ฉลาดซื้อเผยปริมาณโลหะหนักและสารกันบูดในผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จปลอดภัย แนะผู้บริโภคเลือกยี่ห้อที่ผ่าน อย.

ประชาสัมพันธ์

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเผยปริมาณแคดเมียม, ตะกั่วและสารกันบูดในผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จปลอดภัย สารกันบูดไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด แนะให้ผู้บริโภคอ่านฉลากให้รอบคอบและเลือกรับผลิตภัณฑ์ที่มี อย.

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมมือกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือดำเนินการทดสอบซ้ำ ในปีนี้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านอาหารและสร้างความมั่นใจในการบริโภค โดยในครั้งนี้(  2562 ) เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 15 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างในชื่อผลิตภัณฑ์เดิม 9 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 6 ตัวอย่าง ส่งวิเคราะห์หาสารโลหะหนักตะกั่วและแคดเมียม และเพิ่มการทดสอบปริมาณสารกันบูดกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกด้วย

ผลทดสอบตะกั่ว น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม

ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช. เช่นกัน

ผลทดสอบหาปริมาณสารกันบูด พบว่า น้ำปลาร้าปรุงรสตราไทยอีสาน (ฉลากระบุ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย) พบปริมาณกรดเบนโซอิก 831.83 มก./กก. และ น้ำปลาร้าส้มตำปรุงสำเร็จ ตะวันทอง ๑  (ฉลากระบุ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย) พบปริมาณกรดเบนโซอิก 404.84 มก./กก.   ซึ่งปริมาณการใช้สารกันบูดใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ น้ำปลาร้าต้มสุกเข้มข้น ตราน้องพร คือ พบปริมาณ 641.81 มก./กก. แต่แสดงข้อมูลบนฉลากชัดเจนว่า มีการใช้วัตถุกันเสีย ซึ่งทั้งหมดไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดคือ ไม่เกิน 1,000 มก./กก.   

อย่างไรก็ตามหลายผลิตภัณฑ์พบว่ามีปริมาณกรดเบนโซอิกในปริมาณไม่มาก(ไม่ถึง 100 มก./กก.) คือ ไม่มากพอที่จะเป็นการตั้งใจใส่เพื่อให้มีฤทธิ์ในการต่อต้านจุลินทรีย์(ปริมาณที่เหมาะต่อการเก็บหรือยืดอายุอาหารคือ 500-2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ดังนั้นเป็นไปได้ว่ามาจากวัตถุดิบที่นำมาผลิต ซึ่งกรดเบนโซอิกสามารถพบได้จากพืชพรรณหลายชนิดตามธรรมชาติ    

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม พ.ศ.2561  โครงการฯ เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 12 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งพบว่า ผลทดสอบตะกั่ว ในน้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้าของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียมต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช.

ตารางเปรียบเทียบผลทดสอบปริมาณแคดเมียมและตะกั่วในผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ

ลำดับ

ชื่อผลิตภัณฑ์

ผลทดสอบ ครั้งที่ 1 เม.ย.2561

(มิลลิกรัม/กิโลกรัม)

ผลทดสอบ ครั้งที่ 2 พ.ค.2562

(มิลลิกรัม/กิโลกรัม)

ตะกั่ว

 

แคดเมียม

ตะกั่ว

แคดเมียม

1.         

น้ำปลาร้าต้มสุกเข้มข้น ตรา น้องพร

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

ไม่พบ

2.         

น้ำปลาร้าปรุงสุก 100% ตรา แซ่บไมค์ โดย ไมค์ ภิรมย์พร
(น้ำปลาร้าสูตรส้มตำ)

ไม่พบ

น้อยกว่า 0.03

ไม่พบ

น้อยกว่า 0.03

3.         

น้ำปลาร้าต้นตำรับกาฬสินธุ์ ตรา แม่ฝาย

0.04

0.10

ไม่พบ

0.03

4.         

น้ำปลาร้าส้มตำ แม่บุญล้ำเจ้าเก่า (สูตรปรุงสำเร็จ)

ไม่พบ

น้อยกว่า 0.03

ไม่พบ

น้อยกว่า 0.03

5.         

น้ำปลาร้าปรุงสุก ตรา แซ่บดี (น้ำปลาร้าสูตรส้มตำ)

ไม่พบ

0.12

 

 

6.         

น้ำปลาร้าต้มสุกปรุงรส ตราแม่หม่อม สูตรดั้งเดิม

0.04

0.10

7.         

น้ำปลาร้าต้มสุกปรุงรส ตราแม่หม่อม สูตรโหน่งพิเศษรสเข้มข้น

ไม่พบ

0.04

8.         

น้ำปลาร้าส้มตำปรุงสำเร็จ ตะวันทอง ๑

0.04

0.03

0.14

น้อยกว่า  0.03

9.         

ปลาร้าส้มตำปรุงรส ตรา เจ้จุ๋ม

0.06

0.05

10.      

แม่สมัย ปลาร้าส้มตำ

0.04

0.03

ไม่พบ

0.04

11.      

เศรษฐีแซ่บ น้ำปลาร้าต้มปรุงสำเร็จ สูตรเข้มข้น

0.04

0.03

12.      

น้ำปลาร้าปรุงรสต้มสุก ตรา ภา-ทอง

0.05

0.06

ไม่พบ

0.07

13.      

น้ำปลาร้าปรุงสุก 100% ตรา แซ่บไมค์ โดย ไมค์ ภิรมย์พร
(น้ำปลาร้าสูตรส้มตำ)

น้อยกว่า 0.03

น้อยกว่า 0.03

น้อยกว่า 0.03

น้อยกว่า 0.03

น้ำปลาร้า หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักปลากับเกลือ เติมข้าวคั่วที่บดละเอียด รำข้าว หรือรำข้าวคั่วในอัตราส่วนที่เหมาะสม ก่อนหรือหลังการหมักปลากับเกลือ เพื่อให้ได้กลิ่นรสตามธรรมชาติของปลาร้า

นำมากรอง ให้ความร้อนก่อนบรรจุ หรือได้จากการนำปลาร้าดิบมาต้มกับนํ้า อาจเติมเกลือ สมุนไพร แล้วกรอง อาจเติมเครื่องปรุงรส เช่น น้ำตาล น้ำมะขาม น้ำกระเทียมดอง และให้ความร้อนก่อนบรรจุ

ที่มา มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.1346/2557

มาตรฐานตะกั่วและแคดเมียมในอาหาร

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน  กำหนดให้ตรวจพบตะกั่วไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

ส่วนแคดเมียมไม่มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับน้ำปลาร้าไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 มีเพียงอาหาร 5 ประเภทเท่านั้นที่กำหนดค่าปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมไว้ ได้แก่

1.สัตว์จำพวกหมึก เช่น หมึกกระดอง หมึกสายและหมึกกล้วย ปริมาณสูงสุด คือ 2 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม

2.หอยสองฝา เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่  ปริมาณสูงสุด คือ 2 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม

3.หอยฝาเดียวทุกชนิด ปริมาณสูงสุดคือ 2 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม

4.ปลา (ทะเลและปลาน้ำจืดไม่รวมอวัยวะภายใน) ปริมาณสูงสุด คือ 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม

5.สาหร่ายพร้อมบริโภค ปริมาณสูงสุด คือ 2 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม

ขณะที่ Codex (Codex Standard 193-1995) กำหนดไว้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัมในสัตว์น้ำ (Marine bivalve molluscs) และสหภาพยุโรป (EC) No 1881/2006 กำหนดค่ามาตรฐานแคดเมียมในเนื้อปลาไว้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (0.05 ppm.) แต่ทั้งนี้ก็มีการแยกย่อยไปตามชนิดของปลาด้วย