เมื่อเร็วๆนี้ สำนักข่าวบีบีซีประจำประเทศไทย นำเสนอเรื่องของ “อาหารจากซูเปอร์มาร์เก็ตหรือสั่งอาหารมาบ้าน เสี่ยงโรคโควิด-19 แค่ไหน?” โดยกล่าวถึงสินค้าที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ว่ายังไม่ถูกเรียกว่าเป็น “สิ่งของจำเป็นต่อการดำรงชีพ” และเราสามารถไปซื้อหาบ่อยแค่ไหนก็ได้ อย่างที่สหราชอาณาจักร หรือที่ประเทศอังกฤษเวลานี้ รัฐบาลแนะนำให้คนใช้บริการ “มาส่งอาหารที่บ้าน” แทนถ้าเป็นไปได้

อะไรคือวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการไปซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือรับสินค้าและอาหารที่มาส่งที่บ้าน

ศาสตราจารย์แซลลี บลูมฟีลด์ จากวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน บอกว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตเป็น “แหล่งอันดีเลิศ” สำหรับการแพร่เชื้อไวรัส ไม่ว่าจะเป็นคนที่จับสินค้าแล้วก็วาง บริเวณต่อคิวจ่ายเงิน การจับเครดิตการ์ด หรือการกดเอทีเอ็ม และนี่ยังไม่นับว่าคนที่จับจ่ายใช้สอยต้องยืนใกล้กันแค่ไหน

แต่ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดย ล้างมือด้วยสบู่ หรือทำความสะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนและหลังออกไปซื้อของ คิดเสียว่าพื้นผิวทุกที่มีเชื้อติดอยู่ จะได้ไม่ไปแตะหน้าตัวเองหลังไปจับรถเข็น หรือสินค้า และถ้าเป็นไปได้ใช้บัตรจ่ายเงินแทนเงินสด

อย่างไรก็ตาม ตัวสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต ยังไม่มีหลักฐานว่าโรคโควิด-19 สามารถติดต่อผ่านอาหารได้ และการประกอบอาหารอย่างถี่ถ้วนจะสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้  แต่ ศาสตราจารย์บลูมฟีลด์ บอกว่าไม่มีอะไรที่มี “ความเสี่ยงเป็นศูนย์” เธอบอกว่าสิ่งที่ต้องระวังคือพื้นผิวด้านนอกของบรรจุภัณฑ์ที่ใส่อาหารมา  เธอแนะนำให้วางทิ้งไว้ก่อน 72 ชั่วโมง ค่อยนำมาใช้  หรือไม่ก็เช็ดพื้นผิวด้านนอกของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก หรือแก้วด้วยน้ำยาขจัดคราบที่ผสมให้เจือจางตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างขวด   “สำหรับของสดที่ไม่ได้ห่อมา ซึ่งใครจับมาแล้วบ้างก็ไม่รู้ ให้ล้างน้ำให้ทั่วและปล่อยให้แห้ง”

แล้วของที่มาส่งที่บ้านล่ะ? ทำอย่างไรจะไม่เสี่ยง

แน่นอนว่า การสั่งของมาส่งที่บ้านเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการออกไปซื้อของเอง  แต่ก็มีความเสี่ยงเชื้อจากบริเวณกล่องใส่สินค้า หรือจากคนที่มาส่งของ ดร.ลิซา แอคเคอร์ลี ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยด้านอาหาร แนะนำว่าให้เขียนข้อความติดไว้ที่ประตู ให้คนมาส่งของกดกริ่ง และช่วยถอยออกไป เราจะได้ออกไปหยิบของได้อย่างปลอดภัย  ขณะที่ ดร.เจมส์ กิล จากวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยวอร์ริค แนะนำว่าให้เช็ดของด้วยน้ำยาฟอกขาว และเชื้อโรคจะตายภายในหนึ่งนาที

ส่วนการซื้ออาหารกลับบ้านนั้น  ร้านอาหารจำนวนมากเปลี่ยนรูปแบบมาให้บริการแบบซื้ออาหารกลับบ้านแทน ซึ่งมีแนวโน้มว่าร้านที่มีสาขาเยอะและมีชื่อเสียงจะเตรียมอาหารอย่างสะอาด และเป็นมืออาชีพมากกว่า  ศาสตราจารย์ บลูมฟีลด์ บอกว่าผู้ที่ซื้ออาหารกลับบ้านสามารถลดความเสี่ยงด้วยการเทอาหารลงในจานสะอาด ทิ้งกล่องที่ใส่อาหารไปเสีย  และล้างมือให้สะอาดก่อนกิน “ใช้ช้อนตักอาหารออกมาจากกล่อง และกินด้วยมีดและส้อม ไม่ใช่มือ”

ในสถานการณ์แบบนี้ อาจจะดีมากกว่าหากเรากินอาหารร้อนที่ทำใหม่ แทนที่จะเป็นอาหารแบบเย็นและดิบ  สำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร (UK Food Standards Agency) ย้ำว่าความเสี่ยงติดเชื้อผ่านอาหารอยู่ในระดับต่ำมาก และก็ไม่มีเหตุผลที่จะต้องเลี่ยงอาหารที่ทำมาแล้ว หากผ่านการเตรียมอาหารอย่างดี

สำหรับกลุ่มคนเปราะบางอย่างคนชรา ผู้สูงอายุ หรือที่มีโรคประจำตัว การระมัดระวังมากเป็นพิเศษจะช่วยทำให้มั่นใจได้มากขึ้น  เช่น ถ้าจะกินพิซซ่า เราอาจจะนำไปเข้าไมโครเวฟเพิ่มอีก 2-3 นาทีก่อนกินก็ได้  ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

fruits-25266_960_720
pizza-767221_960_720

เรียกได้ว่าทำเอาลูกค้าในวอลมาร์ทที่แคลิฟอร์เนียตกตะลึงกันเป็นแถว เมื่อได้เห็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่มาตามทางเดินระหว่างชั้นวางของในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้

แวบแรกที่เห็น บางคนอาจคิดว่ามันเป็นหุ่นยนต์ทำความสะอาด แต่ความจริงหุ่นยนต์ดังกล่าวมีหน้าที่สแกนชั้นวางของในซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อตรวจดูข้อมูลว่าของขาดหรือไม่, วางผิดที่หรือเปล่า, ฉลากถูกต้องหรือไม่ รวมไปถึงติดราคาถูกต้องหรือไม่

โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งกลับมาอยู่ในฐานข้อมูลที่อยู่ในระบบคลาวด์ ให้พนักงานได้รับรู้และตัดสินใจว่าจะจัดการกับสินค้าอย่างไร เช่น เติมสินค้าให้เต็มชั้น หรือแก้ไขข้อมูลราคา เป็นต้น

ทั้งนี้ ห้างสรรพสินค้าวอลมาร์ทได้ติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวใน 50 สาขา ทั่วสหรัฐอเมริกา โดยวอลมาร์ทเชื่อว่าหุ่นยนต์ดังกล่าวจะช่วยพนักงานประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น แต่ยังไม่มีแผนว่าจะติดตั้งเพิ่มในสาขาที่เหลือ

ชมคลิป

Robots have begun to roam the aisles of Walmart stores

“Are machines taking over?”Towering, autonomous robots are beginning to roam the aisles of select Walmart stores, scanning shelves for data on out-of-stock, misplaced or mislabeled items. https://abcn.ws/2GhMpOy

โพสต์โดย Good Morning America เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน 2018

จากผลการสำรวจของ “เทสโก้” ที่เก็บข้อมูลทางการตลาดและพบว่าฐานลูกค้าส่วนใหญ่มีความกังวลมากที่สุดใน 3 ปัจจัย คือ เรื่องของราคาสินค้า เป็นตัวเลขความกังวลอันดับ 1 สูงกว่า 58% ตามมาด้วยความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายของครอบครัว 51% และเรื่องของภาระหนี้สิน 47%

ล่าสุด นสพ.ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า เทสโก้โลตัส ได้ออกแคมเปญลดค่าครองชีพ “โรลแบ็ค” อีกครั้ง เพื่อปลุกกำลังซื้อและดันตาดให้เดินหน้าต่อไปได้

การลดราคารอบนี้ ไม่เพียงทุ่มงบฯ 520 ล้านบาท ในช่วงเวลา 3 เดือนจากนี้เพื่อมาเป็นส่วนต่างในการซัพพอร์ตราคาสินค้ากว่า 1,000 รายการ แต่ยังเป็นปีแรกที่จัดพร้อมกันกว่า 1,900 สาขาทั่วประเทศ จากเดิมที่จะเน้นเฉพาะในสาขาไซซ์ใหญ่-ไฮเปอร์มาร์เก็ตเป็นหลัก

“มาร์ค รัฟลีย์” ประธานกรรมการฝ่ายการตลาด เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า ถึงแม้เศรษฐกิจไทยจะค่อย ๆ ฟื้นตัว แต่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังไม่ค่อยดีนักจากสารพัดปัจจัยลบที่เข้ามากระทบต่อเนื่อง สอดคล้องกับตัวเลขการสำรวจความเห็นของลูกค้าของเทสโก้ในช่วงต้นปี พบว่าลูกค้าจำนวนมากยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับราคาสินค้าและค่าครองชีพ ทำให้เทสโก้ต้องปล่อยแคมเปญ “โรลแบ็ค” ออกมากระตุ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ ปีนี้จะเป็นครั้งแรกที่ราคาโรลแบ็คจะเป็นราคาเดียวกันในสาขาทุกรูปแบบทั้งไฮเปอร์มาร์เก็ต ตลาด และเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส กว่า 1,900 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงช่องทางจำหน่ายสินค้าออนไลน์ทั้ง 2 ช่องทาง

“เราเตรียมงบประมาณในการลงทุนกว่า 520 ล้านบาท เพื่อหนุนราคาสินค้าให้ถูกลงตลอดระยะเวลา 3 เดือนจากนี้ เน้นกลุ่มสินค้าประเภทอาหาร ทั้งอาหารสดและอาหารแห้ง ที่คิดว่าจำเป็นในชีวิตประจำวันของลูกค้า และการขยายแคมเปญไปในทุกสาขาทุกฟอร์แมตของเทสโก้ เพราะต้องการให้สอดรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป กว่า 40% เป็นลูกค้าจะซื้อของผ่านหลายช่องทาง (cross-format shoppers) เราต้องการบอกว่า มาที่เราสามารถซื้อสินค้าราคาประหยัดได้ในทุกสาขา”

ปัจจุบัน “เทสโก้” มีฐานลูกค้าที่เข้าจับจ่ายประมาณ 15 ล้านคนต่อสัปดาห์ในทุกช่องทาง อาทิ สาขาใหญ่ 376 สาขา (เอ็กซ์ตร้า, ไฮเปอร์มาร์เก็ต, ดีพาร์ตเมนต์สโตร์, ตลาด) เอ็กซ์เพรส 1,574 สาขา รวมทั้งเทสโก้ โลตัส ช้อปออนไลน์ และสินค้าเทสโก้ โลตัส บนแพลตฟอร์มลาซาด้า ซึ่งแคมเปญโรลแบ็คจะครอบคลุมทุกช่องทางเช่นเดียวกับการประกาศเปลี่ยนแปลงเวลาเปิดให้บริการของเทสโก้ 575 สาขา จากจำนวนสาขาทั้งหมดประมาณ 1,900 สาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา


 

ที่มา นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 19-21 มีนาคม 2561

ปัญหาขยะจากอาหารเป็นประเด็นที่ต่างประเทศกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก และพยายามจะหาทาง “ประนีประนอม” ในการที่จะหาจุดกึ่งกลางของผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้ที่ผ่านมา เราได้ยินเรื่องการนำอาหารที่ยังรับประทานได้ แต่ต้องทิ้งเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ด้านคุณภาพ มาหาทางออกกัน

ล่าสุด เรามีกรณีน่าสนใจ พาไปดูร้านค้าสหกรณ์ในอังกฤษที่ขายอาหารแห้งและอาหารกระป๋องที่เลยช่วงประทับตราวันที่ “best before” หรือเลยช่วงวันที่ระบุว่า “ดีที่สุดควรบริโภคภายในวันที่”

ร้านสหกรณ์ลักษณะนี้มีอยู่ราว 125 แห่ง ในอังกฤษ ปรากฎว่า บรรดาของแห้งอย่างข้าวสาร มันฝรั่งอบกรม เส้นพาสต้า สามารถขายได้หลังเวลา 22.00 น. เล็กน้อยเป็นต้นไป ถือว่าเป็นการทดลองที่ประสบผลสำเร็จ

อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้จะไม่ทำกับอาหารที่เสียง่ายอย่างผัก ผลไม้หรือเนื้อสัตว์

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตเชนใหญ่ๆจะเป็นค้าปลีกเจ้าแรกๆที่สามารถวางขายสินค้าที่เกินวันที่ “best before” ได้ก่อน

แต่ปรากฎว่าขณะนี้มีการทดลองนำอาหารกระป๋อง อาหารแห้งที่เลยตีตรา “best before” มาวางขายในร้านค้าสหกรณ์ในย่านฝั่งตะวันออกของประเทศอังกฤษจำนวน 125 แห่ง โดยจะขายสินค้าเหล่านี้ลดราคา หลังช่วงเวลา 22.00 น.เป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาจากขยะจากอาหารที่ต้องทิ้งไป

โรเจอร์ กรอสเวเนอร์ ผู้บริหารกลุ่มสหกรณ์ฝั่งตะวันออก กล่าวว่า ผลการทดลองเป็นเวลา 3 เดือน ในร้านค้า 14 แห่ง ประสบความสำเร็จอย่างดี เพราะเมื่อถึงเวลา 22.00 น. สินค้าทั้งหมดสามารถขายออกไปได้หมดภายในไม่กี่ชั่วโมง

“ผู้ซื้อส่วนใหญ่เข้าใจ และพวกเขาพอใจที่จะรับประทานผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ซึ่งก็เป็นสินค้าที่เขาชอบอยู่แล้วเป็นทุน”กรอสเวเนอร์ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ East Anglian Daily Times

“การนำอาหารที่เลยช่วงเวลาที่ตีตราว่าช่วงเวลาที่ควรบริโภคดีที่สุดภายในวันที่เท่าไหร่ และนำอาหารที่เลยมาขาย การทำเช่นนี้ไม่ใช่การบริหารจัดการเพื่อสร้างรายได้ แต่เป็นการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อลดขยะอาหารและยังเป็นการมองถึงอาหารที่ยังสามารถเก็บไว้กินได้ เป็นการมองถึงระยะยาวของห่วงโซ่อาหาร”เขากล่าว

ทั้งนี้ ใครที่กังวลเรื่องความปลอดภัย แนวคิดนี้จะไม่ใช้กับอาหารที่เน่าเสียง่าย เช่น เนื้อสัตว์และผักผลไม้สด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการกินเมื่อเกินวันที่ best before

สำหรับการตีตรา best before บนผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ในด้านหนึ่ง เป็นการระบุให้ผู้ซื้อเล็งเห็นถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ว่าจะยอดเยี่ยมที่สุดภายในช่วงเวลาไหน มากกว่าการพูดถึงเรื่องความปลอดภัยของอาหาร

สำนักงานมาตรฐานอาหารของอังกฤษ ระบุว่าภาคการผลิตและค้าปลีกของอังกฤษ ต้องทิ้งผลิตภัณฑ์จากอาหารสูงถึง 1.9 ล้านตันต่อปี ทั้งที่สามารถหลีกเลี่ยงกรณีเช่นนี้ได้ถึง 1.1 ล้านตัน

อาหารเหลือทิ้งทั่วโลกปีละ 1.3 ล้านตัน

“ลิซ่า ไทเลอร์” ผู้ผันตัวจากผู้สื่อข่าวสายท่องเที่ยว หันมาปลูกพืชผัก เกษตรอินทรีย์ที่มาเลเซีย และ ลาว เพื่อจำหน่ายสู่ภัตตาคารต่างๆ เคยให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระหว่างเตรียมร่วมงาน (Re) Food Forum ซึ่งจัดที่กรุงเทพฯช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า จากการค้นคว้าพบว่าในทุกๆปี จะมีการผลิตพลาสติก 400 ล้านตัน โดย 40% ผู้บริโภคใช้ครั้งเดียวทิ้ง นอกจากนี้ ถุงพลาสติก 1 ใบ ใช้เวลาแค่ 20 วินาทีในการผลิต และ ผู้บริโภคใส่ของเพียง 1 นาทีแล้วทิ้ง แต่ใช้เวลาถึง 400 ปี ในการย่อยสลาย หรือ 5 ชั่วอายุคน

[คลิกอ่าน เอาอะไรเข้าปากต้องรู้ต้นทาง เพียงหนึ่งคำก็สะเทือนระบบนิเวศโลก]

[ลิซา ไทเลอร์ คนกลาง]

ไทเลอร์ กล่าวต่อว่า เรื่องของอาหาร เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากๆ เนื่องจาก 1 ใน 3 ของอาหารวันนี้ถูกเอาไปใช้แบบสูญเปล่าเป็นอาหารเหลือทิ้งถึง 1.3 ล้านตัน/ปี โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้มากที่สุด คือ อุตสาหกรรมให้บริการที่เกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ว่าร้านอาหาร โรงแรม ธุรกิจการให้บริการต่างๆ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มีการบริหารจัดการทรัพยากรที่เหลือยังไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเราต้องนำเอาโอกาสนี้มาสร้างการตระหนักรู้ให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีขึ้น เพราะถ้าระดับนี้บริหารดีแล้ว ระดับประชาชนก็จะได้รับผลดีด้วย

“อาหารที่เหลือทิ้ง ส่วนหนึ่งเพราะหน้าตาไม่ถึงมาตรฐานที่สามารถจำหน่ายได้ เรามีสถิติอาหารที่ต้องทิ้งทุกปี หากนำมาวางที่ประเทศไทย จะสามารถปกคลุมประไทยได้ถึง 2 ประเทศ”ไทเลอร์กล่าวในที่สุด


 

Content Team Matichon Academy
[email protected]
0-2954-3971 ต่อ 2111