ร้านค้าออนไลน์ รู้ยัง! รายได้เท่าไหร่ถึงเสียภาษี

Business ธุรกิจ
ร้านค้าออนไลน์ รู้ยัง! รายได้เท่าไหร่ถึงเสียภาษี 

ปัจจุบันคนไทยหันมาขายสินค้าออนไลน์กันรัวๆ วันนี้ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับ ภาษีธุรกิจออนไลน์ ที่พ่อค้า แม่ค้า ต้องรู้ จาก Plearn เพลิน by krungsri GURU 

รูปแบบการขายของออนไลน์มีด้วยกันหลักๆ 3 ประเภท

1. ขายให้กลุ่มลูกค้าใน Social Media
การขายออนไลน์ให้กับลูกค้าใน Social Media คือ กลุ่มลูกค้าที่ใช้งาน Facebook, Instagram, Line เป็นต้น มักเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ของพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์มือใหม่ ที่ยังไม่มีความรู้เรื่องการขายของมาก่อน การขายให้กับลูกค้าในกลุ่ม Social Media คุณสามารถใช้ Account ส่วนตัวขายตรง หรือสร้าง Account เพื่อการค้าโดยเฉพาะเลยก็ได้ การขายของให้ลูกค้ากลุ่ม Social Media จะเข้าถึงผู้ใช้งานได้จริง มักเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม ที่นิยมขาย มีตั้งแต่เสื้อผ้าวินเทจ เครื่องสำอาง ไปจนถึงของแบรนด์เนม กลุ่มนี้จะขายง่าย ทำราคาได้ในระดับหนึ่ง คู่แข่งจะไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม ช่องทาง Social Media จึงเป็นช่องทางที่อยากแนะนำให้พ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์มือใหม่ทั้งหลาย

2. ขายผ่านเว็บไซต์ที่เป็น Marketplace
การนำสินค้าไปฝากขายกับ Marketplace ของเว็บไซต์ต่างๆ ถือเป็นการขยับขึ้นอีกก้าวสำหรับการขายของออนไลน์ คุณสามารถขายทั้ง Marketplace ที่เป็นของไทยหรือของต่างประเทศก็ได้ ถ้าเป็นของต่างประเทศคนน่าจะคุ้นกับชื่อ ebay.com และ amazon.com สำหรับ Marketplace ของไทย ที่ติดอันดับ ได้แก่ KAIDEE, Shopee, LAZADA, Pantip Market, Weloveshopping และ TARAD เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แต่ละเว็บไซต์ก็จะมีเงื่อนไขในการสมัครเข้าไปขายและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป พ่อค้า/แม่ค้าควรศึกษาให้ดีก่อนเริ่มต้นขาย

3. เปิดเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
สำหรับคนที่ต้องการลงทุนแบบเต็มตัว การเปิดเว็บไซต์ขายสินค้าเป็นของตัวเองคือตัวเลือกของคุณ เมื่อเป็นเจ้าของร้านอะไรก็ตาม แม้จะในโลกออนไลน์ก็ต้องมีการลงทุนด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งการเปิดเว็บไซต์ของตัวเอง ถ้าไม่ใช่ฟรีเว็บไซต์นั้น มีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 20,000 บาท เป็นต้นไป คุณควรมีความรู้ในเรื่องการออกแบบเว็บไซต์บ้าง รวมถึงการทำ Branding การตลาดออนไลน์ เป็นต้น แต่การมีเว็บไซต์ร้านค้าเป็นของตัวเองแบบนี้ ถ้าร้านค้าของคุณติดตลาดแล้วละก็ คุณจะได้ขายกันแบบยาวๆ ไปเลย

เรื่องต้องรู้เมื่อเปิดร้านค้าออนไลน์

เมื่อคุณเป็นพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์เต็มตัวแล้ว สิ่งต่อมาที่คุณต้องรู้และคำนึงถึง กฎเกณฑ์การขายของออนไลน์ต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ เรื่องการเสียภาษีของร้านค้าออนไลน์ ซึ่งถือเป็นกฎหมายใหม่ล่าสุด หลังจากมีการพูดถึงแนวทางการจัดเก็บภาษีกับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์มาโดยตลอด ในที่สุดกฎหมายก็ได้คลอดออกมาแล้ว โดยมีชื่อว่า ภาษีอีเพย์เมนต์ พ.ศ. 2562 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 และให้สถาบันการเงินส่งรายงานธุรกรรมครั้งแรกต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ใจความสำคัญคือ การกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากรทราบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล (ผู้ที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท) ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยบัญชีธุรกรรมเฉพาะจะต้องมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

ทั้งนี้ จะทำให้กรมสรรพากรได้รับข้อมูลที่จำเป็น คือ เลขประจำตัวประชาชน, ชื่อ-สกุล, เลขที่บัญชีเงินฝาก, จำนวนครั้งของการฝากหรือโอนรับเงิน, ยอดรวมของการฝากหรือโอนรับเงิน เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลและดำเนินการเก็บภาษีได้จำนวนที่ถูกต้องต่อไป

แม่ค้าออนไลน์ตั้งรับภาษีอีเพย์เมนต์อย่างไร

อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าเราไม่อยู่ในเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อข้างต้น ก็เพียงแค่ยื่นภาษีแสดงรายได้ประจำปีปกติ เพราะปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ก็ต้องยื่นภาษีเป็นปกติอยู่แล้ว หากรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาท/ปีขึ้นไป ใช้เกณฑ์เดียวกับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี จะเรียกเก็บที่ 7%

สำหรับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ตรงเรื่องการเสียภาษีมาก่อน ควรเริ่มต้นเตรียมตัวอย่างไร ตรงนี้มีคำตอบ

1.ทำบัญชีรายรับ รายจ่ายไว้ เมื่อคิดจะประกอบอาชีพค้าขายแล้ว คุณต้องระวังและใส่ใจรายละเอียดเรื่องตัวเลขเป็นอย่างมาก ถ้าไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ให้เครื่องมือวางแผนทางการเงินช่วยคุณได้
2.เก็บหลักฐานทุกอย่าง เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้า การทำธุรกรรมทางการเงิน ทั้งการซื้อขายและกับธนาคาร จะเล็กน้อย หรือมากแค่ไหนก็ต้องเก็บรวบรวมไว้ให้หมด เพราะทุกหลักฐานจะต้องนำมาใช้ประกอบการยื่นภาษี
3.ศึกษาเรื่องภาษีให้ละเอียด เช่น ร้านค้าของคุณเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่ ฯลฯ

สำหรับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ที่มียอดโอนเพื่อซื้อสินค้าไม่ถึง 3,000 ครั้ง/ปี หรือยอดเงินรวมไม่ถึง 2,000,000 บาท ก็ไม่ต้องกังวลว่าตัวเองจะโดนภาษีอีเพย์เมนต์นี้ คุณเพียงแค่ยื่นภาษีรายปีแสดงรายได้ของตัวเองเท่านั้นเอง ปลอดภัยหายห่วงไม่โดนภาษีรายปีและภาษีย้อนหลังแน่นอน

ที่มา : เส้นทางเศรษฐีออนไลน์

ข้อมูล : Plearn เพลิน by krungsri GURU