นิคเคอิ เอเชียน รีวิว เว็บไซต์ข่าวเศรษฐกิจของญี่ปุ่นรายงานว่า บริษัท พานาโซนิค จะทำการปิดโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยภาย ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้และรวมการผลิตเข้ากับโรงงานที่ใหญ่ขึ้นในประเทศเวียดนามเพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

โดยโรงงานผลิตในไทยจะหยุดการผลิตเครื่องซักผ้าในเดือนกันยายนและตู้เย็น ส่วนตัวอาคารโรงงานผลิตเองจะทำการปิดตัวในเดือนมีนาคมปี 2564 ส่วนศูนย์การวิจัยและพัฒนาในพื้นที่ใกล้เคียงจะปิดตัวเช่นกัน ปัจจุบันมีพนักงานประมาณ 800 คนที่ทำงานที่โรงงานในกรุงเทพจะได้รับการให้ทางเลือก แต่จะได้รับความช่วยเหลือในการค้นหาตำแหน่งที่แตกต่างภายในกลุ่ม

ส่วนการย้ายไปเวียดนามนี้ พานาโซนิคต้องการลดต้นทุนผ่านการรวมการจัดหาชิ้นส่วน โดยโรงงานเวียดนามซึ่งตั้งอยู่นอกกรุงฮานอย จะเป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท สำหรับตู้เย็นและเครื่องซักผ้า ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ มีกำลังการผลิตส่วนเกิน

นิคเคอิ เอเชียน รีวิวมองว่า การย้ายโรงงานดังกล่าวสะท้อน ถึงบทใหม่ในอุตสาหกรรมภาคการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงปี 1970 ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นเปลี่ยนการผลิตในประเทศไปสิงคโปร์และมาเลเซีย

จากผลของค่าเงินเยนปรับตัวสูงขึ้น อย่างรวดเร็วหลังจากเปลี่ยน เป็นอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว จากนั้น การผลิตได้ย้ายไปหลายประเทศรวมทั้งไทย ในขณะที่ค่าจ้างของสิงคโปร์แพงขึ้นจนเกินไป บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหาที่ตั้งที่ถูกกว่าและหวังว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการที่มีศักยภาพสำหรับตู้เย็นเครื่องซักผ้าและไมโครเวฟในประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม

ปัจจุบันพานาโซนิคมีพนักงานอยู่ในเวียตนามราว 8,000 คน นอกเหนือจากผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่แล้วหน่วยในพื้นที่ยังผลิตสินค้าเช่น ทีวี โทรศัพท์ไร้สาย เครื่องชำระบัตร และอุปกรณ์ในภาคอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ พานาโซนิคกำลังอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างโดยมีเป้าหมายในการลดต้นทุนประมาณ 100 ล้านเยน (930 ล้านดอลลาร์) ภายในปีงบประมาณสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งกำลังพิจารณาการเปลี่ยนแปลงการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไป

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์

แม้เครื่องดื่มหลักของชาวญี่ปุ่นจะเป็นชาเขียว แต่กระแสนิยมกาแฟระดับไฮเอนด์ที่มาแรงในกลุ่มผู้บริโภคกำลังซื้อสูง พร้อมทุ่มทุนแลกกับกาแฟหอมกรุ่นตรงใจจนตลาดนี้เติบโตต่อเนื่อง 4 ปีซ้อนตั้งแต่ปี 2556-2560 ทำให้หลายธุรกิจ อาทิ ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หันมาสนใจปั้นสินค้า-บริการใหม่หวังชิงเม็ดเงินจากบรรดาคอกาแฟเหล่านี้

สำนักข่าว “นิกเคอิ” รายงานว่า ธุรกิจใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นหลายราย อาทิ มูจิ พานาโซนิค ลอว์สัน และเซเว่นอีเลฟเว่น พร้อมใจกันเดินหน้ารุกตลาดกาแฟระดับไฮเอนด์ หลังเทรนด์นี้แพร่หลายอย่างรวดเร็วในหมู่ผู้บริโภคระดับบน สะท้อนจากตัวเลขมูลค่าตลาดกาแฟแดนอาทิตย์อุทัยที่โตต่อเนื่อง 4 ปีจนแตะ 2.9 ล้านล้านเยนในปี 2560 รวมถึงการคาดการณ์กำไรของหลายธุรกิจในวงการ อาทิ ซันโทรี่ซึ่งวางเป้ากำไรของกาแฟบอส (Boss) ไว้ที่ 8 หมื่นล้านเยน เติบโต 2% หรือโคคา-โคลาที่ตั้งเป้ากำไรจากกาแฟจอร์เจีย (Georgia) ที่ 2.8 หมื่นล้านเยน เติบโต 14%

โดย “มูจิ” เชนร้านสินค้าไลฟ์สไตล์เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่เข้าสู่ตลาดนี้เมื่อปีที่แล้ว ด้วยเครื่องทำบด-ต้มกาแฟสำหรับครัวเรือนราคา 32,000 เยน หรือประมาณ 9,400 บาท ซึ่งทำยอดขายไปแล้วกว่า 25,000 เครื่องหลังเปิดตัวได้เพียง 9 เดือน เช่นเดียวกับ “พานาโซนิค” ซึ่งลอนช์เครื่องคั่วกาแฟระดับไฮเอนด์ราคา 100,000 เยน หรือกว่า 29,400 บาท เมื่อเดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว และขายไปแล้ว 200 เครื่อง

นอกจากนี้ บรรดาเชนร้านสะดวกซื้อที่เดิมเน้นกาแฟราคาถูกเริ่มหันมาอัพเกรดคุณภาพสินค้ากลุ่มนี้ให้สูงขึ้น โดย “เซเว่นอีเลฟเว่น” ประกาศเพิ่มความเข้มข้นของกาแฟแก้วละ 100 เยน ที่ชงขายในร้านขึ้นอีก 10% ในขณะที่ “ลอว์สัน” ทุ่มโปรโมตกาแฟพรีเมี่ยมแบบซิงเกิลออริจิ้นราคาแก้วละ 500 เยนของตนเองอย่างหนัก หวังลบภาพลักษณ์กาแฟราคาถูกที่อยู่คู่กับเชนร้านสะดวกซื้อมานาน พร้อมดึงดูดคอกาแฟระดับบนเข้ามาความเคลื่อนไหวนี้สะท้อนถึงการแข่งขันในตลาดกาแฟของญี่ปุ่นที่จะดุเดือดขึ้นหลังบรรดาผู้เล่นหน้าใหม่โดดเข้าร่วมวง และต้องรอดูกันว่าจะขยายขอบเขตออกไปนอกประเทศด้วยหรือไม่

ด้านธุรกิจร้านกาแฟและร้านอาหารเองมีการปรับตัวรับเทรนด์นี้เช่นเดียวกัน ด้วยการเพิ่มแบรนด์สำหรับรองรับกลุ่มไฮเอนด์โดยเฉพาะ เช่น บริษัทโดเตอร์ นิชิเรส โฮลดิ้ง (Doutor Nichires Holdings) ซึ่งเปิดกิจการเชนร้านกาแฟโดเตอร์มาตั้งแต่ช่วงปี 2523 ได้เพิ่มแบรนด์ใหม่ “ออสโลว์ คอฟฟี่” ร้านกาแฟสไตล์สแกนดิเนเวียน หวังสื่อภาพลักษณ์ของนอร์เวย์ที่เป็นผู้บริโภคกาแฟอันดับ 1 ของโลก และก่อนหน้านี้ เชนร้านอาหาร “ร้านสกายลาร์ค” (Skylark) ได้เปิดโมเดลคาเฟ่สไตล์รีสอร์ตไปเมื่อปี 2558 เช่นกัน


ที่มา นสพ.ประชาชาติธุรกิจ