“โรคเบาหวาน” เคียงคู่มากับความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต การกินอยู่แบบตามใจปากแต่ไม่ออกกำลังกาย ปล่อยให้ไขมันพอกพูนจนเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ถ้าใครมีพฤติกรรมเช่นนี้อาจต้องเปลี่ยนมาเดินเข้าออกโรงพยาบาลแน่นอน ยิ่งในช่วงโควิด-19 ระบาดหนัก ผู้ป่วยเบาหวานยิ่งต้องระมัดระวัง เพราะถ้าติดเชื้อเมื่อไหร่ก็เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าคนปกติ

รศ.พญ.นันทกร ทองแตง แพทย์สาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า โรคเบาหวานมีหลายชนิดแต่ที่พบมากในประเทศไทยและทั่วโลกคือเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมาพร้อมกับภาวะโรคอ้วน จากผลสำรวจชี้ว่า เดิมเบาหวานชนิดนี้พบมากในประชากรวัย 60-79 ปีคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 แต่ปัจุบันมีแนวโน้มเกิดในกลุ่มวัยทำงานและวัยรุ่นเพิ่มขึ้น

“การใช้เทคโนโลยีสร้างความสะดวกสบายให้ชีวิตทำให้เราขยับร่างกายกันน้อยลง ชีวิตคนวัยทำงานและวัยรุ่นเดิมเคยใช้เวลาในวันหยุดไปเข้าสังคมพบปะผู้คนหรือเล่นสนุกกับเพื่อน ปัจจุบันหลายคนใช้เวลาส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์หรืออยู่บนโลกออนไลน์ พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไปนิยมอาหารที่ซื้อหาได้

ง่าย แม้มีรสอร่อยแต่ไขมันและน้ำตาลสูง ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานได้ในอนาคต”

สิ่งที่น่าห่วงและถือเป็นภัยเงียบของโรคนี้คือ ในผู้ป่วยโรคเบาหวานเกือบครึ่งไม่ทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นโรค โดยเฉพาะในรายที่ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงมาก ยิ่งแทบจะไม่แสดงอาการเลย กว่าจะรู้ก็ต่อเมื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพโดยการเจาะเลือดแล้ว

สถิติการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยเมื่อปี 2557 ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานและได้รับการรักษาเพียงร้อยละ 54 เท่านั้น ในจำนวนนี้สามารถรักษาและควบคุมอาการไว้ได้เพียงร้อยละ 23.5 ที่สำคัญผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ควบคุมโรคให้ดีจะมี อายุสั้นลง อันเกิดมาจากภาวะแทรกซ้อนทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจ ตาบอด ไตวาย อัมพฤกษ์ โรคแผลเรื้อรัง เป็นต้น

รศ.พญ.นันทกร ระบุว่า ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองป่วยด้วยโรคเบาหวานให้สังเกตอาการง่ายๆ คือ มักดื่มน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะหากต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน น้ำหนักลด ปากคอแห้ง ชาตามปลายมือปลายเท้า ไปจนถึงตาพร่ามัว การทำงานของไตไม่ปกติ หรือมีแผลแล้วรักษาไม่หาย แน่นอนว่าผู้ที่เสี่ยงกับโรคนี้อันดับแรกๆ คือ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน อ้วน หรือมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคเบาหวานมาก่อน ผู้มีไขมันในเลือดสูง มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือคลอดลูกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4 กก. ฯลฯ ใครที่เข้าข่ายเหล่านี้แนะนำให้รีบรุดไปตรวจสุขภาพโดยเร็ว

“สิ่งที่อยากฝากไว้คือในช่วงที่ยังคงมีการระบาดของโควิด-19 แม้สถานการณ์ในไทยดูจะสงบ แต่ก็ต้องเฝ้าระวังโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน หากไปติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสจะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงกว่าคนปกติ แนะนำให้หลีกเลี่ยงการไปสถานที่เสี่ยง ถ้าจำเป็นก็ต้องป้องกันให้มากที่สุด ส่วนผู้ที่ต้องใช้ยารักษาประจำต้องเตรียมการไว้ให้พร้อมเป็นพิเศษ หากเกิดสถานการณ์ระบาดที่ทำให้ไม่สามารถเดินทางมารับยาที่สถานพยาบาลได้ ต้องศึกษาช่องทางต่างๆ สำรองไว้ทั้งการรับยาทางไปรษณีย์หรือการรักษาทางไกล”

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจจะไม่มีอาการทรุดหนักทุกราย แต่สามารถทำให้ทุเลาหรือรักษาหายได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดน้ำหนักตัวและควบคุมอาหาร ควบคู่ไปกับการใช้ยารักษาตามที่แพทย์สั่ง สิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มต้นมาจาก สถาบันครอบครัว ที่ทุกคนร่วมกันสอดส่องดูแลคนในบ้านและผู้ใหญ่ก็ควรทำตัวเป็นแบบอย่างให้เด็ก ส่วนที่โรงเรียนสถานศึกษา ครูอาจารย์ควรหมั่นสำรวจเด็กที่กำลังเริ่มเกิดภาวะน้ำหนักเกินและดูแลโภชนาการ หน่วยงานภาครัฐควรรณรงค์ให้คนปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบใหม่ เป็นทางออกที่ดีที่สุดในการสกัดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่ให้เพิ่มขึ้น

โรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคไม่ติดต่อที่คนไทยเป็นกันมาก โดยนอกจากจะต้องรับประทานยาให้ถูกต้องครบถ้วนตามแพทย์สั่งแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยโรคเาหวานทุกคนควรต้องคำนึงถึงก็คือการดูแลสุขภาพร่างกาย เพื่อควบคุมโรคเบาหวานอีกด้วย

ลองมาดูวิธีควบคุมเบาหวานแบบง่ายๆ กัน

ส่วนผสม

  1. มันฝรั่งต้มสุกยีแล้ว 2 ถ้วยตวง
  2. น้ำตาลฟรุกโตสไซรัป 5 ช้อนโต๊ะ
  3. น้ำส้มสายชูหมัก 5 ช้อนโต๊ะ
  4. น้ำส้มเขียวหวาน (ใส่พอให้หายข้น) เล็กน้อย
  5. เกลือป่น เล็กน้อย
  6. น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
  7. มัสตาร์ดผสมแล้ว 2 ช้อนชา หรือตามชอบ
  8. พริกหวาน หอมใหญ่ มะเขือเทศ ตามชอบ

วิธีทำ

  1. ต้มมันฝรั่งทั้งเปลือกให้สุกแล้วจึงลอกเปลือกออก ใช้เครื่องบีบเป็นฝอยๆ
  2. ใส่น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำส้มเขียวหวาน น้ำตาลฟรุกโตสไซรัป นำมันฝรั่งบีบเป็นฝอยแล้วใส่ลงในโถปั่นไฟฟ้า ถ้าจำนวนมากเกินครึ่งโถให้แบ่งปั่นเป็น 2 รอบ ปั่นให้ละเอียดและเนื้อเนียนดี ถ้าข้นไปเติมน้ำส้มเขียวหวาน
  3. หั่นพริกหวาน หอมใหญ่ มะเขือเทศใช้แต่เนื้อ หั่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ อบไมโครเวฟให้สุก แล้วใส่ลงในน้ำสลัดที่ปั่นไว้
  4. ชิมน้ำสลัดให้ได้รสดี เทใส่อ่างสเตนเลส ตั้งไฟอ่อนๆ
  5. ใช้ที่ตีไข่หัวตะกร้อคนไปจนร้อนทั่วกัน แต่ไม่ต้องให้เดือด ไม่ให้ไหม้ก้นอ่าง
  6. ทิ้งไว้จนเย็น กรอกใส่ขวดแก้ว (ที่ผ่านการต้มฆ่าเชื้อในน้ำเดือดแล้วคว่ำให้แห้ง) เมื่อเย็นสนิทจึงปิดฝา แล้วเก็บไว้ในตู้เย็น

หมายเหตุ : ไม่ควรเก็บไว้ (ในตู้เย็น) นานเกิน 3 วัน

สารอาหารที่ได้รับ

คาร์โบไฮเดรต 156.13 กรัม

ไขมัน 0.5 กรัม

โปรตีน 9.5 กรัม

พลังงาน 648.75 กิโลแคลอรี่

ข้อมูลจาก : หนังสือเมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน สำนักพิมพ์มติชน

ส่วนผสม

  1. เนื้อมะเขือเทศสด ½ ถ้วยตวง
  2. น้ำตาลฟรุกโตสไซรัป ¼ ถ้วยตวง
  3. น้ำต้มสุก 3 ถ้วยตวง

 

วิธีทำ

  1. ล้างเนื้อมะเขือเทศให้สะอาด เตรียมไว้ตามกำหนด
  2. นำเนื้อมะเขือเทศสดใส่ลงในเครื่องปั่น เติมน้ำตาลฟรุกโตสไซรัปลงไป ปั่นให้ละเอียด
  3. เติมน้ำต้มสุกลงไปปั่นซ้ำ เทน้ำที่ได้ออกแล้วแช่เย็นไว้ จนถึงเวลาจะรับประทานจึงนำมาเสิร์ฟ

 

สารอาหารที่ได้รับ

คาร์โบไฮเดรต 40.44 กรัม

ไขมัน 0.42 กรัม

โปรตีน 2.46 กรัม

พลังงาน 80.24 กิโลแคลอรี่

 

ข้อมูลจาก : หนังสือเมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน สำนักพิมพ์มติชน

เครื่องปรุง

  1. ผลไม้ (ยกเว้นสับปะรด เพราะจะทำให้วุ้นไม่แข็ง) ¼ ถ้วยตวง
  2. น้ำตาลฟรุกโตสไซรัป 2 ช้อนโต๊ะ
  3. น้ำฝรั่ง 100 ซีซี.
  4. ผงวุ้น (ขนาด 50 กรัม) 1 ซอง
  5. น้ำต้มสุก 1 ถ้วยตวง

 

วิธีทำ

  1. นำผลไม้ที่เตรียมไว้ มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ (หรือจะปั่นให้ละเอียดก็ได้ แล้วแต่ชอบ) ใส่ชามพักรอไว้
  2. เติมน้ำตาลฟรุกโตสไซรัปลงในน้ำฝรั่ง กวนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
  3. เติมผงวุ้นลงในน้ำต้มสุก แล้วเติมน้ำฝรั่งลงไป นำไปตั้งไฟอ่อนๆ ประมาณ 5 นาที
  4. เติมผลไม้ลงไป ปิดไฟ ยกลงได้
  5. เทใส่พิมพ์ นำเข้าแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาจนแข็งตัว พร้อมเสิร์ฟรับประทานได้

 

สารอาหารที่ได้รับ

คาร์โบไฮเดรต 60.45 กรัม

ไขมัน 1.1 กรัม

โปรตีน 0.86 กรัม

พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่

 

ข้อมูลจาก : หนังสือเมนูสบายใจ ต้านภัยเบาหวาน สำนักพิมพ์มติชน