ทำไมเราถึงไม่พร้อมกับการรับมือไวรัสชนิดนี้

Journal ข่าวสาร

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดใหม่ ส่งผลให้เชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดการกระจายตัวอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบให้กับเหล่าผู้คนมีความ ตื่น และกลัว  กับเชื้อไวรัสนี้ ทางนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ปีที่ 19 ฉบับที่ 228 นอกจากจะนำเสนอสารคดีชุดพิเศษเสนอสารคดีชุดพิเศษว่าด้วยเมานต์เอเวอเรสต์และการสำรวจดินแดนหลังคาโลกแล้ว ยังมีรายงานพิเศษเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ในทุกด้าน สิ่งหนึ่งที่วิกฤติโควิด-19 เผยให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งคือ โลกเรานั้นเล็กเพียงใด เราผูกโยงกันและต้องร่วมมือกันมากเพียงใดเพื่อป้องกันโลกใบนี้ ตลอดจนผู้คนและสรรพชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน

โดย โรบิน มาแรนต์ซ เฮนิก ได้เขียนไว้ในหนังสือฉบับนี้ว่า “ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา โลกเพิกเฉยต่อการพยากรณ์โรคระบาด จากผู้เชี่ยวชาญ บางทีไวรัสโคโรนาอาจเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้” โดยผู้เขียนกล่าวไว้ว่า เมื่อฉันเริ่มวิจัยเรื่องนี้ในปี 1990 คำว่า “ไวรัสอุบัติใหม่”เพิ่งคิดขึ้นโดยนักวิทยาไวรัสหนุ่มสตีเวน มอร์ส เขาจะเป็นตัวเอกในหนังสือของเรื่อง A Dancing Matrix ฉันบรรยายถึงเขาว่าเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่เอาจริงเอาจัง ที่เป็นชายหนุ่มผู้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในโลกแห่งความคิด มอร์สและนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆระบุเงื่อนไขต่างๆเช่น การเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศให้มาเป็นเมืองใหญ่ จึงก่อให้เกิดความใกล้ชิดต่อมนุษย์และสัตว์ในฟาร์มหรือในป่าที่มีเชื้อไวรัส ซึ่งมันจะก่อให้เกิดจุลชีพที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนในมนุษย์ จึงเป็นสิ่งที่ร้ายแรง ซึ่งจุลชีพนี้จะมีการกระจายตัวอย่างรวดเร็วจึงมีการกระจายไปทั่วโลก “ภัยคุกคามใหญ่หลวงที่สุดเพียงหนึ่งเดียวต่อการครอบงำโลกมนุษย์ก็คือไวรัส”

ผู้เขียนยกคำพูดของโจชัว ลีเดอร์เบิร์ก นักชีววิทยาระดับโมเลกุล ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสำหรับงานด้านแบคทีเรีย โดยผู้เขียนเคยคิดว่า ลีเดอร์เบิร์กอาจพูดเกินจริงไปหน่อย แต่ในตอนนี้คำพูดของเขากลับกลายเป็นเหมือนคำทำนายอันน่าหวาดหวั่นของโลกมนุษย์ เมื่อยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19  ในสหรัฐฯ ยังไม่ถึงพันคนชาวนิวยอร์กอย่างผู้เขียนก็ได้รับคำสั่งว่าให้อยู่บ้าน เป็นเวลาสามวัน  ผมจึงโทรศัพท์หามอร์สเพื่อถามว่าเขาเป็นอย่างไรบ้าง เขาเป็นผู้สอนวิทยาการระบาดที่วิทยาลัยสาธารณสุขเมลแมนมหาวิทลัยโคลัมเบีย และด้วยสถานการณ์ของไวรัสโคโรนาจึงทำให้เป็นปัญหาที่เปราะบางต่อการทำงานมากที่สุด จึงทำให้เขาต้องกักตัวอยู่ที่อพาร์ตเมนท์ที่แฮตตัน ห่างกันกับผมไม่เท่าไหร่

“ใช่ครับ ผมท้อแท้ที่พบว่าเราไม่ได้เตรียมตัวดีขึ้นเลยหลังจากทั้งหมดนี้ และเราคงจงใจปิดหูปิดตา” มอร์สกล่าวเขายกคำพูดจากกูรูด้านบริหารจัดการ ปีเตอร์ดรักเกอร์ ซึ่งครั้งหนึ่งเขาเคยถูกถามว่า “อะไรคือความผิดพลาดที่เลวร้ายที่สุดที่คุณทำได้”คำตอบของ มอร์สที่ตอบกลับคือ “การทำสิ่งที่ถูกต้องก่อนเวลาอันควร”ซึ่งมอร์สและฉันไม่ได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นก่อนหน้าหรือหลังระหว่างที่คุยโทรศัพท์กัน

เขารู้กันมาตลอดว่าโรคระบาดครั้งต่อไปสามารถมาจากที่ไหนก็ได้ แต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เขาและเพื่อร่วมงานมีแนวโน้มจะมีความสนใจให้กับไข้หวัดใหญ่ ส่วนตัวของผู้เขียนก็เช่นกัน ในปัจจุบันก็มีนักข่าวคนอื่นอีกมากมายที่เขียนหนังสือที่คล้ายคลึงกัน และบางเล่มเป็นหนังสือขายดีถล่มทลาย เช่น The Hot Zone ของ ริชาร์ด เพรสตัน และ The Coming Plague ของลอรีแกร์เร็ตต์ ซึ่งตีพิมพ์หลังจากหนังสือของฉันเมื่อหนึ่งปีก่อน (หนังสือ ที่ล่าสุดกว่าเล่มอื่นๆ รวมถึง Spillover ของเดวิด ความเมนซึ่งติดตามเรื่องโรครับจากสัตว์ที่เขาเขียนให้ เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก เมื่อปี 2007) ที่สื่อถึงไข้หวัดใหญ่

โดยในการประชุมครั้งหนึ่งช่วงกลางทศวรรษ 1980 นักวิจัยวัคซีนไข้หวัดใหญ่คนสำคัญผู้นี้สร้างฉากทัศน์เกี่ยวกับไวรัสน่ากลัวที่ไม่มีจริง ซึ่งมีลักษณะที่อาจทำให้มันเป็นโรคติดต่อได้มากที่สุด ร้ายแรงที่สุด และควบคุมยากที่สุด เขาเรียกมันว่า “ไวรัส (ปีศาจ) ที่ร้ายแรงที่สุด” หรือเอ็มเอ็มเอ็มวี (maximally malignant (monster) virus:MMMV) ตามที่คิลบอร์นบรรยายไว้ ว่ามันอาจแพร่เชื้อทางอากาศเหมือนไข้หวัดใหญ่ และอาจแทรกยีนของตัวมันเองเข้าไปในนิวเคลียสของผู้ให้อาศัยได้โดยตรงเหมือนเอชไอวี ไวรัสโคโรนาชนิดใหม่นี้ ไม่ใช่เอ็มเอ็มเอ็มวีอันน่ากลัวของคิลบอร์น แต่มันมีคุณสมบัติน่ากลัวที่สุดหลายอย่าง มันแพร่เชื้อทางอากาศ แบ่งตัวในทางเดินหายใจส่วนล่าง และคาดกันว่ามีชีวิตอยู่ได้หลายวันบนเคาร์เตอร์ นอกจากนี้ยังมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการด้วย ซึ่งหมายความว่าหากมีคนติดเชื้อสำหรับบางคนก็จะไม่มีการแสดงอาการ เค้าก็ยังคงใช้ชีวิตตามปกติไปทานข้าว ไปทำงาน ไปทุกๆที่ที่เราจะไป มันจึงเลวร้ายกว่าไข้หวัดใหญ่และยังจำกัดวงได้ยากกว่า

นอกจากโรคที่เคยคิดว่าร้ายแรงอย่าง เช่น เอดส์โรคระบาดที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว แล้วยังมีแนวโน้มว่าจะไม่ระบาดไปทั่วโลกอย่าง เช่น โรคซาร์สเมื่อปี 2003 ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย โรคเมอร์สเมื่อปี 2012 แทบไม่ได้ออกจากตะวันออกกลางเลย โรคอีโบลาเมื่อปี 2014 ส่วนใหญ่มักก่อหายนะอยู่ในแอฟริกาตะวันตก หลังอ่านทบทวนหนังสือของตัวเองเมื่อไม่นานมานี้ที่ได้มีการเขียนไว้ ฉันเจอประโยคหนึ่งที่ย้ำเน้นถึงการคงอยู่ของทัศนคติที่น่าละอายนี้ ฉันเขียนไว้ว่า ถ้าถามนักวิทยาไวรัสภาคสนามว่าอะไรทำให้โรคระบาดชนิดหนึ่งคุ้มค่าที่จะหาข้อมูล เขาจะตอบด้วยท่าทางเย้ยหยันว่า “ความตายของคนผิวขาวคนหนึ่ง” ฉันเชื่อในประเด็นสำคัญของประโยคชวนหลอกหลอนนั้น ว่าเราวางตัว เป็นอื่น หรือคิดว่าเป็นเรื่องของคนอื่นจนทำให้เกิดความเสียหายหมดสิ้นกันมาหลายทศวรรษ แล้วเราก็ยังคงทำเช่นนั้นมาตลอด 

ซึ่งท้ายที่สุดแล้วทำให้มนุษยชาติปราชัย ว่ามีสิ่งที่ทำให้กระจ่างมากขึ้น หากได้อ่านเกี่ยวกับโรคระบาดจากเมื่อทศวรรษที่รวบรวมไว้ในหนังสือ ตอนที่ไวรัสชนิดใหม่ๆ ยังคงอุบัติขึ้นมา แพร่กระจายไปสู่ประชากรอย่างรวดเร็ว  แล้วในที่สุดโรคนั้นก็หายไป นับตั้งแต่ไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดหนักๆตั้งแต่ปี 1918-1919 ซึ่งเราเกือบจะเรียนรู้บทเรียนที่ถูกต้องในทศวรรษ 1990 แต่มนุษย์นั้นก็เพิกเฉยบางทีการที่โรคระบาดในรอบนี้อาจจะแย่ขึ้น หากเราไม่เรียนรู้ร่วมกันที่จะป้องกันโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดในตอนนี้

ที่มา : นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ปีที่ 19 ฉบับที่ 228