เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ที่ห้องโถง มติชนอคาเดมี หมู่บ้านประชานิเวศน์1 นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในเครือมติชน จัดเสวนาหัวข้อ “แผนยึดล้านนา” โดย รศ.ดร.เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและผู้เขียน “เปิดแผน ยึดล้านนา” นำเสวนา และ เอกภัทร เชิดธรรมธร เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

รศ.ดร.เนื้ออ่อน กล่าวว่า เดิมทีล้านนาเป็นอาณาจักรคู่ขนาน ไล่มาตั้งแต่ สุโขทัย อยุธยา มีอิสระและมีระบบการปกครองเป็นของตัวเอง วันหนึ่งที่อยุธยาตกเป็นของพม่า ล้านนาก็ตกเป็นของพม่าเช่นเดียวกัน ตกเป็นของพม่าประมาณ 200 กว่าปี ตระกูลเจ้ากาวิละและพี่น้องได้ร่วมกันรบกับกองทัพสยามจนสามารถขับไล่พม่าออกจากล้านนาได้สำเร็จ ใน พ.ศ. 2347

ล้านนาตะวันออก กับล้านนาตะวันตกแทบจะแยกจากกันโดยเด็ดขาด ความเป็นไปของล้านนาที่เมืองน่าแทบจะไม่รู้เลยว่าอีกฝั่งหนึ่งเป็นอย่างไร เพราะมีกฎหมายของเมืองแยกเป็น 2 กลุ่ม แบ่งพื้นที่ตามลุ่มน้ำ มีระบบการปกครอง กฎหมาย เศรษฐกิจเป็นของตัวเอง

“กลุ่มที่อยู่ล้านนาตะวันตก ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แต่ไม่มีเชียงรายกับแม่ฮ่องสอน เพราะคือเชียงใหม่ที่แยกออกมา พ.ศ. 2368 อังกฤษยึดพม่าตอนใต้ ตั้งโรงเรื่อยไม้ที่มะละเหม่ง ขยายธุรกิจการค้าไม้สักเข้ามาในล้านนา ซึ่งไม้ส่วนมากมาจากเชียงใหม่ การขยายตัวเข้ามาของอังกฤษในพม่า จึงเป็นที่หมายตาของอาณานิคมตะวันตก เมื่อมีคนเข้ามาเยอะก็มีเรื่องของความขัดแย้งกับคนพื้นเมือง เช่น ซื้อวัว ซื้อควาย เอาเงินไปแต่ไม่ให้ของ ขึ้นศาลไทยก็ไม่ได้เพราะเป็นคนต่างชาติ จึงสร้างปัญหาเรื่อยมา พอเริ่มมีการเข้ามาของอังกฤษในเรื่องไม้ จึงเป็นสาเหตุที่คิดว่าจะเอาอย่างไรดีกับล้านนา

สาเหตุของการรวมล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม อาณานิคมการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ค.ศ.ที่ 18 คือ 1. เศรษฐกิจ วัตถุดิบและตลาดระบายสินค้า 2. ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วิน กล่าวว่า คนที่อยู่รอดคือคนที่เข้มแข็ง คนที่แข็งแกร่งกว่าคือคนที่อยู่รอด 3. ยุทธศาสตร์การป้องกันผลประโยชน์ 4.การนำความเจริญไปสู่กลุ่มชนที่ล้าหลัง (พวกที่ไม่ใช่ฝรั่งทั้งหมด) วิธีคิดเหล่านี้มีผลกระทบเข้ามาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 พม่าแม้จะมียุทธวิธีและกองทัพแต่ก็ยังพ่ายแพ้ เสียเงิน เสียดินแดน ดังนั้นทางรอดก็คือสยามต้องปรับตัวรศ.ดร.เนื้ออ่อนกล่าว

รศ.ดร.เนื้ออ่อน กล่าวต่อว่า ประเทศราชล้านนามีความล้าหลังที่ต้องปรับเปลี่ยนคือ ป้องกันข้าศึก ขยายพระราชอาณาเขต และถวายบรรณาการ พ.ศ. 2417 รัชกาลที่ 5ให้ทำสนธิสัญญาสยามกับล้านนา มี 2 ฉบับ คือ สนธิสัญญาเชียงใหม่ 2417 และสนธิสัญญา เชียงใหม่ 2427 ข้าหลวงที่ถูกส่งเข้าไปคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร

2

ทรงเริ่มวางระบบเสนา 6 ตำแหน่ง แทนระบบการบริหารเดิม ช่วงเวลาที่เป็นจุดเปลี่ยน เช่น พระยาไกรโกษา สยามยกดินแดนหัวเมืองเงี้ยวและหัวเมืองกระเหรี่ยงทั้ง 13 เมืองให้อังกฤษ  พ.ศ. 2435 สยามเสียสิทธิเหนือดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง สยามปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2440 พระเจ้าอินทวิชยานนท์พิราลัย พระยาทรงสุรเดชถือโอกาสรวบอำนาจการคลัง

พ.ศ. 2445 เกิดกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ซึ่งในการปราบกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ล้านนาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม แต่ไม่ใช่ว่าล้านนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสยามอย่างเรียบร้อยและง่ายดาย คนยังไม่ภักดีเพราะมีหลายชาติพันธุ์มาก สิ่งนี้คือสิ่งที่รัฐควรเร่งปลูกฝังถึงขนาดแจกธงชาติไปประดับตามบ้าน เด็กตัวเล็กๆที่เข้าโรงเรียนคือเครื่องมืออย่างหนึ่งในการส่งผ่านความคิดนี้ จินตนาการความรู้ในหนังสือจะเป็นตัวหล่อหลอมให้เรารู้ว่าเราเป็นใคร บ้านอยู่ไหน ต้องภักดีกับใคร ความรู้เรื่องนี้ถูกส่งผ่านในหนังสือภูมิศาสตร์สยาม ความรู้ชุดนี้ถูกตอกย้ำไปเรื่อยๆ และวันหนึ่งก็ทรงพลังและมีประสิทธิภาพมากจนทำให้จินตนาการที่เรามี ว่าเราเป็นคนชาติเดียวกัน เราเป็นคนกลุ่มเดียวกัน เกิดขึ้นจริงๆ การที่คนล้านนามองว่า เราคือสยาม คือตัวชี้วัดแล้วว่าสิ่งที่สยามทำมาทั้งหมดตั้งแต่ตอนต้นสำเร็จแล้วรศ.ดร.เนื้ออ่อน กล่าว

4

สุขสันต์เทศกาลสงกรานต์ 2561

ณ เพลานี้ หลายๆท่านคงเล่นน้ำกันอยู่อย่างเพลินใจโดยใช้อุปกรณ์หลากหลายเป็นตัวช่วยในการสาดวัดความสุขสนุกสนาน

ย้อน เวลากลับไปเนิ่นนานกว่า 100 ปี มีการบันทึกภาพเก่าของอุปกรณ์ประกอบประเพณีสงกรานต์ ที่ไม่ได้มีแต่ในสยามประเทศ หากแต่เป็นวัฒนธรรมร่วมในแดนอุษาคเนย์ ไม่ว่าจะเป็น ลาว กัมพูชา พม่า และอื่นๆอีกหลายแห่งด้วยเหตุนี้ จึงมีการบันทึกถึงเรื่องราวของประเพณีดังกล่าวที่มีมานานนมเน

หนึ่งใน นั้น คือ สงกรานต์ในพม่า ผู้เคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีผู้วาดภาพเทศกาลสงกรานต์ในกรุงมัณฑะเลย์ ตีพิมพ์ ในหน้า 13 ของ หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของอังกฤษ ชื่อว่า THE GRAPHIC ฉบับวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1888 หน้า 13 เมื่อ ค.ศ.1888 หรือ พ.ศ. 2431 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทย

มีขนาด 14 X 10 นิ้ว แสดงภาพชาวต่างชาติขี่ม้า สันนิษฐานว่าเป็นทหารอังกฤษ ทำท่าปัดป้องสายน้ำจาก “กระบอกฉีด” ของเด็กและสตรีสวมชุดพื้นเมือง

สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือมติชน เห็นภาพนี้แล้วบอกว่า “ท่าทางฝรั่งขี่ม้าไม่สนุก แต่ผู้หญิงและเด็กสนุกมาก (ฮา)”

แล้วยังวิเคราะห์ต่อไปว่า กระบอกฉีดน้ำที่เห็นในรูปลายเส้นมี 2 แบบ

แบบหนึ่งเป็นกระบอกไผ่ทั่วไป

อีกแบบหนึ่งเป็นกระบอกน้ำเต้าสลักเป็นรูปนกหรือไก่

กระบอก ไผ่ฉีดน้ำสงกรานต์มีลูกสูบดูดน้ำเข้ากระบอก (ใช้วิธีเดียวกับหลอดเข็มฉีดยา) แล้วอัดฉีดน้ำพุ่งไปที่เป้าหมาย จากนั้น รำลึกถึงวัยเยาว์ครั้งยังเป็นเด็กชายสุจิตต์ วิ่งเล่นอยู่ที่หมู่บ้านลาวพวน ในจังหวัดปราจีนบุรี

“พ่อ เป็นลาวพวน เคยทำกระบอกฉีดน้ำอย่างนี้ ให้เล่นสงกรานต์ในดงศรีมหาโพธิ์ อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี แล้วเชื่อมาตลอดว่าเป็นงานประดิษฐ์ของคนดงคนดอนบ้านนอกคอกนาเท่านั้น คนที่อื่นเจริญกว่าเขาไม่เล่นอย่างนี้หรอก เพิ่งรู้เมื่อเห็นรูปนี้ ว่ากระบอกฉีดน้ำจากไม้ไผ่แท้จริงเป็นงานสร้างสรรค์ร่วมกันของคนสุวรรณภูมิใน อุษาคเนย์นับร้อยๆปีมาแล้ว” สุจิตต์กล่าว พร้อมตบท้ายว่า ภาพนี้ ยังทำให้คิดถึงคำอธิบายของครูบาอาจารย์ที่ว่า พฤติกรรมสาดน้ำอย่างก้าวร้าวรุนแรงเริ่มก่อนจากพม่า เพื่อแสดงออกทางการเมืองต่อต้านอังกฤษเจ้าอาณานิคม

“ไม่มั่นใจว่าความเข้าใจอย่างนี้จะเป็นไปได้ แต่คิดอย่างอื่นก็คิดไม่ออก จึงเอามาบอกเล่าสู่กัน” สุจิตต์กล่าว

สำหรับ นสพ. THE GRAPHIC ออกทุกวันเสาร์ พิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1869 (พ.ศ. 2412 ตรงกับสมัยต้น รัชกาลที่ 5) พิมพ์ต่อเนื่องมาจนปี 1932 (พ.ศ. 2475) รวม 3,266 ฉบับ ก่อตั้งโดย William Luson Thomas ศิลปินที่ประสบความสำเร็จในด้านภาพพิมพ์ (ที่มาภาพ : www.old-print.com)


ที่มา มติชนออนไลน์