เฮยยิน คว้ารางวัล “TATLER DINING AWARDS 2024”

เชฟแจ็คกี้ ชาน หัวหน้าเชฟ แห่งร้านอาหารจีนสไตล์กวางตุ้งเฮยยิน (Hei Yin) ในเครือบริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นตัวแทนเข้ารับรางวัล “TATLER DINING AWARDS 2024” รางวัลที่คณะกรรมการผู้ทรงเกียรติแห่งวงการ Fine Dining เป็นผู้ตัดสินและเลือกเฟ้นจากสุดยอดร้านอาหารที่น่าสนใจ สร้างแรงบันดาลใจ และประสบการณ์การรับประทานอาหารที่น่าจดจำ  

นอกจากนี้ยังได้ร่วมรังสรรค์เมนูอาหารจีนสไตล์ฮ่องกงสุดพิเศษ “ซี่โครงเนื้อหมักข้าวแดง” ที่ผ่านกระบวนการและขั้นตอนอย่างพิถีพิถันในการตุ๋นซี่โครงเนื้อ ก่อนนำซอสจากการตุ๋นเนื้อมาราดและเสิร์ฟพร้อมกับหมั่นโถวเนื้อนุ่ม กลายเป็นอีกหนึ่งเมนูที่สร้างความประทับใจและเรียกความสนใจได้อย่างล้นหลามจากผู้เข้าร่วมงาน Tatler Off Menu 2024 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29-31 มีนาคม 2567 ณ ชั้น 2 ไอคอนสยาม

“ไอคอนสยาม” ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานมานี้ แต่นอกจากความหรูหราอลังการของสถานที่และการตกแต่งแล้ว อีกสิ่งที่เรียกความสนใจให้ผู้ที่เดินทางไปไอคอนสยาม หรือแม้แต่ผู้สัญจรทางเรือที่ผ่านไป-มาได้เป็นอย่างดีเลยก็คือ “เรือสำเภา” ขนาดใหญ่ที่ลอยอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าไอคอนสยาม

เรือลำดังกล่าวนี้มีชื่อว่า “เรือสำเภาศรีมหาสมุทร” ถูกเนรมิตขึ้นมาเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวของกรุงธนบุรี และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ทรงฟื้นฟูบ้านเมือง พร้อมวางรากฐานให้กรุงธนบุรีเป็นเส้นทางการค้าและเจริญรุ่งเรืองจวบจนปัจจุบัน โดยมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา

งานนี้ “มติชนอคาเดมี” ไม่พลาด พาทุกคนหวนย้อนสู่กรุงธนบุรีบนพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำแห่งเดียวในประเทศไทยกัน

พิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ “เรือสำเภาศรีมหาสมุทร” ถูกเนรมิตขึ้นอย่างตระการตา โดยมีต้นแบบมาจากเรือสำเภาสินค้าที่ชาวแต้จิ๋วเรียกว่า “อั้ง เถ้า จุ้ง” ซึ่งแปลว่าเรือสำเภาหัวแดง

ภายในนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ โดยเทคนิคอินเตอร์แอคทีฟที่ล้ำสมัย สร้างประสบการณ์เสมือนพาผู้เข้าชมนิทรรศการย้อนเวลากลับไปอยู่บนเรือจริงในอดีต โดยแบ่งโซนจัดแสดงออกเป็น 3 โซน คือ โซนห้องกัปตัน, โซนห้องพักลูกเรือ และโซนคลังอารยธรรม

ในโซนห้องกัปตันนอกจากจะจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของกัปตัวเรือแล้ว ยังจัดแสดงความเป็นมาและเรื่องราวเกี่ยวกับการค้าทางการเรือ การย้ายราชธานีและการวางรากฐานให้กับกรุงธนบุรี ในฐานะเมืองท่าการค้าในครั้งอดีต

อย่างที่หลายคนพอทราบมาบ้าง ว่าในช่วงต้นยุคกรุงธนบุรี สภาพเศรษฐกิจเรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤต ประชาชนอดอยาก ซึ่งพระเจ้าตากสินได้ทรงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการพระราชทานข้าวสารแก่ข้าราชการและพลเรือน นอกจากนี้ยังใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวสารจากชาวจีนในราคาสูง เมื่อข้าวแพงพ่อค้าชาวจีนก็นำเข้ามาขายเพิ่มขึ้น เกิดการแข่งขันทางราคา และทำให้ข้าวราคาถูกลงในเวลาต่อมา

หลังจากบ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปกติ พระเจ้าตากสินโปรดฯให้แต่งเรือสำเภาออกไปค้าขายยังประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ และยังติดต่อขอซื้อทองแดงจากญี่ปุ่น การติดต่อระหว่างไทยกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าเรือสำเภาได้สร้างความมั่งคั่งมาถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมาก ผลกำไรจากการค้าสำเภากับจีน ทำให้ไทยมีเงินทุนพอที่จะสร้างบ้านเมืองและทำสงครามต่อต้านการรุกรานของพม่า และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและทำนุบำรุงศาสนา

ส่วนโซนที่ 2 จำลองห้องพักลูกเรือ โดยจัดแสดงบรรยากาศและวิถีชีวิตของลูกเรือ ที่ห้องพักจะอยู่ใต้ท้องเรือ อาศัยนอนบนเปลนอนผืนเก่า นอกจากนี้ยังจำลองอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ อาทิ จาน ชาม ของลูกเรือในสมัยกรุงธนบุรีให้ได้เยี่ยมชมกัน

ถัดมาในโซนที่ 3 เป็นคลังอารยธรรม ซึ่งจัดแสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระราชกรณียกิจในการฟื้นฟูบ้านเมือง ลำดับเวลาการสงครามเพื่อรวบรวมบ้านเมือง การเจริญสัมพันธไมตรีทางการค้าและการทูตระหว่างกรุงธนบุรีกับจีน เรื่องราวเส้นทางการค้าโลก สินค้าส่งออกในสมัยนั้น เช่น อัมพัน ดีบุก เขาสัตว์ หนังกวาง และสินค้าที่เรานำเข้าจากต่างชาติ เช่น ชาจีน เครื่องถ้วย ผ้าอินเดีย ทองแดง เครื่องเทศ

นอกจากนี้ยังมีการจัดให้มีกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์สุดประทับใจให้กับผู้เข้าชมนิทรรศการ อาทิ การทดลองชักรอกลังสินค้าเสมือนเป็นลูกเรือในสมัยก่อน และผู้เข้าชมนิทรรศการยังสามารถเปลี่ยนชุด สวมบทบาทเป็นคนชาติต่างๆ ได้ด้วยการส่องกระจก (Kinect) และถ่ายภาพร่วมกับคลังอารยธรรม พร้อมทั้งแชร์ภาพบนเรือนี้ได้อีกด้วย

ส่วนด้านบนยังมีจุดชมวิวที่อยู่ชั้นบนสุดของเรือ และมีโซนร้านกาแฟให้บริการสำหรับผู้เข้าชมนิทรรศการ

 

“ณรงค์ เจียรวนนท์” ประธานกรรมการ บริษัท ดิ ไอคอนสยาม ซูเปอร์ลักซ์ เรสซิเดนซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ “เรือสำเภาศรีมหาสมุทร” นับเป็นพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ แห่งแรกริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกิดจากแรงบันดาลใจ ที่ต้องการให้เรื่องราวในอดีตที่ทรงคุณค่าในสมัยกรุงธนบุรี ได้รับการถ่ายทอดสู่ยุคปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงขุมอารยธรรมอันรุ่งโรจน์ที่เหนือกาลเวลา

ขณะที่ “ดร.วิษณุ เครืองาม” รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายในการเป็นประธานเปิดงานว่า พิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ “เรือสำเภาศรีมหาสมุทร” ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งในด้านการท่องเที่ยว ด้านประวัติศาสตร์ และด้านศิลปวัฒนธรรม และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในการสร้างจิตสำนึก ปลูกฝังความรู้สึกรักชาติรักความเป็นไทยยิ่งขึ้น เพราะสิ่งที่ประจักษ์ต่อสายตาจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลายคนคิดค้นหาสิ่งที่ลึกซึ้งลงไปกว่านี้ ด้วยการพยายามไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และนั่นคือประโยชน์สำคัญที่ทุกคนอยากให้เกิดขึ้น

ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ “เรือสำเภาศรีมหาสมุทร” จะทำหน้าที่เป็นดังสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองที่มาพร้อมกับสายน้ำ ที่พาผู้ชมย้อนไปสมัยกรุงธนบุรี สู่ยุคแห่งความรุ่งโรจน์ทางการค้าบนเรือสำเภาจากคริสต์ศตวรรษ 18 หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของเมืองท่าการค้าที่สำคัญแห่งเส้นทางการค้านานาชาติ เพื่อให้ประชาชนคนไทยและผู้สนใจได้เรียนรู้ถึงช่วงเวลาสำคัญยิ่งของประวัติศาสตร์ไทย

สำหรับใครที่อยากลองย้อนเวลาไปสมัยกรุงธนบุรีก็ไม่ควรพลาด พิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ “เรือสำเภาศรีมหาสมุทร” เปิดให้เข้ารับชมฟรี! 25 รอบ/วัน รอบแรกเริ่มเข้าชมเวลา 11.40 น. และรอบสุดท้าย 19.40 น. ตั้งแต่วันี้-13 มกราคม 2562 ณ บริเวณ ริเวอร์ พาร์ค ไอคอนสยาม

ภาคการท่องเที่ยวไทยครึ่งปีแรกเติบโตต่อเนื่อง แม็กเน็ตท่องเที่ยวใหม่ๆ แข็งแกร่ง เปิดไอคอนสยามปลายปี หนุนท่องเที่ยวโตทะลุเป้า

กรุงเทพฯ (13 กรกฎาคม 2561) – อุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นฟันเฟืองหลักที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจประเทศไทย ได้สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นมูลค่ารวมถึง 2.75 ล้านล้านบาทในปี 2560 ซึ่งคิดเป็น 20% ของ GDF ประเทศไทย และมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากกว่า 35 ล้านคน โดยได้มีการตั้งเป้าเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวขึ้นเป็น 37 ล้านคนในปี 2561 และตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวขึ้นเป็น 3 ล้านล้านบาท

นายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อัพเดทสถานการณ์ภาคการท่องเที่ยวไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2561 ว่า “ภาพรวมการท่องเที่ยวของประเทศไทยในปี 2561 นี้มีบรรยากาศที่ดีและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมที่ผ่านมา มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้วมากกว่า 16 ล้านคน และมีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากกว่า 48 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ให้ประเทศแล้วมากกว่า 1.2 ล้านล้านบาท ด้วยปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของทางภาครัฐ รวมทั้งการพัฒนายกระดับมาตรฐานคุณภาพของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบกับสถานการณ์โดยรวมดูดีไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ทำให้เชื่อว่าปัจจัยบวกที่จะช่วยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะทำให้การท่องเที่ยวไทยในช่วงครึ่งปีหลังสามารถเติบโตได้อีกมาก”

นายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ปัจจัยบวกของภาคการท่องเที่ยวที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่ง คือแม็กเน็ตทางการท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง อาทิ โปรเจ็คยักษ์ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างไอคอนสยาม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเปิดให้บริการในช่วงปลายปีนี้ จะเป็นจิ๊กซอร์สำคัญอีกตัวหนึ่ง ที่มาช่วยเพิ่มความหลากหลายให้กับการท่องเที่ยวของประเทศไทย และดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างดี

จุดแข็งของการท่องเที่ยวของประเทศไทยคือความหลายหลาย ซึ่งวันนี้ เรามีทั้งความหลากหลายของสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีให้เลือกทั้งสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทะเล ภูเขา น้ำตก แม่น้ำ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตความเป็นไทย ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวแบบสมัยใหม่ ที่เกิดใหม่ในรูปแบบต่างๆ มากมาย ตรงนี้ถือเป็นจุดแข็งที่น่าสนับสนุนให้เกิดขึ้น เพราะคือสิ่งที่ช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน ช่วยเพิ่มความหลากหลายและเพิ่มทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวและยังเป็นการช่วยลดความบอบช้ำของสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้อีกแรงหนึ่งด้วย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีความหลากหลายในเรื่องของอาหารการกินซึ่งเป็นที่ชื่นชอบไปทั่วโลก รวมทั้งความหลากหลายในเรื่องของการเดินทางที่วันนี้ถือว่ามีความสะดวกสบายมากขึ้น

 

โดยกรุงเทพมหานครคว้าแชมป์อันดับหนึ่ง เมืองที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนมากที่สุดในโลก จากการสำรวจเมืองที่เป็นสุดยอดจุดหมายปลายทางโลกโดยมาสเตอร์การ์ด เอาชนะมหานคร ชื่อดังของโลกอย่างลอนดอน ปารีส ดูไบ สิงคโปร์ นิวยอร์ก และโตเกียว ได้ถึง 2 ปีซ้อน คือปี 2559 และ 2560 โดยพื้นที่ที่เป็นหัวใจ และถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของกรุงเทพมหานครในเชิงของการท่องเที่ยวที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากคือพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่นักท่องเที่ยว เนื่องจากความสวยงามของทัศนียภาพและความหลากหลาย ที่มีทั้งสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร, วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร, มิวเซียมสยาม และอีกมากมาย และมีสถานที่ท่องเที่ยวแบบสมัยใหม่ ที่เกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่เปิดมาแล้วก่อนหน้านี้แล้ว เช่น เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์, ท่ามหาราช, ยอดพิมาน ริเวอร์ วอล์ค และโครงการยักษ์ที่จะกลายเป็นจุดหมายปลายทางชื่อดังระดับโลก ที่กำลังจะเปิดในช่วงปลายปีนี้ อย่างไอคอนสยาม

ณ ตอนนี้ ภาคการท่องเที่ยวกำลังจับตามองการมาของไอคอนสยาม เพราะเชื่อว่าไอคอนสยามจะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่เข้ามาช่วยเติมเต็มการท่องเที่ยวริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น อีกทั้งจะช่วยเติมเต็มภูมิทัศน์ที่สวยงามของริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้สวยงามมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลากลางคืน

ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกล่าวปิดท้ายว่า “สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่ถือเป็นปัจจัยบวกของภาคการท่องเที่ยวประเทศไทยคือ การพัฒนาในเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย และความหลากหลาย ของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ตลอดจนเรื่องอาหารการกินซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดใจที่สำคัญและเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ด้วยการร่วมแรงร่วมใจกันของทุกภาคส่วน ช่วยกันเพิ่มเติมและเติมเต็มเส่นห์ให้กับการท่องเที่ยวประเทศไทย ทั้งหมดนี้ จึงเป็นปัจจัยบวกที่จะสนับสนุนให้ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืน และทำให้เราค่อนข้างมั่นใจว่าหากสถานการณ์ต่างๆ ยังเป็นไปในทิศทางที่ดีเหมือนในปัจจุบัน เราคาดว่าน่าจะสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2561 ได้เป็นจำนวนรวมถึง 39 ล้านคน จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 37 ล้านคน”

  • ชูคอนเซ็ปต์เมืองค้าปลีกรูปแบบใหม่ – ‘Co-Creation’

 

  • ตอกย้ำพันธกิจสำคัญของไอคอนสยามในการเป็นเวทีให้ผู้ประกอบการท้องถิ่น และช่างฝีมือตัวจริงกว่า 3,000 ราย จากทุกจังหวัดทั่วประเทศ นำเสนอมรดกภูมิปัญญาไทยและสุดยอดผลิตภัณฑ์สู่สายตาชาวไทยและชาวโลก และก้าวมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศทางการค้าที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

 

  • ทุ่มงบ 25 ล้านบาท จัดงานประกาศเปิดตัวยิ่งใหญ่ นำเสนอด้วยการฉายภาพด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์แอลอีดี 8K แบบ 360 องศาใน Double Dome ครั้งแรกในโลก

 

กรุงเทพฯ (4 เมษายน 2561) ไอคอนสยาม อภิมหาโครงการเมืองแห่งการใช้ชีวิตสู่โลกอนาคต สัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์ของไทยริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามูลค่า 54,000 ล้านบาท ซึ่งพร้อมจะเปิดให้บริการในปลายปีนี้ ประกาศเปิดตัว ‘สุขสยาม’ หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของไอคอนสยาม มูลค่าการลงทุน 700 ล้านบาท ตั้งเป้าเป็นเมืองแห่งมนต์เสน่ห์มหัศจรรย์วิถีไทย ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติให้มาเยี่ยมเยือนปีละ 21.9 ล้านคน โดยนำเสนอคอนเซ็ปต์ค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘Co-Creation’ หรือการร่วมกันรังสรรค์ คือผนึกกำลังพันธมิตรทางธุรกิจ ศิลปิน วิสาหกิจท้องถิ่น ชุมชนวิถีไทย และผู้ประกอบการรายย่อยระดับท้องถิ่นจาก 77 จังหวัดทั่วไทย รวมพลังความคิดสร้างสรรค์กันอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อนำเสนอสิ่งที่น่าตื่นเต้นและมีคุณค่าเข้าถึงใจคนอย่างแท้จริง

(จากซ้าย) นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้บริหารโครงการไอคอนสยาม, รศ. วาสนา สายมา งานหัตถกรรมจักสาน จังหวัดเชียงใหม่, นายแวอารง แวโนะ กลุ่มคนรักว่าวยะลา, นางลักขณา นะวิโรจน์ ประธานกรรมการ โครงการสุขสยาม, และนายชยะพงส์ นะวิโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โครงการสุขสยาม

นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้บริหารโครงการไอคอนสยาม กล่าวว่า “เราได้จัดสรรพื้นที่ 15,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 10 ไร่ บนชั้นล่างสุด (หรือชั้น G) ของไอคอนสยาม ให้เป็นเมืองมหัศจรรย์แห่งวิถีไทย ซึ่งใช้ชื่อว่า ‘สุขสยาม’ นำเสนอผลิตภัณฑ์และผลงานสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาไทย งานศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตดั้งเดิมของแท้จาก 77 จังหวัดทั่วประเทศไทยไว้ในพื้นที่เดียวกัน โดยนำเสนอในรูปแบบใหม่ที่  น่าตื่นตาตื่นใจ บันเทิงสร้างสรรค์ เข้าใจและเข้าถึงได้ ให้ความรู้สึกกลมกลืนเหมือนอยู่ในสถานที่จริง ทั้งนี้ เป็นการเดินหน้าสานต่อพันธกิจที่มีมาตลอดเกือบ 60 ปีของสยามพิวรรธน์ ผู้พัฒนาธุรกิจค้าปลีกและอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ และเป็นที่ยอมรับในฐานะผู้นำความคิดสร้างสรรค์ที่ล้ำสมัย ที่นำเสนอปรากฏการณ์แปลกใหม่ให้แก่วงการค้าปลีกของประเทศไทย ที่สร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค้าเสมอ”

 

“‘สุขสยาม’ เป็นหนึ่งในพันธสัญญาและความมุ่งมั่นตั้งใจของไอคอนสยามที่จะรวบรวมทุกสิ่งดีงามจากทั่วประเทศไทยนำเสนอสู่สายตาชาวโลก อีกทั้งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยได้ภูมิใจในศักยภาพและพลังของความเป็นไทย ร่วมสืบสานมรดกทางภูมิปัญญา และชีวิตวิถีไทยให้คงอยู่และส่งต่อคนรุ่นหลัง ส่งเสริมให้ผู้ผลิตจากท้องถิ่นต่างๆ มีความภาคภูมิใจในอาชีพของตนเองและมีแรงบันดาลใจที่จะรักษาสืบทอดอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษให้คงอยู่อย่างยั่งยืน โดย สุขสยาม จะทำหน้าที่เป็นเวทีในการนำเสนอสุดยอดผลิตภัณฑ์ไทยแสดง ผลงานอันน่าภาคภูมิใจให้เป็นที่ประจักษ์ อันเป็นการดำเนินธุรกิจในกลไกของระบบนิเวศทางการค้า (commercial ecosystem) ที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน” นางชฎาทิพกล่าว 

 

‘สุขสยาม’ เป็นพื้นที่ที่ไอคอนสยามตั้งใจรังสรรค์ขึ้นเพื่อนำเสนอมหัศจรรย์วิถีไทย มรดกทางวัฒนธรรมของทั้งสี่ภูมิภาคหลักของประเทศ และไม่ว่าจะเป็น อาหาร งานศิลปะ หัตถกรรมงานฝีมือ เวชศาสตร์ การแสดงการละเล่นพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพื้นที่ของ ‘สุขสยาม’ จะประกอบไปด้วยร้านค้าและบริการหลากหลายมากกว่า 3,000 ผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งล้วนมีเอกลักษณ์และมีชื่อเสียงจากท้องถิ่นต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ นำเสนอในบรรยากาศแวดล้อมที่สะท้อนรูปแบบวิถีชีวิตพื้นบ้านอันงดงาม ในแต่ละภูมิภาค เป็นพื้นที่เชิงวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งใหม่ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาสัมผัสอัตลักษณ์แห่งความเป็นไทยได้ในที่เดียว

 

ของแท้และดั้งเดิม

นางชฎาทิพ กล่าวว่า สิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่งทำให้สุขสยามแตกต่างอย่างแท้จริงก็คือความเป็นของแท้และเป็นต้นตำรับดั้งเดิมที่แท้จริง โดยร้านค้าใน ‘สุขสยาม’ จะเป็นร้านค้าท้องถิ่นมีอยู่จริงในหมู่บ้านหรือในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย เป็นกิจการค้าขาย ของครอบครัวที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีชื่อเสียงอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ หรือเป็นร้านค้าที่มีเรื่องราวพิเศษ เป็นรากที่หยั่งลึกแข็งแรงของชุมชนท้องถิ่น เพียงแต่กิจการร้านค้าเหล่านั้น ยังไม่มีโอกาสได้นำเสนอคุณค่าของภูมิปัญญาและคุณภาพของสินค้าอันน่าภาคภูมิใจ ให้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศและระดับโลก เราจึงได้เชิญต้นตำรับตัวจริงเหล่านั้นให้เข้ามาอยู่ที่ ‘สุขสยาม’”

‘สุขสยาม’ อยู่ในระหว่างการเนรมิตขึ้นโดยการนำของนางลักขณา นะวิโรจน์ ซึ่งได้รับการยกย่องในฐานะผู้เชี่ยวชาญในการเลือกสรรสุดยอดสินค้าและอาหารที่ดีที่สุดของแท้ต้นตำรับจากทั่วประเทศไทย และเป็นนักพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและผู้ประกอบการท้องถิ่นมากว่า 30 ปี

 

นางลักขณา กล่าวว่า ร้านค้าใน ‘สุขสยาม’ มีร้านจริงต้นตำรับดั้งเดิม มีจุดกำเนิดมาจากชุมชนท้องถิ่นทั่วไทย เป็นกิจการที่มีเรื่องราวความเป็นมาและเสน่ห์เฉพาะที่น่าศึกษาทั้งสิ้น ตั้งอยู่ในหมู่บ้านตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านค้าของครอบครัวที่ดำเนินกิจการสืบต่อกันมาหลายรุ่น

 

“เราเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อค้นหาร้านค้าที่มีความพิเศษ ช่างฝีมือและศิลปินผู้เป็นที่เชิดหน้าชูตา ของท้องถิ่น เชิญพวกเขามาร่วมนำเสนอผลงานที่เป็นความภาคภูมิใจและเป็นรากของท้องถิ่นนั้นๆ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้นบนพื้นที่ ‘สุขสยาม’ โดย ‘สุขสยาม’ จะทำหน้าที่เป็นเวทีที่น่าตื่นตาตื่นใจ เปิดโอกาสให้กับคนไทยจากทั่วประเทศที่มีความพิเศษ มีฝีมือและมีความสามารถได้นำเสนอพรสวรรค์และสุดยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองให้โลกรู้จัก รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายด้วย”

 

“ชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาเยือน ‘สุขสยาม’ จะได้สัมผัสกับประสบการณ์แห่งมหัศจรรย์วิถีไทย

เป็นสถานที่ๆ จะนำเสนอความสุขในมิติต่างๆ ครบทุกอรรถรส และยังสามารถซื้อของดีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีอยู่มากมายตามเมืองและหมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศไทย” นางลักขณา กล่าว

 

นางลักขณา กล่าวว่า “พลังความสุขในชีวิตการทำงานของดิฉัน คือการได้ทำงานกับคนที่มีฝีมือและพรสวรรค์ แต่เป็นคนเรียบง่าย วิริยะอุตสาหะ คนที่เป็นตำนานอยู่ในท้องถิ่นของเขา แต่ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ทำให้ผลงานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าของพวกเขา ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง การทำโครงการ ‘สุขสยาม’ เปิดโอกาสให้ดิฉันได้ทำตามความฝันและเติมเต็มเป้าหมายในชีวิตที่จะช่วยนำเสนอ ภูมิปัญญาไทย และความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตดั้งเดิมของแท้ของไทย ประกาศให้ทั้งชาวไทยและชาวโลกได้รับรู้และร่วมชื่นชม ตลอดจนสืบสานมรดกของชาติที่อยู่ในสายเลือดของผู้คนที่สำคัญเหล่านั้นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน”

 

สืบสานและส่งต่อมรดกของชาติ

นางลักขณา กล่าวว่า “นอกจากการช่วยให้ยอดฝีมือคนไทยมีพื้นที่นำเสนอผลงานแล้ว จุดมุ่งหมายของเราอีกประการหนึ่งคือการช่วยอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของไทย และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของไทยที่กำลังจะเสื่อมสลายไปอย่างรวดเร็ว ช่วยสืบสานและส่งต่อให้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน โดยสุขสยามจะเป็นเวทีที่สร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบันและแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่อยากจะสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษให้ดำรงอยู่ต่อไปและสร้างให้เป็นร้านค้าหรือกิจการที่ใหญ่ขึ้น นำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยเหลือ ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าพอที่พวกเขาจะสามารถสานต่อวิถีแห่งความภาคภูมิใจของครอบครัวต่อไปได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับช่วยรักษามรดกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของวิถีชีวิตไทยให้คงอยู่ต่อไป แต่หากบุคคลเหล่านี้ไม่มีโอกาสในการขยับขยายธุรกิจ หรือไม่ได้เข้ามาอยู่ในระบบนิเวศทางการค้า (commercial ecosystem) ที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่มีผู้สนใจสนับสนุนผลงานของศิลปินและช่างฝีมือเหล่านี้ ก็มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่ทายาทรุ่นต่อไปจะละทิ้งอาชีพดั้งเดิม แล้วหันไปทำอาชีพอื่น ซึ่งสุดท้ายแล้ว มรดกทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ไทยที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี จะสูญหายไปอย่างถาวร ทั้งหมดนี้ จะทำให้ ‘สุขสยาม’ กลายเป็นศูนย์กลางที่รวบรวมองค์ความรู้ในทุกมิติของประเทศไทย (Knowledge Hub) ทั้งอาหาร เวชศาสตร์ ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม หัตถกรรม ที่ครบครันที่สุดอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน

 

Co-Creation

นางชฎาทิพ กล่าวว่า ‘สุขสยาม’ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของคอนเซ็ปต์ค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘Co-Creation’ หรือการร่วมกันรังสรรค์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไอคอนสยามซึ่งบริหารงานโดยสยามพิวรรธน์ ยึดถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและออกแบบไอคอนสยามทั้งโครงการ

 

นางชฎาทิพ กล่าวว่า “ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับไอคอนสยาม ไม่ว่าจะสถาปนิก มัณฑนากร นักวิชาการ และศิลปินแขนงต่างๆ ทั่วประเทศไทย ที่มาร่วมคิด ร่วมวางแผน แลกเปลี่ยนความรู้และร่วมกันทำงานในกระบวนการออกแบบและการพัฒนาโครงการของเราตลอด 4 ปีที่ผ่านมา จนเรียกได้ว่าไอคอนสยามถูกเนรมิตขึ้นจากความร่วมมือของผู้มีความรู้ความสามารถและพันธมิตรหลายพันรายร่วมกันรังสรรค์สิ่งที่ยิ่งใหญ่ และ ‘สุขสยาม’ ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบของแนวคิด ‘Co-Creation’ ดังกล่าวนี้ เพราะสิ่งพิเศษทั้งหมดที่จะถูกนำเสนอใน ‘สุขสยาม’ ล้วนเป็นแนวคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของคนไทยผู้มีฝีมือทั้งสิ้น โดยเราจะ ‘ร่วมรังสรรค์’ กับเจ้าของกิจการร้านค้าและเจ้าของผลงานเหล่านี้  ด้วยการแบ่งปันความรู้ของเราเกี่ยวกับการทำการตลาดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภค ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ความรู้เกี่ยวกับการทำการตลาดสมัยใหม่อย่างครบวงจร ความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆ ตลอดจนให้การสนับสนุนทางด้านนวัตกรรมและเครื่องมือการส่งเสริมการตลาดและค้าปลีก เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และในขณะเดียวกัน เรายังทำหน้าที่เป็น ‘Curator’ คือ ‘ร่วมเลือกสรร’ สินค้าและบริการต่างๆ ที่จะนำเสนอ ณ ‘สุขสยาม’  ซึ่งมีวิธีการนำเสนอผลงานนั้นๆ ให้ออกมาน่าตื่นเต้นและดึงดูดใจ ผ่านการทำ Story Telling คือบอกเล่าเรื่องราวของภูมิปัญญาแต่ละเรื่องให้สะท้อนถึงคุณค่าของสินค้าและบริการนั้นๆ ได้อย่างน่าประทับใจ”

 

“แนวคิด ‘Co-Creation’ นี้ เป็นต้นแบบของความร่วมมือระหว่าง Developers หรือผู้พัฒนาโครงการ กับ Co-Creator หรือ ผู้ร่วมรังสรรค์ อย่างที่เราและผู้ประกอบการทั้งหมดทุกขนาดในไอคอนสยามได้ร่วมมือกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดร่วมกันของทุกฝ่าย ซึ่งแนวคิดนี้เป็นรูปแบบใหม่ของธุรกิจค้าปลีกในอนาคตทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ทั้งนี้ไอคอนสยามได้สะท้อนความเชื่อหลักของเราที่ว่าความร่วมมือกับผู้ประกอบการ ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ทุกภาคส่วน จะเป็นหนทางเดียวที่นำพาธุรกิจค้าปลีกให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนในอนาคต” นางชฎาทิพ กล่าว

 

นายชยะพงส์ นะวิโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โครงการสุขสยาม กล่าวว่า “โครงการ ‘สุขสยาม’ ช่วยให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นสามารถนำเสนอสินค้าได้ตลอด 365 วัน อีกทั้งจะช่วยด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆ ผสมผสานนวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้แก่เกษตรกรและชาวบ้าน รวมถึงการสนับสนุนในการเรียนรู้กลไกการค้าปลีกและค้าส่งสู่ต่างประเทศ การตลาดในรูปแบบใหม่อย่างครบวงจร (Omni Channel) อันเป็นการดำเนินธุรกิจในกลไกของระบบนิเวศทางการค้า (Commercial Ecosystem) ที่มีการบริหารจัดการสินค้าอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐ ในการนำนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น”

 

“เราได้รับการยืนยัน จากบุคคล ครอบครัว และกิจการร้านค้าชุมชนท้องถิ่นจากทั่วประเทศไทย มากกว่า 3,000 ราย ตกลงที่จะร่วมผนึกกำลังเข้าร่วมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ‘สุขสยาม’ ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเป็นการยกเอาต้นตำรับของแท้ ผู้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์และผลงานนั้นๆ ออกนอกบ้านเกิดเป็นครั้งแรกด้วย อาทิ ร้านขายกาละแมจากจังหวัดสุรินทร์ทีมีประวัติยาวนานกว่า 45 ปี  ร้านขายผลิตภัณฑ์ดินเผาศิลปะโบราณล้านนาจากจังหวัดเชียงใหม่ บ้านโขนไทยงานศิลปประดิษฐ์หัวโขนอันวิจิตรมรดกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาย่านคลองสาน กรุงเทพมหานคร และร้านเครื่องทองเทคนิคโบราณ ศิลปะแห่งทองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยจากจังหวัดสุโขทัย รวมไปถึงช่างทำว่าวจากจังหวัดยะลา ช่างสานตะกร้าจากจังหวัดพัทลุง และร้านค้าหรือผลงานอื่นๆ อีกมากมาย”

 

“ศิลปินไทยท้องถิ่นจากสี่ภาคทั่วประเทศกว่า 200 ชีวิต ได้รวมพลังกันรังสรรค์และออกแบบ ‘สุขสยาม’ เพื่อสร้างให้เกิดเป็นชุมชนช่างศิลป์ เผยแพร่ภูมิปัญญางานศิลป์จากท้องถิ่นให้ผู้มาเยือนได้ร่วมชื่นชมและเรียนรู้ เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ ศิลปวัฒนธรรม การแสดง การละเล่นต่างๆ ใน สุขสยามที่เต็มไปด้วยความงดงามและความสนุกสนาน จะถูกนำเสนออย่างสร้างสรรค์ในรูปแบบที่มอบความเพลิดเพลินและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น สับเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดทั้งปี สุขสยามคือเมืองสารพัดสุข สนุกแบบไทย ครบทุกมิติใน 7 สุข คือ สุขเสน่ห์ สุขแซ่บ สุขสนุก สุขสร้างสรรค์ สุขสัมพันธ์ สุขสืบสาน และสุขสมหวัง”

 

นายชยะพงส์ กล่าวว่า ผู้มาเยือน ‘สุขสยาม’ จะได้พบกับประสบการณ์สุดตื่นตาตื่นใจ จากวิธีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ ทันสมัย ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีล้ำยุค และซอฟต์แวร์อินเตอร์แอคทีฟในการนำเสนอ ทำให้ผู้มาเยือน ‘สุขสยาม’ ได้เข้าถึงคุณค่าและสัมผัสกับ  จิตวิญญานของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งจะแรงบันดาลใจต่อยอดให้อยากไปเยือนสถานที่จริงอีกด้วย”

 

นี่คือสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของคนรุ่นใหม่ในการเข้ามาช่วยสืบสานและส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมต่างๆ ให้คงอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน ด้วยวิธีการนำเสนอที่ง่ายต่อการเข้าใจและเข้าถึง

 

ไอคอนสยาม

นางชฎาทิพ กล่าวว่า ไอคอนสยามกำลังเตรียมความพร้อมที่จะเปิดให้บริการในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 โดยตอนนี้พื้นที่เช่าได้ถูกส่งมอบให้กับบรรดาผู้เช่าเริ่มเข้ามาทำการตกแต่งแล้ว”

 

“ผู้ร่วมรังสรรค์ที่ ‘สุขสยาม’ ทั้งหมดจะได้รับประโยชน์จากของระบบนิเวศค้าปลีกรูปแบบใหม่ (New Retail Ecosystem) ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง ซึ่งจะเชื่อมต่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ตัวจริง เข้าสู่เวทีค้าขายที่น่าตื่นเต้นและมีศักยภาพ เชื่อมต่อถึงผู้ซื้อหรือกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรงอย่างไร้รอยต่อ สร้างประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างเต็มที่และยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ระบบนิเวศค้าปลีกรูปแบบใหม่ (New Retail Ecosystem) ที่ไอคอนสยาม จะมอบประสบการณ์ค้าปลีกและประสบการณ์ไลฟ์สไตล์ที่ไร้รอยต่อระหว่างโลกออฟไลน์และออนไลน์ให้กับผู้มาเยี่ยมเยือน โดยทั้งระบบจะพร้อมใช้ในวันเปิดทำการ ผสมผสานทั้งอีคอมเมิร์ซ อีไฟแนนซ์ และอีลอจิสติกส์ เข้าด้วยกัน พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่กระจายตัวอยู่ทั่วทั้งไอคอนสยาม และด้วยระบบนิเวศค้าปลีกรูปแบบใหม่ (New Retail Ecosystem) นี้ จะช่วยให้ร้านค้าเอสเอ็มอี ผู้เช่าพื้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลบิ๊กดาต้าได้อย่างเต็มที่ ทำให้สามารถวางแผนการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า อีกทั้งยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับรสนิยมความชอบของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้อย่างทันท่วงที”

 

เปิดตัวสุขสยามสุดอลังการ

ด้วยงบประมาณ 25 ล้านบาท จัดงานเปิดตัว ‘สุขสยาม’ อย่างยิ่งใหญ่ในโดมขนาดยักษ์ สูง 8 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ร่วมเป็นสักขีพยานนับร้อยชีวิต ณ พาร์คพารากอน โดย เป็นครั้งแรกในโลก ที่ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์แอลอีดี (Lazer LED) ระดับ 8K ฉายภาพแบบ 360 องศา  ใน Double Dome มอบประสบการณ์การรับชมที่สมจริง ให้ความคมชัดมากที่สุดในโลก มากกว่าระบบ IMAX ถึง 4 เท่า นอกจากนั้น มีการออกร้านโดยเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือผลงานต้นตำรับตัวจริง อีกด้วย ทั้งอาหาร หัตถกรรมงานฝีมือ ศิลปะการแสดงการละเล่นจากท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ

 

กิจกรรมการเปิดตัวสุขสยาม ในโดมขนาดยักษ์ มีตั้งแต่วันที่ 5-8 เมษายน วันละ 6 รอบ ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึงเวลา 22.00 น.