บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ได้รับการคัดเลือกให้เป็นองค์กรในระดับ LEAD สะท้อนการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบและความยึดมั่นในหลักสากล 10 ประการของ United Nations Global Compact 

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนพันธกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ UN Global Compact   

นางสาวแซนด้า โอเจียมโบ ซีอีโอและผู้อำนวยการบริหาร UN Global Compact กล่าวว่า “บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกเป็นองค์กรระดับ LEAD นั้น เป็นระดับสูงสุดของการมีส่วนร่วมกับ UN Global Compact ในปัจจุบันนี้โลกต้องการความร่วมมือจากธุรกิจทุกขนาด ยกระดับการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสร้างโลกที่ดีกว่า ซึ่งบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นองค์กร LEAD ในวันนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กรธุรกิจที่มีความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง”

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หรือ Global Compact Network Thailand (GCNT) กล่าวว่า “การได้รับการคัดเลือกครั้งนี้เป็นการยืนยันว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับ UN Global Compact เพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals)  เรามุ่งมั่นที่จะทำให้ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของเรา มีความโปร่งใสสูงสุด รวมถึงความพยายามที่เครือฯ ขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2573 ด้วยความมุ่งมั่นของเราในการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศที่เราเข้าไปลงทุน ประโยชน์ต่อประชาชนในทุกประเทศ เราจะดำเนินงานในเชิงรุกและผลักดันวาระสำคัญต่างๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ ดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงการสร้างงาน”

เกณฑ์การได้รับการคัดเลือก ให้เป็นบริษัทระดับ LEAD มีดังนี้

1. เป็นบริษัทมีส่วนร่วมในโครงการ UN Global Compact Action Platforms อย่างน้อย 2 โครงการ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมกับ UN Global Compact และมีความมุ่งมั่นในการกำหนดและส่งเสริมแนวปฏิบัติความเป็นผู้นำตามหลักสากล 10 ประการและร่วมผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับโลก (UN SDGs)

2. มีการนำเสนอรายงานด้านความยั่งยืนขององค์กร และรายละเอียดความคืบหน้าของการนำหลักสากล 10 ประการ ไปปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แสดงเจตจำนงร่วมสนับสนุน UN Global Compact อย่างเต็มที่ โดยเข้าร่วม Action Platform หัวข้อ Decent Work in Global Supply Chains และ Climate Ambition  โดยแต่ละ Platform จะรวบรวมภาคธุรกิจ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กในประเทศต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญ ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และพันธมิตรของสหประชาชาติ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนและมีความเชื่อมโยงถึงกัน และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์มีการนำเสนอรายงาน

ความคืบหน้า หรือ Communication on Progress (CoP) และข้อมูลที่เกี่ยวข้องบนเว็บไซต์ UN Global Compact https://www.unglobalcompact.org/what-is-gc/participants/2022-Charoen-Pokphand-Group-Co-Ltd-C-P-Group-

นับตั้งแต่ที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าร่วมเป็นองค์กรผู้ขับเคลื่อน UN Global Compact ตั้งแต่ปี 2559 เครือฯ มีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการนำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ไปใช้ปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจ เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความรับผิดชอบในฐานะภาคธุรกิจเอกชน ในการพัฒนาโลกให้ดียิ่งขึ้น

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.unglobalcompact.org/news/4785-09-19-2021

เมื่อ 2 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดงานเสวนาในหัวข้อระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยมีผู้บริหารและพนักงานจากทั้งบริษัท เจียไต๋ จำกัด, บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ,บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน), บริษัทกรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีแรม จำกัด, บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด, บริษัท ซีพี อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด หรือ Lotus’s เตรียมความพร้อมสู่การประชุมสุดยอดสหประชาชาติ UN Food Systems Summit 2021 ที่จะจัดขึ้นในเดือนกันยายน 2564 นี้ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องระบบอาหาร (Food Systems)

ระบบอาหาร หรือ Food Systems หมายถึง ปัจจัยและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและบริโภคอาหาร ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป 

บรรจุภัณฑ์ การขนส่ง การตลาด รูปแบบพฤติกรรมการบริโภค ตลอดจนการจัดการกับของเสียจากทุกขั้นตอน ซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน และเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

สหประชาชาติได้วางกรอบการหารือไว้ 5 ประการ เพื่อให้ทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งผู้เข้าร่วมเสวนาจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นว่าด้วย ปัญหา ความท้าทาย และแนวทางพัฒนาระบบอาหารให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น ดังนี้ คือ

  1. ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ ขจัดปัญหาความอดอยากและขาดสารอาหาร
  2. ขับเคลื่อนพฤติกรรมผู้บริโภคสู่รูปแบบการบริโภคอาหารที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
  3. ยกระดับกระบวนการผลิตอาหารที่รักษาทรัพยากรธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  4. ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารอย่างทั่วถึง
  5. เสริมสร้างความมั่นคงเข้มแข็งของระบบอาหารให้พร้อมรองรับภัยพิบัติและผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

นายนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ระบบอาหาร เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกคน การพัฒนาระบบอาหารสู่ความยั่งยืนแบบองค์รวมจะเป็นกำลังสำคัญที่จะไปต่อสู้กับความท้าทายอื่นๆ ได้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะผู้นำในธุรกิจอาหารและการเกษตรรายหนึ่งของประเทศไทยและของโลก มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนานี้ ผมขอชื่นชมกลุ่มธุรกิจภายในเครือที่ได้ดำเนินการพัฒนาระบบอาหารมาอย่างต่อเนื่อง และมั่นใจว่าการเสวนาในครั้งนี้จะทำให้เครือฯ มีเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในการสนับสนุนประชาคมโลกให้สามารถเดินไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

ในการเสวนาครั้งนี้ บุคลากรจากหลากหลายกลุ่มธุรกิจภายในเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เสนอแนวทางพัฒนาระบบอาหารในประเด็นต่างๆ กว่า 40 ประเด็น เช่น การพัฒนานวัตกรรมร่วมกับเกษตรกรรายย่อยและ SME ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การใช้ฐานข้อมูลและระบบ GIS เพื่อตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกไม่ให้รุกล้ำพื้นที่ป่าและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ การให้บริการทางการเงินแก่เกษตรกรรายย่อย โดยมีเกณฑ์ความยั่งยืน

ประกอบการพิจารณา การจัดการผลิตภัณฑ์อาหารทั้งห่วงโซ่อุปทานเพื่อลดการสร้างขยะอาหาร และการเสนอให้ภาครัฐออกนโยบายจูงใจผู้ประกอบการมุ่งสู่การบริหารจัดการขยะอาหารเป็นศูนย์ เช่นมาตรการจูงใจทางภาษีและความช่วยเหลือเชิงเทคนิค เป็นต้น

เป้าหมายของการประชุม UN Food Systems Summit 2021 ที่จะจัดขึ้นในเดือนกันยายน ศกนี้ เน้นการพัฒนาแผนงานไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2030 ศึกษาและร่วมกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาในระบบอาหาร เรียกร้องให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริโภค ร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ และกระตุ้นให้เกิดการหารือกันในเวทีสาธารณะ ในประเด็นการพัฒนาระบบอาหารให้เกิดความยั่งยืนต่อธรรมชาติและมนุษย์

กรุงเทพฯ 15 กุมภาพันธ์ 2564 – ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ และศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย ผนึกกำลัง เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มทรู เดินหน้าเชิญชวนบริจาคอวัยวะและดวงตา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 เปิดโครงการ “Let Them See Love 2021” ในเดือนแห่งความรัก โดยสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาแบบอินเตอร์แอคทิฟแนวคิด “BLOOM A NEW LIFE: ให้ชีวิตใหม่ได้สวยงาม…อีกครั้ง” เพื่อชวนคนไทยยุคดิจิทัลส่งต่อความรักที่ไม่สิ้นสุด ด้วยการให้ที่จะต่อลมหายใจเพื่อนมนุษย์ที่กำลังรอคอยความหวังกว่า 21,078 ราย พร้อมกระตุ้นให้ญาติและคนรอบตัวผู้ที่อยู่ในสภาวะสมองตาย ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการบริจาคอวัยวะและดวงตา รวมทั้งยังเชิญร่วมบริจาคทุนทรัพย์ สมทบทุนค่าใช้จ่ายในกระบวนการบริจาคอวัยวะและดวงตาผ่าน SMS ระบบทรูมูฟ เอช แอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ท หรือโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ “ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย” และ “ศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย” ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2564

นายแพทย์ วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย กล่าวว่า โครงการ “Let Them See Love 2021” เกิดขึ้นได้จากความร่วมมือของเครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มทรู ที่ให้การสนับสนุนอย่างดียิ่งมาตลอด 15 ปี จนสามารถสร้างการรับรู้แก่สาธารณชนได้อย่างกว้างขวาง และมีผู้บริจาคอวัยวะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการเนื่องด้วยมีผู้รอรับการบริจาคมากขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันมีจำนวนสูงถึง 5,735 ราย ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา สามารถปลูกถ่ายอวัยวะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ทั้งสิ้น 697 ราย จากที่ได้รับการบริจาคเพียง 315 ราย เท่านั้น เพราะติดข้อจำกัดหลายประการ ทั้งการที่อวัยวะที่จะนำมาปลูกถ่ายได้ ต้องมาจากผู้เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตายเท่านั้น ซึ่งเป็นภาวะเดียวที่เสียชีวิตแล้วแต่ยังมีเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่ออยู่ ขณะเดียวกัน ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 72 ชั่วโมง พร้อมต้องได้รับความยินยอมจากญาติผู้เสียชีวิตด้วย

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ลลิดา ปริยกนก ผู้อำนวยการศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้รอรับบริจาคที่มาแจ้งความจำนงไว้กับศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทยมากถึง 15,343 ราย แต่ในปี 2563 มีการบริจาคดวงตาจากผู้เสียชีวิตและนำไปผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาได้เพียง 816 ราย ทางศูนย์ฯจึงหวังว่าโครงการ “Let Them See Love 2021” จะเป็นอีกหนึ่งสื่อกลางเชิญชวนให้มียอดผู้บริจาคสูงขึ้น โดยผู้แจ้งความประสงค์ควรพกบัตรผู้บริจาคติดตัวไว้ รวมทั้งบอกกล่าวให้ญาติรับทราบเจตจำนง และพร้อมโทรแจ้งศูนย์ดวงตาทันทีหลังผู้บริจาคเสียชีวิต เพราะดวงตาจะยังอยู่ในสภาพดีที่สุด ก่อนเริ่มเสื่อมสภาพ และเน่าเปื่อยหากเกินเวลา 6 ชั่วโมงหลังการเสียชีวิต

นางรุ่งฟ้า เกียรติพจน์ ผู้บริหารด้านโครงการพิเศษ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัดและผู้ช่วยบริหารงานประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 15 ปีในเดือนแห่งความรัก เครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่มทรู จะร่วมกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะ และศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย ขับเคลื่อนโครงการ“Let Them See Love” ด้วยความมุ่งมั่นส่งเสริมสังคมในการ “ให้” อวัยวะและดวงตา ต่อลมหายใจเพื่อนมนุษย์ อันเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ โดยในปีนี้ได้จับมือ บริษัท โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด สร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาแบบอินเตอร์แอคทิฟแนวคิด “BLOOM A NEW LIFE: ให้ชีวิตใหม่ได้สวยงาม…อีกครั้ง” ที่ตรงใจคนยุคดิจิทัล ด้วยการเปรียบอวัยวะในร่างกายเหมือนดอกไม้ที่สวยงาม และมีคุณค่า ซึ่งเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะสมองตาย อวัยวะในร่างกายจะเสื่อมสภาพและหมดอายุเฉลี่ยภายใน 72 ชั่วโมง ไม่ต่างจากดอกไม้ที่รอวันเหี่ยวเฉา ไร้ค่า การบริจาคอวัยวะจึงเปรียบเสมือนการส่งต่อความรักที่สวยงามไม่สิ้นสุด ให้ผู้ป่วยที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะได้กลับมามีชีวิตใหม่ที่สวยงามอีกครั้ง ตลอดจนกระตุ้นให้ญาติและคนรอบตัวผู้ที่อยู่สภาวะสมองตาย ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการบริจาคอวัยวะและดวงตา เพื่อผู้รับจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ มีโอกาสประกอบอาชีพ สร้างประโยชน์และคุณค่าให้แก่ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ

ทั้งนี้ ขอเชิญชวนทุกคนร่วมกันแชร์ความสวยงามของการให้ผ่านทาง www.letthemseelove.com และแท็กคนที่รัก 5 คน เพื่อร่วมทำความดีไปด้วยกัน โดยใส่แฮชแท็ก #LetThemSeeLove เพื่อช่วยกันสร้างการรับรู้ ให้ผู้คนในสังคมเห็นถึงความสำคัญของการบริจาคดวงตาและอวัยวะในวงกว้างมากยิ่งขึ้น พร้อมร่วมบริจาคเงินสนับสนุนกระบวนการปลูกถ่ายอวัยวะผ่าน SMS ระบบทรูมูฟ เอช โดยพิมพ์ 10 เพื่อบริจาค 10 บาท* หรือ พิมพ์ 100 เพื่อบริจาค 100 บาท* โดยไม่หักค่าใช้จ่าย ส่งไปที่หมายเลข 91255 ตั้งแต่ 1 ก.พ. – 31 ธ.ค. 2564 (*ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือบริจาคผ่านแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ท หรือโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ “ศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย” เลขที่บัญชี 045-231390-2 ธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย หรือโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย” เลขที่บัญชี 023-1-25888-7 ธนาคาร กรุงไทย สาขา สุรวงศ์ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.letthemseelove.com และเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/CPGroupSustainability/ สามารถรับชมภาพยนตร์โฆษณาได้ที่ www.letthemseelove.com

#BloomANewLife

#ให้ชีวิตใหม่ได้สวยงามอีกครั้ง

#LetThemSeeLove

#บริจาคอวัยวะ

#บริจาคดวงตา

#สภากาชาดไทย

เครือเจริญโภคภัณฑ์ คว้าประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก หรือ LESS  จากการส่งเสริมโครงการสบขุ่นโมเดล กาแฟสร้างป่า กักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยโลกลดภาวะโลกร้อน ช่วยให้ชุมชนมีส่วนร่วมสร้างสมดุลระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมมีอาชีพที่ยั่งยืน

นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ ดำเนินการสนับสนุนพื้นที่ต้นน้ำ ปิง วัง ยม น่าน รวมถึงพื้นที่บ้านสบขุ่น อ.ท่าวังผา จ.น่าน มาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศ ด้วยการปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นต้นเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน และลดภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตลอดจนทำให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสมดุลระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีอาชีพที่ยั่งยืนได้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 เครือเจริญโภคภัณฑ์ผ่านการรับรองตามมาตรฐานและได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก หรือ LESS (Low Emission Support Scheme) จากการส่งเสริมโครงการสบขุ่นโมเดล กาแฟสร้างป่า กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ จากพื้นที่ 420 ไร่ และความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 5,059.534 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากการวัดค่าเฉพาะไม้ป่าหรือไม้ยืนต้น อาทิ ต้นพังแหร (ต้นปอสร้อย) ต้นมะหาด ต้นประดู่ ต้นอลาง ต้นงิ้วป่า ต้นมะเดื่อ เพื่อสร้างป่าไปพร้อมกับกาแฟ ที่สามารถกักเก็บค่าบอนไดออกไซด์ได้จริงและมีประสิทธิภาพ สะท้อนให้เห็นว่าบ้านสบขุ่นสามารถฟื้นคืนป่ากลับมาได้สำเร็จอย่างยั่งยืน จากอดีตที่เคยแห้งแล้ง ชาวบ้านส่วนใหญ่ซึ่งมีอาชีพทำไร่ข้าวโพด กลับกลายเป็นผืนป่าต้นน้ำที่ชุ่มชื้น ได้สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างป่าให้กลับคืนมา

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้สนับสนุนโครงการสบขุ่นโมเดล โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่แก่ชาวบ้านในการปลูกกาแฟและพืชผสมผสาน เพื่อลดพื้นที่ป่าที่ต้องถูกทำลายจากการทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งกาแฟเป็นพืชที่ต้องการร่มเงาในการเติบโต จึงต้องปลูกไม้พี่เลี้ยงที่สร้างร่มเงา อีกทั้งที่นี่ทำเกษตรกรรมแบบครอบครัว ซึ่งการปลูกกาแฟไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากเท่ากับการทำไร่ข้าวโพดที่ต้องอาศัยการปลูกเยอะๆ เพื่อให้ได้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่า ดังนั้น พื้นที่บางส่วนจึงละไว้ให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว เรียกว่า ‘การละเหล่า’ หรือ ทฤษฎีการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกตามหลักการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฎธรรมชาติ

ทั้งนี้ ปัจจุบันบ้านสบขุ่น อ.ท่าวังผา จ.น่าน สามารถสร้างป่า สร้างอาชีพ โดยมีสมาชิก 93 ครัวเรือน มีรายได้จากการขายกาเเฟเชอรี่ 491,686 บาท ได้พื้นที่ป่ากลับมา 1,998 ไร่  วันนี้สบขุ่นไม่ได้เป็นเพียงหมู่บ้านจากขุนเขาที่ปลูกกาแฟและสร้างป่า แต่บ้านสบขุ่นยังสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยโลกด้วยการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ลดโลกร้อนได้อีกด้วย

นโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งสมัยนั้นรัฐบาลไทยเชื่อว่าจะสามารถผลักดันให้สินค้าเกษตรมีมูลค่าเพิ่มในรูปแบบต่างๆ โดยกำหนดเป้าหมายสำคัญคือ “การเป็นครัวของโลก” เนื่องจากไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ และอาหารไทยยังมีชื่อเสียงระดับโลก เป็นที่นิยมของคนต่างชาติ  อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวยังไม่ประสบผลสำเร็จมากเท่าที่ควร และรัฐบาลยังคงหาทางผลักดันเพื่อให้ไทยบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดสถานการณ์โรคโควิด-19 ไม่เพียงแต่เศรษฐกิจในประเทศหยุดชะงัก เศรษฐกิจโลกก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า

ดังนั้น  เพื่อรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่กำลังดิ่งลดต่ำลงเรื่อยๆ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้จัดเสวนาเรื่อง  “Select USA: Helping Thai Companies Go Global” โดยเชิญภาคเอกชนไทยที่มีบทบาทลงทุนในต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนทรรศนะ และประสบการณ์ในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในสหรัฐอเมริกา งานดังกล่าวจัดขึ้นที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ทั้งยังรับชมผ่านระบบออนไลน์ ได้ด้วย

นายบุญชัย โอภาสเอี่ยมลิขิต ประธานธุรกิจ-สหรัฐอเมริกา เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมเสวนา “Case Studies of Global Expansion – Lessons Learned” ซึ่งเป็นการถอดบทเรียนการขยายตัวของภาคเอกชนไทยสู่การลงทุนระดับโลก โดยมี นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ

นายไมเคิล กล่าวเบื้องต้นถึงการจัดเสวนา ว่าองค์กรธุรกิจไทยจำนวนไม่น้อยได้ขยายการลงทุนไปสหรัฐอเมริกา ดังนั้น จึงอยากเชิญธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จ มีวิสัยทัศน์ และมีบทบาทในระดับโลก ร่วมกันนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของภาคเอกชนไทยมาแลกเปลี่ยนมุมมองหลังวิกฤตโควิด-19 เพื่อจะได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนธุรกิจในระดับโลก ควบคู่ไปกับความยั่งยืนร่วมกัน ซึ่งเป็นความหวังในปี ค.ศ. 2021 นี้ 

จากนั้นนายบุญชัย โอภาสเอี่ยมลิขิต จากซีพี กล่าวว่า ตัวเลขการลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศตั้งแต่ปี 2549-2562 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จาก 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขึ้นเป็น 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับบริษัทไทยในการสำรวจโอกาสทางธุรกิจในระดับโลก  สหรัฐฯ มีหลายมลรัฐและมีกฎกติกาข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันไป  จึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนจำเป็นต้องให้ความสนใจ เพราะนำมาซึ่งการขยายการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ จากประสบการณ์ของซีพีในการกระจายการลงทุนใน 23 ประเทศทั่วโลก มีพนักงานมากกว่า 350,000 คน  สิ่งสำคัญคือจะต้องวิเคราะห์การลงทุนทั้งก่อนและหลังที่จำเป็นทั่วโลก รวมทั้งวิสัยทัศน์ขององค์กรจะต้องสอดคล้องกับการขยายการลงทุนในธุรกิจต่างแดนนั้นด้วย โดยเครือซีพี เลือกลงทุนในสหรัฐฯ ด้วยเหตุผลหลัก

 

03

คือ 1.สหรัฐเป็นประเทศที่มี GDP มากที่สุดในโลก และส่งผลให้มีตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก 2.เมื่อมองถึงอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นธุรกิจหลักของซีพี สอดคล้องกับในพื้นที่แถบตะวันออกกลางของสหรัฐฯ ที่มีการปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองมาก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับอุตสาหกรรมอาหารของซีพี  3.สหรัฐฯ มีเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งซีพีให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีและเป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ขององค์กร

นายบุญชัย กล่าวต่อว่า ซีพีได้เข้าไปลงทุนในสหรัฐโดย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  เข้าซื้อหุ้น 100% ด้วยเม็ดเงิน 38,000 ล้านบาท ของบริษัท เบลลิซิโอ ฟู้ด อิ้งค์ (Bellisio) ผู้นำด้านการผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2559  และเป็นการรองรับเทรนด์อาหารแช่แข็งทั่วโลก ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการลงทุนครั้งสำคัญของซีพี และเป็นหนึ่งในเป้าหมาย Kitchen of The World ที่นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือซีพี ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2542

นอกจากการเข้าซื้อกิจการแล้ว ซีพียังได้สร้างธุรกิจใหม่อีก 2 แห่งในรัฐเท็กซัสและฟลอริด้าอีกด้วย ซึ่งรูปแบบดำเนินธุรกิจของซีพีในสหรัฐฯ นั้น ให้ความสำคัญกับการต้องเข้าใจวิถีคนอเมริกัน ทำความเข้าใจด้านพฤติกรรม ทัศนคติและวัฒนธรรมอเมริกัน เพื่อที่จะได้เข้าใจการทำธุรกิจแบบอเมริกัน อย่างกรณีเบลลิซิโอนั้น ซีพีจ้างพนักงานสัญชาติอเมริกันทั้งหมด 2,000 คน  มีคนไทยเพียง 5 คนเท่านั้น ซึ่งทีมงานนี้สามารถช่วยเราสร้างธุรกิจใหม่ หรือ Greenfield Business ได้  ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนไปยังต่างประเทศของซีพีได้ปรับใช้มาจากประสบการณ์ในไทยก่อน ด้วยการขยายธุรกิจให้เติบโต

จากนั้นเร่งสปีดเพื่อให้เกิดการขยายตลาดอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ คือการเข้าไปสร้างประโยชน์ต่อประเทศที่เราเข้าไปดำเนินธุรกิจ ลำดับต่อมาคือประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศนั้นๆ และสุดท้ายจึงเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

ศุภชัย เจียรวนนท์

เครือเจริญโภคภัณฑ์ชวนชมนิทรรศการ “ต้นแบบแห่งเมล็ดพันธุ์ความสุขที่ยั่งยืน” เพื่อน้อมรำลึกพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ 1-6 ธ.ค.นี้ แจกเมล็ดพันธุ์ผักฟรีทุกวันรวม 9,999 ซอง

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และบริษัทในเครือฯร่วมกิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ ปี 2563 ที่รัฐบาลจัดขึ้นเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  โดยร่วมจัดแสดงนิทรรศการภายใต้ชื่อ “ต้นแบบแห่งเมล็ดพันธุ์ความสุขที่ยั่งยืน” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในฐานะที่เป็นต้นแบบของกษัตริย์นักพัฒนาที่ยั่งยืน  โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นต้นแบบในการสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศชาติและสังคมเพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย

ทั้งนี้ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริใน 3 ด้านสำคัญ คือ ด้านการพัฒนามนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เครือฯและบริษัทในเครือฯได้ใช้เป็นต้นแบบในการประกอบธุรกิจสร้างประโยชน์เพื่อประเทศชาติและสังคม สอดคล้องกับปรัชญา “3 ประโยชน์” ที่เป็นค่านิยมองค์กรซึ่งมุ่งสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประโยชน์ต่อประชาชน และประโยชน์ต่อองค์กรเป็นลำดับสุดท้าย ภายในนิทรรศการต้นแบบแห่งเมล็ดพันธุ์ความสุขที่ยั่งยืนนี้ จึงแบ่งออกเป็น 3 โซน ประกอบด้วย 1.เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต : การพัฒนามนุษย์  2.เมล็ดพันธุ์แห่งโอกาส : การพัฒนาสังคม 3.เมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน : การพัฒนาสิ่งแวดล้อม

โซนที่ 1 เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต  : การพัฒนามนุษย์ ด้วยเพราะเห็นว่าการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนามนุษย์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้มีส่วนร่วมในการช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างอนาคตให้กับเยาวชนของประเทศ ผ่านโครงการสำคัญ ๆ ได้แก่  1.โครงการทรูปลูกปัญญา มอบโอกาสการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมด้วยสื่อและเทคโนโลยีอย่างครบวงจร 2.โครงการสามเณรปลูกปัญญาธรรม สร้างต้นแบบเยาวชน สนับสนุนการศึกษาและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม 3.โครงการพัฒนาศักยภาพคน โดย บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน)  ก่อตั้งสถาบันการศึกษาเพื่อสังคม 2 แห่ง คือ “วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์” และ “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์” รวมถึงศูนย์การเรียนรู้ปัญญาภิวัฒน์อีกกว่า 20 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาศักยภาพผ่านการมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนอีกหลากหลายโครงการ

โซนที่ 2 เมล็ดพันธุ์แห่งโอกาส : การพัฒนาสังคม  เนื่องจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ตระหนักว่าการสร้างคุณค่าทางสังคมถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักเพื่อมอบโอกาสที่ยั่งยืนกับคนไทย ในโซนนี้จะนำเสนอถึงโครงการต่าง ๆ ที่เครือฯและบริษัทในเครือฯร่วมพัฒนาและสร้างสรรค์เพื่อสังคม ได้แก่  โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า ที่จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้น้อมนำแนวพระราชดำริด้านการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในลักษณะหมู่บ้านเกษตรกรรม ตั้งแต่ปี 2520 เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรสามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้ ซึ่งปัจจุบันหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าเป็นชุมชนเลี้ยงสุกรที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย  โครงการ“ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ปากน้ำประแส” เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อยอดสู่การสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” สนับสนุนการร่วมสร้างสรรค์สุขภาพและสุขภาวะที่ดีให้กับเยาวชน “โครงการส่งเสริมเกษตรกรและ SME” จำหน่ายสินค้าผ่านร้าน 7-11 และ 24 shopping เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน “โครงการรอยยิ้มชาวเล” ที่นำผลผลิตของชุมชนประมงพื้นบ้านหัวไทร จ.นครศรีธรรมราชจากการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล มาต่อยอดเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นส่งเสริมรายได้ให้แก่ชาวประมงภายใต้แนวคิด SEACOSYSTEM เพื่อทะเลไทยยั่งยืน  “โครงการ True Coffee deaf Barista” ที่เปิดโอกาสให้ผู้บกพร่องทางการได้ยินพัฒนาเป็นบาริสต้ามืออาชีพ และยังช่วยส่งเสริมศักยภาพสร้างอาชีพอย่างยั่งยืนแก่กลุ่มผู้พิการเพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคม

โซนที่ 3 เมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน : การพัฒนาสิ่งแวดล้อม เครือเจริญโภคภัณฑ์มุ่งมั่นในการปกป้องระบบนิเวศและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งต่อโลกที่ยั่งยืนไปยังคนรุ่นใหม่  ในโซนนี้นำเสนอโครงการสบขุ่นโมเดล จ.น่าน ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกาแฟเพื่อพลิกฟื้นผืนป่า และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

เครือเจริญโภคภัณฑ์โดย นายจรัญ เจียรวนนท์ ประธานกิตติมศักดิ์ ได้ริเริ่มดำเนินการสนับสนุนทีมฟุตบอลจำนวน 37 ทีม (แบ่งเป็นทีมเยาวชน 12 ทีมและทีมผู้ใหญ่ 25 ทีม) ใน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2561 ที่ผ่านมา โดยจัดสร้างสนามฟุตบอล “มหาลาภ” ให้เยาวชนและชาวชุมชนในอำเภอ ได้ใช้ฝึกซ้อมและเป็นสนามแข่งขันฟุตบอล 7 คน เพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬา สำหรับต่อยอดสู่มืออาชีพในอนาคต

นายอนันต์ ผึ้งน้อย โค้ชชมรมกีฬาปากช่อง หนึ่งใน 37 ทีมฟุตบอลดังกล่าว เปิดเผยว่า นอกจากเครือซีพีได้มาพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในอำเภอปากช่องแล้ว ยังให้ความสำคัญในการดูแลชุมชนโดยให้การสนับสนุนทีมฟุตบอลต่างๆในอำเภอนี้ ซึ่งสัมผัสได้ถึงความจริงจังและเอาใส่ใจทั้ง 37 ทีม ให้มีการพัฒนาด้านกีฬาฟุตบอลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสนามฟุตบอลมหาลาภ ในตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง เพื่อให้เป็นสถานที่ฝึกซ้อมและจัดให้มีการแข่งขันทุกสัปดาห์ ซึ่งทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันในแต่ละสัปดาห์จะได้รับเงินรางวัลเพื่อนำไปต่อยอดกิจกรรมของทีมต่อไป ทั้งนี้ นักกีฬาเยาวชนและผู้ใหญ่ทั้งหมดล้วนเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และแสดงศักยภาพด้านกีฬาได้อย่างเต็มที่

“โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี ที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาฟุตบอลปากช่องได้มีสุขภาพที่ดีจากการออกกำลังกาย ได้พัฒนาทักษะความสามารถด้านกีฬา เกิดความสามัคคีในชุมชนจากการทำกิจกรรมร่วมกัน และช่วยให้เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีเช่นนี้ ทำให้ทุกทีมมีงบประมาณในการสร้างทีมอย่างที่มุ่งหวัง และการได้ร่วมฝึกซ้อมกับนักฟุตบอลอาชีพเช่นทีมตราด FC ที่เข้ามาฝึกสอนฟุตบอลและถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับทีมเยาวชน ยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ ที่อยากก้าวสู่การเป็นนักฟุตบอลมืออาชีพในอนาคตด้วย” โค้ชอนันต์ กล่าว

ด้าน นายวิเชียร ทรัพย์เจริญ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด ในฐานะประธานที่ปรึกษาสโมสรฟุตบอลจังหวัดตราด หรือ ตราด FC กล่าวว่า สโมสรฯ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือเจริญโภคภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี ทำให้ตราด FC สามารถพัฒนาสู่การเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพ และทำผลงานได้อย่างน่าพอใจมาโดยตลอด กระทั่งสโมสรฯได้เลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 2560 และปัจจุบันเล่นอยู่ในไทยลีก 2 ที่สำคัญสโมสรฯ จะเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดได้เป็นครั้งแรก ในฤดูกาล 2562

“เครือซีพีมีส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ตราด FC พัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อง จนสามารถเลื่อนชั้นขึ้นสู่ไทยลีกในปีหน้า เป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ใหักับสโมสรฯ ขณะเดียวกันยังสนับสนุนทีมฟุตบอลของชุมชนเพื่อให้สามารถพัฒนาสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพได้ในอนาคต ตราด FC ภูมิใจที่ได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆเยาวชนและทีมฟุตบอลอำเภอปากช่อง และได้มีโอกาสมาถ่ายทอดประสบการณ์และฝึกสอนให้กับน้องๆทุกคน” นายกวิเชียรกล่าวทิ้งท้าย