กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไปว่า ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา คลื่นกระแสลมตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคง มีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 12:00 วันนี้ ถึง 12:00 วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ส่วนการคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 15 – 18 พ.ค. ประเทศไทยจะมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 19–20 พ.ค.ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น ข้อควรระวัง ในวันที่ 14 พ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไปว่า บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ แล้ว ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 12:00 วันนี้ ถึง 12:00 วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และศรีสะเกษ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

วันที่ 8 พ.ค. กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศประจำวัน พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองมากกว่าบริเวณอื่นๆ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 9-13 พฤษภาคม 2561 ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา บริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองมากกว่าบริเวณอื่นๆ สำหรับในช่วงวันที่ 9-13 พฤษภาคม 2561 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีลมใต้และ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

ภาคเหนือ อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก อากาศร้อนบางพื้นที่ กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

คลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้

ภาคเหนือ

มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก

มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ในช่วงวันที่ 26-27 เมษายน 2561 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 26-27 เมษายน 2561 ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่

มีผลกระทบตามภาคต่าง ๆ ดังนี้

ในวันที่ 26 เมษายน 2561

ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในวันที่ 27 เมษายน 2561

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์

ภาคกลาง : จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 11.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 17.00 น.

เมื่อวันที่ 24 เม.ย. กรมอุตุนิยมวิทยา เผยประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 24-27 เมษายน 2561)” ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 24 เมษายน 2561 ในช่วงวันที่ 24-27 เมษายน 2561 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยมีผลกระทบตามภาคต่างๆ ดังนี้

ในวันที่ 24 เมษายน 2561 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ในช่วงวันที่ 25 เมษายน 2561 ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในช่วงวันที่ 26 เมษายน 2561 ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในวันที่ 27 เมษายน 2561 ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์

ภาคกลาง : จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงบริเวณประเทศจีนตอนใต้ และเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่า จะแผ่เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในคืนวันนี้ (24 เม.ย. 2561) และจะแผ่ขยายเข้าปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในวันที่ 25-27 เมษายน 2561 ในขณะที่ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยจะมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

 

ที่มา ข่าวสดออนไลน์

กรมอุตุฯประกาศเตือนพายุฤดูร้อนอีกระลอก วันที่ 15-18 เม.ย.บริเวณ ไทยตอนบน อีสาน-ตะวันออกกระทบก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลางรวมถึงกทม.และปริมณฑล กระทบตามมา ขณะที่อากาศโดยรวม จะร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดขึ้นไปถึง 40 องศา

โดยประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 15-18 เมษายน 2561)”  ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 15 เมษายน 2561 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออก จะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะได้รับผลกระทบ

ในวันพรุ่งนี้ (16 เมษายน 2561) จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิต ทางการเกษตรไว้ด้วย โดยมีผลกระทบดังนี้

ในวันที่ 15 เมษายน 2561 
ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในช่วงวันที่ 16-17 เมษายน 2561

ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร ตาก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง

รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึง ประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว และคาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันนี้ (15 เม.ย. 61) ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 7 เมษายน 2561)” ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 07 เมษายน 2561 ระบุว่า

บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในภาคเหนือและภาคกลาง ระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า ลูกเห็บตก และควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขัง และน้ำป่าไหลหลาก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรต่อไปอีกหนึ่งวัน

โดยจะมีผลกระทบตามพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
วันที่ 7 เมษายน 2561
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคใต้ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบนแล้ว ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 9 เมษายน 2561

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 5-7 เมษายน 2561) ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 05 เมษายน 2561 ระบุว่า

ในช่วงวันที่ 5-6 เมษายน 2561 ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกและมีฝนตกหนักบางพื้นที่

ส่วนในวันที่ 7 เมษายน 2561 ด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังคงมีฝนฟ้าคะนองได้ต่อเนื่อง ส่วนภาคใต้ตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้น สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกจะมีฝนลดลง

จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตกที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขัง และน้ำป่าไหลหลาก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบตามพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

ในวันที่ 5 เมษายน 2561
ภาคเหนือ: จังหวัดลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ มุกดาหาร ขอนแก่น และชัยภูมิ

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี

ในวันที่ 6 เมษายน 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในวันที่ 7 เมษายน 2561
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคใต้ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมถึงประเทศจีนตอนกลาง คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบนในวันนี้ (5 เม.ย. 61) และจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในช่วงวันที่ 5-7 เมษายน 2561 ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับในช่วงวันที่ 7-9 เมษายน 2561 ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย เริ่มจากทางใต้ ณ อ.เบตง จ.ยะลา ตรงกับวันที่ 4 เมษายน 2561 เวลาประมาณ 12:18 น. จากนั้นดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในแนวตั้งฉากกับพื้นที่ต่างๆ ของไทยไล่ลำดับขึ้นเหนือมาเรื่อยๆ สำหรับปีนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรตั้งฉากกับกรุงเทพมหานครในวันที่ 27 เมษายน 2561 เวลาประมาณ 12:16 น. จนกระทั่ง วันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับพื้นที่เหนือสุดของประเทศไทย ณ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เวลาประมาณ 12:17 น

นายศุภฤกษ์กล่าวว่า เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน ระหว่างแนวละติจูด 5-20 องศาเหนือ ประเทศที่อยู่ในบริเวณนี้จะมีวันที่ดวงอาทิตย์ผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะมาก ที่สุดปีละ 2 วัน โดยจะมีคาบการโคจรพาดผ่านแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัดของประเทศไทยจึงเห็นดวงอาทิตย์ผ่านเหนือศีรษะไม่พร้อมกันและใน ครั้งต่อไปดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่มาอยู่ในแนวตั้งฉากกับกรุงเทพฯ อีกครั้งช่วงฤดูฝนในวันที่ 16 สิงหาคม 2561 เวลาประมาณ 12.22 น.

“การที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลกทำให้ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ อย่างเต็มที่ แต่อุณหภูมิจะสูงที่สุดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปริมาณฝน เมฆ อิทธิพลจากมรสุม ความร้อนสะสมในบรรยากาศ ฯลฯ ก็อาจส่งผลต่ออุณหภูมิได้” นายศุภฤกษ์กล่าว

 


ที่มา มติชนออนไลน์