“สิงหาคม” นอกจากเป็นเดือนสำคัญที่มี “วันแม่แห่งชาติ” วันที่ 12 สิงหาคมแล้ว ยังเป็นเดือนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค พร้อมพระราชโอรส พระราชธิดา เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ครั้งนี้ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5” ขณะทรงเป็นเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ ตามเสด็จด้วย โดยเส้นทางเสด็จฯผ่านจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งต่อมาทรงนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ในการสร้างพระราชวังบนยอดเขา คือ “พระนครคีรี” หรือเขาวัง กลางเมืองเพชรบุรี นอกจากนี้ เมืองเพชรบุรียังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงมาสร้างวังถึง 3 รัชกาลด้วยกัน ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6

“ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์” นักประวัติศาสตร์จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เล่าว่า เพชรบุรีเป็นเมืองที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดียาวนาน ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มในดินแดนไทยตราบถึงปัจจุบัน ที่สำคัญเป็นดินแดนที่มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี โดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา เนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จแปรพระราชฐานประทับแรมต่างจังหวัด และทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีอย่างยิ่ง ทรงเลือกพื้นที่บนเขามหาสวรรค์ (มไหสวรรย์) กลางเมืองเพชรบุรีเป็นที่สร้างพระราชวังที่ประทับ รู้จักกันในปัจจุบันว่า “เขาวัง” หรือ “พระนครคีรี” เป็นพระราชฐานที่ประทับแห่งแรกที่สร้างขึ้นอย่างถาวรนอกเหนือจากพระบรมมหาราชวัง

“สถาปัตยกรรมบนพระนครคีรีแสดงถึงพระราชนิยมของรัชกาลที่ 4 ซึ่งสะท้อนนวัตกรรมอันทันสมัยในช่วงเวลานั้น เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ปรากฏอิทธิพลศิลปะตะวันตกผสมผสานศิลปะจีนและไทย น้อยคนนักจะทราบว่ารัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้ทดลองติดตั้งสายล่อฟ้าที่นี่เป็นครั้งแรก มีเจดีย์ทรงระฆังที่สร้างด้วยหินอ่อนจากเกาะสีชัง จ.ชลบุรี มีหอชัชวาลเวียงชัย เปรียบเสมือนประภาคาร และสถานที่ทอดพระเนตรดาวพุธ ตามที่ระบุในจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์

พระนครคีรีจึงเป็นพระราชวังที่แสดงถึงความทันสมัยศิวิไลซ์อย่างยิ่ง ทั้งยังใช้รับรองพระราชอาคันตุกะเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระราชอาคันตุกะที่สำคัญ คือดุ๊กและดัชเชสโยฮันเบรต แห่งเมืองบรันทวีท เจ้าผู้ครองนครรัฐของเยอรมนี หรือรัฐโยฮันเบรต บนยอดพระนครคีรี มีพระที่นั่งหลายองค์ อาทิ พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ องค์ใหญ่ที่สุด สร้างแบบตึกฝรั่งเป็นวังที่ประทับของรัชกาลที่ 4 มีห้องพระบรรทม ห้องทรงอักษร ห้องออกว่าราชการ ฯลฯ

อีกองค์ที่สำคัญ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท ศิลปะแบบไทยท่ามกลางตึกฝรั่งของพระที่นั่งต่างๆ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะหล่อพระบรมรูปของพระองค์เท่าขนาดจริงมาประดิษฐาน แต่ฝรั่งปั้นรูปจำลองถวายให้ทอดพระเนตรไม่ทรงพอพระราชหฤทัย จึงให้ช่างไทยสมัยปั้นหุ่นใหม่ ก็ทรงพอพระทัย และโปรดฯให้หล่อพระบรมรูปนั้นขึ้น แต่ไม่ทันเสร็จก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน

นอกจากนี้มีพระเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่ “พระธาตุจอมเพชร” ซึ่งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนยอดเขาที่ไกลสุดเป็นที่ตั้งของวัดพระแก้วน้อย บริเวณไหล่เขาด้านทิศตะวันออกมีวัดโบราณชื่อวัดสมณ (สะ-มะ-นะ) ปัจจุบันคือ วัดมหาสมณาราม หรือวัดเขาวัง

ใกล้พระนครคีรีมีเขาหลวง ซึ่งมีถ้ำขนาดใหญ่ประดิษฐานปูชนียวัตถุสมัยอยุธยา อาทิ พระพุทธไสยาสน์ รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือหลวงพ่อถ้ำหลวง สิ่งสำคัญภายในถ้ำคือพระพุทธรูปในศิลปะรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีจารึกพระปรมาภิไธยและตราพระบรมราชสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 1-4 รวมทั้งพระพุทธรูปขนาดหน้าตักประมาณ 1 ศอก กว่า 100 องค์ เรียงรายรอบผนัง เกือบทุกองค์มีจารึกพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์จักรี เชื่อว่าสร้างเพื่อถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 1-4 และพระราชวงศ์

ห่างตัวเมืองเพชรบุรีไม่ไกล มี “พระรามราชนิเวศน์” หรือ “พระราชวังบ้านปืน” ว่ากันว่ารัชกาลที่ 5 ทรงซื้อที่ดินจากราษฎรแล้วตัดถนนเข้าไป สร้างเมื่อ พ.ศ.2450 รัชกาลที่ 5 ทรงวางศิลาฤกษ์และพระราชทานนามไว้ก่อน พร้อมให้หล่อรูปพระนารายณ์ทรงธนู แต่ชาวบ้านเรียกพระนารายณ์ปืน ซึ่ง “ปืน” ในที่นี่หมายถึงลูกธนู ทรงตั้งใจนำมาไว้ที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ แต่สร้างไม่เสร็จก็สวรรคตก่อน รัชกาลที่ 6 จึงมาสร้างต่อ แต่สร้างเสร็จแล้วไม่เคยเสด็จฯประทับอย่างเป็นทางการ จะเสด็จฯเมื่อฝึกซ้อมเสือป่าเท่านั้น

เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของร่องรอยประวัติศาสตร์ที่ปรากฏผ่าน วัด-วัง เมืองเพชรบุรี ยังมีเกร็ดเรื่องเล่าน่าสนใจอีกมาก ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมสัมผัสร่องรอยประวัติศาสตร์เพชรบุรี ในกิจกรรมทัวร์ ทัศนา “วัด-วัง” เมืองเพชร ฟังเกร็ดเรื่องเล่า “สองแผ่นดิน” จ.เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ นำชมโดย ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ จัดโดย มติชนอคาเดมี ระหว่างวันที่ 18-19 สิงหาคม 2561 ในราคา 5,800 บาท

หรืออ่านรายละเอียดที่ https://www.matichonacademy.com/tour/article_17782 หรือติดต่อผ่านเฟซบุ๊ก Matichon Academy โทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124 08-2993-9097, 08-2993-9105 หรือไลน์ @matichonacademy

เมื่อเวลา 08.50 น. วันที่ 8 สิงหาคม พล.อ.ประยุทธ์ ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ลงพื้นที่ติดตามการป้องกันสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.เพชรบุรี โดยได้เดินทางไปที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี (เขื่อนเพชร) ต.ท่าคอย อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้มาให้กำลังใจ เมื่อเห็นรอยยิ้มอยู่ก็ดีแล้ว ซึ่งสถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด ไม่ได้หนักหนาสาหัสมากนัก

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ว่า ขณะนี้มีน้ำ 730 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้น้ำล้นสปิลเวย์ สูงประมาณ 46 เซนติเมตร แต่จะไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ท้ายเขื่อน ยกเว้นรีสอร์ทที่มีตลิ่งต่ำ จะได้รับผลกระทบอยู่บ้าง สำหรับเขื่อนเพชรฯ ปริมาณน้ำท้ายเขื่อน 95 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะไม่ส่งผลต่อ อ.ท่ายาง และ อ.เมือง ที่มีคนบอกน้ำจะท่วมเมื่อคืน ตนยืนยันว่าในช่วงนี้ไม่มีผลกระทบ ทั้งนี้ คาดว่า อ.เมือง จะได้รับผลกระทบประมานวันที่ 12 สิงหาคม เนื่องจากน้ำจะผ่านเขื่อนเพชรปริมาณ 140-160 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะทำให้ อ.เมือง และ อ.บ้านแหลม มีปริมาณน้ำสูงขึ้น 20-50 เซนติเมตร ซึ่งทางจังหวัดและหน่วยงานเกี่ยวจะป้องกันให้ดีที่สุด

อธิบดีกรมชลฯ กล่าวว่า ขณะเดียวกันบริเวณหน้าเขื่อนเพชรตรงคลองระบายน้ำ D9 ที่ยังไม่เสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ คาดการณ์ว่าหากเสร็จแล้วจะรองรับน้ำได้ 35 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะเป็นตัวช่วยตัดน้ำ ไม่ให้เข้า อ.เมือง อย่างไรก็ตาม น้ำจะท่วมขังในพื้นที่บ้านแหลมเป็นเดือน เพราะพื้นที่ติดกับทางออกของน้ำ ซึ่งจะใช้วิธีการผลักดันน้ำเพื่อลดระดับ โดยติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำกว่า 40 เครื่อง และมีการคิดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่เสี่ยงหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ในส่วนตัวเมืองจะมีปริมาณน้ำขัง 30-50 เซนติเมตร จะอยู่ประมาณ 7-10 วัน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำปัจจุบันที่ไหลเข้าเขื่อนแก่งกระจานลดลงทุกวัน ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี

ขณะที่นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้ว่าการการปะปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกชุกหนาแน่นส่งผลให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลลงสู่เขื่อนแก่งกระจานอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มว่าน้ำอาจไหลล้นเส้นทาง ซึ่งได้มีการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเพชรบุรีเป็นระยะ และได้มีการแจ้งเตือนจากจังหวัดให้เตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำท้ายเขื่อนเพชร ในพื้นที่ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด และ อ.เมืองเพชรบุรี อย่างไรก็ตาม กปภ.สาขาเพชรบุรี ได้เตรียมการพร้อมผลิตและให้บริการน้ำประปาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพร้อมจ่ายน้ำประปาให้กับรถบรรทุกน้ำ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ทั้งในและนอกเขตพื้นที่บริการ ควบคู่การติดตามสถานการณ์น้ำทั้งด้านปริมาณและคุณภาพตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมรับมือกับสถานการณืน้ำท่วมที่อาจรุนแรงมากขึ้น สำหรับประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้หมายเลข 032492301 และ 032492300 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ PWA Contact Centerโทร 1661


ที่มา มติชนออนไลน์

เพชรบุรีเป็นอีกจังหวัดที่เจริญรุ่งเรืองแต่ครั้งโบราณ ด้วยปรากฏหลักฐานเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมทวารวดี มีการสำรวจพบโบราณวัตถุในวัฒนธรรมทวารวดีกระจายอยู่ในลุ่มแม่น้ำเพชรบุรีจำนวนมาก เป็นกลุ่มในพื้นที่ที่เอื้อต่อการตั้งถิ่นฐานบริเวณเขตที่ราบและที่ราบเชิงเขาที่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำและชายฝั่งทะเลมากนัก ตำแหน่งที่ตั้งของกลุ่มชุมชนโบราณเหล่านี้น่าจะสัมพันธ์กับเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ

แหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีที่สำรวจพบในเขตจ.เพชรบุรี อาทิ กลุ่มโบราณสถานทุ่งเศรษฐี ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบชายฝั่งทะเลตอนใต้ของ จ.เพชรบุรี ในเขตอ.ชะอำ รวมทั้งยังพบร่องรอยการอยู่อาศัยบริเวณแหล่งชุมชนโบราณบ้านโคกเศรษฐี กลุ่มแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ติดกับชายฝั่งทะเล อยู่ในเส้นทางการเดินเรือและเส้นทางข้ามคาบสมุทรที่จะเข้าสู่ดินแดนภาคกลาง จึงเป็นจุดแวะพักที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง

กล่าวถึงเนินโบราณสถานทุ่งเศรษฐีนั้น ชาวบ้านในแถบนี้รู้จักและพบเห็นกันมาเป็นเวลานาน โดยมีนิทานปรัมปราพื้นบ้าน ที่คนในท้องถิ่นเล่าสืบต่อกันมาถึงประวัติการสร้าง ว่า

เศรษฐีผู้หนึ่งใช้เกวียนเป็นพาหนะบรรทุกทองคำและทรัพย์สมบัติอันมีค่าเดินทางผ่านมายังบริเวณทุ่งเศรษฐีปรากฏว่าเกวียนที่ใช้ขนทองคำเกิดหักลงเศรษฐีจึงขอให้ชาวบ้านช่วยตัดไม้มาซ่อมแซมเพื่อที่จะได้เดินทางต่อไป แต่เมื่อพวกชาวบ้านทราบว่าเศรษฐีขนทรัพย์สมบัติมาจึงเกิดความละโมบ และออกอุบายสมคบกันตัดเอาต้นสบู่ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อนมาซ่อม เมื่อซ่อมเสร็จจะเดินทางต่อเกวียนก็หักลงอีก เป็นอย่างนี้อยู่หลายครั้งจนเศรษฐีเฉลียวใจและรู้ทันว่าชาวบ้านสมคบกันจะเอาทรัพย์สมบัติของตน จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่งแล้วแอบนำทองคำและทรัพย์สมบัติไปซ่อนไว้ภายในองค์เจดีย์พร้อมกับสาปแช่งคนที่มา ลักขโมยทรัพย์สินไว้

จากนิทานปรัมปรา ทำให้มีการขุดทำลาย เนินโบราณสถานทุ่งเศรษฐี เพื่อค้นหาทรัพย์สมบัติตามเรื่องราวกันหลายครั้ง ครั้งที่อึกทึกครึกโครมที่สุดคือเมื่อปี 2528 ในจำนวนโบราณวัตถุที่พบจากการลักลอบขุดทั้งหมดไม่พบทองคำหรือทรัพย์สมบัติที่มีค่าแต่อย่างใดนอกจากซากของฐานเจดีย์ก่ออิฐและโบราณวัตถุจำพวกประติมากรรมปูนปั้น รูปพระโพธิสัตว์บุคคล คนแคระ มกร และลวดลายประดับสถาปัตยกรรม

จำนวนของประติมากรรมปูนปั้นนั้น ว่ากันว่ามีปริมาณมากหลายคันรถบรรทุก รูปประติมากรรมบางชิ้นชาวบ้านนำมาทุบให้แตกออกเนื่องจากคิดว่ามีทองคำซ่อนอยู่ข้างในแล้วนำกลับมาถมคืนไว้ในหลุมที่ถูกขุดกลางโบราณสถาน ชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นบางส่วนได้ถูกนำไปเก็บรักษาหรืออยู่ในความครอบครองตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครคีรี สำนักสงฆ์ทุ่งเศรษฐี วัดบรรพตาวาส จ.เพชรบุรี และโรงงานเถ้าฮงไถ่ จ.ราชบุรี

ลักษณะรูปแบบของโบราณสถานทุ่งเศรษฐีเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ก่ออิฐสอดิน ฉาบปูน เหลือหลักฐานอยู่เพียงส่วนฐานที่มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้าง 25 × 25 เมตรความสูง 5 เมตร วางอยู่ในแนวตะวันออกและตะวันตก

มีเจดีย์ประกอบด้วยฐานประทักษิณขนาดความกว้าง 3.40 เมตร ยาว 25 เมตร สูง 1 เมตร มีบันไดบริเวณกึ่งกลางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก ขนาดความกว้าง 2.50 เมตรยื่นออกจากฐานประทักษิณ 2.30 เมตร ผนังด้านข้างของฐานประทักษิณมีฐานบัวลูกแก้วรองรับผนังก่ออิฐซึ่งมีเสาประดับผนังเป็นช่วงๆห่างกันประมาณ 82 – 86 เซนติเมตร พื้นลานประทักษิณด้านบนปูด้วยแผ่นอิฐ ถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 ชั้น ขนาดความกว้าง 18.80 × 18.80 เมตร รองรับฐานขององค์เจดีย์ซึ่งมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จ

บริเวณกึ่งกลางด้านและมุมทั้งสอง ฐานองค์เจดีย์เป็นชุดฐานหน้ากระดานซ้อนกัน 2 ชั้น รองรับฐานบัวลูกแก้วถัดขึ้นไปเป็นลวดบัวสี่เหลี่ยม 1 ชั้นรองรับท้องไม้ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีลวดบัวประดับตรงกึ่งกลาง ลักษณะของลวดบัวเป็นแนวก่ออิฐยื่นออกมาจากท้องไม้จำนวน 3 แถว แถวบนและล่างก่อเรียบ ส่วนแถวกลางก่ออิฐเป็นช่องยื่นสลับกัน บริเวณที่อิฐนูนขึ้นมามีการฉาบปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยมปาดมุม ทำให้เกิดเป็นช่องว่างสลับกับปุ่มนูนโดยรอบ

ถัดจากท้องไม้ขึ้นไปเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมรองรับผนังก่ออิฐที่มีเสาประดับผนังขนาดกว้างต้นละ 37 เซนติเมตร แบ่งส่วนผนังออกเป็นห้องๆกว้างประมาณห้องละ 0.8 เมตร บริเวณช่องว่างของผนังซึ่งอยู่ระหว่างเสานี้ พบหลักฐานซึ่งยังคงติดอยู่ ณ ตำแหน่งเดิมว่ามีการประดับตกแต่งด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปคนแคระ ขนาดของผนังส่วนล่างนี้สูงประมาณ 50 เมตร เหนือขึ้นไปเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมรองรับผนังก่ออิฐ ซึ่งมีร่องรอยของเสาประดับผนังตกแต่งคล้ายกับผนังส่วนแรก แต่มีความกว้างและความสูงมากกว่า ถัดจากส่วนนี้ขึ้นไปเป็นส่วนบนขององค์เจดีย์มีสภาพชำรุดทลายลงมาเกือบหมด

โบราณวัตถุที่ขุดพบในโบราณสถานทุ่งเศรษฐีมีจำนวนมาก ประกอบด้วย 1.โบราณวัตถุประเภทดินเผา อย่างตะคันดินเผาที่พบจากการขุดแต่งศาสนสถานทุ่งเศรษฐีกว่า 100 ชิ้น ส่วนใหญ่พบที่ฐานศาสนสถาน บริเวณช่องที่เกิดจากการยกเก็จที่กึ่งกลางด้านและมุม สันนิษฐานว่าเครื่องปั้นดินเผาชนิดนี้คงใช้ประโยชน์ในการใส่น้ำมันตามไฟต่างๆในพิธีกรรมทางศาสนาเนื่องจากตะคันดินเผาส่วนหนึ่งมีร่องรอยของคราบเขม่าไฟติดอยู่ที่ก้นหรือตามขอบปาก

รวมถึงพวยกาดินเผา สันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนของหม้อน้ำดื่ม ภาชนะดินเผาแบบนี้พบจากแหล่ง ชุมชนที่อยู่อาศัยสมัยทวารวดีเกือบทุกแห่งเป็นรูปแบบภาชนะที่แพร่หลายเรียกกันว่า หม้อกุณฑี (Kendi) หรือหม้อพรมน้ำ (Sprinklers) ตลอดจนจานดินเผามีเชิงสูง ชามดินเผา อ่างดินเผา หม้อมีสัน หม้อก้นกลม  หม้อดินเผาขนาดใหญ่

ที่น่าสนใจ คือ ตลับรูปแตงหอม เนื้อกระเบื้องเคลือบสีขาวขุ่นผลิตจากประเทศจีน ลักษณะของน้ำเคลือบบาง เห็นรอยแป้นหมุนที่ด้านนอกเป็นวงๆ การพบหลักฐานเรื่องถ้วยเคลือบสีขาวขุ่นที่ผลิตจากประเทศจีน จึงเป็นข้อมูลสำคัญอีกประการหนึ่งแสดงถึงวัตถุที่ถูกนำเข้ามาโดยการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชุมชนโบราณในบริเวณนี้กับพ่อค้านักเดินเรือชาวจีน ภายในตลับรูปแตงหอมบรรจุอัฐิสะท้อนถึงพิธีกรรม ความเชื่อเกี่ยวกับความตาย

จากหลักฐานที่มีการพบตลับรูปแตงหอม ซึ่งเป็นเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์สุ้งภาคเหนือ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 17  แสดงถึงความสำคัญของโบราณสถานทุ่งเศรษฐีที่อาจจะมีการใช้ต่อเนื่องตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 มาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 17 หรือมีการหวนกลับมาใช้ศาสนสถานบริเวณทุ่งเศรษฐีอีกครั้งหนึ่งในพุทธศตวรรษที่ 16 17

 

2.โบราณวัตถุประเภทโลหะ พระพุทธรูปสำริดขนาดเล็ก จำนวน 1 องค์ สูง 13 เซนติเมตร พระอังสากว้าง 4 เซนติเมตร หนัก 0.3 กิโลกรัม สภาพชำรุด พระเศียร พระกรขวาตั้งแต่พระกรจนถึงพระหัตถ์และส่วนพระบาทหักหาย เหลือเพียงส่วนพระวรกาย ลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับยืนด้วยอาการตริภังค์(เอียงตน) ครองจีวรเรียบห่มคลุมพระหัตถ์ซ้ายจับชายจีวร เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 และยังพบเหรียญสำริดทรงแบน 1 ชิ้นสภาพชำรุดด้วย

3.โบราณวัตถุที่ทำจากหิน อาทิ ลูกปัดหิน ลักษณะเป็นแก้วผลึกที่เรียกกันว่าหินเขี้ยวหนุมานนำมาร้อยเป็นเครื่องประดับหรือใช้เป็นเครื่องรางของขลัง อาจใช้เป็นของมีค่าแลกเปลี่ยนแทนเงินตราในการค้าขาย

4.โบราณวัตถุประเภทกระดูกสัตว์หรือเปลือกหอย อาทิ หอยสังข์ และเปลือกหอยอีกจำนวนหนึ่ง ในลักษณะเป็นหอยสองฝา ประเภทหอยกาบทะเล หอยแครง และหอยนางรม เป็นโบราณนิเวศน์วัตถุที่สำคัญ แสดงถึงสภาพแวดล้อมชุมชนชายฝั่งทะเล

5.โบราณวัตถุประเภทปูนปั้น ที่พบมากที่สุดคือ ชิ้นส่วนประติมากรรมและลวดลายปูนปั้นโดยเฉพาะส่วนที่ติดอยู่กับฐานเจดีย์ ทั้งหมดอยู่ในสภาพชำรุดแตกหักออกเป็นชิ้นๆจำนวน 1,105 ชิ้น จำแนกตามลักษณะ ดังนี้

พระพุทธรูป จำแนกออกเป็นพระเศียร 18 ชิ้น พระวรกาย 5 ชิ้นแสดงพุทธะลักษณะที่รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปอินเดียแบบศิลปะสมัยคุปตะราวพุทธศตวรรษที่ 9- 10 และศิลปะสมัยหลังคุปตะราวพุทธศตวรรษที่ 11 -13 เช่น พระพักตร์รูปไข่ คิ้วขมวดพระเกศาเป็นรูปก้นหอยมีขนาดใหญ่ ไม่มีพระรัศมีบนพระเกตุมาลา พระขนงทำเป็นเส้นนูนโค้งติดต่อกันหลายรูปปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งมีขนาดใหญ่ แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย พระอังสากว้าง พระอุระแบนหนา พระวรกายยืดยาว บั้นพระเอวเล็ก พระนาภีเป็นรูกลม จีวรเรียบทั้งแบบห่มคลุมและห่มเฉียงไหล่ซ้าย ขอบสบงด้านบนเป็นสันนูน พระพาหาส่วนใหญ่ชำรุด

จากชิ้นส่วนพระหัตถ์ที่พบ สันนิษฐานว่าแสดงปางประทานอภัยและปางแสดงธรรมเทศนา พบทั้งแบบประทับยืนตรงและประทับยืนด้วยอาการตริภังค์ บริเวณพระพักตร์ของพระพุทธรูปและส่วนพระชงฆ์มีร่องรอยการทาด้วยสีแดงตกแต่ง

ประติมากรรมปูนปั้นรูปเทวดาหรือบุคคลชั้นสูง จำแนกเป็น ส่วนพระเศียร 74 ชิ้น และพระวรกาย 45 ชิ้น โดยพบว่าคงลักษณะรูปแบบที่มีอิทธิพลของศิลปะอินเดีย สมัยราชวงศ์คุปตะและหลังคุปตะ เช่น พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่งต่อกันเป็นรูปคล้ายปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อย สวมศิราภรณ์ประดับลาย พันธุ์พฤกษา กรองศอ และกุณฑล พระวรกายมีลักษณะพระอังสาใหญ่ พระอังสกุฏ(ไหล่)โค้ง พระอุระแบนหนา พระวรกายยืดยาว บั้นพระเอวคอด มีพระอันตคุณ(พุง) เล็กน้อย พระนาภีเป็นรูกลม

ข้อพระหัตถ์สวมทองพระกร พระพาหาประดับด้วยพาหุรัดบางองค์มีสายธุรำหรือสังวาลพาดผ่านลำตัว บางองค์มีสายรัดองค์ ลักษณะการนุ่งผ้าต่ำใต้สะดือ ขอบใช้ผ้าด้านบนหนาเป็นแถบ ชักชายด้านหน้าคาดทับด้วยปั้นเหน่ง ตรงกลางมีแถบชายผ้าหน้านางห้อยลงมา จากการสังเกตพระพักตร์ พบว่ามีการแต่งด้วยการทาสีซึ่งยังหลงเหลือร่องรอยสีแดงบริเวณส่วนกรอบพระพักตร์ ขอบพระโอษฐ์ และพระวรกายอยู่ส่วนหนึ่ง ลักษณะของเครื่องประดับเหล่านี้คล้ายคลึงกับเครื่องประดับของพระโพธิสัตว์และนางอัปสรในงานประติมากรรมและจิตรกรรมของศิลปะสมัยคุปตะและหลังคุปตะ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศอินเดีย

นอกจากนี้ยังมี ประติมากรรมปูนปั้นรูปบุคคลสามัญ คนแคระ อมนุษย์ และรูปสัตว์ยักษ์ สิงห์ มกร นก/หงส์ ปลา เป็นต้น

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าชุมชนโบราณบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลตอนใต้ของจ.เพชรบุรี มีลักษณะเป็นกลุ่มสังคมหมู่บ้านขนาดเล็ก ได้รับอิทธิพลของการเผยแผ่พุทธศาสนามาจากอินเดีย รวมทั้งความนิยมในการสร้างสถูปเจดีย์

เมื่อความเชื่อทางศาสนาที่ผสมผสานระหว่างความเชื่อเดิมกับพุทธศาสนาจากอินเดียฝังรากลึกลงในชุมชน ทำให้มีการสร้างโบราณสถานทุ่งเศรษฐีขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญพรตของพระภิกษุสงฆ์ และเพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา คติความเชื่ออีกอย่างที่แพร่หลายในอินเดียและเข้ามาเป็นแบบอย่างของท้องถิ่นด้วยนั้น คือ คติที่ว่าการบูชาเจดีย์เป็นบ่อเกิดแห่งบุญ ดังนั้นจึงมีการสร้าง เจดีย์ทุ่งเศรษฐี ขึ้น เป็นการประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในชุมชน เพื่อเป็นศูนย์รวมศรัทธาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา

ขอบคุณเรื่องและภาพจาก ‘หนังสือทุ่งเศรษฐี โบราณสถานทวารวดี ชายฝั่งทะเลเพชรบุรี’ จัดพิมพ์โดยสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี

______________________________________________________________________________

มติชนอคาเดมี ชวนร่วมทริป “ทัวร์ ทัศนา ‘วัด-วัง’ เมืองเพชร ฟังเกร็ดเรื่องเล่า ‘สองแผ่นดิน’ จ.เพชรบุรี – ประจวบคีรีขันธ์” ไปกับนักประวัติศาสตร์จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อย่าง “ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์”

เยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี หมู่พระราชวังบนขุนเขาแห่งเมืองเพชรบุรี, วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร วัดสำคัญที่รัชกาลที่ 4 เคยเสด็จมาพักอยู่เมื่อครองเพศบรรพชิต และโปรดฯ ให้ทรงบูรณะซ่อมแซมเมื่อครั้งให้สร้างพระนครคีรี, ถ้ำเขาหลวง ตั้งอยู่บนเขาหลวง เป็นสถานที่ที่รู้จักผ่านวรรณคดีสำคัญ เช่น นิราศเมืองเพชร ของสุนทรภู่ และนิราศเขาหลวง,

วัดห้วยมงคล ที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก, เจดีย์ทุ่งเศรษฐี โบราณสถานสำคัญซึ่งตั้งอยู่ติดเขานางพันธุรัต , พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน เป็นพระราชวังที่ประทับฤดูฝนของรัชกาลที่ 5 และวัดกุฏิบางเค็ม วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ที่มีโบสถ์ไม้สักแกะสลักทั้งหลังเป็นเรื่องทศชาติชาดก

เดินทางวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 18-19 สิงหาคม 2561

ราคา 5,800 บาท

โปรแกรมการเดินทาง : https://www.matichonacademy.com/tour/article_17782

 

สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี

Inbox : Facebook Matichon Academy

Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichonacademy

“สิงหาคม” เป็นเดือนที่มีความสำคัญเดือนหนึ่งในรอบปี นอกจากจะมี “วันแม่แห่งชาติ” คือวันที่ 12 สิงหาคม แล้ว ยังมีความสำคัญอีกอย่าง คือ เป็นเดือนที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคพร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช จากท่านิเวศวรดิษฐ์ เพื่อไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น มีพระราชโอรสและพระราชธิดาตามเสด็จด้วย ในครั้งนั้นมี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงอยู่ในนั้นด้วยขณะทรงเป็นเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ นอกจากนี้เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชบริพารอีกจำนวนมาก

เส้นทางเสด็จพระราชดำเนินนั้น ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ต่อมาทรงนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ในการสร้างพระราชวังบนยอดเขา คือ “พระนครคีรี” หรือ เขาวัง กลางเมืองเพชรบุรี รวมทั้งพัฒนาจังหวัดเพชรบุรีด้วย ที่จริงเมืองเพชรบุรีในอดีตมีพระมหากษัตริย์ทรงมาสร้างวังถึง 3 รัชกาลด้วยกัน ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 จึงถือว่าเพชรบุรีเป็นจังหวัดเก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะมีความเป็นมายาวนานถึง 3,000 ปี ซึ่งเห็นได้จากการค้นพบร่องรอยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เครื่องมือหิน ลูกปัดหิน ลูกปัดแก้ว เป็นต้น

นักประวัติศาสตร์จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรอย่าง “ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์” กล่าวถึงเพชรบุรีว่า เป็นเมืองที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดียาวนานตั้งแต่ยุคแรกเริ่มในดินแดนไทยตราบถึงปัจจุบัน ที่สำคัญยังเป็นดินแดนที่มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา เนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมยังต่างจังหวัด และทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งทรงเลือกพื้นที่บนเขามหาสวรรค์ (มไหสวรรย์) กลางเมืองเพชรบุรีเป็นที่สร้างพระราชวังที่ประทับ รู้จักกันในปัจจุบันว่า “เขาวัง” หรือ “พระนครคีรี” นับเป็นพระราชฐานที่ประทับแห่งแรกที่ได้สร้างขึ้นอย่างถาวรนอกเหนือจากพระบรมมหาราชวัง

อาจารย์สาวอธิบายต่อไปว่า สถาปัตยกรรมบนพระนครคีรี แสดงถึงพระราชนิยมของรัชกาลที่ 4 และสะท้อนถึงนวัตกรรมอันทันสมัยในช่วงเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างพระราชวังบนยอดเขาโดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ปรากฏอิทธิพลศิลปะตะวันตกผสมผสานกับศิลปะจีนและไทย น้อยคนนักที่จะทราบว่ารัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองติดตั้งสายล่อฟ้าที่นี่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และมีเจดีย์ทรงระฆังที่สร้างด้วยหินอ่อน ซึ่งนำมาจากเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ที่อยู่อีกฟากฝั่งทะเลอ่าวไทย

ที่พระนครคีรียังมี หอชัชวาลเวียงชัย ซึ่งเปรียบเสมือนประภาคาร และเป็นสถานที่สำหรับทอดพระเนตรดาวพุธ โดยมีระบุในจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ พระนครคีรีจึงเป็นพระราชวังที่แสดงถึงความทันสมัยและศิวิไลซ์เป็นอย่างยิ่ง นอกจากเป็นสถานที่เสด็จประทับแรมแล้ว ยังใช้รับรองพระราชอาคันตุกะเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 กล่าวคือ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะที่สำคัญ คือดุ๊กและดัชเชสโยฮันเบรต แห่งเมืองบรันทวีท เจ้าผู้ครองนครรัฐของเยอรมนี ซึ่งตอนนั้นเป็นรัฐโยฮันเบรต

บริเวณพระนครคีรีบนยอดเขายังมีพระที่นั่งต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ เป็นพระที่นั่งองค์ใหญ่ที่สุด สร้างแบบตึกฝรั่ง ใช้เป็นวังที่ประทับของรัชกาลที่ 4 มีห้องพระบรรทม ห้องทรงอักษร ห้องออกว่าราชการ ฯลฯ ภายในพระที่นั่งตกแต่งด้วยข้าวของมีค่าสวยงาม ส่วนใหญ่เป็นของจากยุโรป ต่อมาที่สำคัญอีกองค์คือ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท นับเป็นพระมหาปราสาทสำคัญมีศิลปะแบบไทย สร้างอยู่ท่ามกลางตึกฝรั่งของพระที่นั่งต่างๆ แต่ดูไม่ขัดตา การสร้างพระมหาปราสาทองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหล่อพระบรมรูปของพระองค์เท่าขนาดจริงมาประดิษฐานไว้ แต่พอให้ฝรั่งปั้นรูปจำลองถวายให้ทอดพระเนตร ไม่ทรงพอพระราชหฤทัย ภายหลังจึงให้ช่างไทยสมัยนั้นปั้นหุ่นใหม่ ก็ทรงพอพระทัย จึงโปรดฯ ให้หล่อพระบรมรูปนั้นขึ้น แต่ยังไม่ทันเสร็จก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน เรื่องราวยังไม่จบเท่านี้ แต่มีรายละเอียดอีกว่าสุดท้ายพระบรมรูปนั้น ทำไมจึงมาอยู่ที่ตรงนี้ได้

วัดเขาวัง
วัดเขาวัง

นอกจากนั้นก็มี พระที่นั่งปราโมทย์มไสวรรย์ พระที่นั่งราชธรรมสภา สำหรับประกอบพระราชพิธีต่างๆ ทางศาสนา เป็นต้น บนพระนครคีรียังมีการสร้างพระเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่ พระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร ในนั้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนยอดเขาที่ไกลสุดเป็นที่ตั้งของ วัดพระแก้วน้อย ที่บริเวณไหล่เขาทางด้านทิศตะวันออกมีวัดโบราณชื่อ วัดสมณ (สะ-มะ-นะ) ปัจจุบันชื่อทางการเรียก วัดมหาสมณาราม หรือ วัดเขาวัง

ใกล้กับพระนครคีรียังมี เขาหลวง ซึ่งเป็นเขาสำคัญขนาดใหญ่ในเมืองเพชร มีถ้ำขนาดใหญ่ประดิษฐานปูชนียวัตถุที่มีอายุเก่าแก่ถึงสมัยอยุธยา อาทิ พระพุทธไสยาสน์ รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือหลวงพ่อถ้ำหลวง สิ่งสำคัญภายในถ้ำที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์จักรี คือ พระพุทธรูปในศิลปะรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีจารึกพระปรมาภิไธยและตราพระบรมราชสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 1-4 เชื่อว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปเหล่านี้ขึ้น เพื่อถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 1-4

ถ้ำเขาหลวง

นอกจากนี้ ภายในถ้ำเขาหลวงยังมีพระพุทธรูปขนาดหน้าตักประมาณ 1 ศอก ที่เรียงรายอยู่รอบผนังถ้ำจำนวนกว่า 100 องค์ เกือบทุกองค์มีจารึกพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์จักรี สมัยรัชกาลที่ 4-5 พระพุทธรูปที่มีจารึกพระนามพระราชวงศ์เหล่านี้น่าจะสร้างขึ้น เพื่อเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระราชวงศ์ ซึ่งนับได้ว่าถ้ำเขาหลวงเป็นสถานที่ที่ปรากฏพระพุทธรูปที่มีจารึกพระนามพระราชวงศ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย

เรื่องราวของพระนครคีรีและรัชกาลที่ 4 ยังเกี่ยวพันไปถึงกลุ่มชาติพันธุ์ ลาวโซ่ง หรือ ไททรงดำ ที่แต่เดิมอาศัยอยู่บริเวณสิบสองจุไท ประเทศจีน ถูกกวาดต้อนเข้ามาในไทยช่วงสมัยธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สุดโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เพชรบุรี ชาวลาวโซ่งเหล่านี้เป็นแรงงานสำคัญในการสร้างทางขึ้นไปยังพระนครคีรี ยังเป็นที่เล่าขานกันมาถึงปัจจุบัน

พระราชวังบ้านปืน

ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรีออกมาอีกไม่ไกลมากนักเป็น พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน ว่ากันว่ารัชกาลที่ 5 ทรงซื้อที่ดินจากราษฎรแล้วตัดถนนเข้าไป โดยลงมือสร้างเมื่อ พ.ศ.2450 รัชกาลที่ 5 ทรงวางศิลาฤกษ์และพระราชทานนามไว้ก่อน พร้อมทั้งให้หล่อรูปพระนารายณ์ทรงธนู แต่ชาวบ้านเรียกพระนารายณ์ปืน ซึ่ง “ปืน” ในที่นี่หมายถึงลูกธนู หล่อเสร็จทรงตั้งใจนำมาไว้ที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ปัจจุบัน แต่สร้างไม่เสร็จก็สวรรคตก่อน รัชกาลที่ 6 จึงมาสร้างต่อ หินอ่อนที่พระราชวังบ้านปืนที่เดียวกับพระที่นั่งอนันตสมาคม รัชกาลที่ 6 สร้างเสร็จไม่เคยเสด็จฯ ประทับอย่างเป็นทางการ และไม่ได้ใช้เป็นวังอย่างสมบูรณ์ จะเสด็จฯ มาก็ต่อเมื่อมีการฝึกซ้อมเสือป่าเท่านั้นเอง

“กระแสความตื่นตัวในวัฒนธรรมตะวันตกของชนชั้นนำสยามช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เริ่มมีบทบาทอย่างชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะนั้นถือว่าชนชั้นปกครองยังมีท่าทีในการอนุรักษนิยม ด้วยเหตุที่ผู้นำฝ่ายอนุรักษนิยมเป็นพระมหากษัตริย์ แต่เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินมาสู่รัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้านายและชนชั้นนำทั้งปวงก็เปลี่ยนมารับวัฒนธรรมตะวันตกได้โดยง่าย เป็นผลมาจากทรงแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวตะวันตกมาเป็นเวลานานขณะที่ทรงผนวช แนวความคิดและศิลปวิทยาการสมัยใหม่ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้งานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ 4 มีความโดดเด่นจากยุคสมัยใหม่อื่น แนวความคิดที่สำคัญคือแนวสัจนิยมและมนุษยนิยม งานศิลปกรรมในพระราชประสงค์ เช่น งานจิตรกรรมฝาผนังพระอารามหลวง ไม่นิยมเขียนรูปไตรภูมิโลก แต่เขียนภาพและเรื่องราวอย่างสมจริง เป็นเหตุเป็นผลมากว่าจะเป็นเรื่องของอิทธิปาฏิหาริย์ หรือการสร้างพระบรมรูปที่สมจริง ซึ่งขัดกับความเชื่อว่า ไม่ควรกระทำ”

ห้องทรงพระอักษร

จะเป็นเช่นอาจารย์สาวจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าไว้หรือไม่ เป็นคำถามที่ชวนค้นหาคำตอบอย่างยิ่ง !!!

วัดกุฏิบางเค็ม
วัดกุฏิบางเค็ม

มติชนอคาเดมีชวนไปสัมผัสร่องรอยทางประวัติศาสตร์ในทัวร์ ทัศนา “วัด-วัง” เมืองเพชร ฟังเกร็ดเรื่องเล่า “สองแผ่นดิน” จ.เพชรบุรี-ประจบคีรีขันธ์ (2 วัน 1 คืน)

วันที่ 18-19 สิงหาคม 2561 นำชมโดย ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ ราคา 5,800 บาท คลิกอ่านรายละเอียดการเดินทางได้ที่ https://www.matichonacademy.com/tour/article_17782

สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี

Inbox : Facebook Matichon Academy

Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichonacademy

ชวนไปท่องเที่ยวเมืองเก่าแก่ที่น่าหลงใหล มีทั้งศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ จ.เพชรบุรี ทริป 2 วันจัดเต็ม! กับ ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ มาร่วมเดินทางกับทัวร์ประวัติศาสตร์กับมติชนอคาเดมี

ทัวร์ ทัศนา “วัง-วัด เมืองเพชร” ฟังเกร็ดเรื่องเล่า “สองแผ่นดิน”
วิทยากร : ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
วันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 18-19 สิงหาคม 2561
ราคา 5,800 บาท
คลิกอ่านโปรแกรมทัวร์ :
https://www.matichonacademy.com/tour/article_17782

สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี
Inbox : Facebook Matichon Academy
Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105
line : @matichonacademy