จากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางสังคม เศรษฐกิจทำให้ประชากรวัยทำงานมีความเสี่ยงทางสุขภาพ ได้แก่
1. โรคอ้วน เกิดจากการขาดการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป
2. โรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
3.โรคมะเร็งระบบสืบพันธุ์ พบมากโดยเฉพาะในผู้หญิง เช่น มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
4. โรคจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ นำไปสู่การเกิดมะเร็งตับ มะเร็งปอด และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
5. โรคเครียด วัยทำงานเป็นวัยที่เสียงต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากเรื่องเงินและเรื่องงาน
6.โรคเอดส์ เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เป็นต้น
7. ภาวะมีบุตรยาก คือ คู่สมรสที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอเกิน 1 ปี แต่ไม่สามารถมีบุตรได้ 8. การทำแท้ง ร้อยละ 71.1 มีสาเหตุมาจากการไม่ได้ตั้งใจตั้งครรภ์ และร้อยละ 56.5 ไม่ได้คุมกำเนิด
9. ความเสี่ยงจากงานและโรคจากการประกอบอาชีพ เช่น การเกิดอุบัติเหตุขณะทำงาน โรคระบบทางเดินหายใจจากการทำงาน และโรคพิษจากสารโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว สารหนู โรคประสาทหูเสื่อม
10.อุบัติเหตุบนท้องถนน มักเกิดจากการเมาแล้วขับและการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด
ประชากรวัยทำงานสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ด้วยการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะอาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญมาก ถ้าไม่รับประทานอาหารเช้าร่างกายจะเกิดภาวะขาดน้ำตาล มีผลให้ความคิดตื้อตัน สมองไม่ปลอดโปร่ง เกิดความวิตกกังวล ใจสั่น อ่อนเพลีย หงุดหงิด โมโหง่าย
ควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้ รับประทานน้ำตาลไม่เกิน 4-6 ช้อนชา เกลือน้อยกว่า 1 ช้อนชา ผัก 4-6 ทับพี ผลไม้สดรสไม่หวานประมาณ 15 คำ งดอาหารทอดหรือผัด งดอาหารระหว่างมื้อและควรออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักและรอบพุงโดยออกกำลังกายระดับปานกลางวันละ 30-60 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์