กรมอนามัย แนะเพิ่มความมั่นใจก่อนเปิดกินให้ทำความสะอาดกระป๋องก่อน เพื่อลดเสี่ยงการสัมผัสปนเปื้อนบริเวณพื้นผิวของกระป๋อง พร้อมย้ำให้เลือกซื้อปลากระป๋องที่สภาพดี ไม่บุบ ไม่เป็นสนิม และก่อนกินทุกครั้งต้องผ่านความร้อนเพื่อความปลอดภัย

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวการคัดกรองโควิด-19 ของโรงงานปลากระป๋อง ในจังหวัดสมุทรสาคร พบมีผู้ติดเชื้อในโรงงานจำนวนหนึ่ง ส่งผลให้ประชาชนมีความวิตกกังวลต่อการบริโภคปลากระป๋อง ซึ่งประเด็นนี้หากโรงงานมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP และ HACCP ในการควบคุมกระบวนการผลิตให้เกิดความปลอดภัย มีการป้องกันการปนเปื้อนรวมถึงไวรัสและการติดเชื้อต่างๆ ก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้

แต่เนื่องจากไม่ทราบว่าผู้ติดเชื้ออยู่ในขั้นตอนไหนของสายการผลิต แม้ว่ากระบวนการทำปลากระป๋องนั้น เนื้อปลาที่อยู่ในกระป๋องหลังบรรจุเสร็จที่ถูกความร้อนทั้งขั้นตอนทำปลาให้สุกและขั้นตอนใส่ซอสแล้วฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำเพื่อให้เกิดสภาพสุญญากาศภายในกระป๋อง แล้วนำมาปิดผนึก และใช้วิธีการนึ่งกระป๋องเพื่อฆ่าเชื้อด้วยอุณหภูมิประมาณ 118-122 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60-70 นาที โดยใช้ความร้อนสูงเพื่อทำลายจุลินทรีย์กับแบคทีเรีย ซึ่งมั่นใจได้ว่าเชื้อไวรัสจะตายหมด แต่ในขั้นตอนการนำกระป๋องมาบรรจุในหีบห่อ ตลอดจนนำไปขนส่ง ก็อาจจะมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อไวรัสที่เกิดจากการ

สัมผัสของคนงานได้ ดังนั้นหากพบคนงาน ติดเชื้อที่อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตจุดใดจุดหนึ่ง และบริษัทได้ดำเนินการฆ่าเชื้อในขั้นตอนดังกล่าวแล้ว ก็จะมีความปลอดภัย

วิธีเช็ค “อาหารกระป๋อง” ก่อนกิน ลดเสี่ยงอันตราย

เพื่อเพิ่มความปลอดภัยการเลือกซื้อปลากระป๋องในช่วงนี้ ประชาชนควรเลือกซื้ออาหารกระป๋อง ดังนี้

  1. กระป๋องอยู่ในสภาพดี ไม่บุบ โดยเฉพาะตะเข็บหรือรอยต่อของกระป๋องต้องเรียบ ฝาหรือก้นกระป๋องแบนเรียบ
  2. ส่วนขอบกระป๋องจะต้องไม่มีรอยรั่วซึม ไม่เป็นสนิม ไม่โป่งนูน เนื่องจากมีแรงดันของก๊าซที่เกิดจากการเน่าเสียของอาหารภายในกระป๋อง
  3. ดูฉลากสินค้าที่ผ่านการตรวจรับรองและมีเลขสารบบอาหารหรือตัวเลขหลังเครื่องหมาย อย. พร้อมทั้งสังเกตวัน เดือน ปีที่ผลิต และวันหมดอายุ
  4. ก่อนบริโภคทุกครั้งควรทำความสะอาดกระป๋อง และหีบห่อเมื่อซื้อมา แล้วจัดเก็บพร้อมกับล้างมือทันที และเมื่อจะบริโภคควรนำปลามาปรุงผ่านความร้อนอีกครั้ง ก็จะช่วยสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี

ข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ปัญหาขยะจากอาหารเป็นประเด็นที่ต่างประเทศกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก และพยายามจะหาทาง “ประนีประนอม” ในการที่จะหาจุดกึ่งกลางของผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้ที่ผ่านมา เราได้ยินเรื่องการนำอาหารที่ยังรับประทานได้ แต่ต้องทิ้งเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ด้านคุณภาพ มาหาทางออกกัน

ล่าสุด เรามีกรณีน่าสนใจ พาไปดูร้านค้าสหกรณ์ในอังกฤษที่ขายอาหารแห้งและอาหารกระป๋องที่เลยช่วงประทับตราวันที่ “best before” หรือเลยช่วงวันที่ระบุว่า “ดีที่สุดควรบริโภคภายในวันที่”

ร้านสหกรณ์ลักษณะนี้มีอยู่ราว 125 แห่ง ในอังกฤษ ปรากฎว่า บรรดาของแห้งอย่างข้าวสาร มันฝรั่งอบกรม เส้นพาสต้า สามารถขายได้หลังเวลา 22.00 น. เล็กน้อยเป็นต้นไป ถือว่าเป็นการทดลองที่ประสบผลสำเร็จ

อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้จะไม่ทำกับอาหารที่เสียง่ายอย่างผัก ผลไม้หรือเนื้อสัตว์

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตเชนใหญ่ๆจะเป็นค้าปลีกเจ้าแรกๆที่สามารถวางขายสินค้าที่เกินวันที่ “best before” ได้ก่อน

แต่ปรากฎว่าขณะนี้มีการทดลองนำอาหารกระป๋อง อาหารแห้งที่เลยตีตรา “best before” มาวางขายในร้านค้าสหกรณ์ในย่านฝั่งตะวันออกของประเทศอังกฤษจำนวน 125 แห่ง โดยจะขายสินค้าเหล่านี้ลดราคา หลังช่วงเวลา 22.00 น.เป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาจากขยะจากอาหารที่ต้องทิ้งไป

โรเจอร์ กรอสเวเนอร์ ผู้บริหารกลุ่มสหกรณ์ฝั่งตะวันออก กล่าวว่า ผลการทดลองเป็นเวลา 3 เดือน ในร้านค้า 14 แห่ง ประสบความสำเร็จอย่างดี เพราะเมื่อถึงเวลา 22.00 น. สินค้าทั้งหมดสามารถขายออกไปได้หมดภายในไม่กี่ชั่วโมง

“ผู้ซื้อส่วนใหญ่เข้าใจ และพวกเขาพอใจที่จะรับประทานผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ซึ่งก็เป็นสินค้าที่เขาชอบอยู่แล้วเป็นทุน”กรอสเวเนอร์ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ East Anglian Daily Times

“การนำอาหารที่เลยช่วงเวลาที่ตีตราว่าช่วงเวลาที่ควรบริโภคดีที่สุดภายในวันที่เท่าไหร่ และนำอาหารที่เลยมาขาย การทำเช่นนี้ไม่ใช่การบริหารจัดการเพื่อสร้างรายได้ แต่เป็นการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อลดขยะอาหารและยังเป็นการมองถึงอาหารที่ยังสามารถเก็บไว้กินได้ เป็นการมองถึงระยะยาวของห่วงโซ่อาหาร”เขากล่าว

ทั้งนี้ ใครที่กังวลเรื่องความปลอดภัย แนวคิดนี้จะไม่ใช้กับอาหารที่เน่าเสียง่าย เช่น เนื้อสัตว์และผักผลไม้สด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการกินเมื่อเกินวันที่ best before

สำหรับการตีตรา best before บนผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ในด้านหนึ่ง เป็นการระบุให้ผู้ซื้อเล็งเห็นถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ว่าจะยอดเยี่ยมที่สุดภายในช่วงเวลาไหน มากกว่าการพูดถึงเรื่องความปลอดภัยของอาหาร

สำนักงานมาตรฐานอาหารของอังกฤษ ระบุว่าภาคการผลิตและค้าปลีกของอังกฤษ ต้องทิ้งผลิตภัณฑ์จากอาหารสูงถึง 1.9 ล้านตันต่อปี ทั้งที่สามารถหลีกเลี่ยงกรณีเช่นนี้ได้ถึง 1.1 ล้านตัน

อาหารเหลือทิ้งทั่วโลกปีละ 1.3 ล้านตัน

“ลิซ่า ไทเลอร์” ผู้ผันตัวจากผู้สื่อข่าวสายท่องเที่ยว หันมาปลูกพืชผัก เกษตรอินทรีย์ที่มาเลเซีย และ ลาว เพื่อจำหน่ายสู่ภัตตาคารต่างๆ เคยให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระหว่างเตรียมร่วมงาน (Re) Food Forum ซึ่งจัดที่กรุงเทพฯช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า จากการค้นคว้าพบว่าในทุกๆปี จะมีการผลิตพลาสติก 400 ล้านตัน โดย 40% ผู้บริโภคใช้ครั้งเดียวทิ้ง นอกจากนี้ ถุงพลาสติก 1 ใบ ใช้เวลาแค่ 20 วินาทีในการผลิต และ ผู้บริโภคใส่ของเพียง 1 นาทีแล้วทิ้ง แต่ใช้เวลาถึง 400 ปี ในการย่อยสลาย หรือ 5 ชั่วอายุคน

[คลิกอ่าน เอาอะไรเข้าปากต้องรู้ต้นทาง เพียงหนึ่งคำก็สะเทือนระบบนิเวศโลก]

[ลิซา ไทเลอร์ คนกลาง]

ไทเลอร์ กล่าวต่อว่า เรื่องของอาหาร เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากๆ เนื่องจาก 1 ใน 3 ของอาหารวันนี้ถูกเอาไปใช้แบบสูญเปล่าเป็นอาหารเหลือทิ้งถึง 1.3 ล้านตัน/ปี โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้มากที่สุด คือ อุตสาหกรรมให้บริการที่เกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ว่าร้านอาหาร โรงแรม ธุรกิจการให้บริการต่างๆ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มีการบริหารจัดการทรัพยากรที่เหลือยังไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเราต้องนำเอาโอกาสนี้มาสร้างการตระหนักรู้ให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีขึ้น เพราะถ้าระดับนี้บริหารดีแล้ว ระดับประชาชนก็จะได้รับผลดีด้วย

“อาหารที่เหลือทิ้ง ส่วนหนึ่งเพราะหน้าตาไม่ถึงมาตรฐานที่สามารถจำหน่ายได้ เรามีสถิติอาหารที่ต้องทิ้งทุกปี หากนำมาวางที่ประเทศไทย จะสามารถปกคลุมประไทยได้ถึง 2 ประเทศ”ไทเลอร์กล่าวในที่สุด


 

Content Team Matichon Academy
[email protected]
0-2954-3971 ต่อ 2111