รู้หรือไม่! การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน สามารถแพร่เชื้อหรือติดโรคติดต่อได้มากถึง 7 โรคเลยทีเดียว!! The Thai Red Cross Society ได้ให้ความรู้ เกี่ยวกับโรคที่สามารถติดต่อกันได้ จากการดื่มน้ำแก้วเดียวกัน โดย 7 โรคที่ว่า มีดังนี้

  1. โรคโมโนนิวคลิโอซิส (โรคจากเชื้อ EBV หรือ CMV)
  2. โรคเริมที่ริมฝีปาก
  3. โรคมือเท้าปาก รวมถึงโรค เฮอแปงไจนา
  4. โรคไวรัสตับอักเสบ A และ E
  5. โรคหัด
  6. โรคคางทูม
  7. โรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดจากเชื้ออื่นๆ

ดังนั้นแล้ว การดื่มน้ำ จึงไม่ควรใช้แก้วหรือหลอดเดียวกัน ถือเป็นเรื่องที่ดีทั้งตัวเราเองและคนอื่นนะคะ

ที่มา : The Thai Red Cross Society                                    ผู้เขียน : เส้นทางเศรษฐีออนไลน์

เชื้อโรค เป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ หลายคนมีความเข้าใจว่า เชื้อโรคมีอยู่ตามสถานที่สาธารณะ อย่าง ห้องน้ำ โรงพยาบาล หรือ รถขนส่งสาธารณะ แต่รู้หรือไม่ว่า เชื้อโรคมีอยู่ทุกที่ โดยเฉพาะในสิ่งของใกล้ตัวที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั้น ถือเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคแหล่งใหญ่เลยทีเดียว!

เพจ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ ได้เผยแพร่บทความสุขภาพเกี่ยวกับ ของใช้ใกล้มือที่สะสมเชื้อโรค โดยมีอยู่ด้วยกัน 7 สิ่ง ได้แก่

1. โทรศัพท์มือถือ เชื่อไหมว่า เป็นสิ่งของที่เชื้อโรคชอบมากที่สุด เพราะโทรศัพท์มีซอกหลืบและอุณหภูมิที่เหมาะแก่การเพาะเชื้อโรค ดังนั้น ควรเช็ดทำความสะอาดหลังใช้งานทุกครั้ง

2. รีโมตทีวี เป็นสิ่งที่ทุกคนในบ้านหยิบจับใช้บ่อย และไม่ค่อยได้ทำความสะอาด จึงเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและแพร่เชื้อโรคได้อย่างดี ดังนั้นควรหมั่นทำความสะอาดรีโมตบ่อยๆ

3. เหรียญและธนบัตร เป็นของสาธารณะที่ผ่านการสัมผัสจากการใช้งานหลายๆ มือ ซึ่งในเหรียญหรือธนบัตร จะมีเชื้อโรคสะสมอยู่ประมาณ 135,000 ตัว! หลังจากหยิบจับแล้ว จึงควรล้างมือทุกครั้งก่อนหยิบจับสิ่งของมารับประทาน

4. แปรงสีฟัน อาจมีเศษอาหาร แบคทีเรีย คราบเลือด และน้ำลายบนแปรงสีฟัน ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ ถือเป็นของใช้ที่นำเข้าปากโดยตรงที่หมั่นเปลี่ยนทุกๆ 3 เดือน

5. คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ อาจมีคราบเหงื่อ เศษอาหารตกลงไประหว่างร่องคีย์บอร์ด ซึ่งยากต่อการทำความสะอาด และกลายเป็นเหล่งสะสมเชื้อโรคมากกว่าฝานั่งชักโครก 40 เท่า ดังนั้นควรทำความสะอาดคีย์บอร์ดก่อนการใช้งานด้วยน้ำยาสำหรับเช็ดคีย์บอร์ด อย่างน้อยเช็ดสัปดาห์ละครั้ง

6. อ่างล้างจาน เพราะเป็นแหล่งที่มีเศษอาหารตกค้างสะสม กลายเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อโรค โดยในแต่ละตารางนิ้วอาจมีเชื้อโรคสะสมอยู่ถึง 500,000 ตัว วิธีล้างทำความสะอาดจานให้ปลอดเชื้อโรคง่ายๆ โดยใช้โซดาไฟ หรือน้ำส้มสายชูราดทำความสะอาดแล้วล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง

7. ฝาที่นั่งชักโครกสาธารณะ ที่ผู้คนมากหน้าหลายตาเข้าไปใช้ ทุกตารางนิ้วจะมีเชื้อโรค 295 ตัว วิธีหลีกเลี่ยงคือ การใช้กระดาษเช็ด หรือนำกระดาษมารองนั่งก่อนที่จะทำธุระส่วนตัวนั่นเอง

ข้อมูลจาก : หน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

หนึ่งในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อใช้ชีวิตประจำวันอยู่นอกบ้าน คือ “ห้องน้ำสาธารณะ” หลายๆ คนคงทราบดีว่า ห้องน้ำสาธารณะบางที่ สภาพไม่ค่อยน่าใช้เป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียอย่างดี ที่สามารถก่อโรคให้กับเราได้

เพจ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ได้แชร์บทความสุขภาพเกี่ยวกับ การใช้ห้องน้ำสาธารณะอย่างไร ให้ปลอดเชื้อโรค โดยมีข้อปฏิบัติ 7 ข้อ ดังนี้

1. เลือกห้องน้ำที่ไม่ค่อยมีคนใช้ เป็นห้องน้ำที่ไม่ได้อยู่ในแหล่งพลุกพล่าน เช่น ห้องน้ำในออฟฟิศชั้นที่มีพนักงานน้อยๆ เป็นต้น

2. อย่าสัมผัสโดยตรง ทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำสาธารณะ ควรสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ในห้องน้ำน้อยที่สุด เช่น เมื่อเปิดประตูเข้าไป อาจจะใช้ทิชชูวางบนลูกบิดแล้วหมุนเข้าไป เป็นต้น

3. ทำความสะอาดก่อนนั่ง ก่อนนั่งควรทำความสะอาดฝาชักโครก ด้วยกระดาษทิชชูแบบเปียกชนิดฆ่าเชื้อ หรือพกกระดาษรองนั่งไปปูบนฝาชักโครกก่อนขับถ่าย และระวังอย่าให้แผ่นรองเปียกน้ำเด็ดขาด เพราะเชื้อโรคอาจจะแทรกซึมมากับน้ำได้

4. ใช้เวลาน้อยที่สุด ไม่ต้องถึงขั้นจับเวลา แต่ควรใช้เวลาในการทำกิจธุระในห้องน้ำให้สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ชักโครก ควรเลือกดูห้องที่สะอาดที่สุด และหลังขับถ่ายเสร็จ ควรปิดฝาชักโครกก่อนกด เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายในอากาศ

5. ไม่เหยียบโถส้วม หลายคนใช้บริการห้องน้ำสาธารณะผิดวิธี โดยใส่รองเท้าขึ้นไปนั่งบนฝารองนั่ง เพราะคิดว่าจะทำให้ไม่สัมผัสกับเชื้อโรค แต่จริงๆ แล้ว ระหว่างที่ขับถ่ายอาจจะมีการกระเด็นของน้ำในโถ ซึ่งเป็นที่รวมเชื้อโรคเปื้อนได้มากกว่าการนั่งธรรมดา

6. ไม่ตักน้ำที่เปิดไว้ การใช้น้ำล้างทำความสะอาด ไม่แนะนำให้ตักในส่วนที่มีอยู่ในถังเดิมใช้ แต่ควรรองจากก๊อกโดยตรง เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในถังน้ำ เพราะบางคนเอามือจุ่มล้างในถัง หากเป็นสายฉีดก็ควรฉีดน้ำให้ไหลทิ้งประมาณ 1 นาที เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ปะปนบริเวณรอบๆ สายฉีดได้

7. ล้างมือทุกครั้งหลังเสร็จธุระ เมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จเรียบร้อย เพื่อไม่ให้เชื้อโรคติดมากับมือของเรา ควล้างมือห้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและสบู่ เริ่มต้นล้างมือโดยฟอกฝ่ามือด้านหน้า ด้านหลัง ง่ามนิ้วมือด้านหน้า ด้านหลัง ฟอกนิ้วมือและข้อนิ้วมือด้านหลัง รวมทั้งฟอกหัวแม่มือ ขัดสิ่งสกปรกบริเวณซอกเล็บ และข้อมือ ล้างสบู่ออกด้วยน้ำสะอาด เช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือ หากไม่มีสบู่ ก็ใช้น้ำสะอาดล้างซ้ำหลายๆ ครั้ง

ข้อมูลจาก : หน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ                                                                                                                                                                                                    ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์                                                                                                                                                                                                                                                              ผู้เขียน : เส้นทางเศรษฐีออนไลน์

เมื่อพูดถึงอาหารที่กินแล้วทำให้ป่วย เชื่อว่าหายคนคงไม่นึกถึงอาหารประเภทผักผลไม้สด สิ่งที่หลายคนนึกถึงมักจะเป็นอาหารทะเล หรือเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก แต่พวกผักงอก, ผักขม และน้ำผลไม้ที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ก็ทำให้ร่างกายเราป่วยได้เช่นกัน เพราะในอาหารบางชนิดยังมีเชื้อแบคทีเรียกที่ชื่อ E. coli ซึ่งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐได้ทำการตรวจอาหารที่อาจส่งผลให้คนป่วย หลังพบว่ามีคนป่วยจากการกินผักกาดหอม 53 คนใน 16 รัฐของสหรัฐอเมริกา

ลองมาดูกันว่าอาหาร 7 ชนิดที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐบอกว่าหากทำไม่ดีอาจกินแล้วป่วยได้ มีอะไรบ้าง

1.ผักขมที่ไม่ได้ล้างหรือปรุงไม่สุก อาจมีเชื้อ E. coli และโนโรไวรัส

เกือบครึ่งหนึ่งของการเจ็บป่วยจากอาหารที่ CDC ทำการบันทึกไว้นั้นมีสาเหตุมาจากขั้นตอนการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่ (22%) พบในผักขม ทำให้ผักใบเขียวชนิดนี้กลายเป็นผักที่อันตรายที่สุด ที่ CDC รายงาน

เนื่องจากหลายคนมักกินผักและผลไม้แบบดิบๆ ทำให้อาจมีเชื้อแบคทีเรียตกค้าง ซึ่งเมื่อกินเข้าไปก็ทำให้เจ็บป่วยได้ โดยหากปนเปือนเชื้อโนโรไวรัสก็อาจทำให้ผู้กินมีอาการอาเจียนและท้องเสียได้ หรือเชื้อ E. coli ก็ทำให้เกิดอาการในระบบทางเดินอาหารเช่นเดียวกัน

ดังนั้น ก่อนกินจึงควร้างผักให้สะอาด เพื่อป้องกันและลดความเส่ยงการปนเปื้อนนั่นเอง

2.ไก่และไก่งวง อาจทำให้เกิดการติดเชื้อลิสเทอเรีย ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

จากรายงานของ CDC พบว่ายอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อจากการกินไก่และไก่งวง มีมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะครั้งหนึ่งเคยมีการระบาดของโรคชนิดนี้ในช่วงปี 1998-2002 โดยโรคลิสเทอเรียนั้นมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่าลิสเทอเรีย ผู้ป่วยจะมีอาการตั้งแต่มีไข้และท้องเสีย ไปจนถึงปวดเมื่อยคอ ปวดหัว และวิงเวียนศีรษะ ซึ่งกลุ่มเส่ยงก็คือหญิงตั้งครรภ์ เด็ก และคนชรา

3.ผักงอกต่างๆ มักปนเปื้อนเชื้อแซลโมเนลลา

สภาพแวดล้อมชื้นๆ ที่เหมาะแก่การเติบโตของผักงอก ก็เหมาะต่อการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียด้วย โดยเฉพาะแซลโมเนลลา ซึ่งเป็นสาเหตุให้ท้องเสีย, มีไข้ และปวดท้อง

4.น้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์

ตั้งแต่ปี 1995-2005 มีชาวสหรัฐหลายพันคนจากหลายรัฐ ป่วยหลังจากกินน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งอาจมีเชื้อ E. coli เชื้อแซลโมเนลลา รวมไปถึงปรสิตอื่นที่พบในผลไม้ด้วย เช่น cryptosporidium

5.สัตว์ใต้ทะเลที่กินอาหารผ่านการกรอง

สัตว์ใต้ทะเลที่กินอาหารผ่านการกรอง และอยู่ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะหอยที่อยู่ใต้ทะเลเป็นเวลาหลายเดือน เช่น หอยนางรม จะมีจุลินทรีย์มาอาศัยอยู่ด้วย ซึ่งจุลินทรีย์ที่มักพบคือแบคทีเรียที่ชื่อว่า Vibrio ซึ่งเติบโตได้ดีในน้ำทะเล หากคนกินหอยนางรมแบบดิบๆ ก็อาจได้รับเชื้อดังกล่าวได้

6.ผลิตภัณฑ์จากนมและไข่อาจมีเชื้อแซลโมเนลลาปนเปื้อน

อาหารมาจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์หลายๆ อย่าง เช่น น้ำนมดิบ, ไข่ไก่สด นั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะแบคทีเรียที่อยู่ในสัตว์จะถูกส่งผ่านมายังน้ำนมและไข่ด้วย ที่พบมากคือเชื้อแซลโมเนลลานั่นเอง

7.เนื้อวัวบดที่ไม่สุก

นอกจากผลิตภัณฑ์นมแล้ว ที่ควรระวังจากวัวอีกก็คือ เนื้อบด ที่อาจผสมระหว่างเนื้อสัตว์หลายชนิด ซึ่งหมายความว่ามีแนวโน้มที่จะมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียสูง โดยเฉพาะหากปรุงไม่สุก ทำให้เราอาจได้รับเชื้อแบคทีเรียอย่าง E. coli และ Clostridium


Content Team Matichon Academy
[email protected]
0-2954-3971 ต่อ 2111
ติดตามอ่านข่าวสารได้ที่ www.matichonacademy.com

ไม่พลาดข่าวสารอาหาร ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์ เกร็ดความรู้
คอร์สเรียนสนุกๆได้ประโยชน์-เสริมอาชีพ
คลิกติดตามเพจเฟซบุ๊ค MatichonAcademy