5 เหตุผล ที่ควรเรียนช่างแอร์

1. ตลาดงานต้องการช่างแอร์อยู่เสมอ 
– อากาศร้อน อบอ้าว ส่งผลให้ความต้องการเครื่องปรับอากาศสูง 
– เครื่องปรับอากาศมีอายุการใช้งาน จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษา ซ่อมแซม เปลี่ยนอะไหล่
– ช่างแอร์ฝีมือดี มีคุณภาพ ยังมีไม่เพียงพอ

2. มีรายได้ดี
– ช่างแอร์มีรายได้เฉลี่ย 20,000 – 40,000 บาทต่อเดือน
– ช่างแอร์ที่มีประสบการณ์และฝีมือดี สามารถหารายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน
– มีโอกาสรับงานเสริม ล้างแอร์ ติดตั้งแอร์ เพิ่มรายได้

3. เรียนรู้ได้ไม่ยาก
– มีหลักสูตรฝึกอบรมช่างแอร์ทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว
– มีแหล่งข้อมูลออนไลน์มากมาย ที่สามารถช่วยให้เรียนรู้เพิ่มเติม
– ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ พัฒนาทักษะ มุ่งมั่น พัฒนาตนเอง

4. มีโอกาสประกอบอาชีพอิสระ
– ลงทุนน้อย เริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง
– มีลูกค้าหลากหลาย
– บริหารเวลาทำงานเอง

5. เป็นอาชีพที่มั่นคง
– เทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศพัฒนาอยู่เสมอ
– ช่างแอร์ที่มีความรู้ ทันสมัย อยู่รอดได้
– เรียนรู้เพิ่มเติม พัฒนาฝีมืออยู่เสมอ

LINE_ALBUM_คอร์สงานช่างแอร์บ้าน 1617 กย66_๒๓๐๙๒๒_130

รู้หรือไม่ว่าแอร์เสียแต่ละที ค่าอุปกรณ์แค่หลักร้อยต้นๆ แต่จ้างช่างครั้งละ 2,000-3,000 บาท ถ้าบ้านหรือสำนักงานติดแอร์หลายตัวค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาถึงหลักหมื่น แต่ถ้ามาเรียน หลักสูตรแอร์บ้าน(ติดตั้ง ล้าง ย้าย ซ่อม) ที่มติชนอคาเดมี จ่ายเพียงแค่ 4,500 บาท คุณจะได้ทักษะความรู้ไปซ่อมบำรุงดูแลรักษาแอร์ได้เองตลอดชีวิต คุ้มแสนคุ้ม

จองเรียน / สอบถามเพิ่มเติม
☎️08-2993-9097
☎️08-2993-9105
.
💻 Inbox Facebook : Matichon Academy – มติชนอคาเดมี คลิก m.me/Matichon.Academy.Thailand
.
✅ line : @matichonacademy คลิก https://line.me/R/ti/p/%40matichonacademy

เรียกได้ว่าคงเป็นรื่องที่ทำให้คนรักโกโก้และช็อกโกแลตคงต้องกรีดร้อง เมื่องานวิจัยชิ้นใหม่เปิดเผยว่า ต้นโกโก้จะหายไปในต้นปี 2050 สาเหตุมาจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น และสภาพอากาศที่แห้งขึ้นนั่นเอง

เรื่องดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ เบิร์กลีย์ ร่วมมือกับบริษัทผลิตขนมอย่าง Mars เพื่อรักษาการปลูกโกโก้ก่อนที่จะสายเกินไป

พวกเขาจึงหาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการใช้เทคโนโลยีแก้ไขยีน CRISPR เพื่อให้การปลูกโกโก้รอดต่อปัจจัยท้าทายใหม่ๆ ได้

โช เมียงเจ หัวหน้าสถาบันพันธุศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ เบิร์กลีย์ หนึ่งในทีมนักวิจัย กล่าวว่า การแก้ไขยีนนี้จะทำให้พืชดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากในการทดลองเจริญเติบโตได้ดีทั้งหมด เมล็ดพันธุ์จากต้นในแล็บจะสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรืออุณหภูมิที่ร้อนขึ้น และจะส่งเมล็ดพันธุ์นี้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกโกโก้ต่อไป

นอกจากขอบคุณนักวิจัยแล้ว คงต้องขอบคุณเทคโนโลยี CRISPR ที่ช่วยให้การปรับแต่งดีเอ็นเอทำได้แม่นยำมากขึ้น ซึ่งการปรับแต่งพันธุกรรมจะช่วยให้การทำเกษตรกรรมถูกลง และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้มากที่สุดน่าจะไปอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ดินแดนที่หลายคนกังวลว่าจะอดอยาก เพราะพืชหลายชนิดอาจจะสูญพันธุ์เพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังมีปัญหาศัตรูพืชที่มากขึ้นและขาดแคลนน้ำจืด

ขณะที่โกโก้เป็นพืชที่ปลูกได้บริเวณแถบแคบๆ ของโลกเท่านั้น คือบริเวณเขตร้อนชื้น หรือบริเวณ 20 องศา เหนือและใต้เส้นศูนย์สูตร เนื่องจากเป็นจุดที่อุณหภูมิ, ฝน และความชื้น คงที่ตลอดทั้งปี ซึ่งทำให้ปัจจุบันโกโก้กว่าครึ่งโลกมาจาก 2 ประเทศในแอฟริกาตะวันตก คือ สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ หรือไอวอรี่โคสต์ และประเทศกานา

แต่พื้นที่ดังกล่าวก็ไม่ใช่พื้นที่ปลูกโกโก้ที่ยั่งยืนในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า เมื่อองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศระบุว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้บริเวณที่ปลูกโกโก้อยู่ปลูกไม่ได้อีกต่อไป ส่วนบริเวณที่ปลูกได้ก็จะเขยิบไปเป็นพื้นที่ที่สูงขึ้นไป 1,000 ฟุต

บริษัทมาร์สซึ่งเป็นบริษัทที่ทำขนมที่รู้จักกันดีอย่าง สนีกเกอร์ เห็นถึงปัญหาดังกล่าว ในเดือนกันยายน บริษัทได้ให้คำมั่นว่าจะบริจาคเงิน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่เรียกว่า “Sustainability in a Generation” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณคาร์บอนในภาคธุรกิจให้ได้มากกว่า 60% ในปี 2050

การร่วมกันทำงานกับมหาวิทยาลัยนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่บริษัทเข้ามาผลักดัน ซึ่งหากทุกอย่างเป็นไปอย่างที่วางแผนไว้ พวกเขาจะสามารถพัฒนาโกโก้ที่ไม่เหี่ยวหรือเน่าที่ระดับความสูงปัจจุบันได้ ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้ไม่ต้องเปลี่ยนพื้นที่ปลูกหรือหาพื้นที่ปลูกใหม่ๆ


 

Content Team Matichon Academy
[email protected]
0-2954-3971 ต่อ 2111
ติดตามอ่านข่าวสารได้ที่ www.matichonacademy.com

ไม่พลาดข่าวสารอาหาร ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์ เกร็ดความรู้
คอร์สเรียนสนุกๆได้ประโยชน์-เสริมอาชีพ
คลิกติดตามเพจเฟซบุ๊ค MatichonAcademy