ไวไว ร่วมต้อนรับนักท่องเที่ยว ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่” ประจำปี 2567

บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “ไวไว” ยกทีม ครอบครัวไวไว ร่วมฉลองเทศกาลมหาสงกรานต์กันที่เมืองเชียงใหม่ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวในงาน สงกรานต์ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่” ประจำปี 2567 เพื่อสืบสานประเพณีดั้งเดิมของชาวล้านนากว่า 728 ปี

นายยศสรัล แต้มคงคา ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไวไว เปิดเผยว่า ปีนี้ “ไวไว” ร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่และเทศบาลนครเชียงใหม่จัดงานสงกรานต์ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่” ประจำปี 2567 เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชาวล้านนาที่สืบทอดกันมากว่า 728 ปี พร้อมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่

สำหรับ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่” ประจำปี 2567 ครั้งนี้ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7-17 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ทั้งยังถือเป็นการฉลองครบ 728 ปีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย งานนี้ “ไวไว” ได้เข้าร่วมในทุกกิจกรรม อาทิ ร่วมเป็นเจ้าภาพ ในพิธีเก่าแก่อันเป็นมงคล กับ พิธีทำบุญสมโภชพระพุทธสิหิงค์ ประจำปี 2567, พิธีทำบุญตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้ง แด่พระสงฆ์และสามเณร ร่วมกับพี่น้องชาวเชียงใหม่ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมงานจำนวนมากตลอดจนร่วมพิธีอันเป็นมงคลมากมายอย่าง พิธีสืบชะตา ก่อเจดีย์ทรายถวายดุง ตามวิถีของชาวล้านนา และที่ขาดไม่ได้ คือ ขบวนความสนุกแบบจัดเต็มของ “บูธบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไวไว”“ไวไวสาดโดนใจ SongKran 2024” พร้อมแจกขวัญพิเศษ ให้แก่นักท่องเที่ยวทุกท่านที่เข้ามายังบูธไวไว อีกด้วย

DE77F499422F08680C6D63638C2B4FF3AA879319
4BDDC75D6240C2C0585AA70764CD26419D1874ED

นอกจากนี้ “ไวไว” ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสนับสนุนกิจกรรมการประกวดเทพีและเทพบุตรสงกรานต์ ปี 67โดยทางไวไวยังร่วมสนับสนุนของรางวัลพิเศษ “รางวัลเทพบุตรและเทพีสงกรานต์ ขวัญใจไวไว” ที่สนับสนุนต่อเนื่องทุกปี

ปิดท้ายด้วยพิธีเก่าแก่ของชาวเชียงใหม่อีกพิธีหนึ่ง คือ “พิธีสระเกล้าดำหัว ป้อเมืองเจียงใหม่” ประเพณีล้านนาโบราณที่ทรงคุณค่าและงดงาม ที่ทางหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนชาวเชียงใหม่ พร้อมใจกันจัดขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งทางบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “ไวไว” ยังได้ยกทีมมาร่วมจัดบูธ เสิร์ฟเมนูพิเศษสำหรับแขกที่มาร่วมในงาน ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ที่มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

ท่านสามารถติดตามความอบอุ่น และความเคลื่อนไหวของกิจกรรมดี ๆ จากครอบครัวไวไว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “ไวไว” อย่างใกล้ชิด ได้ทาง Facebook: waiwaiinstantnoodle และ www.waiwai.co.th

เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป (Expedia Group) บริษัทท่องเที่ยวออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ร่วมมือกับ Oxford Economics ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้าโรงแรมจากเกือบ 100,000 ทริป การสำรวจจัดทำเพื่อค้นหาแบบแผนนักท่องเที่ยวจากการเดินทาง การใช้จ่าย การรับประทานอาหารและความบันเทิง โดยจัดกลุ่มนักเดินทางเป็นกลุ่มที่จองตั๋วและที่พักทั้งทริป หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของทริปผ่านระบบโอทีเอ (OTA) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการจองที่พัก โรงแรม ตลอดจนด้านการท่องเที่ยว เช่น ตั๋วเครื่องบิน และรถเช่า และกลุ่มนักเดินทางที่จองด้วยตัวเอง

จากผลสำรวจเห็นได้ชัดเจนว่า นักเดินทางที่จองผ่านระบบ มีการใช้จ่ายต่อทริปมากกว่านักเดินทางที่ไม่ได้จองด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเพื่อธุรกิจหรือพักผ่อน ทำให้นักเดินทางเหล่านี้เป็นลูกค้าระดับพรีเมียมสำหรับโรงแรม

จุดประสงค์ของระบบการจองออนไลน์ คือการให้บริการนักเดินทางให้สามารถจองตั๋วและจองห้องได้ง่ายและราบรื่นที่สุด ผลสำรวจจากเอ็กซ์พีเดียกรุ๊ป และ อ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ (Oxford Economics) ยังแสดงอีกว่า นักเดินทางที่จองผ่านระบบมีการใช้จ่ายไปกับโรงแรมที่พักมากกว่านักเดินทางที่ไม่ได้จองผ่านระบบ ซึ่งหมายความว่านักเดินทางที่จองผ่านระบบสร้างมูลค่าให้แก่โรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่านักเดินทางประเภทอื่น

กว่าหนึ่งในห้า (ร้อยละ 21) ของนักเดินทางที่ตอบแบบสำรวจใช้การจองผ่านระบบออนไลน์ในการวางแผนการเดินทาง จองตั๋วเครื่องบินและห้องพัก จากสถิติแล้ว นักเดินทางที่จองผ่านระบบจะมีอัตราการเข้าพักนานถึงร้อยละ 8 และใช้จ่ายมากกว่าเกือบร้อยละ 18 โดยอ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ เรียกนักเดินทางกลุ่มนี้ว่า “โอทีเอ พรีเมี่ยม (OTA Premium)” ซึ่งเป็นสิ่งชี้วัดความแตกต่างในการใช้จ่ายระหว่างนักเดินทางที่จองผ่านระบบ และนักเดินทางที่ไม่ได้จองผ่านระบบ ไม่ว่าจะเป็นการจองมื้ออาหารและเครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป กิจกรรม ความบันเทิง และการเดินทาง

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดระหว่างนักเดินทางสองประเภทนี้คือการซื้อสินค้าหรือช้อปปิ้ง โดยกลุ่มโอทีเอ พรีเมี่ยมจะมีการจับจ่ายซื้อสินค้าทั่วไปมากกว่า เกือบร้อยละ 26 ตามด้วยค่าใช้จ่ายการเดินทาง กิจกรรม และความบันเทิง ซึ่งรวมแล้วเท่ากับร้อยละ 20

“ระบบการจองตั๋วและโรงแรมออนไลน์ หรือโอทีเอ มีบทบาทสำคัญในการท่องเที่ยว โดยมักจะนำกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายมากกว่าในทุกๆ ด้านของการเดินทางโดยไม่เกี่ยงว่าจุดประสงค์ของการเดินทางคืออะไร” นายแอพฮิจิท พาวน์ หัวหน้าฝ่ายการวิจัย บริษัทเอ็กซ์พีเดียกล่าว และว่า กว่าหนึ่งในห้าของนักเดินทางใช้ระบบโอทีเอในการจองตั๋วและโรงแรม ไม่ว่าจะเป็นจองส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือตลอดทั้งการเดินทาง โดยความสำคัญของข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้จ่ายที่แพร่สะพัดในเครือโรงแรม บริษัทให้บริการการเดินทาง ร้านอาหาร และธุรกิจอื่นๆ ในพื้นที่นั้นๆ

นอกจากนี้ ตัวเลขการใช้จ่ายที่สูงของนักเดินทาง โอทีเอ พรีเมี่ยม ส่วนหนึ่งมาจากการเข้าพักที่นานกว่าโดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับจำนวนผู้เดินทางในกลุ่มนั้นๆ แต่อย่างใด ผลวิจัยจากอ็อกซ์ฟอร์ด เผยว่านักเดินทางที่จองผ่านโอทีเอนั้นมีอายุน้อยกว่านักเดินทางที่ไม่ได้จองผ่านโอทีเอเล็กน้อย ซึ่งประมาณร้อยละ 10 โดยจะอยู่ในช่วงอายุ 25-54 ปี โดยไม่มีปัจจัยเรื่องรายได้เข้ามาเกี่ยวข้อง

แม้ว่าการสำรวจนี้จะมุ่งเน้นเฉพาะนักเดินทางชาวสหรัฐอเมริกา และเป็นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ผลสำรวจนี้ยังคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการโรงแรมในไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐอเมริกาคือตลาดกลุ่มนักเดินทางที่สำคัญอันดับหนึ่งของไทย อ้างอิงข้อมูลจาก เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาโดยสิ้นสุดที่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2561

“เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจที่โอทีเอ คือหนึ่งในเครื่องมือที่นักเดินทางจากสหรัฐอเมริกานึกถึงเมื่อต้องการวางแผนและจองทริปการเดินทาง ในฐานะบริษัทท่องเที่ยวออนไลน์ชั้นนำของโลก เรายินดีให้การสนับสนุนโรงแรมพาร์ทเนอร์ของเราในการนำเสนอ
บริการที่ดีแก่ลูกค้า และยินดีช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวจากอเมริกาเข้าพักที่ที่พักของพาร์ทเนอร์ของเรา” พิมพ์ปวีณ์ นพกิจกำจร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของเอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป กล่าว

ผลวิจัย Journey of Me เผยพฤติกรรมและความชื่นชอบของนักท่องเที่ยวยุคมิลเลนเนียลใน 14 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก

 

คนกลุ่มมิลเลนเนียลมีจำนวนกว่า 45% ของประชากรทั้งหมดในเอเชียแปซิฟิก และภายในปี 2563[1] คาดว่าจะมีถึง 60% ของมิลเลนเนียลทั่วโลกอาศัยอยู่ในเอเชีย ผู้บริโภคกลุ่มนี้จึงถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม อมาเดอุสได้เผยผลสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มคนอายุ 18 – 35 ปีในเอเชียแปซิฟิกว่าอะไรคือสิ่งที่จะโน้มน้าว เอาชนะใจ และพาพวกเขาออกไปท่องโลกกว้างได้

 

ผลวิจัย Journey of Me Insights: What Asia Pacific Millennial Travelers Want เป็นผลวิจัยล่าสุดในหัวข้อ Journey of Me ซึ่งอมาเดอุสได้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 โดยร่วมมือกับ YouGov ในการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว 6,870 คนใน 14 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก[2] โดย 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุอยู่ในช่วงกลุ่มมิลเลนเนียลระหว่างการเก็บข้อมูล

 

เปิดรับสิ่งใหม่ๆ

ผลวิจัยเผยว่านักท่องเที่ยวยุคมิลเลนเนียลมีแนวโน้มที่จะเปิดรับเทคโนโลยี ประสบการณ์ และเทรนด์การท่องเที่ยวใหม่ๆ มากกว่านักท่องเที่ยวรุ่นก่อนๆ 42% ของกลุ่มมิลเลนเนียลใช้แอพพลิเคชั่นให้บริการรถร่วมโดยสาร เช่น Grab และ Uber ขณะเดินทางท่องเที่ยว และ 35% ใช้บริการแบ่งปันที่พัก เช่น Airbnb เป็นประจำ นอกจากนี้ พวกเขายังเปิดรับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ช่วยเติมเต็มประสบการณ์อีกด้วย โดย 77% ของมิลเลนเนียลชาวไทยสนใจใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ใช้เทคโนโลยีเสมือนผสานโลกจริง (Augmented Reality) ในการนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือประวัติของสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งสูงกว่ายอดเฉลี่ยของภูมิภาคซึ่งอยู่ที่ 67%

 

การมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเหล่ามิลเลนเนียลจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ให้บริการการท่องเที่ยวเอาชนะใจลูกค้ากลุ่มนี้ได้ ผลวิจัยพบว่า คำแนะนำที่ช่วยให้พวกเขาได้สัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ในการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่มิลเลนเนียลให้ความสนใจสูงสุด (27%) รองลงมาจากคำแนะนำที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทาง (37%) นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยุคมิลเลนเนียลยังมีแนวโน้มที่จะเปิดรับคำแนะนำและข่าวสารจากผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวผ่านช่องทางใหม่ๆ โดยมิลเลนเนียลชาวไทยถึง 45% นิยมให้แบรนด์ติดต่อผ่านโซเชียลมีเดีย ในขณะที่มิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่เลือกอีเมล์เป็นช่องทางสื่อสารลำดับแรก

 

นายการุณ พุทธราชา ผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร อมาเดอุส เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “มิลเลนเนียลเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความโดดเด่นมาก พวกเขาเติบโตขึ้นมากับอินเทอร์เน็ต มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดี และพร้อมเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ รวมถึงกล้าที่จะออกจากกรอบการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ คนกลุ่มมิลเลนเนียลจึงมองหาประสบการณ์การท่องเที่ยวที่แปลกใหม่ ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ จึงต้องสรรหาวิธีที่ต่างออกไปในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวจึงต้องนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาปรับใช้ วางกลยุทธ์ที่แตกต่าง รวมทั้งปรับเปลี่ยนมุมมองในการดำเนินธุรกิจ หากต้องการเจาะกลุ่มลูกค้ามิลเลนเนียลและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตน ความเข้าใจพฤติกรรมของมิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิก และสิ่งที่พวกเขามองหาจากการท่องเที่ยว จะช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ได้”

 

ค้นหาข้อมูลที่แท้จริง

ผลวิจัยยังได้เผยให้เห็นอีกหนึ่งแง่มุมที่น่าสนใจว่าในความเป็นจริงแล้ว เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ไม่ได้มีอิทธิพลต่อกลุ่มมิลเลนเนียลมากเท่าใดนัก เมื่อถามว่าใครมีอิทธิพลต่อพวกเขามากที่สุดในการวางแผนทริป และพวกเขาได้รับคำแนะนำที่น่าเชื่อถือจากแหล่งใด มิลเลนเนียลชาวไทยบอกว่าข้อมูลในโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ท่องเที่ยวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของพวกเขามากที่สุด โดยคำแนะนำจากครอบครัวและเพื่อนมีอิทธิพลรองลงมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้พร้อมเปิดรับข้อมูลจากทั้งคนรู้จักและแบรนด์ที่พวกเขาชื่นชอบ ในขณะที่บุคคลที่มีชื่อเสียงและอินฟลูเอนเซอร์ถือเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลเกือบจะต่ำที่สุดสำหรับมิลเลนเนียลทั้งในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิก ซึ่งสูงกว่าโบรชัวร์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเพียงนิดเดียวเท่านั้น

 

“คนกลุ่มมิลเลนเนียลยังคงติดตามอินฟลูเอนเซอร์เพื่ออัพเดทเทรนด์ หาไอเดียและแรงบันดาลใจใหม่ๆ แต่ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีความชาญฉลาดมากขึ้นในการเสพข้อมูล พวกเขารู้ว่าอินฟลูเอนเซอร์จำนวนไม่น้อยกำลังกลายสถานภาพเป็นแบรนด์ ซึ่งทำให้ความน่าเชื่อถือที่เคยทำให้กลุ่มคนเหล่านี้แตกต่างค่อยๆ หายไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคอนเทนต์ที่ จริงสำคัญกว่าคอนเทนต์ที่ สมบูรณ์แบบ’” นายการุณ กล่าวเสริม

 

ระมัดระวังหรือกล้าเสี่ยง?

มิลเลนเนียลมักถูกมองว่าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่กล้าเสี่ยงและชื่นชอบการผจญภัย อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยพบว่าภาพลักษณ์ดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมในทุกด้าน เมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนๆ แล้ว มิลเลนเนียลชาวไทยมีความกังวลน้อยกว่าหากต้องเดินทางไปสถานที่ที่มีสภาพอากาศรุนแรง มีการก่อการร้าย หรือมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เช่น มีอัตราการเกิดอาชญากรรมสูง โดย 71% ของเบบี้บูมเมอร์ชาวไทยมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงการเดินทางไปสถานที่ที่เพิ่งเกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย ในขณะที่มีมิลเลนเนียลเพียง 61% ที่มีความรู้สึกกังวล

 

อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยระบุว่าเมื่อต้องแบ่งปันข้อมูลส่วนตัว เพื่อให้ได้รับข้อเสนอด้านการท่องเที่ยวที่ตรงกับความต้องการเฉพาะตัวมากขึ้น คนกลุ่มมิลเลนเนียลกลับหวงแหนความเป็นส่วนตัวมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ โดย 73% ของเจนเอ็กซ์ชาวไทยบอกว่าพวกเขาค่อนข้างเปิดรับการแบ่งปันข้อมูลส่วนตัว เมื่อเทียบกับมิลเลนเนียลเพียง 65% ที่รู้สึกค่อนข้างเปิดรับ ความรู้สึกเช่นนี้ของกลุ่มมิลเลนเนียลอาจเป็นผลจากการที่พวกเขาเติบโตขึ้นมากับเทคโนโลยีดิจิทัล จึงทำให้มีความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวมากกว่า

 

“แม้ว่าผลวิจัยชิ้นนี้จะชี้ให้เห็นลักษณะเฉพาะตัวของมิลเลนเนียลในเอเชียแปซิฟิก แต่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ก็มีพฤติกรรมบางอย่างที่ยังคงคล้ายคลึงกับนักท่องเที่ยวรุ่นก่อนๆ ดังนั้น การสร้างสรรค์บริการที่เฉพาะบุคคล และการสื่อสารบนพื้นฐานของความจริงจึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการพูดคุยกับพวกเขาด้วยคอนเทนต์ ช่องทาง และช่วงเวลาที่เหมาะสม ธุรกิจท่องเที่ยวจะสามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้ หากแบรนด์ต่างๆ ให้ความสำคัญกับนักท่องเที่ยวในทุกๆ ด้านของธุรกิจ” นายการุณ กล่าวทิ้งท้าย