตในสถาปัตยกรรม

ภาพจาก Futurism

บริเวณชายหาดประเทศนอร์เวย์ ยังมีแนวคิดในการก่อสร้าง ภัตตาคารใต้ทะเล ซึ่งภัตตาคารดังกล่าวยังเป็นที่วิจัยสิ่งมีชีวิตในทะเลด้วย ซึ่งการก่อสร้างคาดว่าจะเริ่มต้นในปลายปี 2018

ภาพจาก Futurism

อีกหนึ่งผลงานสุดตระการตาก็คือ “เดอะ บิ๊ก เบนด์” ที่ออกแบบโดย Oiio ตึกระฟ้าทรงโค้งที่ออกแบบมาจากจินตนาการว่าพื้นที่ว่างในนิวยอร์กลดลงเรื่อยๆ ทำให้ออกแบบฐานอาคารมาค่อนข้างเล็ก และเชื่อมสองอาคารด้วยส่วโค้งด้านบน ซึ่งสามารถจุคนได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ

ภาพจาก Futurism

การออกแบบที่อยู่อาศัยที่ทำจาก ตู้คอนเทนเนอร์ ถือว่าป๊อปปูลาร์สุดๆ ในปี 2017 ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมาจากไอเดียมินิมอล ซึ่งบ้านจากสิ่งที่ใช้ขนส่งนี้ก็มีการออกแบบรูปทรงและนวัตกรรมอย่างที่เห็นในภาพด้านล่าง ซึ่งมีกำหนดสร้างขึ้นในปี 2018 ที่ทางใต้ของแคลิฟอร์เนีย ซึ่งบ้านดังกล่าวจะถูกยกขึ้นได้ ทำให้เมื่อน้ำท่วมก็ไม่เสียหาย และเนื่องจากแต่ละห้องพักชี้ไปในทิศทางที่ต่างกัน ทำให้บ้านจะไม่ขาดแสงจากธรรมชาติ

ภาพจาก Futurism

หรือจะเป็นการออกแบบหมู่อาคารสำหรับท่าเรือในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ผสมผสานนวัตกรรมของสถาปัตยกรรมและโซลูชั่นพลังงานสีเขียว โดยออกแบบมาคล้ายกับปลากระเบนราหู นอกจากนี้ อาคารเหล่านี้ยังสามารถผลิตพลังงานจากโซลาร์เซลล์และพลังงานลมเท่าที่จำเป็นต้องใช้ได้อีกด้วย

ภาพจาก Futurism

สถาปัตยกรรมที่รูปทรงเหมือนปีกของหุ่นยนต์กันดั้มนี้เป็น “สะพานลอยได้” ซึ่งเป็นผลงานการทดลองออกแบบจาก Margot Krasojević ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลมองโกเลีย ซึ่งเป็นสะพานที่สามารถพับเก็บปีกละเคลื่อนย้ายไปที่อื่นได้

ภาพจาก Futurism

กลุ่มนักออกแบบเกาหลีใต้ยังออกแบบ “The Giant Sequoia Skyscraper” ในการแข่งขันแนวคิดตึกสูง eVolo ซึ่งผลงานชิ้นนี้ออกแบบมาให้สร้างตึกระฟ้าในต้นไม้ใหญ่ ที่จะเป็นแนวทางใหม่ในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ

ภาพจาก Futurism

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าผลงานการออกแบบทุกอันจะกลายเป็นจริงในอนาคต แต่วิทยาศาสตร์ก็สอนให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราจินตานาการในวันนี้อาจเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ ซึ่งหากมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ เช่น เทคโนโลยีไฮโดรโปรนิกส์, พลังงานหมุนเวียน และวัสดุขั้นสูง ไปใช้กับการสร้างอาคาร ก็จะเป็นสิ่งที่ดีต่อโลก