21 เมษา ‘สถาปนากรุงเทพฯ’ หลักฐานชี้ แรกตั้งมีคนไม่เกิน 2 แสน ‘ผู้ชายเยอะกว่าผู้หญิง’

Content พาเพลิน

21 เมษายน 2325 หรือวันนี้เมื่อ 236 ปีมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรีได้สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งสยามประเทศ โดยในยุคนั้น ยังไม่มีบันทึกชัดเจนว่า คนกรุงเทพ ฯ มีจำนวนเท่าไหร่

สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือ “มติชน” บอกว่า อย่างไรก็ตาม สามารถคำนวณจากตัวเลขประมาณการของ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง ขุนนางชาวอังกฤษ ที่เข้ามายังบางกอกในสมัยรัชกาลที่ 4 หลังสถาปนากรุงเทพฯ 73 ปีว่า จำนวนประชากรทั่วทั้งพระราชอาณาจักรสยาม มีไม่เกิน 5 ล้านคน เป็นประชากรของกรุงเทพ ไม่เกิน 3 แสนคน โดยการอ้างอิงแล้วคำนวนจากข้อมูลที่มีผู้บันทึกไว้ก่อนหน้า อย่างลาลูแบร์ และสังฆราชปัลเลอกัวซ์

เมื่อสุจิตต์ วิเคราะห์ตัวเลขจากบันทึกดังกล่าวแล้วสันนิษฐานว่า ยุคต้นกรุงเทพฯ ย่อมต้องมีประชากรน้อยกว่านั้น โดยน่าจะมีเพียง 1-2 แสนคน เนื่องจากหลังสร้างกรุงแล้ว จึงมีการกวาดต้อนเชลยศึกและเกณฑ์ไพร่พลเข้ามาคราวละมากๆ เช่น

สมัยรัชกาลที่ 1 เกณฑ์คนจากเขมร ลาว
สมัยรัชกาลที่ 2 มีมอญเข้ามาสวาภิภักดิ์
สมัยรัชกาลที่ 3 กวาดต้อนลาวเข้ามาเพิ่มอีก

ทั้งหมดนี้ยังไม่นับรวมกลุ่มชาวจีนที่ทยอยเดินทางเข้ามาในบางกอกอยู่เรื่อยๆ

กลุ่มคนเหล่านี้ ได้ตั้งรกรากอยู่อาศัย กลายเป็น “คนกรุงเทพ” และ “คนไทย” ในเวลาต่อมาสืบถึงทุกวันนี้

ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของข้อความจากบันทึก เซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง

ซ้าย เซอร์ จอห์น เบาว์ริ่ง ขวา สังฆราชปัลเลอกัวซ์ ผู้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเมืองและผู้คนชาวสยามไว้อย่างละเอียด

บาท หลวงปัลเลอกัวซ์ กล่าวถึงการสำรวจสำมะโนประชากรของทางการว่า ชาวสยามมิได้จำแนกประชากรที่เป็นชายชรา หรือสตรี หรือเด็ก ออกจากกันแต่อย่างใด สำหรับคำถามทั้งหมดที่ถามถึงจำนวนราษฎร คำตอบที่ได้คือ ชายจำนวนมาก ท่านได้ประมาณการว่าจำนวนโดยทั่วไปมี 5 เท่าของจำนวนที่ได้มีการบันทึกไว้….
ลาลูแบร์กล่าวว่า ในสมัยของท่านนั้น ประชากรของสยามคะเนได้ว่ามีอยู่ราว 1,900,000 คน แต่ท่านคิดว่าคงต้องลดยอดดังกล่าวลงบ้าง เพราะได้มาจากการตอบคำถามแบบขอไปทีและการพูดไม่จริงอันเป็นอุปนิสัยของคน ตะวันออก”

 


ที่มา มติชนออนไลน์