ธนาคารไทยเครดิตฯ เปิดตัวมูลนิธิไทยเครดิต เสริมสร้างพลังแกร่งสู่สังคม เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และชุมชนเข้มแข็ง

ประชาสัมพันธ์
รอย ออกุสตินัส กุนารา และวิญญู ไชยวรรณ

ธนาคารไทยเครดิตฯ เปิดตัวมูลนิธิไทยเครดิต

ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) เปิดตัวมูลนิธิไทยเครดิต ภายใต้แนวคิดหลัก EMpower เสริมพลังแกร่งสู่สังคม ขยายบทบาทการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกมิติ ด้วยวิสัยทัศน์   ที่มุ่งพัฒนา ส่งเสริมสังคมและเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ด้อยโอกาส เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของสังคมไทย เพราะเชื่อมั่นว่า การสร้างความตระหนักรู้ และวินัยทางด้านการเงิน จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาชีวิต พัฒนาธุรกิจ และชุมชนให้มั่นคงอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ โดยตั้งเป้าในปี 2566 จะมีผู้เข้าอบรมไม่ต่ำกว่า 50,000 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการรายย่อย 55% และบุคคลอาชีพอื่น ๆ  รวมถึงเยาวชน และ ผู้ด้อยโอกาส อีก 45%

นายวิญญู ไชยวรรณ ประธานมูลนิธิไทยเครดิต เปิดเผยว่า “มูลนิธิฯ จะยึดมั่นการดำเนินการ  ให้สอดคล้องกับปรัชญาของธนาคารที่ว่า Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ โดยนำแนวคิด EMpower การเสริมพลัง มาเป็นแกนหลักในการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเงิน ผ่านโครงการตังค์โต Know-how  เพื่อเสริมสร้างพลังแกร่งสู่กลุ่มเป้าหมายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และสู่ชุมชน ที่มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์

มูลนิธิฯ จะดำเนินโครงการ “EMpower เพื่อชุมชนที่ยั่งยืน” ในพื้นที่นำร่อง แบบบูรณาการครบทุกมิติ ทั้งการเสริมสร้างความรู้ทางการเงิน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ รวมถึงการส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างชุมชนที่ดี แข็งแกร่ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

มูลนิธิฯ มีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ สร้างสรรค์เนื้อหาส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย ทันเหตุการณ์; กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงความรู้ทางการเงินได้โดยง่ายผ่านการอบรมทั้งในรูปแบบชั้นเรียน และออนไลน์ และพัฒนาเนื้อหาและหลักสูตรความรู้ทางการเงิน เพื่อเสริมแกร่งทางการเงิน พัฒนาอาชีพ และสร้างรายได้

นายรอย ออกุสตินัส กุนารา รองประธานมูลนิธิไทยเครดิต ย้ำถึงการเสริมสร้างความรู้ทางการเงิน   จะตอบโจทย์การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น “จากผลสำรวจ 844 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม 2022 – 3 มกราคม 2023 ตามมาตรฐานการสำรวจระดับทักษะทางการเงินของคนไทยตามกรอบของ The Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) พบว่า คนไทยมีทักษะทางการเงินอยู่ที่ 79.3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 60.5% แต่เมื่อวิเคราะห์ในเชิงลึก กลับพบว่า    คนไทยมีพฤติกรรมด้านการออมเงินที่เหมาะสมเพียง 55.7% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 70.4% ในขณะที่คนไทย 80.7% ประสบปัญหาเงินไม่พอใช้ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 35.3%  นอกจากนี้  คนไทยอีก 54.6% มักจะมีการกู้ยืมเงินเมื่อเงินไม่พอใช้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ที่ 25.8% จึงเป็น    การสะท้อนให้เห็นว่า ควรให้ความสำคัญเรื่องการส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้แก่ประชาชน โดยมุ่งเน้น   ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการออม รู้จักวิธีการออมเงินที่เหมาะสม รู้จักวิธีการบริหารจัดการรายได้ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย จัดสรรเงินก่อนใช้ ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ไม่ก่อหนี้สินจนเกินตัว เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ

ประธานมูลนิธิ กล่าวเสริมว่า ในปีแรกของการดำเนินการ มูลนิธิฯ มีแผนจะพัฒนาหลักสูตรเดิมของผู้ประกอบการรายย่อยให้เท่าทันการณ์ปัจจุบัน และแบ่งเป็นหลายระยะ จากพื้นฐานสู่ขั้นแอดวานซ์ เพื่อเป็นการต่อยอดและรู้เชิงลึกยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ ยังได้สร้างสรรค์หลักสูตรใหม่ ๆ ด้านการเงิน เพื่อ ให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายและอาชีพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถเรียนรู้เรื่องการบริหารการเงิน  ส่วนบุคคล รวมถึงเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เข้าอบรมทั้งผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ค้า ตลอดจนบุคคลทั่วไป รวมถึงเยาวชนและผู้ด้อยโอกาส ให้มีรายได้สูงขึ้น มีหนี้สินลดลง และ    มีการต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน  ทั้งนี้ มูลนิธิฯ มีเป้าหมายสำคัญในการขึ้นทะเบียนเป็น องค์กร  สาธารณกุศล ภายใน 3 ปีข้างหน้าอีกด้วย

ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ธนาคารฯ ได้ส่งมอบความรู้ทางการเงินแก่ผู้ประกอบการรายย่อย ประชาชน เยาวชน ผ่านโครงการตังค์โต Know-how รวมทั้งสิ้นกว่า 118,555 ราย นับตั้งแต่ปี 2566 จะดำเนินโครงการภายใต้มูลนิธิไทยเครดิต เพื่อขยายและครอบคลุมในทุกมิติ และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อคุณภาพชีวิต   ที่ดีของทุกคนในสังคม