คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn Business School: CBS) และ หลักสูตรสหสาขาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม จุฬาฯ (Technopreneurship Innovation Management Program, Chulalongkorn University: CUTIP) เปิดเส้นทางสู่การลงมือเปลี่ยนธุรกิจได้จริง หลังผลการวิจัย Thailand Digital Transformation Readiness 2021  พบว่า องค์กรส่วนใหญ่ในไทยยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มทำดิจิทัลทราสฟอร์มเมชันและมีเพียง 5% ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ อีกทั้งยังพบว่าระดับความพร้อมด้านดิจิทัลขององค์กรธุรกิจไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.27 จากคะแนนเต็ม 4

รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร

รศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่า ทางคณะได้พัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อปั้นนักธุรกิจยุคใหม่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกธุรกิจในยุคเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 ดิจิทัลทรานสฟอร์มเมชันเป็นประเด็นที่พูดถึงกันมา 2-3 ปีแล้ว และทุกธุรกิจในประเทศไทยก็ต้องการปรับเปลี่ยน แต่ปรากฎว่า ยังมีความคืบหน้าไม่มากนัก ดังนั้น คณะบัญชี จุฬาฯ จึงพยายามผลักดันในหลายแนวทาง โดยล่าสุด คณะบัญชี จุฬาฯ และหลักสูตรสหสาขาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม จุฬาฯ ได้จัดเสวนาออนไลน์ ในหัวข้อ “ดิจิทัลทรานสฟอร์มธุรกิจ 2022 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “CBS Dean’s Distinguished Seminar Series” พร้อมเปิดเข็มทิศทรานสฟอร์มธุรกิจ (Digital Transformation  Compass) กระตุ้นธุรกิจไทยเร่งก้าวสู่โรดแมพการเปลี่ยนแปลงผ่านการตรวจเช็ควุฒิภาวะทางดิจิทัล

ไฮไลท์บางส่วนในงานเสวนาโดย รศ.ดร.วิเลิศ ชี้ว่า ธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ เพราะมักจะติด

กับดักทางความคิดที่จะเน้นการผลิตสินค้าคุณภาพ แต่การทรานสฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัลต้องหานวัตกรรมตอบสนองวิถีชีวิตของคนที่มีความต้องการหลากหลาย และมีทัศนคติในเรื่องของจิตวิทยาของมนุษย์ Every digital business is human business ขณะเดียวกัน ธุรกิจต้องเปลี่ยนแนวคิดจากกลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า CRM (Customer Relationship Management) มาเป็นการเน้นสร้างความสัมพันธ์ผ่านดิจิทัล DRM (Digital Relationship Management)

นอกจากนี้ผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ต้องผันตัวเองให้กลายเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้วยนวัตกรรม (Innopreneurship) ที่ต้องอาศัย 3 ปัจจัยหลักคือ T-transformation to innovation โดยเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และคนในองค์กร I-insight ต้องได้ข้อมูลเชิงลึกถึงระดับจิตใจของลูกค้า และ P-Proactive ซึ่งองค์กรจะต้องก้าวล้ำเหนือคู่แข่ง ทั้งนี้ ผู้นำองค์กรจะต้องทรานสฟอร์มวิสัยทัศน์ ให้เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง และเป็นคนที่มีสัญชาตญาณของความอยู่รอด (Survival Instinct)

ส่วน เฮียฮ้อ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ถือเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาองค์กรต้นแบบของการทรานสฟอร์มธุรกิจ กล่าวว่า ตลอด 40 ปี อาร์เอส เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดและเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีดิสรัปชันอย่างรุนแรง ซึ่งอาร์เอสได้มีการปรับตัวอย่างมากในระยะ 7 ปีที่ผ่านมา โดยเปลี่ยนโมเดลธุรกิจจากธุรกิจสื่อและบันเทิงมาสู่ธุรกิจคอมเมิร์ซ โดยนำเอาจุดแข็งของทั้งธุรกิจ Entertainment และ Commerce มารวมกัน กลายเป็น Entertainmerce

“ปัจจุบัน ธุรกิจต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงมาก เนื่องจากภาวะตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาร์เอส จึงต้องมีความตื่นตัวและตื่นรู้ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถปรับตัวและแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว”

เฮียฮ้อ กล่าวในตอนท้ายว่า อาร์เอสมุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศในธุรกิจ Entertainmerce ด้วยการหาพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และทำให้แต่ละธุรกิจในระบบนิเวศเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน (Synergy) โดยในอีก 2 ปีข้างหน้า อาร์เอสตั้งเป้าหมายจะเติบโตในแนวราบ ซึ่งปัจจุบัน รายได้หลักของอาร์เอส ไม่ได้มาจากธุรกิจ Entertainment อีกแล้ว แต่มาจากธุรกิจ Commerce มาเสริมทัพให้ก้าวหน้าต่อไปในโลกของดิจิทัล

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์

สำหรับผู้ที่สนใจงานเสวนา ดิจิทัลทรานสฟอร์มธุรกิจ 2022 สามารถชมคลิปเต็มย้อนหลังได้ที่ www.facebook.com/CBSChula  www.facebook.com/cbsAcademyChula

สำหรับผู้สนใจ รายงาน Thailand Digital Transformation Readiness 2021, แบบประเมิน Digital Maturity Assessment และ ตัวอย่างหนังสือ E-book Digital Transformation Compass สามารถลงทะเบียนรับฟรีได้ที่ www.digitaltransformationacademy.org/DigitalTransformation2022

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนับเป็นการก่อกำเนิดมหาวิทยาลัยครั้งแรกในเมืองไทยที่มีการศึกษาตามแบบตะวันตก ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ.2442 และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2445

ทั้งนี้เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ “ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม” พอที่จะช่วยให้กิจการปกครองท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยดำเนินไปได้ เมื่อสมควรขยายการจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของ กระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”  เมื่อ 1 มกราคม 2453

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางศิลาพระฤกษ์ ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2458

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์แน่ชัดในการตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในอนาคตเห็นได้จากพระราชดำรัสที่พระราชทานในวันก่อศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 ทรงดำรัสไว้ว่า

“วันนี้เรายินดีที่ได้รับเชิญให้มาวางศิลาฤกษ์สำหรับมหาวิทยาลัยนี้ เพราะเป็นกิจอันหนึ่งซึ่งเราปรารถนาอยู่นานแล้ว ที่จะยังการให้เป็นผลสำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระราชปรารถนามานานแล้วในเรื่องที่จะให้มีมหาวิทยาลัยขึ้น สำหรับเป็นสถานอุดมศึกษาของชาวสยาม…ตัวเราเป็นรัชทายาท จึ่งรู้สึกเป็นหน้าที่อันหนึ่งที่จะต้องทำการนั้นให้สำเร็จตามพระราชประสงค์…เรามีความยินดีที่ได้เห็นการดำเนินล่วงมาได้มากแล้ว ในบัดนี้เราได้วางศิลาฤกษ์ด้วยความหวังที่ได้เห็นแลความดีงามในอนาคตกาลแห่งมหาวิทยาลัยนี้”

ในปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2459 พร้อมกับโอนมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไปขึ้นกับกระทรวงธรรมการในวันเดียวกัน ต่อมาเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมมหาวิทยาลัยขึ้นอีกกรมหนึ่งขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการ มีตำแหน่งหัวหน้าเป็นชั้นอธิบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นกับกรมนี้ โดยมี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร

ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยเป็นพระองค์แรก และมีพระยาอนุกิจวิทูร (สันทัด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนแรก (ต่อมาตำแหน่งนี้เปลี่ยนไปเรียกเป็นอธิการบดี ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา)

ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิเลิศ ภูริวัชร

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn Business School) ยกเครื่องหลักสูตรเรือธงสำหรับผู้บริหาร MMP – Modern Management Program ปั้นนักธุรกิจยุคใหม่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกธุรกิจในยุคเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เปิดหลักสูตร MMP เมื่อปี พ.ศ. 2527 คณะฯ ได้ปรับปรุงเนื้อหาให้คงความทันสมัยอยู่เสมอเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคม ที่ต้องการมีความรู้ทางด้านการบริหารธุรกิจ พัฒนาองค์กร พัฒนาแบรนด์ และพัฒนาประเทศชาติ ขณะเดียวกัน ผู้บริหารที่แม้จะประสบความสำเร็จในอดีต ก็ต้องเรียนรู้การบริหารภายใต้บริบทการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

“คณะฯ ได้คัดสรรเนื้อหาที่ก้าวล้ำ ได้รับเกียรติจากวิทยากรชั้นนำระดับชาติและนานาชาติ เพื่อให้ผู้เรียนซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง เกิดแนวคิดและมุมมองใหม่ๆ ในการบริหารจัดการ โดยใช้เครื่องมือทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งการปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ไม่ได้มีเป้าหมาย แค่เสริมสร้างผู้บริหารยุคใหม่ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ แต่ต้องการให้เหนือกว่า” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิเลิศ กล่าว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิเลิศ อธิบายเสริมว่า หลักสูตร MMP ของจุฬาฯ เป็นโครงการอบรมผู้บริหารระดับสูงที่มีความโดดเด่นเรื่องสัดส่วนของเนื้อหาความรู้ ที่มีมากกว่าโครงการพัฒนา    ผู้บริหารระดับสูงทั่วไป โดยเนื้อหาความรู้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 และกิจกรรมการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ซึ่งก็สำคัญไม่แพ้กันคิดเป็นร้อยละ 40

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร. สุพล ดุรงค์วัฒนา ประธานหลักสูตร MMP กล่าวเสริมว่า ปีนี้ถือเป็นการปรับโฉมหลักสูตร MMP ใหม่เกือบทั้งหมด เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริหารในยุคการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ดังนั้น ผู้นำองค์กรต้องปรับวิสัยทัศน์ และ กระบวนการทางความคิด (Mindset) ของตัวเองครั้งใหญ่ เพื่อพร้อมรับความท้าทายใหม่ๆ หรือที่เรียกกันว่า ความพลิกผันจากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption)

“คณะกรรมการหลักสูตรได้ยกเครื่องหัวข้อและเนื้อหา จากเดิมเป็นการกำหนดตามฟังก์ชั่นของธุรกิจ เช่น การผลิต การตลาด การบัญชี การเงิน และการบริหารจัดการ แต่ปัจจุบัน การทำธุรกิจมีการผสมผสานแบบครบวงจร (integrated business) และมีพลวัตมากขึ้น ฉะนั้น เนื้อหาหลักสูตรปีนี้จึงถูกพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด Unwrap the Unknown คือเปิดในสิ่งที่ยังไม่รู้”

รองศาสตราจารย์ ดร. สุพล อธิบายว่า มีหัวข้อใหม่ๆ เช่น Transformational Leadership ซึ่งผู้บริหารองค์กรยุคใหม่ต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเสมอ ขณะที่เรื่อง Disruptive Marketing, Digital Marketing, Rejuvenating Marketing และ Design Thinking ก็ล้วนเป็นหัวข้อสำคัญของ MMP ทั้งสิ้น

รองศาสตราจารย์ ดร. สุพล ดุรงค์วัฒนา

นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้นำหลักการบริหารที่ทำให้องค์กรบริหารจัดการต้นทุนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างการเจริญเติบโต ผ่านการลดต้นทุน เพิ่มยอดขายอย่างยั่งยืนผ่านการพัฒนาบุคลากรขององค์กร รวมถึง Wellness Management ซึ่งเป็นการบริหารความสุขและสุขภาพก็ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพราะสไตล์การบริหารที่มุ่งงานหนักของผู้บริหารจำนวนมากทำให้มีผู้บริหารมีปัญหาสุขภาพ และภาวะความเครียด ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงการดูแลเรื่องสุขภาพเพื่อให้สามารถบริหารธุรกิจไปได้อย่างสำเร็จยาวนาน

รองศาสตราจารย์ ดร. สุพล เน้นย้ำว่า นอกจากการปรับปรุงหลักสูตรครั้งใหญ่แล้ว ยังมีการคัดเลือกวิทยากรที่มีประสบการณ์ในหัวข้อนั้นๆ และสามารถถ่ายทอดเนื้อหาที่ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (executable) นำไปสู่โอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ หรือต่อยอดธุรกิจเดิม ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว โดยวิทยากรในการอบรมหลักสูตรปีนี้ อาทิ Mr.Harald Link ประธานกลุ่มบริษัท บี. กริม, คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ซีอีโอ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส), คุณดลชัย บุณยะรัตเวช ประธาน บริษัท เดนท์สุ วัน, คุณวรภัค ธันยาวงษ์ ที่ปรึกษา บริษัท

แมคเคนซี่, อาจารย์ เผ่าทอง ทองเจือ นักโบราณคดีชื่อดัง, และคณาจารย์จากภาควิชาการตลาด คณะบัญชีฯ จุฬาฯ อาทิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิเลิศ ภูริวัชร, ดร. เอกก์ ภทรธนกุล,        ดร. กฤตินี พงษ์ธนเลิศ เป็นต้น

สำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตร MMP – Modern Management Program สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คณะบัญชีฯ จุฬาฯ โทร. 0-2218-5701

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อยอดขยาย โครงการ ChAMP (Chulalongkorn Alumni Mentorship Program) นำเมนเทอร์ (Mentor) รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในอาชีพการงาน มาให้คำแนะนำแก่เมนที (Mentee) รุ่นน้องนิสิตปริญญาตรี ที่กำลังจะเปิดรับสมัครนิสิตที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ รุ่นที่ 7 ในเดือนสิงหาคม 2561 โดยปีนี้เพิ่มสัดส่วนรับเมนเทอร์และเมนทีจากคณะอื่นเพิ่มมากขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และมุมมองที่กว้างขึ้น เสริมทักษะชีวิตเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่โลกธุรกิจ

รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า “โครงการ ChAMP เริ่มขึ้นจากรุ่นพี่นิสิตเก่าที่มีความเห็นร่วมกัน อยากจะพัฒนาทักษะต่างๆ ที่จะใช้ในการดำเนินชีวิต ประกอบอาชีพในอนาคตให้แก่นิสิต นอกเหนือจากวิชาการ โดยโครงการ ChAMP ได้พัฒนาศักยภาพของนิสิตมาแล้วถึง 6 รุ่น และยังคงพัฒนาโครงการฯ ต่อไป เพื่อให้พร้อมสู่โลกของการทำงาน และตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเมื่อปีที่ผ่านมาโครงการ ChAMP เป็นโครงการเมนเทอร์ชิพโปรแกรมที่ได้รับการเชิดชูเกียรติจาก AACSB สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีทั่วโลก จากสหรัฐอเมริกา ให้เป็นโครงการนวัตกรรมทางการศึกษาที่เชื่อมโยงภาคธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล (Engagement with Business)”

ด้าน ธงชัย บุศราพันธ์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน โครงการ ChAMP รุ่นที่ 7 และ ซีอีโอแห่งพีเอ็น แคปปิตอล ลิมิเต็ด เผยว่า “ความสำเร็จของโครงการ ChAMP ในรุ่นก่อน ทำให้มีนิสิตรุ่นน้องจากคณะอื่นอยากเข้าร่วมโครงการฯ ทำให้โครงการ ChAMP รุ่น 7 ขยายวงกว้างมากขึ้น โดยเชิญรุ่นพี่นิสิตเก่าจุฬาฯ จากคณะอื่นเข้ามาร่วมเป็นเมนเทอร์เพิ่มขึ้น โดยปีนี้จะมีเมนเทอร์จากคณะอื่น 25% และเมนทีจากคณะอื่น 20% ซึ่งการนำเมนเทอร์และเมนทีจากคณะอื่นมาร่วมในโครงการฯ จะช่วยเสริมให้เมนทีหลากหลายคณะ มีมุมมองและทัศนคติที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น

 

ในปีนี้รุ่น 7 กำลังจะเปิดรับสมัครในเดือนสิงหาคมนี้ จะมีเมนทีที่ได้คัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ ประมาณ 70 คน ในขณะเดียวกันนิสิตเก่ารุ่นพี่ที่จะมาเป็นเมนเทอร์ได้นั้น ต้องเป็นคนดี ประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน และต้องมีทักษะในการให้คำแนะนำหรืออธิบายสิ่งต่างๆ ได้ คำแนะนำต่างๆ จะมาจากมุมมองของเมนเทอร์ โดยเมนทีต้องนำกลับไปคิดให้รอบคอบก่อนลงมือทำเสมอ เป็นเหมือนการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนทัศนคติซึ่งกันและกัน เมนเทอร์เองก็ต้องเรียนรู้จากเมนทีเช่นเดียวกัน สิ่งที่เมนทีจะได้รับเมื่อเข้าร่วมโครงการฯ คือ การมีทัศนคติ ความคิด และจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ชัดเจนขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ของรุ่นพี่และรุ่นน้อง ที่อาจดูแลให้คำปรึกษากันไปตลอดชีวิต นี่คือข้อได้เปรียบของนิสิตที่มีโอกาสเข้าร่วมโครงการฯ นี้”

ด้าน วรวัจน์ สุวคนธ์ หนึ่งในเมนเทอร์ในโครงการ ChAMP รุ่นที่ 7 ซึ่งจบการศึกษาจากคณะบัญชีฯ จุฬาฯ ปัจจุบันเป็นรองผู้จัดการใหญ่ Dean of SCB Academy ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า “คำถามของเมนเทอร์จะช่วยสะท้อนความคิด เพื่อให้มองเห็นคุณค่าในศักยภาพของเมนที  ในฐานะรุ่นพี่ที่เป็นเมนเทอร์จะแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ที่มี แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เชื่อว่าประสบการณ์ในอดีตหลายๆ อย่างยังใช้ได้ ไม่เพียงเมนทีจะตักตวงความรู้ประสบการณ์จากรุ่นพี่ รุ่นพี่เองก็ได้กลับมาทบทวนสิ่งที่เคยรู้มาเช่นเดียวกัน และยังต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากเด็กรุ่นหลังด้วย โครงการฯ นี้ จึงเป็นเหมือนการแลกเปลี่ยนความคิด ทำให้ทั้งเมนเทอร์และเมนทีได้มุมมองที่กว้างขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย”

และ ธนพล ศิริธนชัย หนึ่งในเมนเทอร์โครงการ ChAMP รุ่นที่ 6 ที่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ตอนที่ผมเลือกรุ่นน้อง  พิจารณาคนคิดว่า เราช่วยส่งเสริมศักยภาพ ช่วยเติมเต็มในส่วนที่ต้องการ นิสิตในโครงการ ChAMP จะรู้เป้าหมายหรือมองเห็นปัญหา เพียงสับสนระหว่างทาง  เทคนิคที่ผมใช้ตลอด คือ การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความคิด และเป็นนักฟังและรับฟังที่ดี สร้างความไว้วางใจให้เห็นถึงเจตนาดี ที่เราตั้งใจมาช่วย และให้รู้สึกกล้าถาม กล้าพูดถึงปัญหาของตัวเอง”

ปัจจุบันโครงการ ChAMP กำลังจะเปิดรับสมัครรุ่นที่ 7 ในเดือนสิงหาคมนี้ น้องๆ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสนใจอยากร่วมโครงการฯ ติดตามทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/ChAMPChula/

เปิดผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2019 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับ QS World University Rankings โดย Quacquarelli Symonds องค์กรชั้นนำระดับโลกด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งนักเรียนนักศึกษาทั่วโลก ต่างให้ความเชื่อถือ

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2561 QS ก็ได้เปิดเผยผลประจำปี 2019 แล้ว โดยอันดับ 1 ยังคงเป็น สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT: Massachusetts Institute of Technology) ที่ได้คะแนนนำจากทั้งด้านการศึกษา การประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ที่ครองอันดับ 1 มาแล้วนับแต่ปี 2016

อันดับ 2 ได้แก่ มหาวิทยาลัย สแตนด์ฟอร์ด
3.มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
4. สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือแคลเทค ( California Institute of Technology (Caltech))
5. มหาวิทยาลัย อ็อกซ์ฟอร์ด
6.มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
7. สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ในซูริก ( ETH Zurich – Swiss Federal Institute of Technology)
8.อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน
9.มหาวิทยาลัยชิคาโก
10. ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ คอลเลจ ลอนดอน (UCL)

ขณะที่การจัดอันดับในประเทศไทยนั้น QS
อันดับ 1 ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 271 ของโลก
2.มหาวิทยาลัยมหิดล
3.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อันดับที่ 5 ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

โดยในทวีปเอเชียนั้น อันดับ 1 ได้แก่ มหาวิทยลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ที่อันดับ 11 ของโลก นอกจากนี้ยังมียอันดับ 12 อย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง , มหาวิทยาลัย ซิงหัว ประเทศจีน อันดับที่ 17 , มหาวิทยาลัยโตเกียว อันดับที่ 23 ,มหาวิทยาลัยฮ่องกง อันดับที่ 25 , มหาวิทยาลัยปักกิ่ง อันดับที่ 30 และมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล อันดับที่ 36

 


ที่มา มติชน

เรื่อง/ภาพ กนกวรรณ มากเมฆ

 

น่นอนว่าการจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หลายบริษัทกว่าจะมาถึงจุดที่มีกำไรได้ก็เรียกได้ว่าล้มลุกคลุกคลานมาเยอะ ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยสร้างสมประสบการณ์ให้กล้าแกร่งมากขึ้น

ในโลกของการศึกษา การที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ก็ถือเป็นส่วนช่วยฝึกฝนวิธีการวิเคราะห์ แก้ปัญหา ลับคมการตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยเป็นการพัฒนาทักษะและเสริมประสบการณ์ให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

อย่างเช่น การแข่งเคส (Case Competition) หรือการแข่งขันเชิงธุรกิจ/ประกวดแผนธุรกิจ ที่จะจำลองสถานการณ์ทางธุรกิจให้ผู้เข้าแข่งขันต้องมาแก้ไขปัญหา วางกลยุทธ์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย โดยจะมีการจัดแข่งขันในหลายเวทีในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และมีมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่งนักศึกษาเข้าร่วม

ผลงานล่าสุดคือการคว้ารางวัลชนะเลิศ 2 รายการใหญ่ของนิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในนั้นคือการแข่งขัน Heavener International Case Competition 2018 (HICC) ณ มลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา

“มติชน อคาเดมี” คุยกับทีมนิสิตที่เข้าแข่งขันในเวทีนี้และคว้าชัยชนะมาได้ ได้แก่ พริม-พริมา ไชยวรุตน์ ปี 3, พิพพิน-วรรณวเรศ บุญคง ปี 4, บอส-จักรพจน์ จิตรวรรณภา ปี 4 และ บุญ-บุญชนะ ศวัสตนานนท์ ปี 4 ซึ่งการแข่งครั้งนี้ “พริม” ได้รางวัล Best Speeker ด้วย โดยมี อ.ดร.นัท กุลวานิช เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

“พิพพิน” เริ่มเล่าให้ฟังว่า การจะไปแข่งขันเคสในเวทีต่างๆ ได้ นิสิตจะต้องเข้าชมรม BBA Chula Case Club ของมหาวิทยาลัย ซึ่งจุฬาฯจะมีการคัดเลือกเข้าไปอยู่ในชมรม ในชมรมก็จะเป็นการฝึกฝนและส่งนิสิตไปแข่งเคสต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งรายการที่ฟลอริดาจัดขึ้นปีนี้เป็นปีที่ 3 และจุฬาฯเคยส่งไปแข่งมาแล้ว 1 ครั้ง

การแข่งขันในปีนี้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 20 ทีม จากนานาประเทศทั่วโลก เช่น ออสเตรีย สหรัฐฯ  นิวซีแลนด์ เนปาล ฮ่องกง และจากไทยมีจุฬาฯและ ม.ธรรมศาสตร์ โดยการแข่งขันของเวทีนี้จะแบ่งออกเป็น 2 เคส เคสแรกเป็นเคส 5 ชั่วโมง แบ่งเป็นการพรีเซนต์ 5 นาที และถามตอบ 15 นาที ซึ่งจะแตกต่างจากเวทีอื่นๆ ตรงที่เป็นการจำลองสถานการณ์จริงที่ให้เวลาพูดไม่นาน และเน้นถามตอบมากกว่า

(จากซ้าย) บอส, พริม, บุญ และ พิพพิน

โจทย์แรกที่เจอ “วางกลยุทธ์ขยายโปรดักต์ใหม่ดังไกลทั่วประเทศ”

สถานการณ์จำลองสำหรับเคส 5 ชั่วโมงที่น้องๆ เจอ เป็นสถานการณ์ของบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งเป็นติวเตอร์และมีเนื้อหาออนไลน์ ซึ่งมีโปรดักต์ตัวใหม่ขึ้นมา และบริษัทแห่งนี้อยากขยายโปรดักต์ไปทั่วประเทศ โจทย์คือจะวางกลยุทธ์ให้บริษัทนี้อย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย

“บอส” อธิบายให้ฟังว่า จริงๆ แล้วก่อนการแข่งขัน 1 เดือน ผู้จัดการแข่งขันจะส่งชื่อบริษัทที่เป็นโจทย์มาให้ เพื่อให้แต่ละทีมได้ทำความรู้จักกับบริษัทและโปรดักต์ต่างๆ แต่จะมาบอกโจทย์จริงๆ คือวันแข่งขัน

“เมื่อได้รับโจทย์มา เราก็ใช้เวลาอ่านโจทย์ แล้วมาพูดคุยกันให้เข้าใจว่าจริงๆ แล้วโจทย์ต้องการอะไร จากนั้นก็ระดมความคิดว่าจุดประสงค์คืออะไร ต้นเหตุคืออะไร สถานการณ์เป็นแบบไหน และกลยุทธ์ที่เราจะวางมีข้อดีข้อเสียอย่างไร คุยกันในภาพรวม ก่อนจะมาช่วยกันอย่างละเอียดว่าจุดประสงค์ในการทำกลยุทธ์นี้คืออะไร ต้องทำอะไรบ้าง ทำทำไม และทำอย่างไร คือต้องตอบกรรมการให้ได้หมดทุกอย่าง และข้อสุดท้ายต้องมีตัวเลขการเงินมาเป็นตัวสนับสนุน เพราะจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าพวกเราจะทำได้จริงไหม ลงทุนมากไปหรือเปล่า หรือผลตอบแทนจะออกมาเป็นอย่างไร” บอสกล่าว

ด้วยเวลาเพียง 5 ชั่วโมง ทำให้เมื่อคุยภาพรวมเสร็จ พวกเขาต้องรีบแยกกันไปทำในส่วนของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการคิดและลงลึกในข้อมูล และทำสไลด์ แต่ก็มีการคุยกันตลอด เพราะสิ่งที่แต่ละคนคิดออกมาจะไปส่งผลต่อตัวเลขในโมเดล ดังนั้น ทุกคนในทีมต้องรู้ข้อมูลทุกอย่าง เพื่อให้ทุกคนได้เห็นภาพเดียวกัน และช่วยในเรื่องการตอบคำถามด้วย

เคส 30 ชั่วโมง ตัวตัดสินผู้ชนะ

เคส 5 ชั่วโมงมีคะแนนเพียง 30% ของคะแนนที่ใช้ตัดสินเท่านั้น แต่อีก 70% มาจากเคส 30 ชั่วโมง ที่ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมต้องเก็บตัวอยู่ในห้องพักของโรงแรม ห้ามติดต่อคนภายนอก ห้ามปรึกษาอาจารย์ โดยโจทย์ที่ทีมจุฬาฯได้รับ เป็นเคสของบริษัทแห่งหนึ่งที่ทำด้านไอทีและเรื่องการป้องกันดิจิตอล  โดยจะทำอย่างไรให้พนักมานที่เพิ่มรับเข้ามาใหม่ปรับตัวกับองค์กรได้ พนักงานมีความสุข มีทัศนคติสอดคล้องกับแนวทางของบริษัท ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ที่ปัจจุบันมักเป็นปัญหาหลักของทุกองค์กร

ขั้นตอนการทำงานของทั้ง 4 คน คือ เมื่อได้รับโจทย์มา ต่างคนจะต่างอ่านตัวโจทย์ให้ละเอียด จากนั้นก็มาพูดคุยกันว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่ ซึ่งทุกคนต้องเข้าใจเหมือนกัน ใครไม่ข้าใจต้องอธิบายให้เห็นภาพไปด้วย เสร็จแล้วก็เริ่มคุยกัยเรื่องกลยุทธ์ ค้นหาข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต เช่น งานวิจัย จากนั้นก็เริ่มลงรายละเอียดคร่าวๆ ก่อนจะปรึกษากันเรื่อง Storyline ว่าจะเล่าเรื่องอย่างไรให้กรรมการเข้าใจง่ายที่สุด โดยมีเวลาพรีเซนต์ 10 นาทีและถามตอบอีก 15 นาที

จากนั้นก็ทำสไลด์นำเสนอ ซึ่งมีการแบ่งกันทำในต่ละส่วน แต่ก็จะดูให้มีความสอดคล้องกัน และเมื่อเกิดปัญหาในส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อนก็จะเข้ามาดูด้วย เช่น คิดกลยุทธ์หนึ่งขึ้นมาแล้วไม่แน่ใจ ก็จะช่วยกันค้นข้อมูล ดังน้น จึงเหมือนว่าทุกการตัดสินใจจะมาจากทุกคนในทีมตลอด

“บอส” เล่าว่า การคิดกลยุทธ์ของเคสนี้จะอาศัยการศึกษาตัวอย่างที่เคยมีคนทำมาแล้ว และนำมาปรับใช้ เพราะการใช้กลยุทธ์เดิมที่เคยมีจะช่วยยืนยันได้ว่าสิ่งที่คิดไปจะมีผลดีแบบนี้

“ดังนั้นในการคิดกลยุทธ์จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน เริ่มจากการดูโครงสร้างค่าใช้จ่ายของบริษัทว่ามีค่าใช้จ่ายสูงสุดในด้านไหน ข้อ 2 ต้องหาว่าการลงทุนของเราจะเป็นเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และผลตอบแทนเท่าไหร่ และข้อ 3 ต้องดูตัวชี้วัดที่จะตอบโจทย์ เช่น กรณีนี้เป็นเรื่องงของบุคลากร ตัวชี้วัดอาจเป็นตัวเลขจำนวนพนักงานที่ออกจากบริษัทภายในปีแรก นอกจากนี้ยังดูเรื่องค่าใช้จ่ายในการปลูกฝังพนักงานคนหนึ่งว่าเท่าไหร่ เพราะถ้าคนเหล่านี้ออกไป เท่ากับค่าเทรนนิ่ง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เสียไปจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย”

การทำสไลด์ของพวกเขาเนื้อหานอกจากเนื้อหาจะแน่นแบบพอดี ยังมีการเพิ่มแบ็กอัพสไลด์ที่คาดว่าอาจจะโดนกรรมการถามเพิ่ม รูปแบบของโมเดลรวมไปถึงทุกสิ่งที่นำมาใช้จะมีเหตุผลสนับสนุน เพราะโจทย์ที่ได้รับเป็นธุรกิจจริงๆ จึงเน้นไปที่การสามารถนำไปใช้จริงได้

การเตรียมพร้อม-ทีมเวิร์ค สิ่งนำพาชัยชนะ

นอกจากความรู้ความสามารถของแต่ละคนแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าส่วนหนึ่งของการประสบความสำเร็จครั้งนี้มาจากการเตรียมพร้อมที่ดี ที่แต่ละคนมีการฝึกฝนทักษะ มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในคลับที่ทำให้สามารถนำไปปรับใช้ได้ นอกจากนี้ยังมาจากทีมเวิร์ค หรือการทำงานร่วมกันเป็นทีม ที่ทุกคนจะต้องฝึกทำโจทย์ร่วมกัน ไปจนถึงปรับทัศนคติให้เข้ากันด้วย

ขณะที่อาจารย์จะช่วยเข้ามาเทรนด์ให้ในช่วงก่อนไปแข่ง โดย “พริม” อธิบายว่า อาจารย์จะมาช่วยดูว่าต้องฝึกอันไหน หาเคสมาให้ลองทำ รวมไปทั้งช่วยส่งข้อมูลให้บ้าง นอกจากนี้ยังช่วยดูแลเรื่องการเดินทาง ที่พัก และติดต่อกับผู้จัด แต่เมื่อถึงเวลาแข่งขันจะไม่สามารถคุยกับอาจารย์ได้เลย มีการยึดโทรศัพท์ เพื่อให้ทุกทีมมีความเท่าเทียมกัน

การแข่งขันเหมือนการได้ไปเปิดโลก

“พริม” กล่าวอีกว่า การแข่งเคสนอกจากจะได้พัฒนาทักษะด้านธุรกิจ ซึ่งมองว่านี่เป็นแส่วนเล็กๆ เท่านั้น แต่ประโยชน์ที่ได้จริงๆ คือการได้ไปเปิดโลก ได้เห็นมุมมองคนอื่น

“มุมมองของเราก็อาจจะค่อนข้างไทยนิดนึง แต่พอไปเจอคนฮ่องกงเขาก็จะคิดอีกแบบหนึ่ง คนสิงคโปร์ก็จะคิดอีกแบบหนึ่ง พอได้ไปฟังการพรีเซนต์ของคนอื่นก็ได้เห็นว่าเขาคิดแบบไหน นอกจากนี้ยังได้ไปคุย ไปสร้างเครือข่ายกับคนอื่นๆ เป็นการเปิดโลกให้เราได้มีโอกาสไปคุยอะไรแบบนี้” พริมระบุ

“บอส” กล่าวว่า การแข่งเคสเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ทำให้สามารถนำทฤษฎีที่เรียนมาใช้จริง เกิดการเชื่อมโยงว่าสถานการณ์แบบนี้น่าจะใช้ทฤษฎีนี้ เป็นต้น

ด้าน “บุญ” ระบุว่า เวทีการแข่งขันก็เหมือนกับการจำลองการทำงาน เพราะการเรียนในห้องเรียนเป็นการเรียนรู้ผ่านตัวหนังสือ

แต่การไปทำงานจริงนั้นไม่ได้มีปัญหาด้านเดียวที่รอให้แก้ เพราะยังมีอีกหลายเรื่องโผล่ขึ้นมา ทำให้รู้ว่าการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ

ขณะที่ “พิพพิน” กล่าวว่า นอกจากสิ่งที่เพื่อนๆ กล่าวมาแล้ว สิ่งที่ได้จากการแข่งขันเป็นเรื่องของ Soft Skill เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การปรับตัวเข้ากับทีม ทำอย่างไรให้ทีมมีความสุข เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งหากไปทำงานข้างนอกจริงๆ ก็ต้องทำงานเป็นทีม เพราะไม่มีใครสามารถทำงานคนเดียวได้

หลังจบจากเวทีนี้แล้วนิสิตปี 3 อย่างพริมก็ยังมีโอกาสไปแข่งอีก 1 ปี สิ่งที่เธอจะทำก็คือต้องฝึกฝนให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นศึกษากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของกรรมการ เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน ก็อาจจะต้องไปศึกษาเคสที่เกี่ยวกับ Internet of Things และไอทีเพิ่ม รวมไปถึงเตรียมเป็นรุ่นพี่ปี 4 คอยช่วยเหลือและฝึกฝนน้องๆ ในรุ่นถัดมาด้วย

ส่วนน้องๆ ปี 4 ทั้ง 3 คน ต่างก็วางแผนชีวิตหลังเรียนจบไว้ตามทางที่อยากเดิน โดยพิพินจะไปเรียนต่อในสิ่งที่สนใจ เช่น สายบริหาร ธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งช่วยงานของครอบครัวด้วย ขณะที่บอสก็จะกลับไปช่วยธุรกิจของครอบครัวเช่นกัน ส่วนบุญที่สนใจเรื่องการเงินและการลงทุน ก็จะไปทำงานในบริษัทตามสายอาชีพนี้


 

Content Team Matichon Academy
ติดต่อ อีเมล์ : [email protected]
โทรศัพท์ 0-2954-3971 ต่อ 2111