สสว. ร่วมกับ มธ. ขับเคลื่อนกลยุทธ์อุตสาหกรรมบริการ จัดทำโครงการ “SME ปรับตัวรับมือ VUCA World (ภาคบริการ)” หนุนเอสเอ็มอีฝ่าวิกฤต ด้วยนวัตกรรมการให้บริการ พร้อมรับมือทุกความผันผวนของสถานการณ์ จัดเต็มขบวนทัพกับกูรูมากฝีมือเสริมแกร่งให้เอสเอ็มอี

นายวชิระ แก้วกอ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน รักษาการแทนในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว.เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME เมื่อเกิดสภาวการณ์ต่างๆ ที่ส่งผลต่อธุรกิจไม่ว่าจะเป็นสงครามรัสเซีย-ยูเครน แนวโน้มยืดเยื้อของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อัตราเงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบ 13 ปี ราคาน้ำมันที่ยังคงพุ่งสูงขึ้น คนไทยรายได้น้อย ในขณะที่หนี้ครัวเรือนก็เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติกันมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลกระทบกับธุรกิจต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญ

นายวชิระ กล่าวอีกว่า จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาเบื้องต้น ทำให้ผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญกับสถานการณ์ VUCA World อันได้แก่ ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) ซึ่งถือเป็นสิ่งท้าทายให้ SME ต้องทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพพอที่จะสามารถแข่งขันและรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ จึงเกิดเป็นโครงการ “SME ปรับตัวรับมือ VUCA World (ภาคบริการ)” เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SME ในภาคการบริการ ที่เป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เราจึงได้ริเริ่ม
แนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการในภาคบริการขึ้น โดยคำนึงถึงบริบทที่ผู้ประกอบการได้พบเจอในโลกที่เป็น VUCA World นี้ ซึ่งครั้งนี้ สสว. ได้ผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปลี่ยนวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส ผ่านการเปิดโอกาสในการขยายศักยภาพให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้เข้าร่วมอบรมและพัฒนาแผนธุรกิจ ตามบริบทของการแข่งขันและสภาเศรษฐกิจของภาคธุรกิจบริการภายใต้สถานการณ์ VUCA World เพื่อยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการภายใต้รูปแบบ VUCA Proactive โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการ SME สามารถประกอบธุรกิจอย่างเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงผ่านกิจกรรมสร้างเครือข่าย (Networking) สนับสนุนให้ผู้ประกอบการในโครงการได้รู้จักกันเพื่อเชื่อมโยงเป็นพันธมิตรที่มีศักยภาพ และขยายโอกาสในการพัฒนาธุรกิจหลังจากนี้ไป โดยผู้เข้าโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

นางสาวอรพรรณ คงมาลัย หัวหน้าโครงการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการทั้ง 38 กิจการ ต่างมีคุณลักษณะที่โดดเด่นเป็นของตนเอง ดังนั้นเราจึงต้องใช้เกณฑ์พิจารณาอย่างเป็นกลางในการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพจากกิจการมากกว่า 100 กิจการ โดยพิจารณาจากความเป็นไปได้ในเชิงการตลาด ความพร้อมด้านบุคลากร และศักยภาพที่จะต่อยอดหลังจากนี้ โดยผู้เข้าร่วมโครงการในรอบนี้ถูกคัดเลือกมาจาก 3 ภูมิภาค โดยประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร 10 ราย กลุ่มธุรกิจโรงแรม 8 ราย กลุ่มธุรกิจสปาและ Wellness 8 ราย กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว 1 ราย และกลุ่มธุรกิจอื่นๆอีก 11 ราย ซึ่งน่าสนใจมากตรงที่ในปีนี้เรามีธุรกิจภาคบริการที่เข้าร่วมอย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Wellness อย่าง Ess Wellness & Aesthetics คลินิกเสริมความงามจากใจกลางกทม. Dr.Win Rehab Clinic คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู บริษัท Kiidu ที่เป็น Platform จัดหาแม่บ้าน พี่เลี้ยงเด็ก คนดูแลผู้สูงอายุ บริษัท Speed Master ผู้ให้บริการบำรุงรักษารถยนต์ จากจังหวัดขอนแก่น Yatika Boutique ที่พักสุดเก๋สไตล์ Cottage จากเชียงดาว หรือจะเป็นบริษัท ยูนิเพสท์ ผู้ให้บริการควบคุมและกำจัดแมลงมาอย่างยาวนานกว่า 35 ปีจากเชียงใหม่

นางสาวอรพรรณ คงมาลัย หัวหน้าโครงการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวเสริมต่อว่า ในปีนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยร่วมดำเนินการโครงการดังกล่าว ได้พัฒนาการอบรมหลักสูตร VUCA Proactive ขึ้นมาเพราะหวังว่าจะช่วยผู้ประกอบการ SME ให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์ VUCA World ที่ทั้งผันผวนและไม่แน่นอนนี้ไปให้ได้ จึงเน้นอย่างมากในเรื่องของการสร้าง Service Innovation การสร้าง Customer Experience ใหม่ๆ รวมถึงการนำ Digital Technology เข้ามาปรับใช้ในธุรกิจภาคบริการ

“การอบรมจะเป็นการผสมผสานทั้งแบบ Offline และ Online ในรูปแบบ Offline นั้นเราก็เตรียมหลักสูตรไว้อย่างเข้มข้นสำหรับผู้ประกอบการในภาคบริการโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการอบรมในเรื่องของการบริหารบุคลากร (Team Engagement) การยกระดับธุรกิจบริการสู่โลกดิจิทัล (Service Goes Digital) การเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของทางวิทยากรที่มาจากธุรกิจภาคบริการ อย่างเช่น คุณอนัญญา เหมวิจิตพันธ์ ผู้ก่อตั้ง Wellness Club Thailand และคุณณิชา จารุกิตต์ธนา (ออมสิน) เจ้าของร้าน โกปี๊ฮับ ร้านติ่มซำชลบุรีที่สามารถเติบโตได้อย่างน่าสนใจในช่วงโควิด-19 กำลังระบาด อีกทั้งยังมีเวทีเสวนาในหัวข้อ “ฝ่าวิกฤต ธุรกิจบริการ”โดย ทพ. อนุศักดิ์ คงมาลัย โฆษกคณะกรรมาธิการท่องเที่ยว วุฒิสภา และ คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต และยังเป็นผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงก์กิ้งและนวัตกรรม จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ที่จะมาช่วยกันเจาะลึกหาแนวทางว่า ทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการอยู่รอดได้ในยุค VUCA World แถมด้วยกิจกรรม Business Matching และ Business Networking ให้กับผู้ประกอบการทั้ง 38 กิจการอีกด้วย ทั้งนี้ในส่วนของการอบรมแบบ Online ก็ไม่ด้อยไปกว่ากันเพราะเราเตรียมมาทั้งหลักสูตร “SMEs Operation Expert” “SMEs Service Expert” “SMEs Data Expert” และ “SMEs Finance Expert” เพื่อที่จะช่วยผลักดันความรู้ทางธุรกิจให้กับทีมงานของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมให้แน่นขึ้นไปอีก ตลอดเดือนเมษายนนี้” นางสาวอรพรรณ คงมาลัย กล่าว

นอกจากนี้ สสว. คาดว่า ผลการดำเนินโครงการในภาพรวมจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำแผนธุรกิจที่ได้พัฒนาไปปรับใช้ในธุรกิจได้จริงและสามารถเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจของตนเองรวมไปถึง Ecosystem ของธุรกิจให้มากขึ้น นับเป็นโครงการดีๆ จากทางสสว. และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการ SME ไทยฝ่าวิกฤต VUCA World นี้ไปให้ได้ สำหรับท่านที่สนใจ สามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของโครงการได้ที่ Facebook : SME VUCA World จากนี้ไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2565

ธนาคารกรุงไทยแนะอาหารที่ทำหน้าที่เฉพาะด้าน (Functional Foods) เป็นเทรนด์อาหารแห่งอนาคต โดยมีขนาดประมาณ 68,000 ล้านบาท และคาดจะโตเฉลี่ยปีละ 4% สามารถสร้างผลกำไรสูงกว่าอาหารทั่วไปเกือบ 3 เท่า และเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่ม S-Curve ที่ภาครัฐส่งเสริม ที่สำคัญยังไม่มีผู้นำตลาดอย่างชัดเจน จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ SME ในการเจาะตลาด โดยควรร่วมกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญช่วยทำวิจัย เพื่อประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงาน Global Business Development and Strategy ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า จากการทำบทวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงในการส่งเสริมสุขภาพด้านต่างๆ เพิ่มเติมจากคุณประโยชน์ของอาหารทั่วไป หรือ Functional Foods ซึ่งเป็นอาหารสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ออกกำลังกาย กลุ่มผู้ใส่ใจความงาม พบว่ามีโอกาสขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประเมินมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 68,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 4% ซึ่งในต่างประเทศอัตรากำไรของบริษัทที่ทำ Functional Foods จะสูงกว่าอาหารทั่วไปถึงเกือบ 3 เท่า โดยมีอัตรากำไรเฉลี่ยสูงถึง 7.3% ขณะที่ผู้ประกอบการอาหารทั่วไปอยู่ที่ 2.8 % อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม S-Curve ที่ภาครัฐให้การสนับสนุน

นอกจากนี้ Functional Foods ยังสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่ให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น และมีแนวคิดว่าการป้องกันโรคดีกว่าการรักษาโรค รวมทั้งต้องการทางเลือกที่ไม่ใช่ยา จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ SME ในการเจาะตลาดนี้ ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ยังเข้าไม่ถึง และยังไม่มีผู้นำตลาดอย่างชัดเจน ที่สำคัญผู้บริโภคในกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับคุณค่าและประโยชน์ของสารอาหารมากกว่าราคา ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา โดยกลุ่มที่น่าสนใจคือ กลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง กลุ่มควบคุมน้ำหนัก และกลุ่มเสริมภูมิคุ้มกัน

ด้าน นายอภินันทร์ สู่ประเสริฐ รองผู้อำนวยการฝ่าย สายงาน Global Business Development and Strategy กล่าวเสริมว่า ในการเตรียมตัวเพื่อก้าวเข้าสู่ตลาด Functional Foods ผู้ประกอบการควรสำรวจความต้องการของตลาด ศึกษาสารอาหารที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และควรเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อช่วยทำวิจัย เช่น ผู้ผลิตสารอาหารเฉพาะด้าน (Functional Ingredients) และหน่วยงานวิจัยจากภาครัฐหรือสถาบันการศึกษา เพื่อลดความเสี่ยงในการทำวิจัยเอง และช่วยให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงความต้องการของตลาดได้ง่ายขึ้น ทั้งเรื่องของรสชาติที่อร่อย การรักษาคุณสมบัติของสารอาหารให้คงเดิม และได้มาตรฐานการผลิต ตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

“ผู้ประกอบการต้องเข้าใจเรื่องการรักษาคุณค่าของสารอาหารที่เติมลงไปจนถึงมือผู้บริโภค โดยปัจจุบันเทคโนโลยีในการรักษาคุณค่าของสารอาหารก้าวหน้าไปมาก เช่น เทคโนโลยี Encapsulation ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างชั้นป้องกันสารสำคัญจากปฏิกิริยาหรือสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีในการรักษารสชาติ สี กลิ่น ให้ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์อาหารเดิม ทั้งนี้ เป็นที่แน่นอนว่า ในอนาคตจะมีผลิตภัณฑ์ Functional Foods ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่มีความต้องการเฉพาะเจาะจงมากขึ้น และหากเป็นไปตามที่ภาครัฐตั้งเป้าหมายไว้ ในปี 2564 คาดว่าจะมีผู้ประกอบการอาหารที่มีนวัตกรรมอาหารประมาณ 9,000 ราย”

เป็นมั้ยที่ทำงานอยู่ในออฟฟิศแล้วมันเบื่อๆ บรรยากาศมันไม่โดนใจ ไอเดียไม่แล่น วันนี้เรามีไอเดียง่ายๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนโฉมออฟฟิศเดิมของคุณให้น่าอยู่ที่จะทำให้ไอเดียพรั่งพรูของคุณได้บรรเจิดกัน เราลองไปดูกัน

1. ออฟฟิศเล็ก กระจกช่วยได้!

เทคนิคสำคัญที่จะช่วยแก้ห้องเล็กให้ดูกว้าง ไอเดียแรกที่เราขอแนะนำ คือ การใช้กระจกมาช่วยหลอกตาให้ห้องดูกว้างขึ้น ซึ่งแนะนำว่าควรจะเป็นกระจกใสบานใหญ่ๆ ยิ่งเป็นแบบไม่มีรอยต่อยิ่งดี ซึ่งเทคนิคนี้ใช้ได้ทุกที่ ลองนึกถึงลิฟต์ที่มีการใช้กระจกเงาที่ช่วยให้ดูกว้างและไม่อึดอัด แต่สำหรับออฟฟิศแนะนำให้ใช้กระจกเงาใส เพราะถ้าใช้กระจกเงาอาจจะดูมึนงงมากกว่ารู้สึกกว้าง

2. ใช้ผนังให้เป็นประโยชน์

ผนังห้องต้องใช้ให้คุ้ม! และสำหรับออฟฟิศยุคใหม่การ Brainstorm หรือระดมความคิด ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญที่จะสร้างความมีส่วนร่วมของโปรเจกต์ต่างๆ ซึ่งทุกวันนี้เรียกว่าหมดยุคของกระดานไวท์บอร์ดที่ต้องลากไปมา หรือกระดาน flipboard กันแล้ว แต่นิยมติดกระดานไวท์บอร์ดหรือหลายออฟฟิศทำผนังด้านหนึ่งเป็นกระจกก็สามารถจะใช้ปากกาไวท์บอร์ดเขียนได้ แถมยังใหญ่ ลบง่ายและคงทนอีก เพราะช่วยให้มองเห็นได้ง่ายขึ้นมากกว่าโปร่งแสงนอกจากอเนกประสงค์แล้ว ยังดูทันสมัย และสร้างบรรยากาศในออฟฟิศให้ดูผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

3. ใช้พื้นที่เก็บของให้คุ้ม

สังเกตมั้ยว่า ยิ่งอยู่นานของยิ่งรก นั่นเป็นเพราะยิ่งนานวันเราจะยิ่งสะสมของมากขึ้น ดังนั้นถ้าหากเราอยากให้ ออฟฟิศดูดีก็ต้องจัดเก็บของให้เรียบร้อย ซึ่งนอกจากจะเรียบร้อย ตอบโจทย์การใช้งานแล้วต้องดูสวยงามด้วย ไอเดียที่น่าลองคือการลงทุนทำตู้เก็บของแบบ Build-in เก๋ๆ แบบติดกำแพงดู จะช่วยให้คุณสามารถเก็บของได้อีกเยอะมาก โดยที่ไม่รู้สึกว่าห้องแคบลงแต่อย่างใด ซึ่งบานประตูตู้อาจจะหลอกตาด้วยกระจกใส เพื่อช่วยทำให้ห้องกว้างขึ้นได้ด้วย

4. เปลี่ยนวิธีกั้นห้อง

หลีกเลี่ยงการกั้นห้องในกรณีที่พื้นที่เล็กอยู่แล้ว เพราะจะยิ่งทำให้รู้สึกเล็กลงมากขึ้นไปอีก ส่วนที่มักจะนิยมกั้นกันมากที่สุด คือ ห้องประชุม และห้องผู้บริหาร เพื่อการประชุมที่ไม่ต้องเกรงใจใคร ห้องประชุมนั้นควรจะกั้นให้สามารถเก็บเสียงได้ คุณสามารถเลือกใช้กระจกใสมาทำผนังห้องประชุม เพื่อให้เสียงไม่ดังออกมาภายนอก แต่ว่ายังรู้สึกโปร่งโล่งสบายตาเหมือนเดิม

  1. ให้เพดานสูงเข้าไว้

สำหรับเพดานออฟฟิศส่วนใหญ่มักจะนิยมติดฝ้าเพดาน เพื่อเก็บสายไฟหรืองานระบบให้เรียบร้อย แต่จริงๆ การทำฝ้าเปลือยแล้วโชว์สายไฟหรืองานระบบแล้วเก็บสีให้ดูเรียบร้อย ซึ่งแนวการตกแต่งแบบปล่อยฝ้าเปลือยก็ดูจะเป็นที่นิยมใน้นยุคนี้ ที่จะทำให้คุณได้ออฟฟิศในลุคสุดเท่ห์สไตล์ Industrial Loft แถมด้วยความสูงของออฟฟิศที่จะเพิ่มขึ้นมาอย่างน้อยๆ ก็ 30 เซนติเมตรเชียวนะ

6. ใช้โต๊ะร่วมกัน

อีกไอเดียที่สามารถประหยัดพื้นที่ลงไปได้อีก คือ การใช้โต๊ะใหญ่ร่วมกันหลายคน ที่จะช่วยให้ออฟฟิศของคุณเหลือพื้นที่มากขึ้น และการใช้โต๊ะร่วมกันก็ยังเป็นไอเดียของออฟฟิศยุคใหม่ที่ต้องการให้เกิดการ sharing space และเกิดการปฏิสัมพันธ์ของพนักงานในออฟฟิศ แต่ควรจะพิจารณาจากรูปแบบการทำงานของแต่ละคน เพราะบางแผนกอาจจะเอกสารเยอะ และต้องมีการพูดคุยกับลูกค้า อาจจะไม่เหมาะที่จะใช้โต๊ะร่วมที่อาจจะรบกวนเพื่อนร่วมงานที่นั่งอยู่ข้างๆ ได้

7. เฟอร์นิเจอร์ Multi-Function

พยายามซื้อเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์สำนักงานที่เป็นมัลติฟังก์ชั่นไว้ก่อนจะช่วยลดพื้นที่วางของ เช่น โซฟาที่ปรับเป็นที่เก็บของได้ด้วย โต๊ะที่สามารถยืดขยายได้เพื่อรองรับคนประชุมที่มากขึ้น หรือการเลือกปริ๊นเตอร์แบบ 3-in-1 หรือ All-in-one แทนที่จะวางปริ๊นเตอร์ สแกนเนอร์ แฟ็กซ์ แยกกัน ซึ่งปัจจุบันนี้เครื่องปริ๊นเตอร์ก็มาในดีไซน์สวยขนาดกระทัดรัดที่สามารถเคลื่อนย้ายหรือยกไปตั้งบนโต๊ะทำงานได้แบบไม่เทอะทะ

8. งานศิลปะช่วยดึงอารมณ์

ถ้าออฟฟิศดูไม่มีชีวิตชีวา ขาดสีสัน และความผ่อนคลาย ลองหารูปใส่กรอบสวยๆ หรือรูปที่เห็นแล้วเกิดแรงบันดาลใจ หรือรูปที่เท่ๆ ไม่ต้องมีความหมายมากนักก็สามารถช่วยได้ แม้งานศิลปะจะไม่ได้มีฟังก์ชั่นโดยตรงกับการทำงานแต่เชื่อเถอะว่างานศิลปะสามารถช่วยเติมเต็มชีวิตชีวาและส่งผลต่ออารมณ์ของคนในออฟฟิศได้มากทีเดียว

9. ไร้สายช่วยได้เยอะ

หมดยุคสายไฟ สายแลน รกรุงรัง เพราะสมัยนี้เรามีระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายที่เสถียรมากขึ้น ที่นอกจากจะช่วยให้ออฟฟิศดูสวยงามไม่ต้องเดินสายระเกะระกะบนผนัง บนฝ้า หรือบนพื้นแล้ว ยังทำความสะอาดง่าย ช่วยทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน สามารถถือโน้ตบุ๊คไปนั่งทำงานในมุมต่างๆ ได้อย่างสะดวก ไม่เฉพาะแต่การใช้งานไร้สายในออฟฟิศเท่านั้น แต่เทคโนโลยีไร้สายสมัยนี้ยังช่วยในการทำงานแบบ Remote แม้ตัวจะอยู่นอกออฟฟิศ แต่ยังสามารถสั่งงานด้วยระบบไร้สายเหมือนมีออฟฟิศเคลื่อนที่ อย่างปริ๊นเตอร์ไร้สายต่อได้ด้วย Wifi ก็เป็นสิ่งที่ควรเลือกมาใช้งาน โดยแนะนำให้มีการติดปลั๊กไฟไว้หลายจุดก็ช่วยลดการใช้ปลั๊กพ่วงได้เช่นกัน

10. เพิ่มสีเขียวในออฟฟิศ

ต้นไม้เล็กๆ ช่วยสร้างบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้ออฟฟิศ เลือกต้นไม้สวยๆ ที่ไม่ต้องดูแลมากและไม่ต้องโดนแดดจัด จะช่วยให้ออฟฟิศอุดมสมบูรณ์ได้มากขึ้น การมองสีเขียวธรรมชาติก็เป็นการผ่อนคลายสมองของคนในออฟฟิศได้อีกด้วย