ไหว้ 3 พระไสยาสน์ ศรีพระมหานครกรุงศรีอยุธยา

Content พาเพลิน

ไหว้ 3 พระไสยาสน์ ศรีพระมหานครกรุงศรีอยุธยา

456SHARES

Facebook

Twitter

Google+

Line

altพระนอนวัดขุนอินทประมูล (ภาพโดย สุรินทร์ มุขศรี)

การได้ออกจากกรอบเดิมๆ ออกจากห้องสี่เหลี่ยม ออกเดินทางไปที่ไหนสักแห่ง เป็นการเยียวยาความเครียดแบบหนึ่ง

การได้ปรับเปลี่ยนวิถีสักครู่ แม้เพียงวัน ครึ่งวัน ช่วยทำให้ร่างกายที่เหนื่อย สมองที่ล้า ความคิดที่ติดๆ ขัดๆ ได้ผ่อนคลายลง เหมือนได้บูตเครื่องใหม่ และพร้อมที่จะเริ่มเผชิญกับการงานที่ละวางไว้อีกครั้งด้วยอารมณ์ที่แจ่มใส

แล้วจะไปไหนดี?

ไหว้พระขอพรขอความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง คือคำตอบ

แต่ถ้าเป็น มติชนอคาเดมีŽ ต้องไม่ธรรมดา ไม่ใช่แค่ชวนไปไหว้พระ แต่ต้องได้เต็มอิ่มกับเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์แกล้มไปด้วยตลอดทริป

กำลังจะชวนไป สิงห์บุรี-อ่างทอง ไป ไหว้ 3 พระนอนศักดิ์สิทธิ์ นอกกรุงศรีอยุธยาŽ เพราะที่นั่นเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธไสยาสน์ที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่ถือว่าเป็น ศรีของพระนครŽ ใน วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2560 นี้ โดยมี ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ อดีตนักโบราณคดี และนักวิชาการอิสระ เป็นวิทยากรของทริปนี้

ที่มาที่ไปของการชวนไปกราบพระพุทธไสยาสน์ทั้ง 3 แห่งนี้ ปฏิพัฒน์บอกว่า จริงๆ แล้วพระพุทธไสยาสน์มีอยู่มากมาย เฉพาะในเกาะเมืองพระนครก็มีอีกตั้งหลายองค์ อย่าง วัดโลกสุทธาวาส วัดสามวิหาร ฯลฯ

แต่ที่ถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เป็น ศรีของพระนครŽ และกราบสักการะมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า คือ พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์, พระพุทธไสยาสน์วัดพระนอนจักรสีห์ และพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล

altพระนอนวัดจักรสีห์ (ภาพจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสิงห์บุรี)

ทั้งนี้ เป็นการอ้างอิงจากเอกสารเก่าใน คำให้การขุนหลวงหาวัดŽ ที่กล่าวถึงสิ่งที่เป็นหลักของกรุงศรีอยุธยา ทั้งภายในกรุงและรอบกรุง ที่เป็นหลักเป็นประธานของพระนครและเป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศ มีด้วยกันหลายสิ่ง กล่าวคือ…

หมู่พระมหาปราสาทน้อยใหญ่ รวมไปถึงที่ประทับรอนแรม ณ พระราชฐานเกาะบางปะอินและเมืองลพบุรี รวม 9 องค์

พระมหาธาตุ (สถาปัตยกรรมรูปปรางค์) ที่เป็นหลักทั้งในกรุงนอกกรุงศรีอยุธยา 5 องค์

พระมหาเจดียสถาน ที่เป็นหลักกรุง ทั้งนอกและในกำแพงพระนคร รวม 5 องค์

พระมหาพุทธปฏิมากร ที่มีพระพุทธานุภาพเป็นหลักของกรุง 8 องค์

พระพุทธไสยาสน์ 4 องค์ ได้แก่ พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์, พระพุทธไสยาสน์วัดพระนอนจักรสีห์, พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล และพระพุทธไสยาสน์วัดโพธิอารัญญิก

พระปทมปโทน เป็นพระมหาธาตุใหญ่ (สร้างเป็นปรางค์ทับซ้อนอยู่บนสถูปเจดีย์ แขวงนครชัยศรี 2 องค์)

รอยพระพุทธบาท เขาสุวรรณบรรพต กับพระบรมพุทธฉาย สระบุรี 2 แห่งนี้ เป็นศรีพระมหานครกรุงศรีอยุธยา สืบมาแต่โบราณ

altพระนอนวัดจักรสีห์

ถามว่า ทำไมต้องไปเป็นพระพุทธไสยาสน์ ปฏิพัทธ์อธิบายว่า

 

พระพุทธไสยาสน์นั้น แรกเริ่มทีเดียวจะหมายถึงปางปรินิพพาน ต้องย้อนกลับไปในสมัยที่พระลังกาเข้ามามีพระ 4 อิริยาบถ นั่ง เดิน ยืน นอน หมายถึงว่าทุกอย่างต้องมีสติ นั่นคือคติดั้งเดิม ต่อมาจึงมี ปางโปรดอสุรินทราหูŽ

ที่มาของปางโปรดอสุรินทราหูนั้น เล่ากันว่า ในสมัยที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ในนครสาวัตถี อสุรินทราหูซึ่งเป็นอสูรอุปราชของท้าวเวปจิตติอสุรบดินทร์ผู้ครองอสูรพิภพ

ได้สดับพระเกียรติคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากเหล่าเทวดาทั้งหลาย จึงมีความประสงค์จะฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ แต่คิดว่าพระพุทธองค์เป็นมนุษย์มีพระวรกายเล็ก ตนเองมีร่างกายใหญ่หากไปเฝ้าก็จะต้องก้มลงมองด้วยความลำบาก

เมื่ออสุรินทราหูไปเข้าเฝ้าสำคัญตัวว่ามีร่างกายใหญ่โตกว่าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิของอสุรินทราหูอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่าอสุรินทราหูอสูร ทรงนอนในลักษณะ เสด็จสีหไสยาสน์ พระเศียรหนุนภูเขาต่างพระเขนย พระบาททั้งสองข้างที่วางซ้อนกันอยู่ สูงใหญ่กว่าอสุรินทราหู อสุรินทราหูต้องแหงนคอเพื่อชมพุทธลักษณะ

จากนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์พาอสุรินทราหูขึ้นไปยังพรหมโลก บรรดาพรหมทั้งหลายมีร่างกายเล็กกว่าพระพุทธองค์และต่างมองอสุรินทราหูเหมือนประหนึ่งมนุษย์ดูมดปลวกตัวเล็กๆ อสุรินทราหูเกิดความกลัวต้องหลบอยู่ข้างหลังพระพุทธองค์ นับแต่นั้นมาก็ลดทิฐิมานะ อ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์ และเมื่อได้สดับฟังพระธรรมเทศนาจึงเกิดความเลื่อมใส ขอถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งสูงสุดแห่งชีวิต

altการเคลื่อนย้ายพระนอนวัดป่าโมกข์

สำหรับทัวร์วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคมนี้ มติชนอคาเดมีเลือกพาไปกราบ 3 แห่งคือที่ วัดป่าโมกข์ วัดพระนอนจักรสีห์ และวัดขุนอินทประมูล ส่วนที่วัดโพธิอารัญญิก ปฏิพัฒน์บอกว่า เข้าใจว่าน่าจะเป็นวัดอรัญญิก ที่อำเภอนครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา แต่ยังไม่พบพระนอน

ซึ่งแม้ว่าทั้งสามวัดที่จะพาไปเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธไสยาสน์ทั้งสามองค์ เป็นพระนอนองค์โตเหมือนกัน และถือว่าเป็น ศรีแห่งพระนครŽ เหมือนกัน แต่ก็มีตำนานความเป็นมาที่แตกต่างกัน

”ตำนานการสร้างพระพุทธไสยาสน์วัดพระนอนจักรสีห์ออกจะพิสดารกว่าเพื่อน เพราะเป็นเรื่องคนสมสู่กับราชสีห์ เป็นเหตุให้ลูกต้องฆ่าพ่อ แล้วสำนึกบาปจึงสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นไถ่บาป

“ส่วนตำนานพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูลก็เป็นเรื่องของคนบาปยักยอกเงินภาษีไปสร้างพระพุทธรูป

“ขณะที่ พระพุทธไสยาสน์วัดพระนอนป่าโมกข์ เป็นองค์เดียวที่ไม่มีตำนานประวัติเสื่อมเสียแต่มีประวัติความเป็นมาแน่นอน ชัดเจนกว่าพระพุทธไสยาสน์องค์อื่นๆ แฝงไว้ด้วยภูมิปัญญาของข้าราชการฝ่ายกรมโยธา จากพระนครในการชะลอพระพุทธไสยาสน์ให้พ้นภัยจากน้ำกัดเซาะตลิ่ง โดยไม่บอบช้ำเสียหายŽ”

altพระนอนวัดป่าโมกข์

ปฏิพัฒน์เล่าว่า ช่วงปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ยังมีเหตุอาเพศ อันเป็นอภินิหารพระมหาบุรุษเกิดขึ้นอีกแฝงไว้ด้วยตำราผีบอกรักษาไข้เจ็บได้สารพัดโรค แม้จนพระครูปาโมกข์มุนี เจ้าอาวาสวัด เล่าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่อพระพักตร์ และเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ 6 แน่นอนว่าเรื่องนี้พระผู้ใหญ่ย่อมไม่กล้าจะมุสาต่อหน้าเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน

แม้เรื่องราว ตำนานของพระพุทธไสยาสน์ 3 องค์ ศรีแห่งพระนคร จะแปลกพิสดารอย่างไร แต่ไม่มีการบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารให้เป็นกิจจะลักษณะ

อย่างไรก็ตาม มองในแง่ของพุทธลักษณะ นับว่าพระพุทธไสยาสน์ 3 องค์นี้ งดงามพิสดารนัก

…หากไม่ติดตามไปชม ไปฟังกันให้เห็นชัดรู้แจ้งแล้ว บอกได้ว่า.. น่าเสียดาย

สอบถามรายละเอียด “มติชนอคาเดมี”

08-2993-9097, 08-2993-9105

alt