ทำความรู้จัก “ไฟโตนิวเทรียนท์” น้ำตาลในผลไม้

Health สุขภาพดีๆ

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) มีทั้ง เบาหวาน ความดัน หัวใจ ฯลฯ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบัน เช่น ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์

การป้องกันโรค นอกจากหลีกเลี่ยงไลฟ์สไตล์ที่สุ่มเสี่ยงแล้ว ยังป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน จากข้อแนะนำตามธงโภชนาการ เราควรรับประทานผลไม้วันละ 3-5 ส่วน ซึ่งผลไม้และน้ำผลไม้เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมถึงไฟโตนิวเทรียนท์ต่างๆ ที่จะช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ

ดังนั้น การดื่ม “น้ำผลไม้” ที่มี ไฟโตนิวเทรียนท์ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ได้ง่าย

“ทิปโก้” ผู้เชี่ยวชาญทางด้านน้ำผลไม้ ได้เชิญ ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ประธานฝ่ายวิชาการ ชมรมโภชนวิทยามหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อสุขภาพและการชะลอวัย มาไขความลับคุณประโยชน์ของไฟโตนิวเทรียนท์ในน้ำผลไม้ และความจริงของน้ำตาลในน้ำผลไม้ โดยไฟโตนิวเทรียนท์ ที่พบในพืชผักผลไม้ มีมากกว่า 20,000 ชนิด อาทิ โพลีฟีนอล, ฟลาโวนอยด์, แอนโทไซยานิน, แคโรทีนอยด์ ฯลฯ

“โพลีฟีนอล” มีคุณสมบัติในต่อต้านอนุมูลอิสระ เป็นพี่ใหญ่ในการช่วยกำจัดอนุมูลอิสระให้กับร่างกาย ช่วยส่งเสริมการทำงานระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง รวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยมักพบโพลีฟีนอลมากใน น้ำสับปะรด น้ำมะพร้าว น้ำฝรั่ง น้ำกีวี น้ำแอปเปิล

“ฟลาโวนอยด์” ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน รักษาระดับน้ำตาลในเลือด และลดภาวะการอักเสบเรื้อรัง จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ มักพบมากในน้ำส้ม

“แอนโทไซยานิน” พบมากในกลุ่มผลไม้สีม่วงแดง ลดปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือดอุดตัน และโรคหัวใจ ชะลอการเสื่อมของสมอง พบมากใน น้ำองุ่น น้ำพรุน น้ำทับทิม น้ำแครนเบอรี่ น้ำเชอรี่เบอรี่ น้ำมังคุด

“แคโรทีนอยด์” ช่วยส่งเสริมสุขภาพสายตา ลดความเสี่ยงเรื่องจอประสาทตาเสื่อม พบมากในกลุ่มผลไม้สีส้ม เหลือง แดง เช่น แครอต มะละกอ มะม่วง มะเขือเทศ

คุณประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่หลายคนมักมองว่า “น้ำตาลในน้ำผลไม้” ไม่ดีต่อสุขภาพ แต่ความจริงแล้วน้ำตาลที่อยู่ในผลไม้ ส่วนใหญ่จะเป็น “น้ำตาลฟรุคโตส” แม้จะยังพบน้ำตาลกลูโคส และซูโครส (น้ำตาลทราย) อยู่บ้าง โดยการได้รับน้ำตาลฟรุคโตสจะทำให้ระดับน้ำตาล หรือกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้นได้ช้า

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs จึงขอแนะนำว่าควรรับประทานผลไม้วันละ 3-5 ส่วน

สุขภาพดีด้วยการรับประทานอาหารให้เหมาะสม

ที่มา : มติชนออนไลน์