มาเล่นกันเถอะ! “ทายนิสัยจากไอศกรีม” รสไหนใช่ตัวคุณ?

Lifestyle ไลฟ์สไตล์

ไอศกรีมถือเป็นของโปรดสำหรับใครหลายๆ คน ซึ่งรสชาติของไอศกรีมนั้นก็มากมายหลากหลายแบบสุดๆ ซึ่งจากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญ สามารถบอกได้ว่ารสชาติไอศกรีมที่เราชื่นชอบมักจะเกิดขึ้นในวัยเด็ก และมีแนวโน้มที่จะสอดคล้องกับบุคลิกภาพของทุกช่วงขณะในชีวิตของเราอีกด้วย มาดูกันซิว่า ไอศกรีมรสชาติที่คุณชอบบอกอะไรได้บ้าง?

รสช็อกโกแลต
ใครที่ชอบรสช็อกโกแลตมาดูทางนี้ เพราะเค้าว่ากันว่าใครที่ชอบรสนี้ เป็นบุคคลที่มีเสน่ห์ ค่อนข้างเจ้าชู้ รวมถึงยังเป็นคนที่กระตือรือร้น คล่องแคล่วว่องไว แต่จุดอ่อนก็คือจะโดนหลอกได้ง่ายๆ

รสสตรอว์เบอร์รี
จากการศึกษาของ Hirch Baskin เขาพบว่าคนที่ชื่นชอบรสสตรอว์เบอร์รี มักจะเป็นผู้ที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อีกทั้งยังมีความซื่อสัตย์และจงรักภักดี ซึ่งงรวมไปถึงคนที่ชื่นชอบรสชาติของผลไม้ตระกูลเบอร์รีต่างๆ ที่มักจะเป็นคนที่มีตรรกะ และมีการไตร่ตรองความคิดอย่างรอบคอบ

รสเชอร์เบท
รสชาติหวานอมเปรี้ยว กินแล้วสดชื่นแบบนี้ เราคงคิดภาพตามว่าผู้ที่ชื่นชอบรสเชอร์เบทดูจะเป็นคนสดใส ง่ายๆ สบายๆ แต่ความจริงแล้ว ค่อนข้างจะเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายมากกว่าที่เราคิดซะอีก และในอีกมุมหนึ่งก็ยังมีความเป็นนักวิเคราะห์ และตัดสินใจได้อย่างเด็ดเดี่ยวเช่นกัน

รสกาแฟ
สำหรับคนที่ชื่นชอบไอศกรีมรสกาแฟ เค้าว่ากันว่าเป็นคนที่มีความกระตือรือร้น คล่องแคล่ว มีความช่างเพ้อ เยอะสิ่งอยู่หน่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ชอบรสกาแฟ ยังเป็นคนที่ไม่ค่อยกังวลกับอนาคตและความคืบหน้าของความสัมพันธ์ในช่วงนั้นๆ จึงต้องหมั่นสร้างความโรแมนติกขึ้นมาบ้างนะ

รสช็อกโกแลตชิพ
ใครที่ชอบรสช็อกโกแลตชิพ บอกเลยว่าคุณเป็นคนใจกว้าง มีน้ำใจกับผู้อื่นอยู่เสมอ อีกทั้งยังเป็นผู้มีความสามารถ ที่มาพร้อมกับความทะเยอทะยานอย่างเต็มเปี่ยมอีกด้วย

รสวานิลลา
ถึงแม้รสวานิลลาจะดูเป็นรสง่ายๆ และเบสิคที่สุด แต่รู้หรือไม่ว่าผู้ที่ชื่นชอบรสวานิลลากลับเป็นคนที่สนุกสนาน มีชีวิตชีวา ค่อนข้างหุนหันพลันแล่นพอสมควร และยังเป็นผู้ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ อีกทั้งยังเชื่อในสัญชาตญาณมากกว่าความเป็นเหตุเป็นผลอีกด้วย ซึ่งยังว่ากันว่าคนที่ชอบรสวานิลลา เป็นยังเป็นคนที่แสดงออกในด้านอารมณ์ และจะประสบความสำเร็จในด้านความสัมพันธ์เป็นอย่างดี

เป็นยังไงกันบ้างกับการทายนิสัยด้วยรสชาติไอศกรีมที่ชื่นชอบ ลองดูกันนะว่าตรงกับบุคลิกของตัวเองบ้างหรือเปล่าเอ่ย?

ที่มา : บล็อกเล่าเก้าสิบ