อ่วม!! 68 พื้นที่กรุงเทพฯ จมฝุ่นพิษ PM2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพ

Journal ข่าวสาร

วันที่ 22 ม.ค.2564 ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ระบุว่า เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบว่าเกินค่ามาตรฐานจำนวน 68 พื้นที่​ได้แก่​ เขตหนองแขม, เขตจอมทอง, เขตบางขุนเทียน, เขตบางบอน, เขตบางแค, เขตประเวศ, เขตทวีวัฒนา, เขตธนบุรี, เขตบางกอกใหญ่, เขตบางนา, สวนธนบุรีรมย์ (เขตทุ่งครุ),​ เขตทุ่งครุ, เขตบางกอกน้อย, เขตคลองสาน, เขตคลองเตย, เขตตลิ่งชัน,

เขตภาษีเจริญ, เขตยานนาวา, เขตหนองจอก, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตพระโขนง, สวนทวีวนารมย์ (เขตทวีวัฒนา),​ เขตสัมพันธวงศ์, เขตราษฎร์บูรณะ, เขตสาทร, สวนบางแคภิรมย์ (เขตบางแค),​ เขตวัฒนา, เขตบางคอแหลม, เขตสายไหม, เขตลาดกระบัง, เขตคลองสามวา, เขตบางกะปิ, สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (เขตบางคอแหลม), ​เขตมีนบุรี,

เขตพระนคร, เขตบางรัก, เขตบางเขน, เขตคันนายาว, เขตดินแดง, เขตดุสิต, เขตบึงกุ่ม, สวนหนองจอก (เขตหนองจอก),​ สวนหลวงพระราม 8 (เขตบางพลัด),​ เขตสวนหลวง, เขตพญาไท, เขตหลักสี่, เขตบางซื่อ, เขตจตุจักร, สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ (เขตลาดกระบัง),​ เขตบางพลัด, เขตดอนเมือง, สวนพระนคร (เขตลาดกระบัง),​ สวนเบญจกิติ (เขตคลองเตย),​ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (เขตบางกอกน้อย)​,

สวนสันติภาพ (เขตราชเทวี)​, เขตวังทองหลาง, เขตสะพานสูง, เขตลาดพร้าว, สวนเสรีไทย (เขตบึงกุ่ม)​, เขตราชเทวี, สวนหลวง ร.9 (เขตประเวศ),​ สวนจตุจักร (เขตจตุจักร)​, สวนวชิรเบญจทัศ (เขตจตุจักร)​, สวนลุมพินี (เขตปทุมวัน),​ สวนกีฬารามอินทรา (เขตบางเขน)​, สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (เขตจตุจักร)​, เขตห้วยขวาง และ สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน (เขตดอนเมือง)​

โดยตรวจวัดได้ในช่วง 59-97 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) คิดเป็นร้อยละ 97.14 จากจำนวนเขตที่มีสถานีตรวจวัดทั้งหมด
คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพบางพื้นที่

สำหรับค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคำแนะนำในการปฏิบัติตน : คุณภาพอากาศปานกลาง ประชาชนทั่วไปสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ให้ประชาชนทั่วไปในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐานให้เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น

ส่วนคุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์