รศ.พิชญา สุ่มจินดา(ซ้าย) อ.ปริญญา สัญญะเดช (ขวา)

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 25 กันยายน ที่ห้องโถง ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน(มติชนอคาเดมี) มติชนอคาเดมี จัดเสวนา “ไขปริศนา เศียรใหญ่” ศิลปะหลังรัฐประหารสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยวิทยากร รศ.พิชญา สุ่มจินดา อาจารย์ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในประเด็น “ไขปริศนา เศียรใหญ่” ศิลปะหลังรัฐประหารสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และ อ.ปริญญา สัญญะเดช ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธไทยโบราณ ในประเด็น เศียรใหญ่ไม่ได้ถูกเผา แต่ถูกยิงด้วยปืนใหญ่

โดย รศ.พิชญา นำเสนอข้อสันนิษฐานใน 5 ประเด็น คือ 1.เศียรใหญ่ เคยประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญหรือไม่ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า เป็นไปได้ที่เศียรใหญ่อาจเคยประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ แต่ไม่รู้ว่าวิหารไหน โดยประเมินจากพระอุณาโลม 2.เศียรใหญ่ เคยเป็นพระพุทธรูปยืนหรือประทับและมีขนาดเท่าใด สันนิษฐานว่า เศียรใหญ่ถ้าเป็นพระยืน จะสูงไม่เกิน 8 เมตร หรือสูงสุดๆไม่เกิน 9 เมตร ถ้าเป็นพระนั่ง จะสูงไม่เกิน 5.52 เมตร เพราะฉะนั้นเศียรใหญ่ไม่มีทางเป็นพระศรีสรรเพชญได้เลย

3.เศียรใหญ่ มีพระพักตร์สอดคล้องกับพระพุทธรูปในช่วงที่สร้างพระศรีสรรเพชญหรือไม่ สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปปีใกล้เคียงกับช่วงที่หล่อพระศรีสรรเพชญหน้าตาไม่ใกล้เคียงกับเศียรใหญ่เลย 4.เศียรใหญ่ มีพระพักตร์สอดคล้องกับพระพุทธรูปในช่วงเวลาใด สันนิษฐานว่า เศียรใหญ่มีพระพักตร์ไม่สอดคล้องกับพระพุทธรูปที่สร้างช่วงเวลาเดียวกับพระศรีสรรเพชญ แต่สอดคลอ้งกับพระพุทธรูปที่สร้างใกล้รัชกาลพระเจ้าปราสาททอง อาทิ หลวงพ่อยอ มีจารึกพ.ศ. 2198 จึงเป็นไปได้ที่จะเป็นเศียรวัดป่าเลไลยก์ ช่วงพระเจ้าปราสาททอง

และ 5. เศียรใหญ่ เคยประดิษฐานที่ใดในวัดพระศรีสรรเพชญ สันนิษฐานว่า จากขนาดและความแข็งแรงของฐาน น่าจะอยู่ที่วิหารพระปาลิไลยก์

ด้าน อ.ปริญญา กล่าวว่า จากการศึกษาร่อยรอยที่เกิดจากกระสุนปืนใหญ่ พบว่าบริเวณหน้าพระอุโบสถและหน้าวิหารปาลิไลยก์ มีใบเสมาล้ม และร่องรอยจากกระสุนปืนใหญ่ ใบเสมาแตก หินแตกจากการปะทะ โดยเศียรใหญ่ที่พระศรีสรรเพชญ มีรอยบุบและกระแทกจากด้านซ้ายอย่างแรงและเร็ว วิถีกระสุนปืนใหญ่เข้ามาทางด้านข้าง แนวกระสุนเป็นวิถีโค้งมาจากวัดหน้าเมรุ ซึ่งเป็นที่ตั้งฐานหนึ่งของพม่า ในสงครามยิงปืนใหญ่กันเป็นพันเป็นหมื่นลูก บ่งชี้ว่าเศียรใหญ่ถูกยิงด้วยกระสุนปืนใหญ่ ซึ่งความยิ่งใหญ่ของอยุธยาเริ่มจากดินปืนและกระบอกปืน และจบด้วยดินปืนและกระบอกปืน

ทั้งนี้ หลังจากฟังเสวนา“ไขปริศนา เศียรใหญ่” ศิลปะหลังรัฐประหารสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แล้ว ในวันเสาร์ที่ 26 กันยายน 2563 ทัวร์มติชนอคาเดมี จะพาไป ทัวร์ ศิลปะหลังรัฐประหาร ของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จ.พระนครศรีอยุธยา นำชมโดย รศ.พิชญา สุ่มจินดา

ทริปนี้ คณะทัวร์จะได้ชม ศิลปะ วัด วัง ที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สร้างขึ้น ประกอบด้วย ปราสาทนครหลวง พระราชมณเฑียรที่ประทับในฤดูร้อน เดิมเชื่อว่าสร้างเลียนแบบปราสาทนครวัด แต่ปัจจุบันเชื่อว่าถ่ายจำลองและปรับปรุงแบบจากปราสาทบาปวนใกล้กับพระราชวังหลวง เมืองพระนคร ร่วมค้นหาว่าเหตุใดพระองค์จึงเลือกจำลองปราสาทบาปวนแทนที่จะจำลองปราสาทนครวัดที่ใหญ่โตและน่าจะมีความสำคัญมากกว่า

วัดหน้าพระเมรุ สันนิษฐานว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างเป็นพระอารามขนาดใหญ่ ชมความงดงามของ พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ขนาดใหญ่ที่สุดในศิลปะอยุธยา ปางมารวิชัย ภายในพระอุโบสถ ที่น่าจะมีนัยสื่อถึงสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในฐานะที่ทรงเป็นทั้งพระอนาคตพุทธเจ้าและพระเจ้าจักรพรรดิราช พร้อมชม พระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทสลักศิลา ภายในพระวิหารน้อย ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดพระเมรุ จ.นครปฐม แต่เดิมเคยประดิษฐานที่วัดมหาธาตุ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นต้นแบบให้กับการสร้างพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ในรัชกาลของพระองค์ซึ่งเริ่มสร้างเป็นพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทเช่นกัน

วัดไชยวัฒนาราม พระอารามสำคัญอันเปรียบได้กับเพชรยอดมงกุฎแห่งรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงสถาปนาเมื่อปลายรัชกาลบนสถานที่ถวายพระเพลิงสมเด็จพระราชชนนี พระอารามแห่งนี้มีความหมายถึง ‘ความรุ่งเรืองแห่งชัยชนะ’ พุทธสถาปัตยกรรมของที่นี่รวมความหมายทั้งคติจักรวาลตามคัมภีร์โลกศาสตร์พุทธศาสนา, คติทักษาตามคัมภีร์โหราศาสตร์และตำราพิชัยสงครามเข้าไว้ด้วยกัน

อ.ปริญญา สัญญะเดช

ชมปรางค์ประธานขนาดใหญ่ที่เคยหุ้มทองจังโกทั้งองค์ ล้อมรอบด้วยปรางค์มุมบริวารทั้ง 4 มุม และระเบียงคดที่เชื่อมเมรุทิศ ทั้ง 8 เข้าด้วยกัน พร้อมชมการวางตำแหน่งของพระอุโบสถ ที่สื่อถึงชมพูทวีปที่ตั้งของพระมหาโพธิบัลลังก์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงมีชัยเหนือพญามาราธิราช และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินทราย 3 องค์ เพื่อสื่อความหมายถึงพระอดีตพุทธเจ้า พระปัจจุบันพุทธเจ้า และพระอนาคตพุทธเจ้า ที่น่าจะหมายถึงพระองค์เองในอนาคต ซึ่งได้ตรัสรู้หรือจะมาตรัสรู้บนพระมหาโพธิบัลลังก์ศูนย์กลางแห่งชมพูทวีปดุจเดียวกัน

พระราชวังหลวง หรือพระราชวังโบราณ อยุธยา ชมร่องรอย พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ ที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างและพระราชทานนามไว้ว่า พระที่นั่งศิริยศโสธรพิมานบรรยงก์ ให้สอดคล้องกับนามของเมืองพระนคร หรือยโศธรปุระ อดีตราชธานีของกัมพูชา

วัดพระศรีสรรเพชญ์ อดีตวัดหลวงประจำพระราชวังโบราณ อยุธยา ชมปูนปั้นครุฑแบก สิงห์แบก ที่ฐานชุกชีในพระวิหารหลวง และที่ฐานของพระมณฑปหลังกลางระหว่างพระเจดีย์ประธานสามองค์ อันเป็นประจักษ์พยานของงานช่างตามแบบอย่างศิลปะกัมพูชา ก่อนจะถูกครอบไว้ด้วยฐานใหม่ในสมัยต่อมา จากนั้นชมพระวิหารพระปาลิไลยก์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้เคยทรงสร้างเป็นมณฑปเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ ด้วยความเชื่อว่าพระองค์เคยเสวยพระชาติเป็นช้างปาลิไลยก์ปรนนิบัติพระพุทธเจ้า

วิหารพระมงคลบพิตร แต่ก่อนมีนามเดิมว่า วัดสุมงคลบพิตร เข้านมัสการ พระมงคลบพิตร หรือพระนามอย่างเป็นทางการว่า พระสยมภูวญาณโมลี ภายในพระวิหาร ซึ่งแต่เดิมเป็นพระมณฑปที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างถวาย หลังจากชะลอพระพุทธรูปองค์นี้มาจากวัดพระชีเชียงของสมเด็จพระชัยราชาธิราช เพื่อสร้างความหมายใหม่ให้กับพระพุทธรูปองค์นี้ว่าเปรียบได้กับพระอนาคตพุทธเจ้า ในฐานะที่พระองค์จะทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตพระนามว่า พระสุมังคลพุทธเจ้า

🌈ชวนไปค้นหาร่อยรอยในอดีตก่อนกำเนิดกรุงศรีอยุธยา บริเวณบางบาลและคลองมหาพราหมณ์ กับ รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในทัวร์ “ยลวัดเก่านอกเกาะเมือง เล่าเรื่องก่อนกำเนิดกรุงศรีฯ” จ.พระนครศรีอยุธยา จัดโดยมติชนอคาเดมี 

🌅การเกิดกรุงศรีอยุธยา อาจมีทฤษฎีของนักประวัติศาสตร์ได้หลายทฤษฎี บางทฤษฎีบอกว่าพระเจ้าอู่ทองหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่1อาจจะมีที่มาจากหลายๆเมือง ตั้งแต่หัวเมืองเชียงแสนเป็นต้นมา และมักจะเชื่อกันว่าบริเวณฝั่งตะวันออกของอยุธยาที่เรียกว่า อโยธยา เป็นที่มาของการเกิดกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.1893  

🌠ในทางกลับกันบางทฤษฎีให้ความสำคัญกับโบราณสถาน เช่น พระเจดีย์หรือพระอุโบสถพระวิหาร ว่าถ้าเป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ก็มีร่องรอยของศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น หรือมักจะเรียกกันว่าสมัยอโยธยา 

🌄ในทางทิศตะวันตกของอยุธยาก็มีวัดต่างๆที่สำคัญ เช่น วัดขนอน วัดเก้าห้อง วัดกลาง หรือวัดอีกมากมายแถบคลองมหาพราหมณ์ ซึ่งวัดจำนวนมากแถบนี้มีสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ที่มติชนอคาเดมีจะพาทุกท่านมาชมคือ กลุ่มของใบเสมาขนาดใหญ่ ที่ทำด้วยหินทรายสีแดงและเชื่อกันว่ามีอายุเก่าถึงสมัยอยุธยาตอนต้นหรือก่อนกรุงศรีอยุธยา  

📚📒นักประวัติศาสตร์ศิลป์ เช่น น.ณ ปากน้ำ จะกำหนดอายุใบเสมาพวกนี้เป็นกลุ่มอู่ทอง-อโยธยา ทำให้เราตั้งข้อสันนิษฐานว่าฝั่งตะวันตกของเกาะเมืองอยุธยา แถบแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาที่อ.บางบาล และแถบคลองมหาพราหมณ์ซึ่งเป็นคลองสำคัญ เป็นกลุ่มของพื้นที่ที่อาจจะเป็นไปได้ ถึงการเกิดขึ้นก่อนของกรุงศรีอยุธยา ในปีพ.ศ. 1893 

🚌 ทัวร์ “ยลวัดเก่านอกเกาะเมือง เล่าเรื่องก่อนกำเนิดกรุงศรีฯ” จ.พระนครศรีอยุธยา เดินทางวันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2563 ราคา 2,000 บาท 

☎ สอบถามรายละเอียดหรือสำรองที่นั่งได้ที่ Inbox เฟซบุ๊กเพจมติชนอคาเดมี คลิก m.me/Matichon.Academy.Thailand 

โทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124 Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105 

line : @matichon-tour คลิก http://line.me/ti/p/%40matichon-tour line : @matichonacademy คลิก https://line.me/R/ti/p/%40matichonacademy 

#ทัวร์ศิลปวัฒนธรรม #มติชนอคาเดมี #ทัวร์มติชนอคาเดมี

อ.ปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลที่มีคุณูปการมากมายเหลือคณานับ เป็นบุคคลแรกที่ได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎร ผู้ก่อตั้งเสรีไทย อดีตรัฐมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้สร้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทัวร์ “120 ปีชาตกาล อ.ปรีดี พนมยงค์” จ.สระบุรี-ลพบุรี-พระนครศรีอยุธยา ของมติชนอคาเดมี ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14-15 มีนาคม 2563 จึงน่าติดตามไปอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้รู้จัก อ.ปรีดี มากขึ้นในด้านที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน

ที่สระบุรีและลพบุรี เกี่ยวข้องกับอ.ปรีดี ตรงที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎร โดยเฉพาะหนึ่งในคณะราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกและใกล้ชิดกับ อ.ปรีดี คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม อยากไปสร้างอนุสรณ์2500ปี เรียกว่าพุทธมณฑลขึ้นที่สระบุรี เพราะมีพระพุทธบาท แต่มตินี้แพ้โหวตในรัฐสภา พุทธมณฑลจึงไปสร้างที่นครปฐม จนเกิดพระปฐมเจดีย์

กษัตริย์อยุธยา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม ราชประเพณีต้องเสด็จพระพุทธบาทเป็นพระราชกรณียกิจ กษัตริย์ที่เสด็จไปจะต้องนั่งอยู่บนหลังช้าง เป็นระบำหลังช้าง กษัตริย์ต้องฟ้อนบนหลังช้างถวายเป็นพระพุทธบูชาแก่พระพุทธบาท เป็นงานใหญ่มาก เพราะฉะนั้นจากแนวความคิดของคณะราษฎร ถึงอยากจะกลับไปพุทธบาทอีก เราจะไปเริ่มต้นกันที่พระพุทธบาท

หลังจากนั้นเราจะไปที่ลพบุรี เขาบอกว่าเป็นเวสปอยท์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม คือสร้างเป็นเมืองทหาร พูดง่ายๆคือไอเดียความคิดของจอมพล ป.และอ.ปรีดี ซึ่งเป็นนักเรียนเก่าฝรั่งเศสก็เอามาสร้างเป็นเมืองอุดมคติ ประมาณว่าเราจะสร้างเมืองไทยให้เป็นอย่างนี้ คล้ายๆกับลพบุรีตั้งเป็นเมืองในอุดมคติ มีการวางผังเมือง มีการแบ่งโซน วงเวียนในเมืองไทยครั้งแรกที่ลพบุรี เป็นการจัดการจราจรแบบฝรั่งเศส ไม่มีสัญญาณไฟ สถาปัตยกรรมในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม จะเป็นวงเวียน เวลาจะเข้าถึงเกาะอยุธยา จะผ่านเจดีย์สามปลื้มเป็นวงเวียน เป็นผลงานของคณะราษฎร เราไปที่ลพบุรี ก็จะเห็นผลงานของคณะราษฎร

จากนั้นกลับมาอยุธยา บ้านเกิด อ.ปรีดี ไปวัดพนมยงค์ ตระกูล อ.ปรีดี อุปัฏฐากวัดนี้ ไปอนุสรณ์สถาน อ.ปรีดี ณ จุดนี้ มีกิมมิคเล็กๆ เราจะกินอาหารกลางวันกันที่อนุสรณ์สถาน อ.ปรีดี โดยเสิร์ฟเมนูที่ อ.ปรีดี ชื่นชอบหลายอย่าง กระซิบให้ฟัง 1 เมนู คือ ทอดมันปลากราย

พูดง่ายๆว่า นอกจากตามรอย อ.ปรีดี แล้ว ยังตามรอยอาหารที่ อ.ปรีดี ชื่นชอบทั้งคาวและหวานด้วย

จากนั้นจะไปที่วัดมงคลบพิตร ที่นี่เกิดเหตุการณ์สำคัญ แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง อ.ปรีดี กับสถาบันกษัตริย์ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในการถวายความปลอดภัยแก่เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง โดยเฉพาะในพระบรมมหาราชวัง เพื่อความปลอดภัยจึงทูลเชิญเสด็จไปประทับอยู่ที่บางปะอิน อ.ปรีดี ได้ตามไปดูแล หนึ่งในนั้นคือพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จไปวัดมงคลบพิตรเพื่อปิดทองและเกิดเหตุการณ์สำคัญมาก ซึ่งต้องไปฟังให้ได้

สุดท้ายเราจะไป ป้อมเพชร เป็นป้อมใหญ่ที่สุดที่รักษาเมืองอยุธยา แม่น้ำเจ้าพระยาที่มาจากปากอ่าวจะมาเจอป้อมเพชรก่อน แต่อีกนามหนึ่งนามป้อมเพชรกลายเป็นนามสกุลของบุคคลสำคัญ และหนึ่งในนั้นคือภรรยาของอ.ปรีดี เราจะไปดูว่าป้อมเพชรคืออะไร ทำไมจึงมีนามสกุล ณ ป้อมเพชร มีใครบ้าง แล้วใครอยู่หลังป้อมเพชร เป็นการพาไปตามรอยหลังบ้านอ.ปรีดี คือ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ด้วย

ทั้งหมดเป็นแค่ออเดิฟ ที่ อ.สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์อุษาคเนย์และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา หนึ่งในวิทยากรทริปนี้ เล่าให้ฟัง

ถ้าอยากไปฟังรายละเอียดเบื้องลึก อ.ปรีดี ที่หลายคนยังไม่เคยรู้ ต้องไปกับทัวร์“120 ปีชาตกาล อ.ปรีดี พนมยงค์” จ.สระบุรี-ลพบุรี-พระนครศรีอยุธยา ของมติชนอคาเดมี เดินทางวันที่ 14-15 มีนาคม 2563 ราคา 5,500 บาท

นำชมและบรรยายโดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ อ.สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอุษาคเนย์

**หมายเหตุ : เรามีระบบฆ่าเชื้อโรคและทำความสะอาดตลอดทริปการเดินทาง**

ติดต่อสอบถามรายละเอียด หรือสำรองที่นั่งได้ที่

inbox เฟซบุ๊กเพจมติชนอคาเดมี

โทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichon-tour

line : @matichonacademy

ครั้งแรกกับทริปพิเศษสุดเดือนกันยายน 62 ทัวร์ ‘ทวารวดี’ ปะทะ ‘เขมร’ วัฒนธรรมไฮบริดบนลุ่มน้ำชี จ.ชัยภูมิ-ขอนแก่น

สัมผัสวัฒนธรรมไฮบริดต้นลุ่มน้ำชี การผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเขมร กับ วัฒนธรรมทวารวดี

โดยการประชันของ2วิทยากรเป็นครั้งแรก ระหว่าง รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ที่จะมาบอกเล่าวัฒนธรรมเขมรต้นลุ่มน้ำชี กับ รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่จะมาบอกเล่าวัฒนธรรมทวารวดี ต้นลุ่มน้ำชี

เดินทาง2วัน1คืน วันเสาร์อาทิตย์ที่ 21-22 กันยายน 2562

โปรแกรมเดินทาง : https://bit.ly/2MDaLsO

สนใจติดต่อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสำรองที่นั่งได้มติชนอคาเดมี 

inbox เฟซบุ๊กเพจมติชนอคาเดมี

โทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichon-tour 

line : @matichonacademy 

ทัวร์ตามรอยศิลปะทวารวดี จ.นครปฐม-ราชบุรี

เดือนสิงหาคมนี้ มติชนอคาเดมี จะพาทุกท่านไป ตามรอยศิลปะทวารวดี จ.นครปฐม-ราชบุรี

ฟังเรื่องราวอารยธรรมทวารวดี ผ่านมุมมองและแนวคิดทางประวัติศาสตร์ศิลปะ โดยรศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง

พบกับ สุดยอด 5 แหล่งศิลปกรรมทวารวดี ที่ห้ามพลาด!!

-วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร ชมพระประโทณเจดีย์

-วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ชมองค์พระปฐมเจดีย์

-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี

-อุทยานหินเขางู

-วัดโขลงสุวรรณคีรี

เดินทางวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2562

ราคา 2,500 บาท

สนใจติดต่อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสำรองที่นั่งได้ที่ inbox เฟซบุ๊กเพจMatichon Academy – มติชนอคาเดมี

โทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichon-tour 

line : @matichonacademy 

ใคร? คือ “ขุนนาง” ผู้มีส่วนร่วมสร้างกรุงรัตนโกสินทร์???

237 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ มติชนอคาเดมีชวนร่วมทริปตามรอยประวัติศาสตร์ในทัวร์ “ขุนนาง (ผู้ร่วม) สร้างกรุงเทพฯ” กรุงเทพมหานคร กับ “รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี”

ฟังเรื่องราวการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีที่ “สะพานพุทธ” ชม “วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร” วัดที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลังได้อุทิศสวนกาแฟสร้างขึ้น

เยือน “วัดบุปผารามวรวิหาร” วัดที่ท่านผู้หญิงจันทร์ ภรรยาเอกของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) และเป็นมารดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ทำการปฏิสังขรณ์ พร้อมชมศิลปะสุดแปลกตา จิตรกรรมตะวันตกในวัดไทย!

นอกจากนี้ยังพาชมวัดอนงคารามวรวิหาร, วัดพิชยญาติการามวรวิหาร และมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สถานที่ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับขุนนาง “ตระกูลบุนนาค”

กำหนดเดินทางวันที่ 28 เมษายน 2562
นำชมและบรรยายโดย “รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี”

ราคา 2,000 บาท

คลิกอ่านรายละเอียดโปรแกรมได้ที่ https://bit.ly/2SMsb50

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสำรองที่นั่งได้ที่ inbox เฟซบุ๊กเพจมติชนอคาเดมี คลิก m.me/Matichon.Academy.Thailand
หรือโทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105
line : @matichon-tour คลิก http://line.me/ti/p/%40matichon-tour

เมืองชัยนาทบุรีมีอาณาเขตคลุม2ฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา คือรวมทั้งฝั่งตัวจ.ชัยนาทในปัจจุบันด้วย เพราะมีร่องรอยของวัดที่เกิดขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19-20 ลงมาหลายวัด เช่น วัดส่องคบ ที่พบจารึกที่เจ้าเมืองขุนเพชรสารสร้างสถูปบรรจุพระธาตุและเอ่ยชื่อเมืองใหญ่2เมืองในยุคนั้น คือเมืองสุพรรณภูมิและเมืองอโยธยา

เมืองชัยนาทที่ปากแม่น้ำน้อย คงเป็นเมืองบริวารของเมืองโบราณอีกแห่งหนึ่งอยู่ตามลำน้ำน้อยลงมาในเขต อ.สรรคบุรี คือเมืองสรรคบุรี หรือแพรกศรีราชา ซึ่งสรรคบุรีคงเป็นชื่อเมืองตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางลงมา แต่ก่อนหน้านี้คือแพรกศรีราชา

โบราณสถานที่พบโดยเฉพาะบรรดาพระสถูปเจดีย์เป็นของที่มีมาแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 18-19 ก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยา เป็นสถูปเจดีย์ในศิลปะแบบอโยธยา-สุพรรณภูมิ ที่พบในบริเวณเมืองสำคัญร่วมสมัย เช่น เมืองลพบุรี สุพรรณภูมิ และอโยธยา

เมืองแพรกศรีราชามีชื่อกล่าวถึงในจารึกสุโขทัยหลักที่1 ครั้งพ่อขุนรามคำแหงความสัมพันธ์กับทางสุโขทัยนั้น สะท้อนให้เห็นจากรูปแบบพระพุทธรูปปูนปั้นในซุ้มทิศของ “พระปรางค์วัดสองพี่น้อง” และพระสถูปทรงดอกบัวตูมในวัดโตนดหลายในเขตเมือง แต่ที่สำคัญเมืองแพรกศรีราชาเป็นถิ่นกำเนิดที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบอู่ทองที่มีความงดงามกว่าที่อื่นๆ

ในเขตวัดมหาธาตุอันเป็นวัดสำคัญกลางเมืองแพรกศรีราชา มีการนำพระพุทธรูปศิลาทั้งในแบบอู่ทอง ลพบุรี และทวารวดีมาตั้งไว้ตามระเบียงคด โดยเฉพาะพระพุทธรูปแบบทวารวดีและลพบุรีนั้นเป็นของที่ได้รวบรวมจากที่อื่นในละแวกใกล้เคียง

ในการสำรวจพบว่า บริเวณใต้เมืองแพรกศรีราชาลงมารวม4กิโลเมตร มีร่องรอยของเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีคูน้ำคันดินล้อมแห่งหนึ่งในเขตบ้านดงคอน แต่ปัจจุบันการสร้างถนนและคลองชลประทานผ่าน ได้ทำลายเมืองโบราณแห่งนี้จนหมดไป

ในการสำรวจศึกษาแต่ก่อนพบว่าชุมชนโบราณแห่งนี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำมีหนองและสระน้ำมากมาย มีโคกเนินโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า “โคกปราสาท” พบอิฐสมัยทวารวดีขนาดใหญ่กว่าที่เคยพบในแห่งอื่นๆ พบชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับฐานและพระสถูปรูปคนแคระ พบกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีสมัยลพบุรี แล้วพบตุ๊กตารูปสิงห์ ชิ้นส่วนภาชนะมีลวดลายสมัยทวารวดี ตะกรันเหล็กแวดินเผา ลูกปัดนานาชนิด

แต่ที่สำคัญคือ “เหรียญเงิน” แบบทวารวดีที่มีจารึกพระราชาและพระราชเทวีศรีทวารวดี รวมทั้งรูปลายสัญลักษณ์ต่างๆอีกมากมาย อันแสดงให้เห็นว่าเมืองโบราณแห่งนี้น่าจะเป็นเมืองสำคัญ เมื่อเมืองร้างไปแล้ว บรรดาศาสนาทั้งหลายได้ถูกโยกย้ายไปอยู่เมืองต่างๆในสมัยหลังลงมา

โดยเฉพาะเมืองแพรกศรีราชา ณ วัดพระแก้ว อันเป็นวัดนอกเมืองแพรกศรีราชาแห่งหนึ่ง ที่มีพระสถูปเจดีย์แบบอโยธยา-สุพรรณภูมิที่สวยที่สุดนั้น มีพระพุทธรูปหินทรายสีแดงตั้งเป็นพระประธานของพระวิหาร คนเรียก “หลวงพ่อฉาย” เป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองที่สลักขึ้นจากแท่งศิลาทรายที่เคยเป็นทับหลังของปราสาทของในสมัยลพบุรี นับเป็นโบราณวัตถุชิ้นหนึ่งที่น่าจะเคยเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมในเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่บ้านดงคอน

ความสำคัญของพระพุทธรูปหลวงพ่อฉายองค์นี้คือ การสะท้อนให้เห็นถึงการสืบเนื่องจากทับหลังสมัยลพบุรีลงสู่ศิลปะอู่ทองอันเป็นศิลปะของพระพุทธรูปในคติพุทธเถรวาทที่พัฒนาขึ้นแทนพุทธศาสนามหายานสมัยลพบุรี ในสมัยก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยา

จากความสัมพันธ์ของโบราณสถานวัตถุระหว่างเมืองดงคอนและเมืองแพรกศรีราชานี้ ทำให้อาจตีความได้ว่าเมืองแพรกศรีราชาน่าจะเป็นเมืองแต่พุทธศตวรรษที่ 18 ตอนปลาย ที่สืบทอดความสำคัญของบ้านเมืองสมัยทวารวดี-ลพบุรีจากเมืองดงคอน

การเกิดเมืองแพรกศรีราชานี้ สัมพันธ์กับการย้ายเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่เคยใช้มาแต่สมัยทวารวดีมายังลำแม่น้ำน้อย ที่สะท้อนให้เห็นว่าบรรดาบ้านเมืองในยุคหลังๆ จนถึงสมัยอยุธยานั้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามลำน้ำน้อยและลำน้ำเจ้าพระยาที่อยู่กันมาจนถึงปัจจุบัน

เมืองแพรกศรีราชานับเป็นเมืองชุมชนการคมนาคมทางน้ำที่สามารถเดินทางลงมาตามลำน้ำน้อยที่ไปรวมกับลำน้ำเจ้าพระยาในเขตจ.ชัยนาทก็ได้ หรือเดินทางตามลำคลองบัวไปยังลำน้ำท่าจีนหรือสุพรรณบุรีก็ได้ นั่นคือเมืองแพรกศรีราชาติดต่อโดยทางน้ำไปยังเมืองสุพรรณบุรีและเมืองอยุธยา และสามารถออกสู่ทะเลที่อ่าวไทยได้ทั้ง2แม่น้ำ

ตำแหน่งของเมืองแพรกศรีราชาที่แวดล้อมไปด้วยบ้านเมืองเก่าแต่สมัยทวารวดี-ลพบุรี ตั้งแต่นครสวรรค์และชัยนาทลงมานี้ เมื่อเชื่อมโยงให้ดีแล้ว อาจนำไปสู่การค้นพบรัฐโบราณในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน ที่มีกล่าวถึงในเอกสารจีนสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 ที่เรียกว่า “เจนลีฟู”ได้

การเกิดขึ้นของเมืองแพรกศรีราชาและเส้นทางคมนาคมทางน้ำนั้นคงพัฒนาขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่18ตอนปลาย อันนับเนื่องในสมัยลพบุรีลงมา แต่บ้านเมืองสมัยทวารวดีที่มีอยู่นั้นคงใช้เส้นทางคมนาคมตามลำน้ำเก่าที่ผ่านเมืองเดิมไป เช่นเมืองอินทร์บุรี ที่มีลำน้ำแม่ลาไหลผ่านกึ่งกลางแม่น้ำน้อยและแม่น้ำเจ้าพระยา ไปจนถึงเมืองสิงห์บุรีที่วัดพระนอนจักรสีห์และเมืองพรหมบุรี

ส่วนบ้านเมืองสมัยทวารวดี เช่น เมืองดงคอนที่อยู่ระหว่างกลางขนาบด้วยแม่น้ำน้อยและแม่น้ำท่าจีนทางตะวันตกนั้น ก็มีเส้นทางน้ำที่ยาวต่อเนื่องไปจนถึงเขต จ.สิงห์บุรี อ่างทอง และอยุธยา ลำน้ำเก่าที่สำคัญคือ คลองสีบัวทอง ที่มีร่องรอยของต้นน้ำมาแต่หนองระหานในเขตบ้านหนองระหาน ผ่านบ้านแหลมข่อย และบ้านไม้แดงมายังบ้านดงคอน

ข้อมูลจาก : หนังสือสร้างบ้านแปงเมือง โดย ศรีศักร วัลลิโภดม จัดพิมพ์โดยศิลปวัฒนธรรม สำนักพิมพ์มติชน

______________________________________________________________________________

มติชนอคาเดมี ชวนย้อนรอยเมืองโบราณ ไปกับ ทัวร์ “ชัยนาท-สรรคบุรี” เมืองโบราณลุ่มน้ำเจ้าพระยา จ.ชัยนาท

เดินทางวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม 2561

นำชมและบรรยายโดย ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล

ราคา 2,800 บาท

.

คลิกอ่านโปรแกรมเดินทาง>>>>> https://bit.ly/2Q5oOZJ

.

สำรองที่นั่งติดต่อ  มติชนอคาเดมี  

Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124                            

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

สอบถามทาง Inbox Facebook : คลิกที่นี่ได้เลย m.me/Matichon.Academy.Thailand

หรือ line : @matichonacademy คลิกhttps://line.me/R/ti/p/%40matichonacademy 

ชวนไปท่องเที่ยวเมืองเก่าแก่ที่น่าหลงใหล มีทั้งศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ จ.เพชรบุรี ทริป 2 วันจัดเต็ม! กับ ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ มาร่วมเดินทางกับทัวร์ประวัติศาสตร์กับมติชนอคาเดมี

ทัวร์ ทัศนา “วัง-วัด เมืองเพชร” ฟังเกร็ดเรื่องเล่า “สองแผ่นดิน”
วิทยากร : ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
วันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 18-19 สิงหาคม 2561
ราคา 5,800 บาท
คลิกอ่านโปรแกรมทัวร์ :
https://www.matichonacademy.com/tour/article_17782

สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี
Inbox : Facebook Matichon Academy
Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105
line : @matichonacademy

เตรียมตัวให้พร้อม!! มติชนอคาเดมีพาเยือนกัมพูชา กับทัวร์ “บันทายฉมาร์-สมโบร์ไพรกุก-เสียมเรียบ ความลับหลังกำแพงศิลา”

พาชมมหาปราสาทบันทายฉมาร์ กับเรื่องราวประวัติศาสตร์การสงครามสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7, กลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก กลุ่มของศาสนสถานที่เคยเป็นราชธานีของอาณาจักรเจนละในสมัยพระเจ้าอีศานวรมัน

นอกจากนี้ยังพายลเมืองพระนคร หรือนครธม ชมปราสาทบรายน ศูนย์กลางนครธม สุดยอดของปราสาทเขมรในยุคเสื่อม, พระราชวังหลวง ที่ประกอบไปด้วยปราสาทพิมานอากาศ ลานช้าง ลานครุฑ และปราสาทนาคพัน และชมความอลังการของปราสททนครวัด หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก!!

นำชมโดย รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กมติชนอคาเดมี เร็วๆ นี้!!!

เก็บตกบรรยากาศความประทับใจ ทัวร์ ออกพระเพทราชา “ฮีโร่” แห่งกรุงศรีฯ จ.สุพรรณบุรี-พระนครศรีอยุธยา กับมติชนอคาเดมี เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. และ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา

โดยบรรยากาศผู้ร่วมทัวร์ one day trip ไปกับเราทั้ง 2 ครั้งเต็มอิ่มไปกับสาระความรู้ประวัติศาสตร์ในยุคพระเพทราชา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง