เพื่อนๆ รู้อะไรไหมคะ “แคลเซียม” ถือเป็นแร่ธาตุสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากเลยเนอะ โดยเรามักจะได้ยินคุณแม่บอกว่าให้กินนม ตั้งแต่เด็กๆ เพื่อบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงใช่ไหมล่ะ แต่จริงๆ แล้วแคลเซียมยังมีประโยชน์ต่อร่างกายในส่วนต่างๆ อีกมากมายเลย

1. สร้างกระดูก ฟัน เล็บ และเส้นผม รวมทั้งซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
2. ทำให้ระบบประสาทส่วนที่ควบคมการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ
3. ควบคุมให้กลไกการแข็งตัวของเลือดเป็นไปตามปกติ
4. ช่วยระบบประสาทในการส่งสัญญาณเร็วขึ้น
5. เป็นส่วนผสมของน้ำย่อยทุกชนิด และช่วยให้ระบบของน้ำย่อยทำงานเป็นปกติ
6. ช่วยในการดูดซึมวิตามินบี 12
7. ป้องกันอาการผิดปกติในวัยใกล้หมดประจำเดือน

ที่มา : แม่บ้าน

แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากร่างกายมีปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอ จะทำให้กระบวนการต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เอง จึงจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมจากสารอาหารภายนอก เพื่อทดแทนแคลเซียมที่ร่างกายนำไปใช้ หรือที่ร่างกายขับทิ้งไป

ประโยชน์ของแคลเซียม คือทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกระดูกและฟัน และป้องกันโรคกระดูกพรุน ทั้งยังเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ช่วยให้การแข็งตัวของเลือดเป็นไปตามปกติ ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ กระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาท และรักษาระบบภูมิคุ้มกันและควบคุมสมดุลของความเป็นกรดและด่างในร่างกาย

พบในแหล่งอาหาร อย่างนมสด นมเปรี้ยว เนยแข็ง ไข่ โยเกิร์ต ปลาตัวเล็กที่เคี้ยวได้ทั้งตัว กุ้งแห้ง เต้าหู้ ผักใบเขียว ถั่วต่างๆ และเมล็ดงา หากร่างกายขาดแคลเซียม จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ปวดตามข้อ ชัก กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก ตะคริว ชา หัวใจหยุดเต้น เลือดแข็งตัวช้า ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น ภาวะลำไส้อักเสบ ส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมเสียไป หรือพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ที่มากเกินไป

จากข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุ ขนาดของแคลเซียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน แบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 0-6 เดือน ควรได้รับแคลเซียม 210 (มิลลิกรัม/วัน) อายุ 7 เดือน-1 ปี ควรได้รับแคลเซียม 270 (มิลลิกรัม/วัน) อายุ 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียม 500 (มิลลิกรัม/วัน) อายุ 4-8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 800 (มิลลิกรัม/วัน) อายุ 9-18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 (มิลลิกรัม/วัน) อายุ 19-50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 800 (มิลลิกรัม/วัน) อายุ 51 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1,000 (มิลลิกรัม/วัน)

หญิงตั้งครรภ์ อายุ 19-50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 800 (มิลลิกรัม/วัน) และหญิงให้นมบุตร อายุ 19-50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 800 (มิลลิกรัม/วัน) หากได้รับเกินว่าละ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน อาจทำให้ท้องผูก เสี่ยงเป็นโรคนิ่วในไต กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้

การดูแลตัวเองอย่างง่ายๆ ไม่ให้ร่างกายขาดแคลเซียม คือ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพอต่อร่างกาย ดื่มนม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเฉพาะที่ลงน้ำหนักตัว เช่น เดิน วิ่ง กระโดดเชือก จะทำให้มวลกระดูกเพิ่ม และรักษาร่างกายไม่ให้ผอมเกินไป เพราะจะทำให้มีมวลกระดูกน้อย รวมถึงพาตัวเองไปรับแดดช่วงเช้า กระตุ้นวิตามินดี เป็นฮอร์โมนไปสร้างกระดูก

นอกจากนี้ ไม่ควรกินอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะจะไปกระตุ้นให้ไตขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากเกินปกติ รวมไปถึงระวังการใช้ยาบางชนิดที่มีสเตียรอยด์ ซึ่งส่งผลเสียต่อกระดูก และไม่ควรเครียด จะทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้

กระดูกแข็งแรง ร่างกายแข็งแรง

ที่มา : มติชนรายวัน หน้า 18

จริงอยู่ที่ว่า “นม” นั้นเป็นอาหารสารพัดประโยชน์ เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะโปรตีน ไขมัน รวมไปถึงวิตามินและแร่ธาตุอย่าง “แคลเซียม” ที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่ดื่มนมไม่ได้ เพราะดื่มทีไรก็ท้องเสียตลอด ซึ่งสาเหตุมาจากร่างกายไม่มีเอนไซม์สำหรับย่อยน้ำตาลแลคโตส ทำให้นมที่ดื่มเข้าไปถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่แทน จึงเกิดอาการท้องเดินนั่นเอง

เมื่อดื่มนมไม่ได้ก็ทำหลายคนกังวลว่า แล้วร่างกายของเราจะได้รับแคลเซียมจากไหน ลองไปดูกันว่า หากไม่ดื่มนมหรือกินผลิตภัณฑ์จากนม เราจะเพิ่มแคลเซียมให้ร่างกายจากวิธีใดบ้าง?

1.หันมากินข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ตไม่เพียงแต่จะเป็นแหล่งไฟเบอร์ชั้นเยี่ยม แต่ยังเป้นแหล่งแคลเซียมชั้นยอดอีกด้วย โดยเมนูข้าวโอ๊ต 1 ถ้วย นั้นมีปริมาณแคลเซียม 100-150 มิลลิกรัม โดยการกินข้าวโอ๊ตนั้นนอกจากจะนำมาต้มหรือประกอบอาหารอื่นๆ แล้ว คุณยังสามารถเติมข้าวโอ๊ตดิบลงในอาหารอื่นได้อีกด้วย เช่น โยเกิร์ต เป็นต้น

2.กินผักใบเขียว

ผักขม, ผักคะน้า, ผักกวางตุ้ง และผักใบเขียวอื่นๆ นั้นมีปริมาณแคลเซียมสูง เช่น กวางตุ้ง 1 ถ้วย มีปริมาณแคลเซียมสูงถึง 74 มิลลิกรัม รวมถึงยังมีวิตามินเอ วิตามินซี และไฟเบอร์อีกด้วย

3.ลองกินอัลมอนด์ดู

พวกถั่วตระกูลอัลมอนด์นี่นอกจากจะกินเป็นของว่างได้แล้ว เดี๋ยวนี้ก็ยังมีนมอัลมอนด์เป็นอีกทางเลือก หรือจะเป็นเนยถั่วก็เข้าท่า เพราะมีแคลเซียมสูงเนื่องจากทำมาจากถั่วนนั่นเอง เชื่อหรือไม่ว่าอัลมอนด์แห้ง 1/4 ถ้วยมีปริมาณแคลเซียมสูงถึง 72 มิลลิกรัมเลยทีเดียว

4.ถั่วเหลือง

แทนที่จะกินกาแฟดำในตอนเช้า คุณอาจจะลองเปลี่ยนเป็นกาแฟลาเต้นมถั่วเหลืองดูก็ได้ เพราะจะช่วยเพิ่มแคลเซียมให้ร่างกายได้นั่นเอง โดยลาเต้นมถั่วเหลืองแก้ว 16 ออนซ์ มีปริมาณแคลเซียมมากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันเสียอีก หรือหากไม่อยากกินเป็นนมถั่วเหลือง อีกทางเลือกหนึ่งคือกินเต้าหู้แทนก็ได้ เพราะเต้าหู้ก็ทำมาจากถั่วเหลืองเช่นกัน โดยเต้าหู้ 1/2 ถ้วย มีปริมาณแคเซียมสูงถึง 861 มิลลิกรัม

5.กินแคลเซียมแบบเม็ดไปเลย

นอกจากจะกินอาหารที่อุมดมไปด้วยแคลเซียมแล้ว การกินแคลเซียมแบบเม็ดเสริมก็อาจช่วยในยามที่เราได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรรับแคลเซียมทุกช่องทางในหนึ่งวัน เพราะร่างกายของเราสามารถดูดซึมได้ดีที่สุดเมื่อรับเข้าไปประมาณ 500-600 มิลลิกรัมหรือน้อยกว่าเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในอาหารหรือในวิตามินเสริม ที่สำคัญคือควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินวิตามินเสริมด้วย

6.ถั่ว เช่น ถั่วแดง, ถั่วขาว

ถั่วไม่เพียงแต่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี แต่ยังมีแคลเซียมสูงด้วย โดยถั่วขาวอบในซอสมะเขือเทศ 1 ถ้วย มีแคลเซียม 154 มิลลิกรัม ถ่วขาวยังเหมาะแก่การทำเมนูพาสต้าหรือซุป หรือถั่วตาดำครึ่งถ้วยก็มีแคลเซียมสูงถึง 185 มิลลิกรัม และยังมีโพแทสเซียมสูงอีกด้วย

7.ปลา

เชื่อหรือไม่ว่าแซลม่อนกระป๋องเพียง 3 ออนซ์ มีแคลเซียมสูงถึง 181 มิลลิกรัม หรือหากคุณไม่ชอบแซลม่อน ปลาซาร์ดีนก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดี หรือจะกินปลาตัวเล็กๆ ทอดกรอบก็เข้าท่า